WishRich
Group Blog
 
All Blogs
 

สมุนไพร-กระทงลาย

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/kratonglai2.jpg




กระทงลาย สมุนไพร
ผลกระทงลายเมื่อแก่เต็มที่เกสรอยู่ปลายผลก็จะหลุดออก ผลแตกออกเป็นห้อง 3
ห้อง เนื้อหุ้มเมล็ดมีสีแดง เมล็ดเป็นรูปรี



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Celastrus paniculatus willd.


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ :
CELASTRACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
กระทุงลาย โชด (ภาคกลาง); มะแตก-เครือ มักแตก ,
มะแตก(ภาคเหนือ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); นางแตก(นครราชสีมา)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพรกระทงลายเป็นพรรณไม้
พุ่มเลื้อย มีความสูงประมาณ 2-10 เมตร ลักษณะเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลแดง


ใบ : ใบกระทงลายเป็น
ใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ หรือรูปรี
โคนใบสอบเข้าหากันมนส่วนปลายใบแหลม หรือมน ริมขอบใบหยัก
ละเอียดเป็นฟันเลื่อยหลังใบมีพื้นผินเรียบ ใต้ท้องใบจะมีเส้นใบมี 5-8 คู่
เห็นได้ชัดขนาดของใบกว้างประมาณ 1-2.5 นิ้ว ยาวประมาณ 2-6 นิ้ว
มีก้านใบยาวประมาณ0.5-1.5 ซม.


ดอก : กระทงลายออก
ดอกเป็นช่อ ยาวประมาณ 4-8 นิ้ว
ซึ่งออกอยู่บริเวณปลายยอดลักษณะของดอกมีทั้งดอกเพศผู้และเมียซึ่งมักจะแยก
กันคนละต้นลักษณะของดอกเพศผู้ กลีบรองกลีบดอกมี 5
กลีบโคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง
ปลายกลีบดอกแยกออกเป็นแฉกรูปค่อนข้างกลม มีขนขึ้นประปราย
ฐานดอกเป็นรูปถ้วยนูนตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้มี 5 อัน ยาวราว
2-2.5มม.สำหรับดอกเพศเมียจะมีลักษณะฐานดอกและกลีบรองกลีบดอก
จะเหมือนกับดอกเพศผู้แต่ตรงกลางดอกเป็นเกสรตัวเมียยาวราว 2-2.5มม.
ยอดเกสรมี 3พู




กระทงลาย สมุนไพร ลำต้นกระทงลายใช้เป็นยาแก้วัณโรค
แก้ไข้มาลาเรีย ใบใช้เป็นยาแก้โรคบิดกระตุ้นประสาท และใช้เป็นยาถอนพิษฝิ่น


ผล : ผลกระทงลายมีลักษณะ
ค่อนข้างกลม ปลายผลมียอดเกสรตัวเมียติดอยู่ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 มม.
ยาวประมาณ 5-10มม.แต่พอผลแก่เต็มที่เกสรอยู่ปลายผลก็จะหลุดออก
ผลแตกออกเป็นห้อง 3 ห้อง

เมล็ด : เนื้อหุ้มเมล็ดมี
สีแดง เมล็ดเป็นรูปรี มีความกว้างราว 2-3มม. ยาวราว 3.5-5 มม.


การขยายพันธุ์ :
กระทงลาย เป็นพรรณไม้ที่มีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด


ส่วนที่ใช้ : ลำ
ต้น ใบ เปลือก เมล็ด ผล


สรรพคุณของสมุนไพร:


ลำต้น ใช้เป็นยาแก้วัณโรค
แก้ไข้มาลาเรีย


ใบ
ใช้เป็นยาแก้โรคบิดกระตุ้นประสาท และใช้เป็นยาถอนพิษฝิ่น วิธีใช้ด้วยการต้ม
หรือคั้นเอาน้ำกิน


เปลือก ใช้เป็นยาทำแท้ง


เมล็ด
นำมาตำให้ละเอียดใช้พอก หรือกินเป็นยาแก้โรคอัมพาต
และโรคปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ยาแก้ไข้เมื่อคั้นเอาน้ำมันจากเมล็ด
ใช้เป็นยาแก้โรคเหน็บชา ขับเหงื่อ เป็นต้น


ผล ใช้เป็นยาแก้ลมจุกเสียด
บำรุงเลือด และใช้เป็นยาถอนพิษงู เป็นต้น


ถิ่นที่อยู่ :
กระทงลาย
เป็นพรรณไม้ที่มักพบบริเวณป่าดิบ ป่าเบญจพรรณชื้นทั่วไป




ไม่พบบทความสมุนไพรที่เกี่ยวข้อง.







