WishRich
Group Blog
 
All Blogs
 
สมุนไพร-ขลู่

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/pluchea1.jpg

ขลู่ สมุนไพร
ขลู่จะออกดอกเป็นช่อฝอยมีสีขาวนวล หรือสีม่วง
จะออกตามง่ามใบดอกวงนอกเป็นดอกเพศเมีย


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pluchea
indica (Linn.) Less.


ชื่อสามัญ :
Indian Marsh Fleabane


ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : หนาด
งัว หนาดวัว หนวดงั่ว หนวดงิ้ว (อุดรธานี) ขี้ป้าน (แม่ฮ่องสอน)
ขลู่(ภาคกลาง) คลู ขลู (ภาคใต้) หลวน ซี (จีนกลาง) หล่วงไซ (แต้จิ๋ว)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพรขลู่เป็น
พรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 0.5-2 เมตร
แตกกิ่งก้านมากและเกลี้ยง


ใบ: จะมีกลิ่นฉุน
ใบเล็กรูปไข่กลับ มีความยาวประมาณ 1-5.5 ซม. กว้างประมาณ2.5-9 ซม.
ตรงปลายใบของมันจะมีลักษณะแหลม หรือ
แหลมมีติ่งสั้นขอบใบจะเป้นซี่ฟันและแหลม เนื้อในจะคล้ายกระดาษ
ค่อนข้างเกลี้ยงแต่ไม่มีก้าน


ดอก :
ขลู่จะออกดอกเป็นช่อฝอยมีสีขาวนวล หรือสีม่วง
จะออกตามง่ามใบดอกวงนอกเป็นดอกเพศเมีย ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ


ก้านช่อดอก : จะมีความยาว
ประมาณ 2-6 มม. แต่ไม่มีก้านดอก


ริ้วประดับ : มีลักษณะแข็ง
สีเขียว และเรียงกันประมาณ 6-7 วง วงอยู่นอกนั้นจะเป็นรูปไข่
วงที่อยู่ในจะคล้ายรูปหอกแคบและตรงปลายของมันจะแหลม


กลีบดอก :
ดอกวงนอกกลีบดอกยาวประมาณ 3-3.5 มม.
ดอกวงในกลีบดอกจะเป็นรูปท่อมีความยาวประมาณ 4-6 มม.
ปลายจักเป็นซี่ฟันประมาณ5-6 ซี่


อับเรณู :
ตรงโคนจะเป็นรูปหัวลูกศรสั้น ๆ


เกสร : ท่อเกสรตัวเมียจะมี
2 แฉกสั้น ๆ


ผล : แห้ง
จะมีรูปทรงกระบอกยาวประมาณ 0.7 มม. มีสัน 10 สัน ระยางค์มีน้อย สีขาว
ยาวประมาณ 4 มม. แผ่กว้าง


การขยายพันธุ์ : ขลู่เป็น
พรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามที่ลุ่มแฉะ ริมห้วยหนอง ตามหาดทายด้านหลัวป่าชายเลน
นิยมปลูกเป็นพืชสมุนไไพร การปลูกใช้วิธีการปักชำโดยตัดต้นชำลงดิน
รดน้ำให้ชุ่มปลูกขึ้นง่าย ไม่ต้องการดูแลรักษาแต่อย่างใด


สรรพคุณของสมุนไพร :


ทั้งต้น ใช้ต้มกิน
รักษาอาการขัดเบา ปัสาวะพิการ ขับปัสสาวะ รับประทานวันละ 3 ครั้ง
ก่อนอาหารครั้งละ 75 มิลลิลิตร หรือ 1
ถ้วยชานอกจากนี้ยังใช้รักษาโรควัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง โรคเบาหวาน
ริดสีดวงทวารขูดเอาแต่ผิวต้นผสมกับยาสูบ แล้วนำมาสูบรักษาริดสีดวงจมูก


ใบ
ใบขลู่ใช้ต้มน้ำดื่มแทนชาเพื่อลดน้ำหนักหรือลดความอ้วน
เบาเทาอาการปวดเมื่อย มุตกิดและนำมาต้มน้ำอาบบำรุงประสาท เป็นยาบีบมดลูก
น้ำคั้นรักษาโรคบิด ใบแก่ ๆสด ๆ เอามาตำบีบน้ำและทา ตรงหัวริดสีดวงทวาร
จะทำใหัหัวริดสีดวงหดหายได้นอกจกานี้ยังนำมาตำผสมกับเกลือรักษากลิ่นปาก
และระงับกลิ่นตัว


ใบและราก เป็นยาฝาดสมาน
รักษาไข้ พอกแก้แผลอักเสบ ขับเหงื่อ ผสมกับสมุนไพรอื่น
ๆต้มน้ำอาบรักษาเส้นตึง และยังทำเป็นขี้ผึ้งทาแผลเรื้อรัง


