WishRich
Group Blog
 
All Blogs
 
รู้จักและรักษา แผลในปาก

รู้จักและรักษา แผลในปาก





          การ ได้ลิ้มรสชาติอาหารอร่อยๆ เต็มปากเต็มคำ
นับเป็นความสุขอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ สุขภาพปากและฟันที่ดี
ไม่เพียงแต่จะสร้างความสุขทางใจจากการได้รับประทานอาหารอร่อยได้ทุกประเภท
แต่ยังเป็นหนทางสำคัญต่อการสร้างสุขภาพทางกายให้สมบูรณ์แข็งแรงได้อีกด้วย





          ดังนั้น การปล่อยปะละเลยสุขภาพในช่องปากจนทำให้เกิดเป็น
"แผลในปาก" นอกจากจะทำให้เกิดอาการเจ็บแล้ว
ยังรบกวนความสามารถในการรับประทานอาหาร การกลืน
หรือแม้กระทั่งการพูดไปอย่างน่าเสียดาย...





          แผล ในความหมายทางการแพทย์คือ
มีการหลุดลอกไปของเนื้อเยื่อผิวหนังชั้นบนที่มีปลายประสาทและหลอดเลือดขนาด
เล็กอยู่ ทำให้เกิดความเจ็บปวดและมีเลือดออก สำหรับแผลในช่องปากนั้น
ส่วนใหญ่เรามักจะจำกันไม่ได้ว่าเกิดแผลในปากขึ้นได้อย่างไร
แต่ถ้าเราทราบสาเหตุ ก็จะสามารถรักษาและป้องกันการเกิดเป็นซ้ำได้
แผลในปากมีหลายลักษณะ ขึ้นกับอาการและสาเหตุ อาทิ





          แผลที่เป็นแล้วหายได้เอง ภายใน 1-2 สัปดาห์ และมักกลับเป็นซ้ำอีก
คือ แผลร้อนในขนาดเล็ก (Minor Aphthous ulcer) ซึ่งเป็นกันมาก ทั้งหญิงชาย
เด็กและผู้ใหญ่เป็น แผลที่ไม่มีความอันตรายในระยะยาว
แผลมักเกิดตามข้างกระพุ้งแก้ม ใต้ลิ้น ริมฝีปากด้านใน
การทายาจำพวกสเตียรอยด์เฉพาะที่วันละ 2-3 ครั้ง จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
ควรหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนแผลบริเวณนั้น เช่น
สลับไปเคี้ยวอาหารอีกข้างหนึ่งจะทำให้ลดโอกาสการเกิดเป็นแผลเรื้อรังขนาด
ใหญ่ขึ้นได้





          การเป็นแผลร้อนในซ้ำบ่อย ๆ
อาจเกิดจากการขาดสารอาหารจำพวกวิตามินบีและกรดโฟลิก
การรับประทานวิตามินเสริมเหล่านี้จะช่วยลดการเกิดแผลได้





          อาจเกิดจากการแพ้ยาหรือสารบางอย่าง หรือการติดเชื้อโรค เช่น
ไวรัส เชื้อรา แบคทีเรีย หรืออาจเป็นอาการแสดงของโรคระบบผิวหนัง
โรคระบบทางเดินอาหาร ระบบเลือด รวมถึงการเป็นโรคมะเร็งในช่องปากด้วย





          เมื่อใดที่เกิดแผลในปาก ลองถามคำถามเหล่านี้กับตนเอง
อาจพบสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลในปากได้






  •            ท่านเป็นแผลในปากบ่อยหรือไม่ เป็นนานเพียงใด
    ทำอย่างไรจึงหาย



  •           
    เป็นไปได้หรือไม่ว่าช่วงก่อนที่เกิดเป็นแผลท่านได้รับความกระทบกระเทือนใด ๆ
    ในปาก เช่น แปรงฟันผิดจังหวะไปกระแทกโดนเนื้อเยื่อหรือเหงือก
    การกัดแก้มหรือกัดลิ้นระหว่างเคี้ยวอาหาร การใส่เครื่องมือจัดฟัน ฟันปลอม
    ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านี้



  •            การรับประทานอาหารร้อนจัด ๆ ทำให้พุพอง
    การใช้สารบางอย่าง เช่น น้ำยาบ้วนปาก หรือสมุนไพรแล้วเกิดการระคายเคือง
    อาจทำให้เกิดแผลในปากได้ ลองหลีกเลี่ยงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ดู
    แล้วสังเกตว่าแผลหายภายในกี่วันและกลับเป็นซ้ำเมื่อทำสิ่งเหล่านี้อีกหรือ
    ไม่



  •            แผลนี้เกิดร่วมกับการมีไข้หรือไม่
    แผลอาจเกิดจากการติดเชื้อ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส
    ควรไปพบแพทย์ถ้ามีไข้ร่วมกับการเป็นแผลในช่องปาก



  •            ตรวจร่างกายอย่างละเอียดครั้งสุดท้ายเมื่อใด
    มีโรคประจำตัวหรือไม่ หากมีการรับประทานยาใหม่ๆ
    เป็นไปได้หรือไม่ว่าอาจแพ้ยานั้น



  •            มีแผลอื่น ๆ ตามร่างกาย หรือมีโรคทางระบบทางเดินอาหารใด
    ๆหรือไม่



  •            เคยมีประวัติความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหรือไม่ เช่น
    มีใครในครอบครัวเป็นมะเร็ง เคยสูบบุหรี่หรือดื่มสุราจัดหรือไม่





          สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ หากเป็นแผลในปากแล้ว
ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ เจ็บหรือไม่ แต่เป็น นานเกิน 2 สัปดาห์ ไม่ควรนิ่งนอนใจ
ควรไปรับการตรวจแผลกับทันตแพทย์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อรับการวินิจฉัยแผลที่ถูกต้อง นอกจากจะได้รับการรักษาที่เหมาะสมแล้ว
ท่านจะได้เรียนรู้วิธีป้องกันการเกิดแผลในภายหน้า
เพื่อป้องกันการลุกลามของโรคทางระบบ
รวมทั้งโรคมะเร็งในช่องปากได้อย่างทันท่วงที





Create Date : 28 มิถุนายน 2553
Last Update : 28 มิถุนายน 2553 10:44:10 น. 0 comments
Counter : 354 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

WishRich
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มาเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองไปพร้อม ๆ กัน เพื่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงานครับ
Friends' blogs
[Add WishRich's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.