Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2552
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
12 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 

จันตรี ศิริบุญรอด นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์






เมื่อราวกึ่งพุทธกาล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ถือเป็นไฟส่องทางในการแสวงหาความรู้ ค้นคิด และทดลองสิ่งใหม่ๆ ช่วงนั้นคนทั้งโลกมีความตื่นตัวในความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักการศึกษาในสมัยนั้น ได้นำกระบวนการคิดอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เข้ามาปลูกฝังให้เยาวชน ผู้ใฝ่รู้ สร้างฝันให้ประเทศไทยมีนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ

หนึ่งในผู้ที่จุดประกายความคิดฝันของเยาวชน ไม่ได้เป็นนักเรียนนอก ไม่ได้เรียนจบปริญญาอย่างเป็นทางการ แต่จบมหาวิทยาลัยชีวิตที่หมั่นศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเอง เขาเป็นเพียงครูสอนระดับมัธยมตัวเล็กๆคนหนึ่ง เขาชื่อ จันตรี ศิริบุญรอด

คุณจันตรี ศิริบุญรอด เกิดเมื่อ 31 มี.ค. พ.ศ. 2460 เป็นบุตรคนโตของเรือโทเสงี่ยม และนางละม้าย เกิดที่ย่านกรมอู่ทหารเรือ ฝั่งธนบุรี จบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 8 (เทียบเท่า ม. 6 ปัจจุบัน) แผนกวิทยาศาสตร์ ก่อนเข้าทำงานที่กรมเชื้อเพลิง เคยสอนหนังสือแถวท่าช้าง ขณะทำงานที่กรมเชื้อเพลิง ก็เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในยุคสมัยนั้นเป็นมหาวิทยาลัยเปิด ไม่มีการสอบเข้า แต่เขาไม่ได้อยู่ศึกษาจนสำเร็จระดับปริญญา



คุณจันตรีได้ลาออกจากงานที่กรมเชื้อเพลิงไปสมัครเป็นครูในโรงเรียนหลายแห่ง ช่วงปี พ.ศ. 2493-2496 เป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมปลายที่โรงเรียนเคนเน็ตแม็คเคนซี จังหวัดลำปาง ช่วงเวลานั้น เขาเขียนบทความทางวิทยาศาสตร์ นิยายวิทยาศาสตร์ นิยายรัก ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเสมอ ๆ และยังเปิดร้านหนังสือชื่อ เบสต์เซลเลอร์ ด้วย

ในปี พ.ศ. 2498 คุณจันตรีจัดทำนิตยสาร "วิทยาศาสตร์-มหัศจรรย์" ในนามของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย โดยร่วมกับ ดร.ปรีชา อมาตยกุล ผู้ช่วยเลขาธิการสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในขณะนั้น

ช่วงที่ทำนิตยสาร "วิทยาศาสตร์-มหัศจรรย์" ได้ย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพแล้ว เป็นครูพิเศษที่โรงเรียนศรีอักษร ต่อมาย้ายมาสอนที่โรงเรียนแสงอรุณเป็นแห่งสุดท้ายก่อนจะลาออก

"วิทยาศาสตร์-มหัศจรรย์"เล่มแรก จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช เมื่อเดือน มิ.ย. 2498 ราคาเล่มละ 2 บาท จำนวนพิมพ์ 10,000 เล่ม แจกโรงเรียนละ 10 เล่มบ้าง 20 เล่มบ้าง ในเล่มแรกนี้ มีนิยายวิทยาศาสตร์ดัดแปลงของคุณจันตรีอยู่ด้วยคือเรื่อง มนุษย์โลหะ

ต้นฉบับส่วนใหญ่ใน"วิทยาศาสตร์-มหัศจรรย์" เป็นงานเขียนของคุณจันตรี อย่างเช่น สารคดี ประวัตินักวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน นิยายวิทยาศาสตร์ เขาเขียนหนังสือได้เร็วมาก นิยายวิทยาศาสตร์บางเรื่องเขียนเสร็จภายใน 1 ชม. จึงไม่ค่อยมีปัญหาในการเตรียมต้นฉบับนัก



นิยายวิทยาศาสตร์ของคุณจันตรี เป็นเรื่องที่เขียนให้ผู้อ่าน อ่านแล้วเข้าใจง่าย เกิดจินตนาการเหมือนท่องไปในอวกาศ ไม่ค่อยใช้ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ทำให้ชวนติดตาม อย่างการผจญภัยที่มีพระเอกเป็นคนเก่ง มีการต่อสู้กัน และมีการเดินทางไปพบนางเอกที่ต่างดาว เป็นต้น

เมื่อวางแผงครบ 3 ปี "วิทยาศาสตร์-มหัศจรรย์" ก็เปลี่ยนตัวเองจากนิตยสารรายเดือนไปเป็นนิตยสารรายปักษ์

น่าเสียดาย ที่นิตยสารเล่มนี้ออกได้เพียง 75 เล่ม เล่มสุดท้ายพิมพ์ในปี 2502 เข้าใจว่าสมัยนั้นโรงพิมพ์มีภาระกิจมากในการพิมพ์ตำราเรียนอื่นๆ ส่วนการพิมพ์ปกของวิทยาศาสตร์มหัศจรรย์ ด้วยเทคนิคการพิมพ์ 3 สี ก็เป็นความยุ่งยากส่วนหนึ่งที่ทำให้หนังสืออกช้า ยอดขายลดลง จึงต้องเลิกไปในที่สุด

ต่อมาได้ตั้งสำนักพิมพ์ของตนเองชื่อสำนักพิมพ์ศิริบุญรอด เพื่อจัดทำหนังสือและได้จัดทำนิตยสารคล้ายๆ กันในชื่อ "วิทยาศาสตร์-อัศจรรย์"

สำนักพิมพ์ศิริบุญรอด เป็นธุรกิจในครอบครัว คุณจันตรีเป็นคนเขียนเรื่อง ภรรยาและลูกๆช่วยกัน ตั้งแต่พิมพ์ดีด ตรวจทาน การติดต่อโรงพิมพ์ ดำเนินธุรกิจมาได้เพียง 3 ปี ก็ต้องเลิก เพราะเก็บเงินไม่ได้ แต่เขาไม่เคยย่อท้อ เคยพูดกับลูกชายว่า

"การที่เราออกหนังสือไปแบบนี้ สตางค์ได้บ้างไม่ได้บ้างก็อย่าไปคิดอะไรมาก เพราะเราตั้งใจจะทำเป็นวิทยาทานก็แล้วกัน ขอให้มีหนังสือเต็มตลาดเข้าไว้ก็พอ"