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 11:43:35 น.
Counter : 530 Pageviews.  

สมุนไพร-กระต่ายจันทร์

สมุนไพรกระต่ายจันทร์เป็นพรรณไม้ล้มลุก <br>ที่มีลำต้นทอดนอนไปตามพื้นดินที่ชื้นเย็น <br>ขนาดเล็กส่วนปลายจะแตกกิ่งก้านชูตั้งขึ้น

สมุนไพรกระต่ายจันทร์เป็นพรรณไม้ล้มลุก
ที่มีลำต้นทอดนอนไปตามพื้นดินที่ชื้นเย็น
ขนาดเล็กส่วนปลายจะแตกกิ่งก้านชูตั้งขึ้น



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centipeda
minima (Linn.) A.Br. & Ascher


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
หญ้าจาม (เชียงใหม่) กะต่าย หญ้ากะต่ายจาม หญ้าต่ายจาม กะต่ายจาม
(ภาคกลาง) หญ้ากระจาม(สุราษฎร์) หญ้าจาม(ชุมพร) เหมือดโลด (นคาราชสีมา)
โฮ่วเกี๋ยอึ้มเจี๋ยะเช้า (จีน)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพรกระต่ายจันทร์เป็น
พรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นทอดนอนไปตามพื้นดินที่ชื้นเย็น
ขนาดเล็กส่วนปลายจะแตกกิ่งก้านชูตั้งขึ้น
ลำต้นที่อ่อนบางต้นก็จะมีขนยุ่งหรือบางต้นก็ค่อนข้างเรียบ


ใบ : ใบกระต่ายจันทร์ออก
ดก ลักษณะของใบเล็ก โคนใบสอบแคบ ปลายใบมน ริมขอบใบเว้าหยักเป็นง่ามข้างละ
2-3 หยัก ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-7 มม. ยาวประมาณ 4-22
มม.ใบอ่อนใต้ท้องใบมีขน พอแก่ขนนั้นก็จะหลุดออกเกลี้ยง


ดอก : กระต่ายจันทร์ออก
ดอกเป็นกระจุก ตามบริเวณง่ามใบของมัน
ลักษณะของดอกค่อนข้างกลมแบนปลายกลมจักเป็นซี่ ๆ
ขนาดของดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-4 มม.วงนอกของดอกมีกลีบดอกเป็นสีขาว
ดอกวงในมีกลีบดอกเป็นสีเหลืองหรืแต้มสีม่วง ฐานดอกจะนูนไม่มีก้านดอก




กระต่ายจันทร์ สมุนไำพร
ลักษณะของดอกกระต่ายจันทร์



เมล็ด : เมล็ดกระต่าย
จันทร์
มีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ยาว 1 มม. ส่วนปลายจะหนา
เปลือกนอกมีขนเล็กน้อยสีขาว


การขยายพันธุ์ : สมุนไพรกระต่าย
จันทร์
เป็นพรรณไม้ที่มักพบตามชายฝั่งแม่น้ำตามนาข้าวหรือตามที่ชื้น
เช้นเดียวกับตะไคร้น้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวีธีการเพาะเมล็ด


ส่วนที่ใช้ :
ลำต้น ใบ เมล็ด


สรรพคุณของสมุนไพร:


ลำต้น ลำต้นสมุนไพรกระต่ายจันทร์ป็น
ยาแก้ระงับพิษ ดับพิษสุรา แก้โรคเยื่อบุตาอักเสบ บำรุงสายตาดี ริดสีดวงทวาร
โรคมาลาเรีย ฟันผุ เกี่ยวกับทางเดินอาหาร ใส่แผล
วิธีการใช้ด้วยนำเอาลำต้นที่แห้งทำเป็นยาชง ดื่มกิน
หรืออาจใช้ลำต้นสดเอามาตำให้ละเอียดแล้วทำเป็นยาพอกที่แก้มแก้โรคปวดฟัน


ใบและเมล็ด
ใช้บดเป็นผงเป็นยาทำให้จาม


เมล็ด ใช้เป็นยาขับพยาธิ





 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 11:41:44 น.
Counter : 456 Pageviews.  

สมุนไพร-กระดูกไก่ดำ

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/kradukkaidam.jpg


กระดูกไก่ดำ สมุนไพร นำใบสดกระดูกไก่ดำมาตำและเอาน้ำมาดื่ม <br>แก้ปวดศีรษะ โรคหืด ไอ อัมพาต นำมาตำคั้นน้ำมาผสมกับเหล้ากิน แก้ไอ <br>อาเจียนเป็นเลือด ช้ำใน ขับปัสสาวะบวมตามข้อ

กระดูกไก่ดำ สมุนไพร
นำใบสดกระดูกไก่ดำมาตำและเอาน้ำมาดื่ม แก้ปวดศีรษะ โรคหืด ไอ อัมพาต
นำมาตำคั้นน้ำมาผสมกับเหล้ากิน แก้ไอ อาเจียนเป็นเลือด ช้ำใน
ขับปัสสาวะบวมตามข้อ



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Gendarussa vulgaris Nees.


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ :
ACANTHACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
กระดูไก่ดำ (ทั่วไป) เฉียงพร้าบ้าน เฉียงพร้ามอญ ผีมอญ
สันพร้ามอญเฉียงพร้าม่าน เกียงพา สำมะงาจีน(ภาคกลาง)
เฉียงพร้า(สุราษฎร์ธานี)กระดูกดำ (จันทบุรี) ปองดำ(ตราด) กุลาดำ
บัวลาดำ(ภาคเหนือ)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพรกระดูก
ไก่ดำ
เป็นพรรณไม้พุ่มเล็ก มีลำต้นสูงประมาณ 90-100
ซม.ลักษณะของลำต้นและกิ่งเป็นปล้องข้อ คล้ายกระดูกไก่
ขนาดข้อลำต้นยาวประมาณ 2.5-3 นิ้วข้อของกิ่งยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว ลำต้น ใบ
กิ่งก้าน มีสีแดงเรื่อ


ใบ : ใบกระดูกไก่ดำมี
ลักษณะเป็นรูปหอกโคนและปลายแหลม
ริมขอบใบเรียบไม่มีหยักเส้นกลางใบสีแดงขนาดใบกว้าง 0.5-1.5 นิ้ว ยาวประมาณ
3-5 นิ้ว ก้านใบสั้น


ดอก : กระดูกไก่ดำออก
ดอกเป็นช่อบริเวณปลายดอก ช่อยาวประมาณ 2-3 นิ้ว
ลักษณะของดอกกลีบดอกมีสีขาวอมเขียว แกมชมพู
โคนกลีบดอกติดกันส่วนปลายกลีบแยกเป็นกลีบล่างบน
ลักษณะกลีบล่างโค้งงอนเหมือนช้อนข้างในหลอดดอกมีเกสรตัวผู้ 2 อัน
ซึ่งจะโผล่พ้นหลอดออกมา


ผล : ผลของกระดูกไก่ดำมี
ลักษณะเป็นฝัก ยาวประมาณ 1.3-1.5 ซม.


