WishRich
Group Blog
 
All Blogs
 

ข้าวสารดอกเล็ก

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/RaphistemmaHooperianum1.jpg

ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ : ASCLEPIADACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
ข้าวสาร เครือข้าวสาร (ภาคกลาง) ข้าวสารดอกเล็ก (กรุงเทพฯ) เมือยสาร
(ชุมพร) เคือคิก (สกลนคร) ปลายสาน ดอกข้าวสาร ผักข้าวสาร (อุดรธานี-อีสาน)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : ข้าวสารดอกเล็กเป็นพรรณไม้
ล้มลุก ลำต้นมีความสูง เกลี้ยง และมียางสีขาว


ใบ : ใบข้าวสารดอกเล็กจะ
ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะใบเดี่ยวรูปหัวใจ
หรือรูปไข่แกมขอบขนานตรงปลายใบของมันจะแหลมเป็นหางยาว ส่วนขอบใบจะเรียว
โคนใบเว้าทั้ง 2ข้างจะห้อยเป็นรูปติ่งหู มีความกว้างประมาณ 2-10.5 ซม.
และยาวประมาณ 4-15ซม.เนื้อในจะบาง ตรงด้านบนที่โคนเส้นกลางใบจะมีขนสั้น ๆ
และจะออกเป็นกระจุก ก้านใบเรียวเล็กและยาว ประมาณ 2-7 ซม.


ดอก : ข้าวสารดอกเล็กจะ
ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ มีขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม
ก้านช่อดอกยาวประมาณ0.25-5.55 ซม. และมีก้านดอกยาวประมาณ 1.25-3.5 ซม.
ส่วนกลีบรองกลีบดอกนั้นรูปไข่ปลายมน ยาวประมาร 3-4 มม.ตรงโคนจะเชื่อมติดกัน
กลีบดอกนั้นจะมีอยู่ 5 กลีบมีสีขาว
และจะกลายเป็นสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองนวลในภายหลัง
ส่วนโคนจะเชื่อมติดกันเป็นท่อยาวราว ๆ8-9 มม. ตรงปลายจะแยกออกเป็น 5 กลีบ
จะมีลักษณะยาวกว่าท่อดอกเล็กน้อยที่ปลายของกลีบนั้นจะมีสีแต้มสีม่วงและจะ
บานเต็มที่มีความกว้างประมาณ2.5-3 ซม.


เกสร : เส้าเกสรนั้น
จะมีสีขาว และยาวประมาณ 10-13 มม.


ผล : ลักษณะผลข้าวสารดอก
เล็ก
จะเป็นฝักรูปไข่ แกมขอบขนานยาวราว 14 ซม.




ข้าวสารดอกเล็ก สมุนไพร
ใบข้าวสารดอกเล็กจะออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะใบเดี่ยวรูปหัวใจ
หรือรูปไข่แกมขอบขนานตรงปลายใบของมันจะแหลมเป็นหางยาว ส่วนขอบใบจะเรียว
โคนใบเว้าทั้ง 2ข้างจะห้อยเป็นรูปติ่งหู



การขยายพันธุ์ :
พบมากทางแถบภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
ข้าวสารดอกเล็กโดยทั่วไปออกดอกในช่วงปลายปีหรือช่วงฤดูฝน
ชอบแดดปานกลางถึงแดดจัด ชื้นปานกลาง ดินร่วนปนทราย ข้าวสารดอกเล็กขยาย
พันธุ์โดยการนำเมล็ดมาเพาะ


ส่วนที่ใช้ :
ราก ใช้เป็นยา


สรรพคุณของสมุนไพร :


ราก  รสเมา ช่วยทำให้อาเจียน  ใช้ปรุงเป็นยารักษาตา แก้ตาแดง ตาแฉะ
และตามัว


อื่นๆ :


ข้าวสารดอกเล็ก ใช้เป็นอาหารได้ โดยใช้ส่วนของยอดอ่อน ดอกตูม
ดอกบาน และผลอ่อน กินเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก โดยนำไปต้ม ลวก หรือนึ่ง
ดอกที่บานแล้วนำไปแกงร่วมกับเนื้อสัตว์ต่างๆ แกงส้ม ยำ หรือผัดน้ำมัน 
ส่วนในเมล็ดจะมีสาร cardiac glycoside ซึ่งเป็นพิษ
หากกินเมล็ดมากเกินไปจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเป็นอัมพาตและอาจถึงแก่ชีวิตได้


คุณค่าทางอาหาร :


ข้าวสารดอกเล็ก 100 กรัม ให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี
ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต 4.4 กรัม เส้นใย 1.4 กรัม โปรตีน 34 กรัม แคลเซียม
0.7 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม เหล็ก 0.6 มิลลิกรัม วิตามิน b1 0.02
มิลลิกรัม วิตามิน b2 0.07 มิลลิกรัม วิตามิน ซี 5 มิลลิกรัม







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:47:32 น.
Counter : 622 Pageviews.  