นิตยสาร "วิทยาศาสตร์-อัศจรรย์" เลิกไปในปี พ.ศ. 2505 นับรวมได้ 35 เล่ม คุณจันตรียังคงเขียนหนังสือส่งไปพิมพ์ตามสำนักพิมพ์ต่าง ๆ และออกหนังสือของตัวเองไปด้วย

เคยมีผู้ถามคุณจันตรีว่า เอาเวลาจากไหนมาทำงานตั้งมากมาย
เขาตอบว่า

"ใช้เวลาที่หลายคนกำลังเที่ยวอยู่ ทำงาน
ใช้เวลาที่หลายคนกำลังสนุกสนานกับมหรสพ ทำงาน
ใช้เวลาที่ทุกคนรับประทานอาหารวันละ 3-4 เวลา รับประทานเพียงเวลาเดียว
ใช้เวลาที่ทุกคนนอนอย่างผาสุก ทำงาน
ใช้เวลาที่ทุกคนทำงาน ทำงาน"

คุณจันตรี ศิริบุญรอด มีความสามารถเป็นเลิศในการเขียนเรื่องวิทยาศาสตร์ยากๆ ให้เข้าใจง่าย เขามีผลงานประพันธ์นิยายวิทยาศาสตร์ทั้งเรื่องสั้นและเรื่องยาวกว่า 300 ชิ้น ช่วงเวลาเกือบสิบปีที่คุณจันตรีทำหนังสือวิทยาศาสตร์ทั้งสองเล่ม (พ.ศ. 2498-2505) ผลงานของเขาเป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชนในยุคนั้น สนใจและใฝ่ฝันที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากที่เป็นวัยผู้ใหญ่ในปัจจุบัน ก็ได้รับอิทธิพลจากผลงานเขียนของเขา

ผลงานรวมเล่ม
1. โลกถล่ม
2. ผู้ดับดวงอาทิตย์
3. ผู้พบแผ่นดิน
4. มนุษย์คู่
5. ผู้สร้างอนาคต

คุณจันตรี ศิริบุญรอด เสียชีวิตเมื่อ 13 มี.ค. พ.ศ. 2511 อายุ 51 ปี เขาเป็นนักเขียนที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดานิยายวิทยาศาสตร์ของไทย


เล่มที่ 17 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2499



เล่มที่ 33 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2500



เล่มที่ 42 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501



เล่มที่ 53 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2501



เล่มที่ 53 เดือนมกราคม พ.ศ. 2502



เล่มที่ 69 เดือนเมษายน พ.ศ. 2502



เล่มที่ 70 เดือนเมษายน พ.ศ. 2502



บทบรรณาธิการ ท้ายเล่มที่ 70




 

Create Date : 12 กรกฎาคม 2552
52 comments
Last Update : 12 กรกฎาคม 2552 15:47:12 น.
Counter : 5322 Pageviews.

 

การเขียนนิยายเชิงวิทยาศาสตร์เนี่ย ผู้เขียนต้องมาจินตนาการกว้างไกล และต้องมีความสามารถในการอธิบายความคิด จินตนาการของตัวเองให้ผู้อื่นได้เข้าใจด้วยนะคะ ถึงจะประสบความสำเร็จ

ชอบที่สุดตรงนี้......

ใช้เวลาที่หลายคนกำลังเที่ยวอยู่ ทำงาน
ใช้เวลาที่หลายคนกำลังสนุกสนานกับมหรสพ ทำงาน
ใช้เวลาที่ทุกคนรับประทานอาหารวันละ 3-4 เวลา รับประทานเพียงเวลาเดียว
ใช้เวลาที่ทุกคนนอนอย่างผาสุก ทำงาน
ใช้เวลาที่ทุกคนทำงาน ทำงาน

 

โดย: Oops! a daisy 12 กรกฎาคม 2552 8:12:38 น.  

 

หวัดดีค่ะ

รีบเข้ามา...แล้วก็...พูดไม่ออก ซาบซึ้งใจกับบล็อกวันนี้มากๆ

ถ้าจะถามว่า ใครคือแรงบันดาลใจ สร้างไฟฝัน จุดประกายให้ตัวเองเดินไปสู่การเป็นคนรักและทำหนังสือ

ต้องบอกว่า จันตรี ศิริบุญรอดนี่แหละค่ะ

(ในหนังสือประวัติการทำงานของตัวเอง"หมูกว่าที่คิด ชีวิตบ.ก." ก็ได้เอ่ยถึงท่านไว้ด้วยในฐานะที่เป็นไอดอลของเราค่ะ)

เติบโตขึ้นมา เห็นหนังสือเล่มเล็กๆที่ชื่อ วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์ของพ่อเต็มบ้าน

เราพี่ๆน้องๆก็ตะลุยอ่าน..สนุกเหลือเกิน

ชอบนิยายภาพ ยนต์ ยันต์ บานเย็น และทุกเรื่องเลยค่ะ

มีอยู่เรื่องนึง พระเอกชื่อ สกาย...เท่มาก

ตัวละครในนิยายจันตรีชื่อเท่ๆทั้งนั้น ดร.รัตติกาล ดร.ยันต มัย อะไรแบบนี้

มันฝังใจจนแม้หลายสิบปีผ่านไป...ก็ยังไม่ลืมเลือน

น่าเสียดายที่หนังสือพวกนี้ มันหายไปกับกาลเวลา พอเราโตขึ้นไปเรียนหนังสือ และทำงานแดนไกล ที่บ้านมีการโยกย้ายหลายครั้ง

พ่อกะแม่โยกย้ายที่อยู่หลายครั้ง หนังสือเหล่านี้หายไป อัยย์ยังตามหาแหล่งที่พอจะซื้อกลับคืนมาได้เลย

ตามร้านหนังสือเก่า ก็ไม่มี


อยากรู้ว่า หนังสือที่เอามาลงนี้ เป็นของจขบ.หรือเปล่าคะ สุดยอดมากที่ยังมีอยู่


มีค่ามากค่ะ...


ขอบคุณสำหรับบล็อกวันนี้มากมาย....ชื่นใจอย่างยิ่งจริงๆค่ะ







 

โดย: นักล่าน้ำตก IP: 115.67.203.107 12 กรกฎาคม 2552 8:13:53 น.  