ใบและต้นอ่อน
ใช้บรรเทาอาการปวดในโรคไขข้ออักเสบ รักษาประดง เลือดลม
ตำผสมกับแอลกอฮอล์ทาหลังบริเวณเหนือไต บรรเทาอาการปวดเอว ต้มน้ำอาบรักษาหิด
ขี้เรื้อน




ขลู่ สมุนไพร
ใบขลู่ใช้ต้มน้ำดื่มแทนชาเพื่อลดน้ำหนัก เบาเทาอาการปวดเมื่อย



สรรพคุณและการนำไปใช้เป็น
ยาสมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน :



ขลู่ใช้เป็นยารักษาอาการขัดเบา วันละ 1 กำมือ (สดหนัก 40 – 50
กรัม แห้งหนัก 15 – 20 กรัม) หั่นเป็นชิ้น ๆ ต้มกับน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้ง
ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (หรือ 75 มิลลิลิตร)


สารที่พบ :


ใบขลู่ประกอบด้วยสารประเภทเกลือแร่ เช่น โซเดียม คลอไรด์
สารโปแตสเซียม นอกจากนี้ยังประกอบด้วย stigmasterol (+ beta-sitosterol),
stigmasterol glucoside (+ beta-sitosterol glucoside), catechin เป็นต้น


ข้อมูลทางเภสัชวิทยาอื่น ๆ
:



  • ฤทธิ์ขับปัสสาวะ นัทพร นิลวิเศษ และคณะได้ศึกษาฤทธิ์ขับปัสสาวะของขลู่
    พบว่ารูปแบบ 5% และ 10% ของยาชงขลู่ (ยาชง 5% ทำได้โดยชั่งขลู่ 5 กรัม
    ใส่ลงในภาชนะแก้วหรือเคลือบที่ทนความร้อนได้ รินน้ำเดือดลงไปประมาณ 100
    มิลลิลิตร ปิดฝาตั้งทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง
    จึงรินและคั้นน้ำออกกรองให้ได้น้ำยา 100 มิลลิลิตร)
    ทดลองฤทธิ์ขับปัสสาวะในหนูขาว และในอาสาสมัครที่มีสุขภาพปกติ
    โดยเปรียบเทียบกับยา hydrochlorothiazide
    พบว่ายาชงขลู่มีผลเพิ่มปริมาณปัสสาวะ
    และถ้าเพิ่มปริมาณความเข้มข้นก็จะมีผลเพิ่มปริมาณปัสสาวะมากขึ้น

  • ฤทธิ์ต้านการอักเสบ Sen T. และคณะ (ค.ศ. 1991)
    ได้ทำการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบ (antiinflammatory) ของสารสกัดจากรากขลู่
    พบว่าสารสกัดจากรากขลู่สามารถต้านการอักเสบได้
    โดยสามารถยับยั้งอาการบวมของอุ้งเท้าหนูที่เกิดจากการฉีด carragenin,
    histamine, serotonin, hyaluronidase และ sodium urate
    โดยสารสกัดจะยับยั้งกระบวนการที่โปรตีนลอดออกจากหลอดเลือด (exudation)
    และการเคลื่อนที่ของเม็ดเลือดขาวไปยังบริเวณอักเสบ (leucocyte migration)

  • ฤทธิ์ต้านการอักเสบ Sen T. และคณะ (ค.ศ. 1993)
    ได้ทำการศึกษากลไกการต้านการอักเสบ และการต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
    ของสารสกัดจากรากขลู่ ( Pluchea indica Less root extract: PIRE)
    ที่คาดว่ามีกลไกเกี่ยวข้องกับ 5- lipoxygenase pathway
    ซึ่งเป็นกระบวนการสังเคราะห์โพรสตาแกลนดิน ( prostaglandin)
    ผลการศึกษาพบว่า PIRE สามารถต้านการอักเสบที่เกิดจาก arachidonic acid,
    platelet activation factor และสารประกอบ 48/80
    ซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดการบวมที่อุ้งเท้าสัตว์ได้อย่างมีนัยสำคัญ
    นอกจากนี้สามารถยับยั้งสารประกอบ 48/80 เหนี่ยวนำให้เกิดการหลั่งสาร
    ฮีสตามีน ( histamine) จาก Mast cell ได้อย่างมีนัยสำคัญ
    ส่วนผลต่อการเกิดแผลในกระเพราะอาหาร พบว่าสามารถป้องกับการเกิดแผลจากยา
    indomethacin, เหล้า และ indomethacin ได้อย่างมีนัยสำคัญ
    โดยสามารถลดปริมา๖และความเป็นกรดของกระเพาะอาหารได้อย่างมีนัยสำคัญ

  • ฤทธิ์การปกป้องตับ Sen T. และคณะ (ค.ศ. 1993)
    ได้ทำการศึกษาฤทธิ์การปกป้องตับของสารสกัดจากขลู่
    ในหนูที่ตับบาดเจ็บเฉียบพลัน (acute liver damage) จากการเหนี่ยวนำของสาร
    คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (carbontetrachloride: CCl4)
    พบว่าสามารถลดระดับเอนไซม์ aspartate amino tranferase (AST), alanine
    amino tranferase (ALT), lactate dehydrogenase (LDH), serum alkaline
    phosphatase (ALP) และ bilirubin ได้อย่างมีนัยสำคัญ
    นอกจากนี้สารสกัดจากขลู่สามารถลดระยะเวลาการนอนหลับของหนูที่ได้รับ
    pentobarbitone ได้อย่างมีนัยสำคัญ และลด plasma prothrombin time
    ได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ CCl4