สมุนไพร-แค

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/RedCare.jpg//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/WhiteCare.jpg




แค สมุนไพร ดอกแคแดง



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Sesbania grandiflora (L.) Desv.


ชื่อสามัญ :
Vegetable Humming Bird Agatti , Sesban, Agasta , Cork


ชื่อวงศ์ :
PAPILIONACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
แคแกง แคขาว แคแดง


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพรแคเป็นพรรณไม้ยืนต้น
ขนาดเล็ก กิ่งนั้นจะเปราะง่าย แต่ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน


ใบ : ใบแคจะเป็น
ใบประกอบใบย่อมนั้นมีขนาดเล็ก ในหนึ่งใบจะมีใบย่อมเป็นจำนวนมาก ใบสาก
ระคายมือ เส้นใบมีร่อง เด่นชัด ใบรีปลายแหลม ขนาด ใบยาว 4 – 5 นิ้ว


ดอก : ดอกแคจะออก
เป็นกระจุกเป็นช่อตั้งที่ปลายกิ่งประมาณ 2-4 ดอก คล้ายดอกถั่วทั่วไป
แต่ดอกจะใหญ่และมีสีขาว สีแดงเลือดหมูหรือ แดงอมส้ม


ฝัก : ฝักแคจะมี
ลักษณะกลมแบน ๆ ยาว มีขนาดเล็กคล้ายถั่วฝักยาวแต่สีขาวกว่า
เมื่อแก่จะแตกได้


การขยายพันธุ์ : แคขยาย
พันธุ์โดยการใช้เมล็ด




แค สมุนไพร ดอกแคขาว



ส่วนที่ใช้ :
ดอก ยอดอ่อน เปลือกต้น และราก


สรรพคุณของสมุนไพร :



เปลือกต้น



  • ต้มหรือฝนรับประทาน แก้โรคบิดมีตัว

  • แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ

  • ภายนอก ใช้ชะล้างบาดแผล

ดอก,ใบ



  • รับประทานแก้ไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู (แก้ไข้หัวลม)

  • ชาว อินเดีย ใช้สูดน้ำที่คั้นได้จากดอกหรือใบแคเข้าจมูกรักษาโรค
    ริดสีดวงในจมูก และทำให้มีน้ำมูกออกมา แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้

ใบสด



  • รับประทานใบแคทำให้ระบาย

  • ใบแค ตำละเอียด พอกแก้ช้ำชอก

ยอดอ่อน ใช้รักษาไข้หัวลม
เปลือกต้น จะมีรสฝาด เพราะมีสารแทนนิน นอกจากนั้นยังพบสาร
triterpenoidsaponin และ amino Acid ที่มีชื่อว่า canavanine




แค สมุนไพร ใบแคจะเป็นใบประกอบ
ฝักแคจะมีลักษณะกลมแบน ๆ ยาว มีขนาดเล็กคล้ายถั่วฝักยาว



ราก รากนำมาผสมกับน้ำผึ้ง
ใช้เป็นยาขับเสมหะ


ข้อควรระวัง :


เปลือกต้น ถ้ากินมาก ๆ จะทำให้อาเจียนได้

วิธีและปริมาณที่ใช้ :


แก้มูกเลือด บิดมีตัว แก้ท้องเดิน
ท้องร่วง คุมธาตุ


ใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ 1 ส่วน ต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประทานครั้งละ
1-2 ช้อนแกง


แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้หัวลม
(หรือไข้อากาศเปลี่ยน)



  • ใบสด ต้มกับน้ำรับประทานลดไข้ ใช้ยอดอ่อนจำนวนไม่จำกัด
    ลวกจิ้มกับน้ำพริก รับประทานแก้ปวดศีรษะข้างเดียว

  • ใช้ดอกที่โตเต็มที่ล้างน้ำ ต้มกับหมูทำบะช่อ 1 ชาม รับประทาน 1 มื้อ
    รับประทานติดต่อกัน 3-7 วัน จะได้ผล

อื่น ๆ :


แคใช้เป็นอาหารได้ โดยนำ ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอก ฝักอ่อน
ไปลวกให้สุกรับประทานร่วมกับน้ำพริก
ดอกอ่อนก่อนนำไปปรุงอาหารควรเอาเกสรตัวผู้ออกจะทำให้ความขมน้อยลง
นำไปปรุงอาหาร เช่น แกงส้มดอกแคปลาดุก ดอกแคสอดไส้ แกงเหลืองปลากระพงดอกแค
ดอกแคชุบแป้งทอด แกงคั่ว แกงอ่อม ต้มจืด ผัด เป็นต้น







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:44:47 น.
Counter : 359 Pageviews.  