 

อ่านประวัติเเล้วน่าภูมิใจมาก ถึงเเม้จะไม่ได้สำเร็จการศึกษาสูงก็มีความสามารถเเละความรู้มากกว่าคนที่เรียนขั้นสูง

เมืองไทยเเละประเทศข้างเคียงยังนิยมการเรียนหรือชุปตัวเพื่อกลับมาได้หน้าที่การงานที่ดี พูดง่ายๆคือวัดกันที่ปริญญา

การเรียนจบต่างประเทศไม่ใช้ว่าจะเก่งเสมอไป ต่อให้เป็นขั้นดอกเตอร์ เเต่กลับเมืองไทยเหมือนยิ่งใหญ่เป็นคนละคน ความรู้ความสามารถไม่ใช่ขึ้นอยู่กับปริญญา ความชำนาญฝึกฝนจะวัดกันที่ความสำเร็จของหน้าที่การงาน

บริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะไม่วัดที่การศึกษา เเต่จะดูจากประสบการณ์ เริ่มต่ายขึ้นมาจากล่างสุด ไม่ว่าอาชีพการเเสดง การประกอบอาหาร หรือเเม้กระทั่งหน้าที่ในรัฐสภา

ส่วนในสภา ปรกติจะเริ่มตั้งเเต่มหาวิทยาลัยของรัฐที่โด่งดังเช่น โตได วาเซดะ ฯลฯ บางคนจากนักเเสดง นักกิฬาไม่จบก็มี บางคนเมื่อได้เข้าไปเเล้วก็ศึกษาจากศูนย์ เเละเพิ่มความคิดความอ่านจากการค้นคว่า

ทั้งนี้การศึกษาต่างประเทศหรือเรียนขั้นสูง ไม่มีส่วนสำคัญมากนักสำหรับประเทศนี้ ความสามารถค่ะ ปัจจุปันครอบครัวที่พ่อเเม่ได้เรียนในขั้นมหาลับโด่งดังก็จะพลังดันเเละกดดันให้คนในครอบครัวได้ดำเนินรอยตามกันไป

 

โดย: ยูกะ (YUCCA ) 12 กรกฎาคม 2552 8:14:37 น.  

 

อัยย์ยังตามหาแหล่งที่พอจะซื้อกลับคืนมาได้เลย

ตกคำว่า ไม่ค่ะ

..................................

ด้วยความตื้นตันใจ รีบๆพิมพ์ ทำให้ข้อความซ้ำบ้าง วกวนบ้าง ตกหล่นบ้าง

ขอโทษด้วยค่ะ...

 

โดย: นักล่าน้ำตก IP: 115.67.203.107 12 กรกฎาคม 2552 8:18:23 น.  

 

ตอนนี้มีใหม่ window 7 ค่ะ เทคโนตามไม่ไหวเเน่

ซื้อคอมที่ชมทีวีเเละอัดรูปได้ จะเขียนไว้เลยไว้ได้ถึงปี 2011

ที่ญี่ปุ่นในปีนี้ จะเปลียนระบบจอเเบนหมด คนที่ใช้เเบบขอเก่าไม่มีสิทธิชมทีวีได้อีก ของเก่าก็ต้องเสียค่าทุบอีก

เมืองไทยก็คงตามมาไม่ช้าค่ะ อย่าลืมกรุณาอัพเดทด้วย ตกข่าวเสมอ ไม่มีโอกาสติดตามข่าวที่อื่น นอกจากพีๆเพื่อนๆในบล็อกก็ไม่มีเวลาเเล้วค่ะ

 

โดย: YUCCA 12 กรกฎาคม 2552 8:28:03 น.  

 

จำได้ราง ๆ ว่า สมัยเด็ก เคยอ่านวิทยาศาสตร์มหัศจรรย์อยู่บ้างเหมือนกัน

โดยเฉพาะเล่มที่มีหน้าปกเป็นรูปสัตว์ป่า

แต่อาจเป็นเพราะไม่ใช่เด็กที่คิดจะเอาดีด้านวิทยาศาสตร์

ก็เลยอ่านแบบผ่าน ๆ ไม่ได้สนใจจริง ๆจัง ๆ

สมัยหนึ่ง ประเทศไทยนับเป็นผู้นำประเทศเพื่อนบ้านในหลายต่อหลายเรื่อง

ทั้งด้านการศึกษา ด้านวิทยาการต่าง ๆ

บ้านเมืองของเราเจริญรุ่งเรือง จนเป็นที่อิจฉาของประเทศเพื่อนบ้าน บางประเทศตามหลังประเทศของเราอยู่ร่วมสิบปี

แต่คนไทยก็มัวดีใจได้ปลื้มกับความเป็นผู้นำนั้นได้ไม่กี่สิบปี

เหลียวมาดูบ้านเมืองของเราและของเขาในวันนี้...

ประเทศที่เคยตามหลังเราหลายสิบปี ตอนนี้พัฒนาขึ้นมาเท่าเทียมกับบ้านเรา

บางประเทศแซงและทิ้งเราไปไม่เห็นฝุ่น

นับเป็นความอัปยศประการหนึ่งของประเทศนี้

เชื่อว่า การพัฒนาในทุก ๆ ด้านของสังคม

จะต้องมีการพัฒนาการทางสังคมเป็นแกนนำ

วิทยาศาสตร์ และวิทยาการทั้งหลายทั้งปวง แทบจะกลายเป็นของไร้ค่าไปเลย

หากสังคมและการเมืองของเรา ยังไม่ย่ำอยู่กับที่ เวียนว่ายอยู่ในวัฎจักรของการรัฐประหารสลับเลือกตั้ง

อย่างที่ยังเป็นอยู่ในพ.ศ.นี้

คิดแล้วเศร้าครับ...

 

โดย: ลุงแว่น 12 กรกฎาคม 2552 9:18:37 น.  

 


ส่งข่าวว่า วันนี้อัพบล็อกแล้วเช่นกันครับ

วันนี้เสนอตอน "จังเกิ้ลสตูดิโอ"

บทเพลงจากป่าเขา เขามีวิธีการผลิตกันอย่างไร แต่ละขั้นตอนยากเย็นชุลมุนกันอย่างไร

ลองไปติดตามอ่านดูนะครับ....



 

โดย: ลุงแว่น 12 กรกฎาคม 2552 9:22:34 น.  

 


แวะมายึดพื้นที่นั่งอ่านหนังสือที่บ้านนี้ชะเลย
"นิยายไชไฟ"ชะด้วย หนุกดีจังค่ะ

ยินดี และขอบคุณที่พามาให้ได้รู้จัก
"บิดานิยายวิทยาศาสตร์ของไทย"
ท่านยิ่งใหญ่และสามารถจริงๆ



ถ้าไม่ได้แวะมาบ้านนี้เสียดายตาย....เลยค่ะ

 

โดย: เริงฤดีนะ 12 กรกฎาคม 2552 10:25:00 น.  

