Group Blog
 
 
เมษายน 2553
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
3 เมษายน 2553
 
All Blogs
 
ชีวิตที่มั่นคง

Trade Fair FurnitureSlipcovers For FurnitureWorld Market FurnitureDouglas FurnitureContemporary Outdoor FurnitureSwedish FurnitureSewing Room FurnitureMacy S FurnitureSimmons FurnitureCountry Kitchen FurnitureBed Room FurnitureMedia FurnitureOak Computer FurnitureEngland FurnitureExotic Bedroom FurnitureEntertainment Center FurnitureAdirondack FurnitureEco Friendly FurnitureCargo FurnitureTarget Outdoor FurnitureUnfinished Pine FurnitureHome Bar FurnitureVintage FurnitureDanish FurnitureTeak Wood Outdoor FurnitureStaples Office FurnitureHaworth Office FurnitureCorner FurnitureAccent FurnitureGothic FurnitureDiscount Wicker FurnitureWicker Patio FurnitureDora The Explorer FurnitureCardboard FurnitureDonate Used FurnitureCane FurnitureLifestyle FurnitureSanta Fe FurnitureCountry Cottage Style FurnitureWinston Patio FurnitureMartha Stewart Patio FurnitureGoods FurnitureContemporary Dining Room FurnitureUnfinished Oak FurnitureHome Depot Patio FurnitureSignature Design FurnitureCoaster Company FurnitureCheap Contemporary FurnitureAntique Garden FurnitureDorm Room Furniture.....
ชีวิตที่มั่นคง



ชีวิตที่มั่นคง


เป้าหมายสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการพัฒนาไม่ว่าในยุคสมัยใด เรื่องใด และไม่ว่าจะใช้ฐานคิดใดในการพัฒนา ล้วนอยู่ที่การต้องการสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับชีวิตของเราทั้งสิ้น

ความ เจริญและอารยธรรมของมนุษย์ที่ได้สร้างและสั่งสมถ่ายทอดมาจนทุกวันนี้ ก็เนื่องมาจากความรู้สึกต้องการความมั่นคงสะดวกสบายในชีวิตทั้งสิ้น

แต่ ทำไมการพัฒนาที่ยาวนานจากอดีตจนถึงปัจจุบันจึงยังไม่ได้ทำให้ความรู้สึกนี้ ลดลงเลย กลับจะยิ่งทำให้รู้สึกไม่มั่นคงรุนแรงยิ่งขึ้น เป็นไปได้หรือไม่ว่าสิ่งที่เราทำตลอดมานั้นไม่ใช่ทางแก้ปัญหาที่แท้จริง

เรา สร้างครอบครัวและชุมชนขึ้นก็เพื่อความมั่นคงของชีวิตและเผ่าพันธุ์ เราพัฒนาระบบการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ก็เพราะต้องการความมั่นคงทางอาหารมาก ขึ้น หรือในยุคนี้เราต้องทุ่มเทเพื่อสอบแข่งขันเรียนในสาขายากๆ ในที่ดังๆ ก็เพราะต้องการมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคงกว่าผู้อื่น

คนเรา ยังคิดระบบอีกหลายอย่างขึ้นมาเพื่อเสริมความมั่นคงที่มีอยู่แล้วให้มั่นคง ยิ่งขึ้น เช่น มีระบบสิทธิบัตรเพื่อป้องกันผู้อื่นแย่งเอาสิ่งที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมาไป คิดระบบ ประกันภัย หรือประกันสุขภาพก็เพราะเราไม่อยากเสี่ยงกับความไม่แน่นอนมั่งคงที่อาจเกิด ขึ้นกับเราในอนาคต

นอกจากความมั่นคงทางกายและทรัพย์สินเงิน ทองแล้ว ในอีกด้านหนึ่งเรายังได้สร้างระบบความเชื่อความศรัทธา รวมทั้งพิธีกรรมต่างๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับความรู้สึกไม่มั่นคงทางใจเกี่ยวกับอนาคต ซึ่งรวมไปถึงชีวิตหลังความตายด้วย โดยหวังว่าความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรม บุญกุศล ความดีงามที่เราทำมา หรือองค์ศาสดาปวงเทพทั้งหลายที่เราเชื่อมั่นบูชามาอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้มีความมั่นคงในชีวิตข้างหน้าได้

เมื่อ มองในมุมนี้เราจะเห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมทุกวันนี้ ล้วนเป็นผลพวงที่เกิดขึ้นจากความต้องการความมั่นคงในชีวิตที่เปลี่ยน แปลงอยู่ตลอดเวลาของเราทั้งสิ้น

ยิ่งเมื่อกระบวนการ สร้างความมั่นคงให้ชีวิตได้ถูกนำเข้าไปรวมเข้ากับธุรกิจ กลายเป็นธุรกิจที่เสริมความมั่นคงให้ชีวิต เช่น ธุรกิจประกันชีวิต ธุรกิจความงาม รวมทั้งพุทธพาณิชย์ และธุรกิจเครื่องรางของขลัง ได้ทำให้คนหันมาแข่งกันใช้จ่ายเพื่อความมั่นคงในชีวิตกันจนเป็นแฟชั่น

ความ ตื่นเต้นสนใจเครื่องมือและยาใหม่ๆ ในการตรวจรักษาโรคของบุคลากรทางการแพทย์ ดูเหมือนจะไม่ต่างจากปรากฏการณ์ที่ชาวบ้านตื่นเครื่องรางของขลังชิ้นใหม่ ที่ต่างล้วนมีกระบวนการสร้างความจริงที่เกินจริงขึ้นมาสร้างความหวังให้ เชื่อว่าเราจะมีชีวิตที่มั่นคงขึ้นกว่าเดิม