การขยายพันธุ์ : กระดูก
ไก่ดำ
เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นเองตามลำธารในป่าดงดิบหรือมักปลูกตามบ้าน
ใช้ทำรั้ว ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ


ส่วนที่ใช้ :
ใบ ราก


สรรพคุณของสมุนไพร :


ใบ นำใบสดกระดูกไก่ดำมา
ตำและเอาน้ำมาดื่ม แก้ปวดศีรษะ โรคหืด ไอ อัมพาต
นำมาตำคั้นน้ำมาผสมกับเหล้ากิน แก้ไอ อาเจียนเป็นเลือด ช้ำใน
ขับปัสสาวะบวมตามข้อ กากของใบนำมาพอกแผลที่พิษอสรพิษขบกัด ใบนำมาต้มและดื่ม
แก้ช้ำแก้ไข้ ลดความร้อน ขับเลือดข้นในร่างกายให้กระจาย


รากและใบ ตำรากและใบของกระดูก
ไก่ดำ
ผสมกันแล้วนำมาพอกแผล ถอนพิษ นำมาต้มใช้อาบน้ำแก้โรคผิวหนัง
ผื่นคัน


อื่น ๆ :


กระดูกไก่ดำ ในมาเลเซียถือว่าเป็นไม้อันศักดิ์สิทธิ์
ป้องกันภูตผี หรือป้องกันภัย







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 11:39:20 น.
Counter : 592 Pageviews.  

สมุนไพร-กระชับ

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/XanthiumStrumarium.jpg




กระชับ สมุนไพร
ลักษณะดอกกระชับมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ในต้นเดียวกันดอกเพศผู้มี
ลักษณะค่อน ข้างกลม ขนาดเล็ก



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Xanthium strumarium Linn.


ชื่อสามัญ :Cocklebur
, Burweed


ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ:
กระชับ (ภาคกลาง) มะขะขัดน้ำ (ภาคเหนือ),
หญ้าผมยุ่ง(เชียงใหม่)ขี้อัน,เกี๋ยงน้ำ(ภาคเหนือ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ),
ขี้อันน้ำ(นครพนม),ขี้อันดอน(ขอนแก่น,เลย) ขี้ครอก(ราชบุรี)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพรกระชับเป็น
พรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะลำต้นตั้งตรง
กิ่งก้านของมันมีขนขึ้นประปราย


ใบ: ใบกระชับมี
ลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ใบจักเว้าเป็น 3-5 แฉกริมขอบใบหยิกเป็นซี่ฟันปลา
เนื้อใบบาง พื้นผิวหลังและใต้ท้องใบหยากสากใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-5 นิ้ว
ก้านใบยาวประมาณ 1-4 นิ้ว


ดอก: ลักษณะดอกกระชับมี
ทั้งดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ในต้นเดียวกันดอกเพศผู้มีลักษณะค่อน ข้างกลม
ขนาดเล็ก ส่วนปลายท่อกลีบจะเป็นหยัก 5
หยักและตรงกลางดอกก็จะมีเกสรตัวผู้โผล่พ้นท่อดอกออกมา
ดอกจะออกบริเวณปลายยอด สำหรับดอกเพศเมียจะออกบริเวณง่ามใบ มีดอก 2 ดอก
เป็นดอกไม่มีกลีบมีริ้วประดับเป็นรูปรี ตรงท่อเกสรตัวเมียจะแยกออกแฉกยาว


ผล:
ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรี มีความกว้างประมาณ 6-12 มม. ยาวประมาณ10-18
มม. ปลายผลมีจะลอยแหลม 2 อัน พื้นผิวมีหนามยาวประมาณ 1.5-2 มม.ผลไม่มีก้าน


การขยายพันธุ์ :
กระชับเป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นบริเวณริมตลิ่ง ชายทะเล
หรือตามที่รกร้าง ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด


ส่วนที่ใช้ :
ลำต้น ใบ ราก ผล เมล็ด


สรรพคุณของสมุนไพร :


ลำต้น ลำต้นกระชับเป็น
ยาแก้โรคมาลาเรีย ขับเหงื่อ ขับน้ำลาย ระงับประสาทแก้โรคไขข้ออักเสบ
โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้ปวดประจำเดือน มุตกิดโรคกระเพาะอักเสบ
แก้ปวดกล้ามเนื้อเป็นต้น


ใบ ใบกระชับแก้
โรคที่เกี่ยวกับต่อมน้ำเหลือง งูสวัด เริม


ใบและลำต้น
ตำให้ละเอียดพอกแผลบวมปวด แมลงกัดต่อย รักษาโรคหิด
นำมาต้มเอาน้ำมาล้างแผลปวดศีรษะ ปวดหู แก้หวัด


