WishRich
Group Blog
 
All Blogs
 

สมุนไพร-ขมิ้นอ้อย

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/CurcumaZedoaria1.jpg




ขมิ้นอ้อย สมุนไพร
ดอกขมิ้นอ้อยจะออกเป็นช่อ
ก้านดอกนั้นจะยาวและพุ่งออกจากเหง้าที่อยู่ใต้ดินช่อดอกนั้นจะมีใบประดับและ
ดอกจะมีสีขาว
ตรงปลายช่อดอกจะเป็นสีชมพูส่วนดอกสีเหลืองจะบานจากล่างขึ้นข้างบน



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Curcuma Zedoaria Rose


ชื่อสามัญ :
Zedoary, Luya-Luyahan,


ชื่อวงศ์ :
ZINGIBERACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
ว่านเหลือง (กลาง) สากเบือ (ละว้า) ขมิ้นขึ้น (เหนือ) ละเมียด (เขมร)
ขมิ้นเจดีย์ ว่านเหลือง ขมิ้นหัวขึ้น


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพรขมิ้นอ้อยเป็นพรรณไม้
ล้มลุกจะงอกงามในฤดูฝน และจะมีต้นโทรมหัวใหญ่ในฤดูหนาว อยู่ในจำพวกเดียวกัน
ขิง ข่า


ใบ : ท้องใบของขมิ้น
อ้อย
จะมีขนนิ่ม ๆ
ในหน้าแล้งใบจะแห้งลงหัวจึงบางครั้งเราก็เรียกว่าขมิ้นหัวขึ้น


ดอก : ดอกขมิ้นอ้อยจะ
ออกเป็นช่อ
ก้านดอกนั้นจะยาวและพุ่งออกจากเหง้าที่อยู่ใต้ดินช่อดอกนั้นจะมีใบประดับ
และดอกจะมีสีขาว
ตรงปลายช่อดอกจะเป็นสีชมพูส่วนดอกสีเหลืองจะบานจากล่างขึ้นข้างบน
และจะบานครั้งละ 2-3 ดอก


การขยายพันธุ์ : ขมิ้น
อ้อย
ขยายพันธุ์โดยการใช้เหง้ามาปลูก และควรจะปลูกราว ๆ เดือนพฤษภาคม
ย่างเข้าฤดูฝน ไม่ควรให้น้ำขังจะทำให้เหง้าขมิ้นเน่าเสีย


ส่วนที่ใช้ :
เหง้าที่อยู่ใต้ดิน ใช้ได้ทั้งสดและแห้ง


สรรพคุณของสมุนไพร :



  • ใบ รสเฝื่อน ขับปัสสาวะ
    แก้ช้ำบวม

  • เหง้า รส ฝาดเฝื่อน
    แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว สมานลำไส้ แ้ก้ระดูขาว ขับปัสสาวะ ตำพอกแก้ฟกบวม แก้
    อักเสบ แก้พิษโลหิต แก้ลม รักษามะเร็งปากมด ลูก มะเร็งในรังไข่ มะเร็งปอด
    มะเร็งตับ มะเร็ง ต่อมไธรอยด์ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เนื้องอกที่
    กล้ามเนื้อมดลูก แก้เลือดคั่ง เลือดลมไหลเวียน ไม่สะดวก รักษาระดูมาไม่ปกติ
    เหง้าสดตำผสมการบูรเล็กน้อย ดองน้ำฝนกลางหาว รินเอาน้ำ หยอดตา แก้ตาแดง
    ตาแฉะ ตามัว ตาพิการ



ขมิ้นอ้อย สมุนไพร
เหง้าขมิ้นอ้อยสดนั้นนำมาบดแล้วนำมาผสมกับน้ำปูนใส
สามารถนำมาดื่มรักษาโรคท้องร่วงได้



ตำรับยา :



  1. แก้ฝีในมดลูก ขมิ้นอ้อย ๓
    ท่อน บอระเพ็ด ๓ ท่อน ลุกขี้กาแดง ๑ ลูก ผ่า ๔ เอา ๓
    ต้มกับสุรากินแก้โลหิตอันขัด และฝีภายในมดลูก