 

"ใช้เวลาที่หลายคนกำลังเที่ยวอยู่ ทำงาน
ใช้เวลาที่หลายคนกำลังสนุกสนานกับมหรสพ ทำงาน
ใช้เวลาที่ทุกคนรับประทานอาหารวันละ 3-4 เวลา รับประทานเพียงเวลาเดียว
ใช้เวลาที่ทุกคนนอนอย่างผาสุก ทำงาน
ใช้เวลาที่ทุกคนทำงาน ทำงาน"

ผมชอบความคิดแบบนี้จังครับ

นิยายวิทยาศาสตร์ เป็นนิยายที่ผมชอบอ่านมากที่สุด และหนังที่ผมชอบดูมากที่สุด ก้ starwars ครับ ดูทุกภาค แต่เรื่องอื่นที่เป็นแนวนี้ ผมก็ดู

ถามว่า ดูทำไม ผมตอบว่า ไม่ทราบ แต่ชอบดู ชอบที่ได้เห็นความคิดของคน จินตนาการของคน เออ เขาคิดได้ไงกันนะ
เขาเห้นอะไร ตอนที่เขาเขียนอยู่

มีคนเขาบอกว่า คนที่มาก่อนเวลา มักจะเป็นคนบ้า ในสายตาคน ณ เวลานั้นเสมอ เห็นจะจริงครับ นักวิทยาศาสตร์ แทบทุกคน คือคนบ้า ณ เวลานั้น เช่น

กาลิเลโอ ก้ว่าบ้า
เบญจามิน แฟรงกลิน ก้ว่าบ้า
ไอน์ไสตน์ ก็ว่า ไอคิวตำ่
และ ....

ผมว่า คุณจันตรี ก็น่าจะเป็นคนไม่สมประกอบ เหมืือนกัน
แต่คนคนนี้ เห็นเกาะล่องลอยอยู่ในเอกภพ มานานนักหนาแล้ว

ก่อนผมเกิดเสียอีกมั้ง



 

โดย: ทวีศักดิ์ ถาวรรัตน์ (คนตาพิการ ) 12 กรกฎาคม 2552 16:54:38 น.  

 

เขียนเรื่องเก่าแล้วไปเอาเรื่องใหม่มาทำบ้างนะคะ

เชิญไปที่บ้านเหน่อยค่ะ ฝากการบ้านมาให้ร่วมสนุกกันค่ะ

เดี๋ยวค่อยกลับมาอ่านนะคะ

 

โดย: ซองขาวเบอร์ 9 12 กรกฎาคม 2552 17:34:28 น.  

 

กลับมาอ่านแล้วค่ะ

ท่านอายุสั้นนะคะ เสียดายมาก ไม่งั้นลูกหลานคงได้อ่านนิยายวิทยาศาสตร์มากกว่านี้แน่นอน

เดี๊ยนไม่มีโอกาสอ่านหนังสือการ์ตูนแบบนี้เลยค่ะ อาจจะเป็นเพราะไม่ขวนขวายเรื่องการอ่าน อีกอย่างที่บ้านเดี๊ยนไม่มีร้านหนังสือ และในโรงเรียนก็ไม่มีห้องสมุดค่ะ ได้แต่อ่านหนังสือการ์ตูนของคุณจุ๋มจิ๋ม ตุ๊กตา เบบี้ หนูจ๋า อะไรเหล่านี้ เพราะคุณน้าจะซื้อมาจากในตัวจังหวัดค่ะ

ดูในข่าวทีวี เห็นเด็กไทยไปคว้าแชมป์ ประดิษฐ์หุ่นยนต์มา ดูแล้วเด็กไทยเก่งมาก แต่เดี๊ยนก็เห็นได้แชมป์อะไรต่ออะไรมามากมาย พอได้แชมป์แล้วก็หายไป ทางรัฐไม่ได้ต่อยอดให้เด็กๆ เลย เป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากค่ะ

คุณ IM ลองค้นการ์ตูน จุ๋มจิ๋ม ตุ๊กตา เบบี้ มาเขียนในบล๊อกบ้างนะคะ อยากรู้จังว่าเดี๋ยวนี้ยังมีอยู่อีกรึเปล่า ทำให้คิดถึงอดีตอีกค่ะ

ส่วนซีดีหนังเก่าที่เคยบอกว่าจะส่งมาให้ดู กำลังจะ ไรท์ให้บังเอิญเครื่องมันกินแผ่นต้องส่งไปเปลี่ยนใหม่ แผ่นก็เลยมีตำหนิ ไม่แน่ใจว่าจะยังไรท์ได้ไม๊ แต่จะพยายาม หากทำได้จะส่งมาให้คุณ IM ดูนะคะ

 

โดย: ซองขาวเบอร์ 9 12 กรกฎาคม 2552 18:08:02 น.  

 

ที่เห็นชัดๆก็คือ มีเด็กน้อยคนหนึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากคุณจันตรี
ตอนอ่านมาถึงที่ภรรยาและลูกๆช่วยกันทำหนังสือ คิดถึงคุณอัยย์และพี่ๆน้องๆทันที

สมัยนั้นคงต้องต่อสู้ อดทน ไม่น้อย ที่จะทำงานที่ตัวเองรักได้ตลอดรอดฝั่ง

ขอบคุณคุณ IM ที่รวบรวมหนังสือในอดีตที่มีคุณค่าเหล่านี้มาให้ดูกันค่ะ

 

โดย: HoneyLemonSoda 12 กรกฎาคม 2552 18:10:03 น.  

 

ลุงอ่านนิยายแนววิทยาศาสตร์ของท่านจันตรี ศิริบุญรอด หลายเล่มอยู่ครับ รู้สึกจะอ่านตอนเรียนชั้นมัธยม แต่พอเป็นผู้ใหญ่ทำงานทำการก็ไปอยู่ในชนบทไกลเมืองซะ ทำให้การอ่านนิยายของท่านจันตรีหายไป

อย่างไรก็ตาม เท่าที่ทราบลุงพบว่าการเขียนนิยายแนววิทยาศาสตร์นี้ยากมาก แม้หลัง ๆ ทางสมาคมผู้เขียนเรื่องแนววิทยาศาสตร์จะพยายามฟื้นฟู มีการอบรมกัน มีคนเขียนหลายคนแต่สำนวนและการเดินเรื่องไม่ค่อยชวนอ่าน ทำให้การเขียนไม่ค่อยดังโด่ง แม้ว่าผู้รู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ของไทยในตอนนี้จะเก่งกว่าและรู้มากกว่า แต่การเขียนกลับไม่ไปค่อยด้วยกัน

นี่แสดงว่าคุณอินไซน์เป็นนักอ่านและสะสมเรื่องของคุณจันตรีไว้มาก น่าชื่นชมครับ นักเขียนสมัยก่อนมีไม่มากและดังแล้วดังนาน ดังตลอด

ลุงเคยหาซื้อที่เขาพิมพ์รุ่นหลัง ๆ มาได้ดูเหมือนสักเล่มสองเล่ม แต่ไปอยู่มุมไหนแล้วไม่รู้

ตอนที่ลุงมาทำงานให้ สนพ.แห่งหนึ่ง ได้เจอลูกหลานของคุณจันตรี เป็นผู้หญิง ใช้นามสกุลศิริ บุญรอด สอบถามได้ความว่าเป็นหลานปู่ ลุงตรวจและวิจารณ์งานของเธอด้วย ทำให้พบว่ามีแนวโน้มจะไปดีในทางการเขียน แต่ตอนนี้ไม่รู้ว่าเธอจะยังเขียนหรือไม่

งานที่ลุงกับเธอทำร่วมกันตอนนั้นคือ การแปลงข้อมูลจากงานวิจัยระบบสาธารณสุขให้เป็นเรื่องสั้น ถ้าเธอยังทำอยู่ไม่แน่ลูกหลานของท่านจันตรี อาจจะมาสืบต่องานเขียน

สรุปว่าท่านจันตรี เป็นนักเขียนเรื่องแนววิทยศาสตร์ในดวงใจของลุงเช่นกัน

 

โดย: ลุงบูลย์ (pantamuang ) 12 กรกฎาคม 2552 20:29:50 น.  

