โจทย์ถนนสายนี้มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 211 "วรรณกรรมที่ข้าพเจ้าชื่นชอบ"
โจทย์ถนนสายนี้มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 211 "วรรณกรรมที่ข้าพเจ้าชื่นชอบ" โจทย์โดยคุณ อาจารย์สุวิมล
นึกๆทบทวนดูถึงวรรณกรรมที่ชื่นชอบ ก็ชื่นชอบแตกต่างกันไปตามวัย ตอนเด็กก็อย่างหนึ่ง ชอบอ่านนิทานเด็กๆ เรื่องราวที่มีเด็กและสัตว์ บ้านสวนบ้านป่า เพราะเข้าใจง่าย ก็เราเป็นเด็กบ้านสวนริมคลอง เรื่องปลาบู่ทองเลยแทบท่องจำขึ้นใจ
ตอนวัยรุ่นก็เรื่องรักหวานจ๋อย เพ้อฝันวาดภาพพระเอกในใจ ต้องอย่างนั้นต้องอย่างนี้ จนแอบวาดภาพชายหนุ่มในฝัน ลงสมุดเรียนประจำ วรรณกรรมไทยเทศ ส่วนใหญ่เป็นหนังสืออ่านนอกเวลา เรื่องจับใจอ่านไปแล้วน้ำตาไหล ตอนท้ายเรื่อง ที่ Sydney Carton เสียสละตัวเอง เข้ารับกีโยติน แทน Charles Darnay เพื่อLucie คนรัก
คือ A Tale of Two Cities ของ Charles Dickens
ยามเป็นผู้ใหญ่ก็เริ่มเรื่องหนักขึ้น เน้นเกี่ยวข้องเรื่องจริงนิด สารคดีหน่อย แฝงธรรมะขัดเกลาจิตใจ คนอ่านได้มีความหวัง และกำลังใจสู้ต่อบ้าง อย่าง ไร้เสน่หา ของ ว. วินิจฉัยกุล ชอบตรงนี้ค่ะ
... ชีวิตคนน่ะไม่ได้อยู่ได้เฉพาะความรักความใคร่เท่านั้น เราก็ควรจะอยู่ได้ด้วยความเมตตาต่อคนอื่นโดยทั่วๆไปด้วย มันก็เป็นความรักชนิดหนึ่ง สำคัญที่สุดคือเราต้องรู้จักรักตัวเอง อย่าทำร้ายตัวเองด้วยการหาความทุกข์ใส่ตัว อะไรที่ทุกข์ก็ตัดๆมันไปบ้าง อย่าไปปักอกปักใจนัก ชีวิตเรามันสั้นนัก..." #ไร้เสน่หา l ว.วินิจฉัยกุล ✍️
มายามแก่เฒ่า ไม่อ่านแล้วนิยงนิยาย วรรณกรรมไทยเทศเลิก เพราะถนอมสายตา หันมาดูรูปเพลินๆอย่างเดียว
เห็นนกกางเขนลงมาเล่นน้ำที่ขังในใบไม้ ยามรดน้ำตอนบ่ายๆ ถลาไปถลามาอย่างมีความสุข เสียงจิ๊บๆวี๊ดๆ อ้อ...นึกขึ้นได้แล้ว วรรณกรรมที่เคยชอบมากๆ เป็นหนังสืออ่านป.2 เรื่อง นกกางเขน เป็นความทรงจำที่ดี พ่อแม่นกกางเขนยามมีรัก ยามมีลูก พ่อแม่สอนลูก 4 ตัว นิ่ม นิด หน่อย น้อย ให้เป็นเด็ก(นก)ดี เวลาทำผิดก็ลงโทษให้ลูกสำนึกผิด เป็นเรื่องที่สอนให้เด็กประพฤติดี และรักธรรมชาติ รักสัตว์ จำได้ว่า อ่านถึงตอนนกกางเขนตาย แอบร้องไห้ตั้งเยอะ และสัญญากับตัวเองว่าจะไม่ทำร้ายนก ( เรื่องย่อหาอ่านได้ทั่วไปนะคะ) หน้าปกเท่าที่จำได้ก็จะประมาณนี้
ขอขอบคุณภาพจากเน็ตด้วยค่ะ
สวัสดี
Create Date : 16 กันยายน 2561 |
Last Update : 16 กันยายน 2561 16:35:38 น. |
|
31 comments
|
Counter : 1304 Pageviews. |
|
|
|
เขาว่าจะดูนิสัยคนได้จากหนังสือที่เขาอ่าน ...
คนก็เปลี่ยนหนังสือไปตามวัยด้วย น่าสนใจมากค่ะ
ขอบคุณโหวตและเจิมบล็อกด้วยค่ะ