เขย ตาย

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/Glycosmispentaphylla.jpg




เขยตาย สมุนไพร
ดอกและผลเขยตาย รักษาหิด ผลสุกรับประทานได้



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Glycosmis pentaphylla  (Retz.)  DC.


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ : Rutaceae


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
กระรอกน้ำ, กระรอกน้ำข้าว  (ชลบุรี) ; กระโรกน้ำข้าว, เขยตาย, ลูกเขยตาย 
(ภาคกลาง) ; เขนทะ  (ภาคเหนือ) ; ตาระแป  (มลายู-ยะลา) ; น้ำข้าว 
(ภาคกลาง, ภาคใต้) ; ประยงค์ใหญ่  (กรุงเทพมหานคร) ; พุทธรักษา  (สุโขทัย) ;
มันหมู  (ประจวบคีรีขันธ์) ; ส้มชื่น  (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคเหนือ)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพรเขยตายเป็นพรรณไม้
ขนาดกลาง ลำต้นนั้นจะโตประมาณเท่ากับต้นหมากและมีความสูงประมาณ 3-6 เมตร
ส่วนผิวของลำต้นนั้น จะเป็นสีเทา ๆ ตกกระเป็นดวงสีขาว ๆ
มีขนสั้นนุ่มที่กิ่งก้าน



">ใบ :
ใบเขยตายเป็น
ใบประกอบ 3-5 ใบ กว้าง 3.5-5 ซม. มีใบย่อย 2-5 ใบ เรียงสลับ กว้าง 4-6 ซม.
ยาว 12-18 ซม. แผ่นใบค่อนข้างหนา รูปรีหรือรูปไข่ โคนใบรูปลิ่ม ปลายแหลม
ขอบใบด้านบน และด้านล่างเกลี้ยง


ดอก : เขยตายออก
ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ดอกย่อยมีก้าน เรียงสลับบนแกนกลาง 
แต่ละช่อย่อยมีดอกดอกย่อยไม่เท่ากัน มีขนสั้นนุ่ม ก้านช่อยาว 1.5-3 ซม.
ก้านดอกย่อยสั้นมากหรือไม่มีก้าน ดอกย่อยขนาดเล็ก
เส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ 0.3 ซม. วงกลีบเลี้ยงเป็นแฉก 
แต่ละแฉกรูปสามเหลี่ยม กลีบดอกจำนวน 5 อัน สีขาว รูปขอบขนาน ปลายมน
เกสรเพศผู้จำนวน 10 อัน เกสรเพศเมียจำนวน 1 อัน อยู่เหนือวงกลีบ


เมล็ด (ผล) : ผลเขยตายนั้น
จะมีสีชมพูกลมและโตเท่าผลมะแว้ง ในผลหนึ่งมีเมล็ดอยู่เพียง 1 เมล็ด
เมล็ดนั้นจะกลมมีสีดำ เมื่อผลแก่จัดในฤดูหนาว ก็จะมีรสหวาน


การขยายพันธุ์ : เขย
ตาย
ขยายพันธุ์โดยการชำกิ่ง ตอนกิ่ง  และเพราะเมล็ด


ส่วนที่ใช้ : ราก
เปลือกต้น เนื้อไม้ ดอกและผล


สรรพคุณของสมุนไพร :


ราก รากเขยตาย
มีรสเมาขื่นปร่า กระทุ้งพิษ แก้พิษฝีภายในและภายนอก ขับน้ำนม แก้พิษงู
แก้พิษแมลง แก้ไข้กาฬ แก้โรคผิวหนังพูพอง แก้ไข้รากสาด เกลื่อนฝีให้ยุบ
แก้ฝีที่นม ตัดรากฝีที่นม


เปลือกต้น แก้ฝีภายนอกและ
ภายใน กระทุ้งพิษ แก้พิษงู ขับน้ำนม แก้พิษต่าง ๆ แก้พิษไข้


เนื้อไม้ กระทุ้งพิษ
แก้ฝีภายนอกและภายใน แก้พิษงู ขับน้ำนม


ดอกและผล รักษาหิด ผลเขย
ตาย
สุกรับประทานได้


ไม่ระบุส่วนที่ใช้
กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายนอกและภายใน แก้พิษงู ขับน้ำนม


ข้อมูลการวิจัยที่สำคัญ :


สารเคมี  acid phosphatase ; anthocyanin; polyphenol; polyphenol
oxidase ; succinic dehydrogenase






 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:39:35 น.
Counter : 337 Pageviews.  