 

สวัสดีครับ
เรื่องราวของหนังสือวิทยาศาสตร์-มหัศจรรย์ และจันตรี ศิริบุญรอด นี่ผมได้รู้จักจากการอ่านหนังสือของคุณอัยย์ ที่เธออธิบายถึงความประทับใจนั่นแหละครับ ผมก็ไ้ด้แต่นึกตาม เพราะมันเป็นหนังสือเก่าแก่หลายสิบปี
ไม่คิดว่าจะได้มาเห็นหนังสือวิทยาศาสตร์-มหัศจรรย์ เยอะๆแบบนี้ อ่านดูเท่าที่มองเห็น รู้สึกว่า ความคิดความอ่านของท่าน ทันสมัยมากเลย ผมนึกไม่ถึงว่าเมื่อสี่ห้าสิบปีก่อนเมืองไทยมีหนังสือ หรือนิยายวิทยาศาสตร์ดีๆ แบบนี้ด้วย

 

โดย: dj booboo 13 กรกฎาคม 2552 0:01:34 น.  

 

ขอบคุณครับ
ความหลังวันวาน เข้ามานั่งตรงหน้าเลย
คิดถึงหนังสือ วีรธรรม ขึ้นมาจับใจ

 

โดย: สัญจร ดาวส่องทาง 13 กรกฎาคม 2552 0:39:52 น.  

 

มาเก็บความประทับใจต่อค่ะ

เมื่อก่อนนิยายคุณจันตรี ตัวละครติดต่อพูดคุยกันทางจอภาพ

ดูแล้วฮือฮา...เป็นจินตนาการของท่าน ที่ในที่สุดก็เป็นจริงในปัจจุบัน


ทุกปกที่นำมาลงบล็อก...ก็เคยอ่านหมดเลยค่ะ

เสียดายจัง ไม่มีแล้ว...

ป.ล ชวนไปเที่ยวน้ำตกด้วยค่ะ

 

โดย: นักล่าน้ำตก 13 กรกฎาคม 2552 18:18:15 น.  

 

ขอบคุณที่เอามาฝากค่ะ
แต่ไม่เคยอ่านเลย

 

โดย: Fullgold 13 กรกฎาคม 2552 21:07:19 น.  

 





LATOYA JACKSON วัย 53 ปี ออกมาแถลงข่าว
การตายของไมเคิลอาจเป็นการฆาตกรรม

 

โดย: เริงฤดีนะ 13 กรกฎาคม 2552 21:42:41 น.  

 

เคยเอามาลงค่ะ...
แต่หายไปยกบล็อคเลยช่วงนั้น
กู้คืนไม่ได้ค่ะ เสียดาย

 

โดย: Fullgold 13 กรกฎาคม 2552 21:58:31 น.  

 

ขอบคุณมากๆเลยครับ

 

โดย: นายแมมมอส 13 กรกฎาคม 2552 23:16:18 น.  

 

ขอบคุณ คุณ IM นะคะที่อุตส่าห์ส่งการบ้าน

เรื่องของไฮเท็ค รุ่นสว.อย่างเราตามแทบไม่ทัน
เดี๊ยนเองพยายามอย่างมากที่จะวิ่งตามมัน
ตอนใช้มือถือใหม่ๆ เล่นถามอย่างเดียวจนสามีรำคาญมาก
เดี๊ยนถือว่าถ้าไม่ถามแล้วใครจะมาสอนเรา
คุณสามีของเดี๊ยนใช้มือถือแค่รับสายและโทรฯออกอย่างเดียวอย่างอื่นทำไม่เป็น
ก็เล่นไม่ยอมหัดนี่คะ ยิ่งเดี๋ยวนี้ของแบบนี้มันไปเร็วขนาดนักีฬาวิ่ง 100 เมตรยังตามไม่ทันเลย

พูดเรื่องมือถือไหงกลายเป็นนินทาสามีไปได้

 

โดย: ซองขาวเบอร์ 9 14 กรกฎาคม 2552 5:21:42 น.  

 

หวัดดีค่ะคุณอินไซน์ฯ

มาส่งข่าวว่า วันนี้พักน้ำตกเป็นแท็กมือถือหนึ่งวันค่ะ

 

โดย: นักล่าน้ำตก IP: 58.8.93.6 14 กรกฎาคม 2552 17:46:51 น.  

 

สวัสดีครับ
แปลกใจว่าเก็บหนังสือไง อยู่ในสภาพดีมาก
ต้องในตู้ไม้มิดชิด จริงไหมครับ
ชั้นแบบไม่มีกระจกปิด ฝุ่น และจิ้งจกที่รัก จะมาทำลาย
แบบใจดำสุด ๆ หน้าปกสวย ๆ พวกอึใส่ซะ
จิ้งจก นี่ช่วยกินแมลง แล้วทำประโยชน์อะไรอีกบ้าง ผมถามหลายครั้ง พวกไม่ตอบครับ
กลับย้อนถามผมอีก
แล้วมนุษย์ล่ะ นอกจากอย่างว่าแล้ว ทำประโยชน์อะไรบ้าง
เอากะมันสิ
ทำเสียงจิ๊ก ๆจั๊ก ๆ ล้อ แล้วก็ไปปีนกันต่อหน้าต่อตา

แล้วก็มาหาที่ไข่ในหนังสือสุดรักของเราต่อ ไม่สิ้นสุด มันไข่กันจังครับ

ขอโหวด ให้จิ้งจก ตุ๊กแก มด ปลวก หายไปจากโลก
ใครเห็นด้วยยกมือขึ้น....

555
เงียบฉี่เลยแฮะ
มีแต่เสียงจิ้งจกร้องจิ๊กๆๆๆๆๆ สมน้ำหน้า....

 

โดย: สัญจร ดาวส่องทาง 14 กรกฎาคม 2552 19:05:38 น.  

