WishRich
Group Blog
 
All Blogs
 
สมุนไพร-ขี้กาแดง

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/TrichosanthesTricuspidata1.jpg




ขี้กาแดง สมุนไพร
ผลมีลักษณะกลมโตเท่าผลส้มเขียวหวาน ผลสุกนั้นจะมีสีแดงสดห้อยเป็นระย้า



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gymnopetalum
integrifolim Kurz., Trichosanthes tricuspidata Lour.


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
แตงโมป่า (กาญจนบุรี), มะกาดิน (ชลบุรี), กายิงอ (มลายู)  ขี้กาแดง
ขี้กาลาย ขี้กาน้อย


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพร
ขี้กาแดง
เป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่
ลำต้นนั้นจะเป็นสีขียวและมีขน


ใบ : ใบขี้กาแดงมี
ลักษณะเถาและใบจะคล้ายฟักเขียว เส้นผ่านศูนย์กลางใบ 4-16 ซม.
แฉกรูปรีหรือรูปขอบขนาน ปลายแฉกแหลมหรือแหลมยาว โคนใบรูปหัวใจ
ขอบจักฟันเลื่อยหรือเรียบ แผ่นใบบาง มีขนตามเส้นแขนงใบด้านล่างประปราย
ก้านใบยาว 2-7 ซม. ตามข้อของเถาจะมีมือสำหรับยึดเกาะ ใบจะมีขนทั้ง 2 ด้าน


ดอก :
ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะมีลักษณะต่างดอกกัน ส่วนช่อดอกตัวผู้จะมีหลายดอก
ช่อดอกตัวเมียจะเป็นดอกเดี่ยว และกลีบนั้นจะมีสีขาว




ขี้กาแดง สมุนไพร
ดอกขี้กาแดงเพศเมีย ออกเดี่ยวๆ



ผล : ผลของขี้กาแดงมี
ลักษณะกลมโตเท่าผลส้มเขียวหวาน เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2.5 ซม. ก้านผลยาว
0.1-0.5 ซม. ผลเมื่อยังอ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อเริ่มแก่จะเป็นสีส้ม
เมื่อสุกแก่จัดจะเป็นสีแดงสด
ซึ่งผลจะออกบริเวณข้อที่ลำต้นห้อยระย้ามาเกือบทุกข้อ ขั้วของผลมีสีเขียว
ส่วนล่างของผลจะมีปุ่มยื่นออกมาสีเดียวกับผล ผลเรียบ เมื่อแก่จัดหนักประมาณ
92-1๐๐ กรัม ความยาวผลประมาณ 18-23 ซม. ผลสุกใช้ตากแห้งจะแข็งและหนา
ผลสุกนกชอบรับประทานมาก


เมล็ด :
เยื่อหุ้มเมล็ดจะมีสีเขียวเข้ม เมล็ดมีประมาณ 12 เมล็ด หรือน้อยกว่านั้น
รูปไข่กลับ ยาว 0.5-0.8 ซม. เรียวแคบที่โคน เว้า สีเทาหรือสีน้ำตาล
เมล็ดมีพิษ เพียงแค่ 2-3 เมล็ดก็สามารถทำให้คนถึงตายได้ในเวลาเพียงเล็กน้อย
ถ้าหากกิน


ส่วนที่ใช้ :
ใบ หัว เถา ผล และราก


สรรพคุณของสมุนไพร:


ใบ รสขม ตำพอกฝี
ทาแก้โรคผิวหนังอักเสบ




ขี้กาแดง สมุนไพร
ช่อดอกเพศผู้ของขี้กาแดง มีใบประดับสีแดงอมน้ำตาล



หัว รสขม บำรุงหัวใจ
แก้ม้ามย้อย ตับโต หรืออวัยวะในช่องท้องบวมโต


ทั้งเถา รสขม ต้มอาบ
แก้เม็ดผดผื่นคัน แก้ไข้หัว ไข้พิษ ไข้กาฬ ต้มดื่ม บำรุงน้ำดี ขับเสมหะ
ดับพิษ แก้ไอเป็นเลือด


ผล รสขม บำรุงน้ำดี
แก้พิษเสมหะและโลหิต ถ่ายพิษเสมหะให้ตก แก้พิษตานซาง แก้ตานขโมย ขับพยาธิ
ทำให้แห้งโดยการนำมารมควันใช้รักษาโรคหืด และเป็นยาถ่ายอย่างแรง
น้ำมันซึ่งได้จากการต้มผลขี้กาแดงในน้ำมันมะพร้าวหรือ
น้ำมันงาให้ใช้ทาบริเวณหนังศีรษะเพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะเพียงข้างเดียว
hemjicrania และริดสีดวงจมูก ozaena


ราก รสขม บำรุงน้ำดี
แก้ไข้ ดับพิษไข้ แก้จุกเสียด แก้ตับโต ม้ามย้อย อวัยวะในช่องท้องบวมโต
ใช้รักษาโรคปสดในวัวควาย โดยผสมกับขี้กาเทศ colocynth ใช้อย่างละเท่า ๆ
กันแล้วบดเป็นผงใช้ทาแก้ฝีฝักบัว นำมาต้มกับผงเมล็ดพันธุ์ผักกาด
Mustardใช้ทารักษาอาการปวดศีรษะ


อื่่น ๆ :


ยอดอ่อนของขี้กาแดง นำไปลวก ต้มให้สุก หรือต้มกะทิ
รับประทานเป็นผักกับน้ำพริกกะปิ







Create Date : 03 กรกฎาคม 2553
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:30:18 น. 0 comments
Counter : 1288 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

WishRich
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มาเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองไปพร้อม ๆ กัน เพื่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงานครับ
Friends' blogs
[Add WishRich's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.