ราก รากกระชับเป็น
ยาแก้วัณโรคต่อมน้ำเหลือง มะเร็ง เป็นยาขมเจริญอาหาร


รากและใบ เป็นยาสมานแผล
ห้ามเลือด


ผล ผลกระชับเป็น
ยาแก้ไข้ทรพิษ ยาเย็น ยาบำรุง แก้ริดสีดวงจมูก
ระงับการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ อัมพาต ลมพิษ โรคท้องมาน เป็นต้น


เมล็ดและใบ แก้โรคเรื้อน







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 11:35:45 น.
Counter : 345 Pageviews.  

สมุนไพร-กระจับนก

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/krajubnhok1.jpg




กระจับนก สมุนไพร ใบกระจับนกเป็นใบเดี่ยว
ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมโคนใบสอบเข้าหากัน
ริมขอบใบค่อนข้างเรียบหรือมีหยักเล็กน้อย



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Euonymus cochinchinensis Pierre


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ : CELASTRACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ
:  กระจับนก (เชียงใหม่) มะดะ (เชียงราย)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพรกระจับนกเป็น
พรรณไม้ยืนต้น ที่มีขนาดเล็ก มีเส้นรอบวงยาวประมาณ 5.5 นิ้ว
มีความสูงประมาณ 12 มม.


ใบ: ใบเป็นใบเดี่ยว
ลักษณะของใบกระจับนกเป็นรูปขอบขนาน
ปลายใบเรียวแหลมโคนใบสอบเข้าหากัน ริมขอบใบค่อนข้างเรียบหรือมีหยักเล็กน้อย
ผิวเนื้อบางขนาดของใบกว้างประมาณ 1-3 นิ้ว ยาวประมาณ 2-6.5 นิ้ว
ก้านใบยาวประมาณ 3-8มม. ใบออกตรงข้ามกันเป็นคู่


ดอก : ดอกกระจับนกออก
เป็นช่อ ๆ หนึ่งยาว 1-4 ดอกออกบริเวณง่ามใบ ดอกมีลักษณะเป็นสีเหลืองอมเขียว
หรือสีเหลืองออ่น กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ
กลีบรองกลีบดอกเล็ก ยาวราว 1.5-2.5 มม.กว้างราว 2-4 มม.
โคนกลีบของมันเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแยกเป็นกลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ
มีขนาดกว้างประมาณ 4-5 มม.โคนดอกแผ่ออกเป็นจานค่อนข้างกลม
ตรงกลางดอกมีทั้งเกสรตัวผู้ และตัวเมีย




กระจับนก สมุนไพร
ดอกกระจับนกมีลักษณะเป็นสีเหลืองอมเขียว หรือสีเหลืองออ่น
กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ



ผล :
ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ส่วนปลายผลนูน จักเป็นพูลึก 5 พู ยาวราว 1 ซม.


เมล็ด : เมล็ดกระจับ
นก
เป็นรูปรี ปลายและโคนมน มีขนาดยาวราว 5-6 มม.


การขยายพันธุ์ : กระจับ
นกเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง ทนต่อความร้อน และแสงแดดได้ดี
มีการขยายพันุ์ด้วยการตอนกิ่ง หรือการเพาะเมล็ด


ส่วนที่ใช้ :
เปลือก


สรรพคุณของสมุนไพร :


เปลือกต้น
นำเอาเปลือกต้นของกระจับนกมาดองหรือแช่ในสุรา
ใช้ดื่มกินก่อนอาหารจะทำให้อยากอาหาร รับประทานอาหารได้มาก ทำให้เจริญอาหาร


ถิ่นที่อยู่ :
กระจับนก เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นตามบริเวณป่าที่มีระดับต่ำถึง 1.3 กม.







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 11:33:39 น.
Counter : 708 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  

WishRich
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มาเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองไปพร้อม ๆ กัน เพื่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงานครับ
Friends' blogs
[Add WishRich's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.