 

เห็นด้วยกับคุณสัญจรครับฯ

ผมว่าจิ้งจกนี่ไม่ว่าสายพันธุ์ไหนก็มักจะเห็นหนังสือสวยๆ
ของเราเป็นส้วนสาธารณะทุกที เผลอเป็นไม่ได้เลยครับ

เดิมเคยเก็บหนังสือไว้ที่ตู้เหล็กมีบานกระจกเลื่อนได้ครับ
แต่ก็ยังมีเจ้าจิ้งจกเด็กๆเล็ดลอดเข้าไปได้อยู่ดี
ช่วงหลังๆ จึงหันไปพึ่งกล่องพลาสติกขนาดใหญ่
ที่มีฝาปิดล็อกได้
พวกจิ้งจกบ้านพากันผิดหวังเป็นแถวๆ...

 

โดย: Insignia_Museum 14 กรกฎาคม 2552 21:10:41 น.  

 

เคยติดนิยายวิทยาศาสตร์อยู่พักนึง แต่ก็ห่างมานานแล้วค่ะ แต่เห็นหนังสือในบล๊อคแล้วทึ่ง เก๋ากึ๋กได้ใจแต่สภาพของหนังสือก็ยังดีมาก ไม่บอกก็รู้ว่าเจ้าของเป็นคนที่รักหนังสือขนาดไหน

 

โดย: haiku 14 กรกฎาคม 2552 22:37:34 น.  

 

ผู้ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์กับเรายุคแรกๆ น่านับถือมากๆ ครับ ยิ่งนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ด้วยแล้ว ย่อมมีจินตภาพกว้างขวางกว่าคนทั่วไป ขณะที่สังคมไทยสมัยก่อนยังไม่ค่อยเข้าใจศาสตร์แห่งธรรมชาติต่างๆ อย่างมีเหตุมีผล ผมว่านักเขียนต้องเผชิญหน้ากับสิ่งท้าทายต่างๆ อย่างมากครับกว่าจะได้ชื่อว่าเป็นบิดานิยายวิทยาศาสตร์ไทย

 

โดย: sarntee 15 กรกฎาคม 2552 11:04:28 น.  

 

มาอ่านเม้นท์ผ่าน ๆ เพิ่งจะรู้ว่า เป็นหนังสือของคุณ IM เองเหรอคะเนี่ย ช่างเก็บ ช่างสะสมจริง ๆ เลยค่ะ

ดู ๆ แล้ว บ้านคุณ IM เนี่ย เปิดให้คนเข้าชมเป็นพิพิธภัณฑ์ย่อย ๆ ได้เลยนะคะเนี่ย ของดี หาชมได้ยากทั้งนั้นเลย

 

โดย: Oops! a daisy 15 กรกฎาคม 2552 11:51:02 น.  

 

วันนี้ไม่ชวนปีนน้ำตกค่ะ

มาชวนไปล่องเรือ...ชมวิว

 

โดย: นักล่าน้ำตก 15 กรกฎาคม 2552 17:51:43 น.  

 

เข้ามาเห็นภาพจิ้งจกคอตก มองกล่องพลาสติกปิดล็อกตาปริบๆ

ที่ไม่ชอบที่สุดคือพอหยิบหนังสือออกมา ไข่จิ้งจกหล่นแป๊ะ
มีซากข้างในเละติดพื้น ให้ต้องทำความสะอาด เก็บไปทิ้งอีกนี่สิคะ

 

โดย: HoneyLemonSoda 15 กรกฎาคม 2552 18:33:07 น.  

 



วันพระสวัสดีค่ะคุณอิม
เสียดายค่ะ ทำไมอายุท่านสั้นจังเลยนะคะ
มีความสุขกับวันสีเขียว สดใส นะคะ

 

โดย: มินทิวา 15 กรกฎาคม 2552 18:53:18 น.  

 

ชื่นชมจากใจจริงค่ะ
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
สวัสดียามเช้าค่ะคุณimช่วงนี้ดิฉันไม่ค่อยได้เข้ามาเยี่ยมบ่อยไม่ใช่ไม่คิดถึงนะคะแต่เวลางานล้นมือมากๆ ทำแทบไม่ได้หยุดเลยค่ะ ดูตารางงานคร่าวๆนะคะ...
17กรกฏาคม/ไปประชุมเพื่อจัดการเรื่องเวลา ของมูลนิธิ๕ธันวาที่พณิชยการราชดำเนิน
21กรกฏาคม/นำนักเรียนไปบันทึกเทป"รำถวายพระพร"ที่ช่อง๗
25-26กรกฏาคม/แต่งหน้าเจ้าสาว
29-31กรกฏาคม/ไปอบรมนาฏศิลป์ไทย(ระบำที่สร้างขึ้นใหม่)ที่วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง(อยากเป็นนักเรียนบ้างค่ะ)
2สิงหาคม/นำเด็กไปแสดงงาน otopที่แฟชั่นไอซ์แลนด์ กรุงเทพ
ยาวเหยียดเลยค่ะนี่ไม่รวมกับภารกิจประจำวัน แต่พอว่างเปิดคอมทันทีเมื่อวานอัฟบล๊อคแต่เช้ากะว่าจะมาเยี่ยมเพื่อนในตอนเย็นก็ยุ่งซะจนม่อยหลับไปตั้งแต่หัวค่ำ ระลึกถึงเสมอนะคะคุณim

 

โดย: เกศสุริยง 16 กรกฎาคม 2552 10:15:40 น.  

 


Photobucket

ลองไปชิมขนมปั้นสิบที่บ้านหน่อยนาค้า

 

โดย: ซองขาวเบอร์ 9 16 กรกฎาคม 2552 19:02:37 น.  

 



วันสุขสวัสดีค่ะคุณอิม
รักษาสุขภาพ และ มีความสุขมาก ๆ นะคะ

 

โดย: มินทิวา 17 กรกฎาคม 2552 8:25:16 น.  

 

มาชวนไปล่องเรืออีกรอบค่ะ

สบายดีนะคะวันนี้...

 

โดย: นักล่าน้ำตก 17 กรกฎาคม 2552 14:01:33 น.  

 

ไม่เคยเห็นเล่มจริงของหนังสือเหล่านี้เลย แต่เคยเห็นภาพถ่ายและได้เคยอ่านงานเขียนของครูจันตรี ที่มีหนังสือบางเล่มคัดเอาบางส่วนมาให้อ่าน (ไม่แน่ใจว่าเป็นทักษะ หรือรู้รอบตัว หรืออัพเดทครับ)

 

โดย: bite25 17 กรกฎาคม 2552 15:44:37 น.  

