Group Blog
 
 
เมษายน 2553
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
23 เมษายน 2553
 
All Blogs
 
ทำไมต้อง "ฟันธง" มีที่มาอย่างไร

ทำไมต้อง "ฟันธง" มีที่มาอย่างไร





ก่อนจะพูดถึงคำ ว่า "ฟันธง" ขอพูดถึงคำว่า "ฟัน" ที่เป็นคำกริยาก่อน

ดร. นิตยา กาญจนะวรรณ อธิบายไว้ว่า คำว่า ฟัน
นอกจาก มีความหมายว่าเอาของมีคมฟาดลงไปแล้ว

ปัจจุบันคำนี้มีความหมายที่ขยายออกไปเป็นจำนวนมาก เช่น

-กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งใดสิ่ง หนึ่ง
ตัวอย่างประโยค "งานนี้ฟันไปหลายล้านบาท"

-จัดการอย่างใด อย่างหนึ่ง
ตัวอย่างประโยค "เจ้านายเป็นคนตรง ถ้าลูกน้องทำผิดก็จะฟัน ทันที"

-กระทำการทางเพศ
ตัวอย่างประโยค "ยายคนนั้นน่ะ กูฟันไป เรียบร้อยแล้ว"

ทีนี้มาถึงคำ ว่า "ธง" และ "ฟันธง"

คำ ว่า ธง ตรงกับคำว่า flag ในภาษาอังกฤษ
The American Heritage Dictionary of the English Language กล่าว ไว้ว่า
หมายถึงการส่งสัญญาณให้หยุดได้ด้วย
ดังในความว่า
"flag down a passing car"

คำ ว่า flag down เมื่อแปลมาเป็นไทย ก็กลายเป็น "ฟันธง" ไปได้อย่างไม่เคอะ เขิน
กิริยาฟันธงนี้จะเห็นได้ในกีฬาแข่งรถ ใช้เป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่า ถึงเส้นชัยแล้ว

ธง นอกจากเป็นอุปกรณ์ ซึ่งใช้เป็นอาณัติสัญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง
ความหมายยังขยายออกไป หมาย ถึง แนวคำตอบสำหรับข้อสอบ ได้ด้วย

ตัวอย่างประโยค
"อาจารย์ใหญ่ให้ธงคำ ตอบมาแล้ว เดี๋ยวพวกเราช่วยกันตรวจข้อสอบพวกนี้ก็ได้"
คำอธิบายความหมาย นี้ ตรงกับข้อมูลที่ "ซองคำถาม" ได้มาจากเว็บไซต์ pantip.com ห้องสมุด

มีผู้เข้ามาอธิบาย (ขออภัยที่ลืมชื่อผู้ให้ข้อมูล) ว่า

"ศัพท์นี้ใช้มาก่อนในวงการนิติศาสตร์ เวลาตอบข้อสอบหรือ ตัดสินคดีความ
'ธง' คือประเด็นใหญ่หลักใหญ่
คือตัวบทมาตราข้อกฎหมาย หลักที่นำมาปรับใช้กับกรณีนั้นหรือโจทย์ข้อสอบนั้น

การให้คะแนนของ อาจารย์จะแบ่งเป็นส่วน ๆ
แต่ส่วนแรกต้องถูกต้องเสียก่อน เรียกว่า 'ธง ถูก' หรือ 'ฟันธงถูก'
สามารถอ้างอิงบทมาตราได้ชัดเจน ถ้าไม่ถูกตั้งแต่ ต้น อาจารย์จะไม่อ่านต่อ ไม่ให้คะแนนเลย
แต่ถ้าธงถูก ฟันธงถูกก็ได้ คะแนนไปเกินครึ่ง
แต่จะได้มากได้น้อยแค่ไหนต้องตามไปดูอรรถาธิบายขั้น ต่อ ๆ ไป

การตอบ 'ฟันธง' ก็คือสรุปให้ชัดเจนก่อน ณ เบื้องต้นว่าหลัก การคืออะไร
จากนั้นจึงค่อย ๆ สาธยายเหตุผล"

สรุปว่า ปัจจุบันคำ "ฟันธง" มีความหมายว่า ตัดสิน ว่าต้องเป็นเช่นนั้นเช่นนี้
ตัวอย่างประโยค "การชกมวยนัดนี้ฟันธงลงไป ได้เลยว่าฝ่ายแดงจะต้องเป็นฝ่ายชนะ"

โดยคำนี้มีที่มาจากแวดวงการ เรียนนิติศาสตร์



Create Date : 23 เมษายน 2553
Last Update : 23 เมษายน 2553 12:03:01 น. 0 comments
Counter : 232 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

somkitjar
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add somkitjar's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.