ที่ปัด ที่แต่งแต้ม เอาไว้ว่า ดูพอดีหรือยัง
พิศแล้ว พิศอีก อยู่นานสองนาน เท่าที่มีเวลา
สำรวจตรวจตรา ว่าเสื้อผ้า อาภรณ์ที่สวมใส่
มีอะไรไม่เข้าที่เข้าทาง ให้หม่นหมางแก่สายตา
หมุนซ้ายแลหมุนขวา กลับหน้าแลกลับหลัง
ทักลุก ทั้งนั่ง ดูให้ถ้วนทั่วทุกมุม
ทั้งนี้เพื่อสบายใจตัวเองว่า...ฉันงามแล้ว ออกจากบ้านได้
(มีหนุ่มรอลับอยู่ที่หัวกระไดบ้าน)
>>>>>>>>
หากจะถามฉันในวัยนี้
ฉันก็จะตอบว่า...ฉันส่องกระจก
ดูผมหงอกที่หน้าผาก เพราะเมื่อคืนเกาหัวไม่หยุด
ผมคันมันคงดันโคนรากผม จนต้องเกาแกรกๆ
ทั้งๆที่สระผมเกือบทุกวันแล้ว
ส่องดูนัยน์ตา ว่าทำไมจึงเคือง พร่ามัว
ขนตามันร่วงเข้าไป หรือต้อเริ่มก่อหวอด
อ้าปาก ยิงฟันหน้ากระจก
เพราะรู้สึกว่าลิ้นกระทบอะไรคมๆ
อ๋อ...ฟันบิ่น เพราะกินส้มตำปูเข้าไป
>>>>>>
ส่องกระจกวันนี้เจอยายหน้าดำๆ
มีริ้วรอยหิ่วย่น กระฝ้า หน้าไม่ใส
แต่ทุกคราวที่ฉันยิ้มให้กระจก
กระจกก็จะยิ้มตอบฉัน
ฉันไม่ร้องไห้หน้ากระจก
ฉันไม่อยากเจอคนเศร้า
ฉันไม่ทำหน้าโกรธขึ้งหน้ากระจก
ฉันไม่อยากเจอนางยักษ์
>>>>>>
เรารักใครชอบใคร
เราก็ทำสิ่งดีๆต่อเขาเถิด
สิ่งดีๆก็จะย้อนกลับมาหาเรา
เหมือนเรามองดูกระจก
ส่องกระจกทุกครั้ง
จงหยิ่งในศักดิ์ศรี
จงภูมิใจและเชื่อมั่นตัวตนในกระจกเงา
เราดี เรามีความสุข เราเก่ง เราทำได้
แล้วทุกอย่างไม่ไกลเกินตั้งใจ
>>>>>>
ใช้ประโยชน์ของกระจกเงา
ในทางอันเกิดประโยขน์
ส่องให้เห็นความปลอดภัย และภยันตราย
ดังเช่นกระจกสะท้อน ตามมุมอับบนท้องถนน
สอดส่องดูพฤติกรรมของลูกค้าในร้าน
ว่าลักเล็กขโมยน้อยหรือไม่
อย่าไปใช้กระจกเงา
เพื่อก่อความเดือดร้อนให้ผู้อื่น
ดังเช่น ส่องใต้กระโปรงของผู้หญิง
เพื่ออะไรก็ตาม...แต่ไม่ดีไม่งามแน่
>>>>>>>>>>
สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี
นอกจากจะชี้ทางแห่งความหลุดพ้นให้บรรดาลูกศิษย์ลูกหาแล้ว
ท่านยังสอนให้เรารู้จักมองคนด้วย กระจกหกด้าน
คือ มองคนให้ครบทุกด้าน ซ้าย ขวา หน้า หลัง บน ล่าง
ถ้าเรามองเขาแต่ด้านขวา
เราก็จะไม่เห็นด้านซ้ายของเขา หรือมองแต่ด้านหน้า
เราก็จะไม่เห็นด้านหลังของเขาว่าเป็นอย่างไร
แต่ในอีกมุมหนึ่ง กระจกหกด้าน
ก็คือ กระจก หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง เรื่องราวบางเรื่องที่ได้ยินผ่านกระจกหู อาจจะไม่จริงก็ได้
ต้องให้เห็นด้วยตา
ต้องใช้ประสาทสัมผัสให้ครบทั้งหก
ก่อนจะตัดสินใครดีชั่ว
แต่ดีที่สุด คือ อย่าไปพิพากษาใครเขาเลย
พิพากษาตนเองดีกว่า
เพราะฉะนั้น อย่านึกว่าตัวเองถูกเสมอ
จงหัดมองคนอื่นด้วย
กระจกหกด้าน เมื่อมองเขาครบทุกมุมแล้ว
จะได้รู้ว่าสิ่งที่เราคิดต่อผู้อื่นนั้น
อาจจะไม่ถูกเสมอไป
>>>>>>>>>>
ดูตัวเองก็เช่นเดียวกัน
อย่าเห็นแต่ข้อดีของตนเอง
จงมองหาข้อเสียด้วย
>>>>>>>
ขอยกขัอคิดของท่านพุทธาสภิกขุ ที่ว่า...
เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา
จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่
เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู
ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย
จะหาคน มีดี โดยส่วนเดียว
อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเอย
ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริงฯ
>>>>>>>>>>>
ใช้กระจกส่องตัวเอง
ไม่ต้องเที่ยวไปส่องใคร
อย่ารู้เรื่องคนอื่น ให้มากกว่ารู้เรื่องตัวเองเลย
เพราะรู้ไป...มันก็เท่านั้นเอง
(ขอบคุณภาพในปฏิทิน ฝีมือของ อ.จักรพันธ์ โปษยกฤต)
แล้วก็ต้องขอบคุณขัอคิด สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี / ท่านพุทธาสภิกขุ ที่นำมาฝากกันด้วยค่ะ