 

เห็นด้วยทีเดียวค่ะ ว่าเขียนได้น่าอ่าน น่าจะมีใครในยุคปัจจุบันเขียนเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ให้ดูง่ายลงและเข้าใจง่ายนะคะ แบบ adaptation น่ะ

 

โดย: รัชชี่ (รัชชี่ ) 17 กรกฎาคม 2552 16:33:07 น.  

 

ฮือ...ปกสุดยอดไปเลยทุกเล่มค่ะคุณIm...นกไม่เคยอ่านแนวนี้เลย....แต่ท่าทางเยี่ยมไปเลย

 

โดย: popang (popang ) 17 กรกฎาคม 2552 20:44:26 น.  

 

สวัสดีค่ะ

พิมไม่เคยรู้เรื่องที่เล่าในวันนี้อีกละคะ ขอบคุณมากนะคะ ที่แนะนำสิ่งต่างๆหลายๆอย่างให้ได้รับรู้ค่ะ

 

โดย: pim(พิม) 17 กรกฎาคม 2552 23:52:39 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
มาทักทายก่อนเข้านอนค่ะคุณim วันนี้ไปประมูลเวลาแสดงของมูลนิธ๕ธันวามาค่ะ เหนื่อยแต่ก็คิดถึงเพื่อนๆ ขอให้มีความสุขมากๆนะคะคุณim

 

โดย: เกศสุริยง 18 กรกฎาคม 2552 0:15:03 น.  

 

หวัดดีค่ะ คุณ IM วันหยุดแบบนี้ไม่อัพบล็อกเหรอค่ะ แฟนขับรออยู่นะ

 

โดย: Oops! a daisy 18 กรกฎาคม 2552 18:56:49 น.  

 

แวะมาขอบคุณคุณImค่ะ ที่ชอบภาพของนกและให้ข้อมูลเรื่องตลาดน้ำไว้...อยากจะหาเวลาไปถ่ายแนวๆนี้อีกนะคะ

 

โดย: popang (popang ) 18 กรกฎาคม 2552 19:29:57 น.  

 


Harry Potter ตอนที่ 6 นี้ ยังไม่ได้อ่าน
ธรรมดาก็ชอบดูแฮรี่อยู่แล้ว พอไม่ได้อ่านหนังสือ(ไม่รู้เรื่องมาก่อน)..ยิ่งสนุกใหญ่เลยค่ะ
ก็หนีแฟนไปดูเหมือนกัน...
ไม่ใช่อะไรหรอก..เดี๋ยวก็ต้องได้ไปดูซ้ำอีกรอบอยู่แล้ว อิ อิ.. อย่าว่าแต่เด็กที่บ้านแอบบไปดูเลย
(ผู้ใหย๋ก็แอบไปเหมือนกันนนน) อิ อิ

GO TO PROFILEYOURPAGE.COM WITH OVER 50 THOUSAND GRAPHICS
PROFILEYOURPAGE.COM

 

โดย: เริงฤดีนะ 18 กรกฎาคม 2552 20:43:07 น.  

 

เหอๆๆ ไม่อยากบอกเลยว่าบางเล่มที่บ้านยังมีอยู่เลยค่ะ
แต่กระดาษเหลืองอ๋อย....
มีกลิ่น(หอม สะจาย)
เวลาจะเปิดดู(ระลึกถึงฟามหลัง)
ต้องค่อยๆ ประคองแผ่นไม่ให้หัก(เพราะกรอบเหลิอเกิน)
ปล. ถ้า จบข.รู้วิธีรักษาหนังสือเก่า บอกบ้างน่ะค่ะ
อยากรู้มากเลยค่ะ
ที่บ้านมีเก่าสุด สมัยเล่มละ 1 สตางค์
ชุดแม่ปลาบู่ทอง /พระสุวรรณสาม อ่ะค่ะ
อยากเก็บไว้ให้นานๆ แต่ไม่รู้ว่าจะทำไงดีอ่ะค่ะ

 

โดย: mutcha_nu 18 กรกฎาคม 2552 21:33:37 น.  

 

+ เหมือนรูปหนังสือที่พี่ IM ยกมา ผมจะเคยเห็นผ่านๆ ตาตอนเป็นเด็กมากๆ นะครับ แล้วพอโตขึ้นมาหน่อย ก็ไม่เคยเห็นแล้วอ่า

+ ประวัติท่าน น่าสนใจดีนะครับผม ... ถ้าสังคมไทยมีคนที่มีความรู้ความเข้าใจในวิทยาศาสตร์มากกว่านี้ มันก็อาจส่งผลให้ผู้คนในสังคมมีความคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น แล้วก็จะส่งผลถึงด้านอื่นๆ ทั้งทางด้านการศึกษา, สังคม, เศรษฐกิจ, การเมือง ฯลฯ ให้เราไปกันได้ไกลมากกว่านี้ ไม่ยุ่งเป็นยุงตีกันอย่างทุกวันนี้ก็เป็นได้เนอะขอรับ

 

โดย: บลูยอชท์ 19 กรกฎาคม 2552 0:26:31 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
แวะมาทักทายยามดึกค่ะคุณim ช่วงนี้ยุ่งมากๆอาจจะมาทักทายไม่เป็นเวลาแต่ก็พยายามจะมา คิดถึงนะคะ

 

โดย: เกศสุริยง 19 กรกฎาคม 2552 1:04:56 น.  

 

ผมจำได้รางๆ ครับว่า เคยอ่านผลงานของคุณ จันตรี แต่จำะไรได้น้อยมาก แรงบันดาลใจจริงๆ ของผมมาจาก เซอร์ อาเธอร์ ซี คลาร์ก

โลกวิทยาศาสตร์ของบ้านเราในวันนี้ น้อยมาก คับแคบมาก ถ้าหากเราเชื่อตามคำพูดของไอน์สไตน์ที่ว่า จินตนาการ สำคัญมากกว่า ความรู้ โลกแห่งจินตนาการทางวิทยาศาสตร์คือนิยายวิทยาศาสตร์นั้น แทบจะาหที่ยืนเอาไม่ได้เลย

นอกจากวารสาร update แล้ว ผมยังมองอย่างอื่นไม่เห็น

โปรดช่วยๆ กันกระตุ้นให้เด็กไทย รักในนิยายวิทยาศาสตร์ด้วยเถอะครับ

 

โดย: จัตวาลักษณ์ IP: 124.122.255.32 19 กรกฎาคม 2552 22:24:04 น.  

 

รบกวนขอยืมภาพบางส่วนในบล็อกนี้ไปประกอบบทความหน่อยนะครับ .....

 

โดย: mr robot IP: 125.25.211.231 8 กุมภาพันธ์ 2553 16:02:10 น.  