  • ฤทธิ์ป้องกันทางเดินอาหารบาดเจ็บ Sen T. และคณะ (ค.ศ. 1996)
    ได้ทำการศึกษาฤทธิ์สารสกัดจากขลู่ ในการยับยั้งปัจจัยกระตุ้นเกร็ดเลือด
    (platelet activation factor: PAF) และยับยั้งการเกิดกระเพาะอาหารเสียหาย
    (gastric demage) พบว่าการให้สารสกัดจากขลู่สามารถยับยั้งการ
    อักเสบและอุบัติการเกิดกับทาง เดินอาหารส่วนล่างเสียหายได้ อย่างมีนัยสำคัญ

  • ฤทธิ์ต่อระบบประสาท Thongpraditchote S. และคณะ (ค.ศ. 1996)
    ได้ทำการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากรากขลู่ (Pluchea indica Less
    root extract: PI-E) ต่อระบบประสาทในหนู พบว่าหนูที่ได้รับ PI-E ขนาด
    50-100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้โดยการกิน
    มีการทำงานของระบบประสาทควบคุมการเคลื่อนที่ (locomotor) ทำงานเพิ่มขึ้น
    และลดระยะเวลาการนอนหลับของหนูที่ได้รับ pentobarbital ให้สั้นลง
    อย่างมีนัยสำคัญและขึ้นกับขนาดที่ได้รับ (dose dependent)
    นอกจากนี้พบว่าฤทธิ์ของ PI-E ที่ให้ในหนูที่ได้รับ pentobarbital
    จะลดลงเมื่อได้รับ flumazenil (1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้ทางหลอดเลือดดำ)
    อย่างมีนัยสำคัญ และ PI-E (50 – 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) และ diazepam
    (0.5-5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สามารถลดพฤติกรรมก้าวร้าวได้ตามขาดที่ได้รับ
    (dose dependent) โดยกลไกการออกฤทธิ์ของ PI-E เกี่ยวข้องกับระบบ GABA
    system ในสมอง แต่อย่างไรก็ตาม PI-E
    ไม่มีฤทธิ์ระงับการชักที่เกิดจากการเหนี่ยวนำของ pentyleneterazole

  • ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ Sen T. และคณะ (ค.ศ. 2002)
    ได้ทำการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดจากรากขลู่ ( Pluchea
    indica Less root extract: PIRE) ในหลอดทดลองและสัตว์ โดยใช้
    คาร์บอนเตตระคลอไรด์ ( carbontetrachloride: CCl4)
    เหนี่ยวนำให้เกิดกระบวนการสลายไปมัน ( lipid peroxidation)
    และการเปลี่ยนแปลง arachidonic acid จากเอนไซม์ lipoxygenase ซึ่ง 2
    กระบวนการนี้ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้น ผลการศึกษาพบว่า PIRE
    สามารถลดการอักเสบ และการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงอย่างมีนัยสำคัญ
    นอกจากนี้พบว่า PIRE นอกจากนี้พบว่า PIRE สามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้มากกว่า
    B755c และ phenidone (สารต้านอนุมูลอิสระ) ได้อย่างมีนัยสำคัญ

  • ฤทธิ์ยับยั้งจุลชีพ Biswas R. และคณะ (ค.ศ. 2005) ได้ทำการสกัด
    และประเมินสารประกอบที่พบในขลู่ และความแรงในการต้านเชื้อจุลชีพ
    พบว่าค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ ( minimum inhibitory
    concentration: MIC) ของสารสกัดขลู่ต่อเชื้อ Staphylococcus
    aureus ML 11, S. aureus ML 358, S. aureus NCTC 6571, S. aureus 8530,
    Salmonella trphi 59, S. typhimurium NCTC 74, Shigella boydii 8 NCTC
    254/66, S. dysenteriae 7 NCTC 519/66, Vibrio cholerae 214, Vibrio
    cholerae 14033, Bacillus lichenniformis, Escherichia coli ATCC 25938,
    Klebsiella pneumoniae 725, K. pneumoniae 10031 และ Pseudomonas
    aeruginosa 71 คือ 1500 , 2000, > 2000, 1000, 1500, 1500, 1500, 1500,
    1000, 1500, > 2000, 1500, > 2000, 2000 และ 2000 นาโนกรัม/มิลลิลิตร





Create Date : 03 กรกฎาคม 2553
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:09:37 น. 0 comments
Counter : 612 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

WishRich
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มาเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองไปพร้อม ๆ กัน เพื่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงานครับ
Friends' blogs
[Add WishRich's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.