เข็มป่า

เข็มป่า สมุนไพร ดอกเข็มป่าใช้รักษาโรคตาเปียก ตากแดง ตาแฉะ

เข็มป่า สมุนไพร
ดอกเข็มป่าใช้รักษาโรคตาเปียก ตากแดง ตาแฉะ



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Ixora Cibdela Craib


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ :
RUBIACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
เข็มตาไก่ (เชียงใหม่), เข็มโพดสะมา (ตานี), เข็มดอย (พายัพ) , เข็มป่า
(ไทย)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : เข็มป่าเป็นพรรณไม้ขนาดกลาง
ลำต้นนั้นใหญ่ประมาณเท่าข้อมือ ลำต้นมีความสูงประมาณ 3-4 เมตร


ใบ : ใบเข็มป่านั้น
จะมีสีเขียวสด เป็นรูปไข่ยาวๆ ริมขอบใบเรียบ ใบนั้นจะยาวประมาณ 6-18 ซม.
และ กว้างประมาณ 2.5 ซม.


ดอก : ดอกเข็มป่าจะ
ออกตลอดปี และออกดอกเล็ก ๆ เป็นพวงเหมือนดอกเข็มธรรดา แต่จะมีดอกเป็น สีขาว


ผล : ผลเข็มป่านั้น
จะมีลักษณะเป็นผลกลม ๆ และมีสีเขียว


การขยายพันธุ์ : เข็ม
ป่า
ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด และตอนกิ่ง


ส่วนที่ใช้ : ดอก
ใบ ผล เปลือก และราก ใช้ทำเป็นยา


สรรพคุณของสมุนไพร:


ดอก ใช้รักษาโรคตาเปียก
ตากแดง ตาแฉะ


ใบ ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิทั้ง
ปวง


ผล ใช้เป็นยารักษาโรค
ริดสีดวงจมูก


เปลือก
ใช้ตำแล้วคั้นเอาน้ำหยอดหูใช้ฆ่าแมงคาเรืองเข้าหู


ราก
ใช้ทำเป็นยารักษาเสมหะในท้อง หรือในทรวงอก


ถิ่นที่อยู่ : เข็ม
ป่า
มักจะเป็นเข็มพันธุ์ญี่ปุ่นทั้งสิ้นไม่ใช่ของไทย


อื่น ๆ :


เข็มป่ามักเป็นพรรณไม้ชอบขึ้นตามธรรมชาติในป่าทั่วๆ
ไปในประเทศไทย มักจะ นำมาปลูกกันตาม
วัดวาอารามแล้วตัวแต่งให้เป็นพุ่มให้สวยงาม








 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:37:43 น.
Counter : 419 Pageviews.  

เข็มขาว

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/IxoraEbarbata.jpg




เข็ม
ขาว สมุนไพร ดอกเข็มขาวนั้นจะออกรวมกันอยู่เป็นช่อ มีสีขาว มีกลิ่นหอมเย็น



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Ixora ebarbata Craib.


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ :
-


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
เข็มไม้ (ไทย) , เข็มพระราม (กรุงเทพ) , เข็มปลายสาน (ตานี) , เข็มขาว
(พายัพ)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : เข็มขาวเป็นพรรณไม้พุ่มขนาด
เล็กถึงขนาดกลาง


ใบ : ใบของเข็มขาวมี
ลักษณะเป็นรูปไข่ ริมขอบใบจะเรียบตรงปลายใบของมันจะมน


ก้านดอก : ก้านดอกเข็ม
ขาว
นั้นจะยาวส่วนปลายก้านดอกจะเป็นกลีบเล็กๆ อยู่เพียง 4 กลีบ


ดอก : ดอกเข็มขาวนั้น
จะออกรวมกันอยู่เป็นช่อ มีสีขาว มีกลิ่นหอมเย็น


ราก : รากนั้นจะมีรสหวาน


การขยายพันธุ์ :
เข็มขาวขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง ปักชำ


ส่วนที่ใช้ : ราก
ใช้เป็นยา


สรรพคุณของสมุนไพร :


ราก ใช้ปรุงเป็นยากิน รักษาโรคตา เจริญอาหาร


อื่น ๆ :


เข็มขาวนิยมปลูกเป็นไม้ประดับสวน ชอบดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี
ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:35:21 น.
Counter : 327 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  

WishRich
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มาเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองไปพร้อม ๆ กัน เพื่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงานครับ
Friends' blogs
[Add WishRich's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.