คนยุคนี้นอกจากรู้สึก ไม่มั่นคงเป็นทุนอยู่แล้ว ยังถูกกลยุทธการโฆษณากระตุ้นให้รู้สึกว่าชีวิตนี้ไม่มั่นคงยิ่งขึ้น ก็ยอมจ่ายแต่โดยดีเพื่อซื้อความหวังนั้นไว้ครอบครอง หลังจากนั้นก็รอ “ผลิตภัณฑ์สร้างความหวัง” ชิ้นต่อไป ที่จะนำออกสู่ตลาด ความมั่งคั่งเฟื่องฟูของวงการธุรกิจนี้เป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดี

แม้ พุทธศาสนาในสังคมสังคมบริโภคก็อยู่ในฐานะที่ไม่แตกต่างกันนัก ได้ร่วมสร้างผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปออกมาเป็นสินค้าแห่งความหวังชิ้นใหม่เพื่อ เสริมความมั่นคงให้ชีวิตในหลายรูปแบบ ทั้งพิธีกรรมใหม่ๆ การทำบุญแปลกๆ อีกทั้งเครื่องรางของขลัง คำสอนใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของคนในปัจจุบัน ที่ชีวิตเต็มไปด้วยการแข่งขันและมีความเสี่ยงสูงมากขึ้นทุกวัน

ความ มั่นคงที่พยายามสร้างขึ้นทั้งหมดนั้น สุดท้ายแล้วมักไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้คน เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านั้นล้วนเป็นเพียงความหวังไม่ได้ช่วยให้เกิดความมั่นคงขึ้นได้อย่างแท้ จริง

เมื่อย้อนกลับมามองที่หลักคำสอนดั้งเดิมที่เป็นแก่น แท้ของพุทธศาสนา ซึ่งก็คือวิธีจัดการกับความไม่มั่นคงในชีวิตที่มีแต่ความทุกข์และความ เปลี่ยนแปลงนั้น พบว่ามีจุดที่น่าสนใจมากมาย มีมุมมองและวิธีปฏิบัติต่อความไม่มั่นคงต่างจากสิ่งที่สังคมยุคนี้คิดสร้าง ขึ้นมา พุทธศาสนาไม่ได้สอนให้เราสร้างความมั่นคงด้วยการสร้างสิ่งใดขึ้นมาเพื่อควบ คุมการเปลี่ยนแปลงของชีวิตและธรรมชาติ แต่กลับเห็นว่าทำได้ด้วยการหันกลับทำความเข้าใจกับธรรมชาติของความไม่มั่นคง กันใหม่ ซึ่งก็จะพบว่าไม่มีสิ่งใดเลยที่มั่นคงแท้จริง

พุทธศาสนาไม่เชื่อว่ามีสิ่งใดที่มั่นคงถาวร ไม่ว่าจะเป็นตัวเราหรือสรรพสิ่ง

สิ่งที่ปรากฏ (และไม่ปรากฏ) ต่อการรับรู้ของเราขณะนี้ เป็นเพียงผลลัพธ์ของกระแสของเหตุและปัจจัยมากมาย ทั้งที่รับรู้มองเห็นได้และที่รับรู้สัมผัสไม่ได้หนุนเนื่องรองรับสืบต่อกัน มาเป็นทอดๆ

เพราะเหตุผลนี้เองจึงไม่มีสรรพสิ่งใดเลยที่มีตัวตนที่ แท้จริง และอยู่ได้อย่างมั่นคงตลอดไป อาจกล่าว ได้ง่ายๆ ว่าในมุมมองของพุทธศาสนาแล้ว ความมั่นคงในชีวิตและสุขภาพไม่อาจหาได้จากสิ่งใดภายนอก แต่จะเกิดขึ้นได้เมื่อเรากลับมาทำความเข้าใจธรรมชาติของความไม่มั่นคง

มุม มองที่แตกต่างนี้ ชาวพุทธเราเชื่อและปฏิบัติสวนกระแสกับการพัฒนาของสังคมโลกสืบต่อกันมานาน และพบว่าช่วยให้เราปฏิบัติตัวได้อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคง มีความสุข และสงบกว่า

ท่ามกลางสังคม ที่รุ่มร้อนหาทางออกให้กับความมั่นคงของชีวิตไม่ได้ อาจถึงเวลาที่พวกเราที่ได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชนจะเริ่มหันกลับมาศึกษา ทบทวนแก่นแกนทางวัฒนธรรมของเราให้จริงจังอีกครั้ง

ความเข้า ใจเหล่านี้เป็นเรื่องเฉพาะตัวที่ทำความเข้าใจแทนกันไม่ได้ หาซื้อชุดสำเร็จรูปมาใช้เลยก็ไม่มี ต้องลงมือขบคิดพิจารณาและปฏิบัติเองเท่านั้นจึงจะได้มา

ว่าแต่เราจะเริ่มกันเมื่อไหร่ดีล่ะ... เพราะความไม่มั่นคงรอเราอยู่ข้างหน้านี้แล้ว




Create Date : 03 เมษายน 2553
Last Update : 3 เมษายน 2553 11:39:27 น. 0 comments
Counter : 187 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

somkitjar
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add somkitjar's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.