 

คงไม่ล่าช้าเกินไปที่จะมาร่วมออกความเห็นนะครับ

เรื่องราวของอาจารย์จันตรี ศิริบุญรอด นั้นเป็นตำนานนักเขียนเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ และนิยายวิทยาศาสตร์ในบรรยากาศไทยๆ เลยทีเดียว

ในช่วงแรกๆ การเขียนมักจะเน้นไปในทางนวนิยายตามแบบฉบับ แฟลช กอร์ดอน ซึ่งไม่ค่อยอิงตามหลักวิทยาศาสตร์เท่าใดนัก แต่สมัยนั้น มีคำที่คุ้นๆ ตาที่อาจารย์จันตรี ได้นำมาใช้ในการเขียนนวนิยาย คือ เวหาสยาน รังสีมฤตยู กล้องโทรทรรศน์ ฯลฯ ส่วนชื่อบุคคล มักจะวนเวียนอยู่เพียงไม่กี่ชื่อ เช่น กรันต์ กรมันต์ ยันตรมัย จันทรา ฯลฯ เรียกได้ว่าพอเห็นชื่อเหล่านี้เกี่ยวกับนวนิยายทางวิทยาศาสตร์ แทบไม่ต้องพลิกกลับไปดูที่ปก เดาได้เกือบ 100 % ว่าเป็นผลงานของอาจารย์จันตรี ศิริบุญรอด

ใช่วงหลัง นิยายวิทยาศาสตร์ได้เปลี่ยนมาเป็นเรื่องสั้น และมีลักษณะที่เป็นไทยมากขึ้น เช่น ดารณี 7 เป็นเรื่องเกี่ยวกับยานอวกาศของไทยที่มีมนุษย์อยู่ภายในส่งไปโคจรรอบโลก หุ่นล้างโลก เกี่ยวกับเรื่องหุ่นยนต์ที่พยายามควบคุมโลกมนุษย์ ซึ่งเกิดก่อนเรื่อง "คนเหล็ก" นับ 40 ปี และมีเรื่องการขยายพันธุ์พืชเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนอาหารของมนุษย์ แต่กลับเป็นหายนะของชาวโลก ยานสำรวจใต้พิภพ ที่กลับขึ้นมาด้วยหลักฐานอันน่าทึ่งว่าโลกเรานั้นเคยเป็นยานอวกาศขนาดมหึมาที่ตายแล้ว รวมถึงคดีฆาตกรรม หัวที่ไร้ร่าง ที่นักวิทยาศาสตร์ผู้บ้าคลั่งได้ก่อคดีลวงคนหลายอาชีพไปฆ่าแต่นำหัวไปเลี้ยงโดยต่อเชื่อมกับอุปกรณ์ดำรงชีพทางวิทยาศาสตร์ ในลักษณะต่อเป็นกลุ่มเซล เพื่อประโยชน์ด้านระดมความคิดจากหัวที่ถูกเลี้ยงเหล่านี้ ฯลฯ เรียกว่ามีหลากหลายรูปแบบจริงๆ แม้จะมีการรวมเล่มในภายหลัง แต่มีเพียงเสี้ยวเดียวของผลงานเท่านั้น

เสียดาย... ที่อาจารย์จันตรี ศิริบุญรอด ได้ล่วงลับเร็วเกินไป หากมีชีวิตยืนยาวจนได้เห็นเรื่องของสถาบันสถาปนา นิยายชุดโลหะนคร หรือเรื่อง 2001 space odyssy อาจมีความคิดแนววิทยาศาสตร์ที่เลอเลิศ หลากหลายกว่านี้ก็ได้

 

โดย: owl2 5 กันยายน 2553 13:29:51 น.  

 

ยินดีที่คุณ owl2 มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ ได้รับรู้แง่มุมการทำงานของท่านและความเป็นมาอย่างละเอียดครับ

 

โดย: Insignia_Museum 6 กันยายน 2553 21:42:31 น.  

 

หลาย ๆ เล่มเคยเห็นตอนเด็ก ๆ และบางเล่มก็เคยหยิบขึ้นมาอ่าน ตอนนี้อยากอ่านแต่ก็ไม่รู้ว่าจะหาอ่านได้ที่ไหน มีต้นฉบับอยู่น่าจะหาวิธีการให้ผู้สนใจได้อ่านกันบ้างนะครับ เรื่องสั้นและนิยายของจันตรีอาจจะมีการรวบรวมพิมพ์แล้วและยังพอจะหาอ่านได้ แต่อีกหลาย ๆ เรืี่่องที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ก็คงจะสูญหายไปพร้อม ๆ กับต้นฉบับที่หายากขึ้นทุก ๆ ทำอย่างไรที่จะได้เห็นในรูปแบบเดียวกับที่เว็บไซต์ "หนังสือเก่าชาวสยาม" ของศูนย์มานุษยวิทยาใช้ในการเผยแพร่นิตยสารสยามสมัย และหนังสือเก่า/เอกสารเก่า ๆ กำลังทำอยู่ครับ

 

โดย: winai IP: 115.67.65.58 13 กันยายน 2555 3:22:02 น.  

 

จำได้ตอนอยู่ชั้นอนุบาล น่าจะเป็นหนังสือภาพเล่มใหญ่ๆ เรื่องยาตัวเบา และที่ดูจากรูปก็เคยเห็นหลายเล่มอยู่นะ น่าจะเคยอ่านหลายเล่ม แต่จำไม่ได้ โห ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ขอบคุณผู้เขียนครับ

 

โดย: poohktt IP: 110.168.232.13 24 ตุลาคม 2558 12:39:37 น.  

 

มาเยี่ยมชม มาทักทายครับ

เข้ามาหาข้อมูลของจันตรี ศิริบุญรอดครับ ผมเกิดไม่ทันไม่เคยได้อ่านนิยายวิทยาศาสตร์แบบนี้เลยครับ พอดีว่าได้ไปเรียการเขียน แล้วอาจารย์ตกตัวอย่างนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ของไทยเลยยกชื่อ จนตรี ศิริบุญรอดมาครับ

ตอนนี้ได้รู้จักแล้ว ขอบคุณมากครับ

อิอิ

 

โดย: อาคุงกล่อง 24 ธันวาคม 2558 13:51:21 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Insignia_Museum
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 66 คน [?]




ความตั้งใจในการทำบล็อกเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เริ่มต้นด้วยการเขียนถึงถิ่นที่อยู่ในวัยเด็ก ต่อมาเป็นเรื่องเครื่องหมายต่างๆ เรื่องศิลปะ ภาพถ่ายในยุคก่อนๆ อาหารการกิน และอะไรต่อมิอะไรที่ประสบพบเห็น สนใจอะไรขึ้นมาก็อยากรู้ให้มากขึ้น กลุ่มเนื้อหาจึงแตกแขนงไปเรื่อยๆ
New Comments
Friends' blogs
[Add Insignia_Museum's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.