Group Blog
 
 
เมษายน 2553
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
10 เมษายน 2553
 
All Blogs
 
ฮีโมฟีเลีย : โรคเลือดไหลไม่หยุด

ฮีโมฟีเลีย : โรคเลือดไหลไม่หยุด


ผังแสดงความเสี่ยงในการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ผังแสดงความเสี่ยงในการถ่ายทอดทาง พันธุกรรม


โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) หรือโรคเลือดไหลไม่หยุดถือเป็นโรคหนึ่งที่มีมานานหลาย ทศวรรษแล้ว ในอดีตองค์ชายอเล็กไซ พระโอรสองค์โตในพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซียก็ทรงประชวลด้วยโรคนี้มาแล้ว



โรคฮีโมฟีเลีย เป็น ความผิดปกติของร่างกายผู้ป่วยที่ขาดโปรตีนบางชนิดในเลือดจึงทำให้เลือดไม่ แข็งตัว ตาม ปกติแล้วในเลือดจะมีโปรตีนหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด โดยเรียกโปรตีนเหล่านี้ว่า แฟคเตอร์ (coagulation factors) เมื่อเกิดบาดแผลจะมี เลือดไหลออกมาและโปรตีนเหล่านี้จะช่วยทำให้เลือดแข็งตัว เลือดจึงหยุดไหล แต่ในผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียจะเกิดจากเลือดขาดโปรตีนชนิดใดชนิดหนึ่ง จึงทำให้เลือดไม่แข็งตัว เช่น ถ้าขาดแฟคเตอร์ 8 (Factor VIII)เรียกว่าโรคฮีโมฟีเลีย ชนิด เอ (Hemophilia A) ถ้า ขาดแฟคเตอร์ 9 (Factor IX) เรียก ว่า โรคฮีโมฟีเลียชนิดบี (Hemophilia B)


ในประเทศไทยมีผู้ป่วย โรคฮีโมฟีเลียในอัตราส่วน 1 : 20,000 (หมายถึงในประชากร 20,000 คน จะมีผู้ป่วยฮีโมฟิเลีย 1 คน) จึงคาดว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 2,000 - 3,000 คน และส่วนใหญ่เป็นโรคฮีโมฟีเลียชนิด เอ


โรคฮีโมฟีเลียเป็นโรคทางพันธุ กรรม จึงสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ ไปสู่ลูกหลานได้

ผู้ ที่เป็นโรคนี้สามารถมีชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป แต่จะไม่สามารถสร้างแฟคเตอร์ 8 หรือ 9ได้ อาการที่มักพบได้แก่ มีอาการเลือดออกได้ง่ายตามข้อมือ ข้อเท้า ข้อศอกและข้อเข่า ตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก ทำให้มีอาการปวดข้อและข้อบวม แต่ถ้าเกิดอุบัติเหตุหรือมี บาดแผลเกิดขึ้นจะมีเลือดไหลออกไม่หยุด จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีด้วยการฉีดแฟค เตอร์ 8 สำหรับผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย ชนิด เอ หรือฉีดแฟคเตอร์ 9 สำหรับผู้ ป่วยโรคฮีโมฟีเลียชนิด บี จึงจะทำให้หายเป็นปกติได้

เจ้าชาย Alexei แห่งราชวงศ์โรมานอฟก็ทรงประชวรด้วยโรคนี้
เจ้าชาย Alexei แห่งราชวงศ์โรมานอฟก็ทรงประชวรด้วยโรคนี้


ในการเตรียมโปรตีนแฟคเตอร์ 8 หรือ 9 ไว้ฉีดให้ผู้ ป่วยนั้นจะ นำเลือดจากผู้บริจาคมาแยกเอา เฉพาะส่วนที่เป็นพลาสมาหรือของเหลวออกมาด้วยการแช่แข็ง เรียกว่าการทำ ไครโอพรีซิปิเตต (Cryoprecipitate) และนำไปทำให้เป็นผงแห้งเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น เมื่อต้องการใช้ก็นำมาผสมน้ำกลั่นตามอัตราส่วนที่กำหนด แล้วฉีดให้ผู้ป่วยต่อไปก็จะทำให้เลือดแข็งตัวได้ตามปกติ


เนื่องจากการรักษาโรคนี้จะต้องใช้เลือดจากผู้บริจาคมาแยก เฉพาะส่วนที่เป็นพลาสมามาใช้ประโยชน์ในการรักษา

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการรณรงค์ให้มีการบริจาคโลหิตให้มาก ยิ่งขึ้น ขณะนี้ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้ขอเชิญประชาชนร่วมบริจาคโลหิตเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษา ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียต่อไป


การบริจาคโลหิตเป็นการทำทานบารมีที่ยิ่งใหญ่ที่จะทำให้ผู้ บริจาคมีความสุขกายสบายใจที่มีโอกาสช่วยเพื่อนมนุษย์ให้มีความปลอดภัยมาก ยิ่งขึ้น จึงขอให้ผลบุญกุศล ได้ดลบันดาลให้ผู้บริจาคโลหิตทุกท่านประสบความสุขความเจริญตลอดไปครับ


Create Date : 10 เมษายน 2553
Last Update : 10 เมษายน 2553 15:53:33 น. 1 comments
Counter : 195 Pageviews.

 
น้องชายเปนอยู่ ทรมานมาก ตอนนี้อยู่รพ.เลือดออกข้างในจนซีดแล้ว น่าสงสารที่สุด


โดย: loma IP: 115.67.234.166 วันที่: 20 เมษายน 2553 เวลา:21:40:44 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

somkitjar
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add somkitjar's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.