  2. รักษาแผล ใช้ขมิ้น
    อ้อย
    หุงในน้ำมันมะพร้าว ใส่แผล ทำให้แผล หายเร็ว (
    เนื่องจากหัวขมิ้นอ้อยเป็นยาฝาดสมานด้วย)

  3. แก้เสี้ยน หนามตำ  
    ใช้ขมิ้นอ้อย ๕ แว่น ข้าวหนียวสุกหนึ่ง กำมือ ดอกชบา ๕ ดอก ตำพอก
    แก้เสี้ยนหนามตำ (ดูดเสี้ยน และหนอง ออกจากแผล)

  4. แก้ฝี ถ้าเป็นฝีหัวเดือน
    ให้ใช้ใบไผ่เผาไฟให้ไหม้ หัวขมิ้นอ้อย ตำด้วยกัน
    แล้วใช้น้ำเป็นกระสายยา ใช้ทาด้วย กินด้วย พอกด้วย ใช้ได้ ที้่งนั้น

  5. แก้ปวดบวม ฟกช้ำ ใช้หัวขมิ้น
    อ้อย
    สดๆ มาตำให้ละเอียด พอก ตรงที่บวม บรรเทาอาการปวดข้อ
    และแก้ฟกช้ำบวมได้

  6. แก้ท้องร่วง
    ใช้หัวขม้ินอ้อยสดๆ ประมาณ ๒ แว่น มาบดผสม กับน้ำปุนใส กินแก้ท้องร่วงได้

  7. แก้ริดสีดวงทวาร
    เอาขมิ้นอ้อย พริกไทยล่อน เปลือกยางแดง เอาเท่าๆกัน ทำยาผง ละลายน้ำยางใส
    ปั้นเป็นลูกกลอน ขนาดปลายนิ้วชี้ รับประทานเช้า-เย็น

  8. ยาทาแผลหาย
    เอาลูกเบญจกานี ขมิ้นอ้อย กำมะถันแดง บดให้ ละเอียด ละลายน้ำปูนใส ทาแผลหาย

  9. แก้หัดหลบใน ต้นต่อไส้ ๑
    กำมือ ขมิ้นอ้อย ๕ แว่น นำใส่หม้อ ต้มกับน้ำปูนใสพอควร ใช้น้ำยาดื่มครั้งละ
    ๑ ถ้วยชา ก่อนอาหาร เช้า -เย็นแก้หัดหลบในได้ผลดีฃะงัด

  10. ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย น้ำมัน
    หอมระเหยในขมิ้นอ้อย สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้
    เช่นเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดฝีหรือหนองที่แผล เชื้ออหิวาตกโรค
    เชื้อที่ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เชื้อที่ทำไห้เจ็บคอ เชื้อไข้ไทฟอยด์
    ได้อีกด้วย

  11. ขับลม น้ำมันหอมระเหย
    ในขมิ้นอ้อย มีฤทธิ์ขับลมในท้องได้

  12. ฆ่าเชื้อรา จากเชื้อรา ๒๐
    ชนิด ขมิ้นอ้อย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา ๑๑ ชนิด
    และหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อราอีก ๔ ชนิด เชื้อราที่ขมิ้นอ้อย
    ฆ่าได้ส่วนใหญ่เป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง เช่น โรคขี้กลากบน ศีรษะ
    โรคชันนะตุ โรคเชื้อราที่เล็บ ผิวหนัง เชื้อราที่ซอกนิ้วเท้า เชื้อรา
    ที่ทำให้เกิดฝ้าขาว และเกิดแผลเปื่อยในปากและคอ ซึ่งมักจะมีไข้ตาม มาด้วย
    หรือทำให้ร้อนใน และเชื้อราที่เป็นเรื้อรังตามผิวหนัง( ขมิ้นชัน
    มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราได้เหมือนขมิ้นอ้อย)

  13. มีสารเคอร์คูมิน
    มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อสแตปได้ (เชื้อที่ทำให้เกิดฝี หนอง ทีแผล และเจ็บคอ)
    และมีฤทธิ์รักษาโรคท้องอืด เนื่องจากอาหาร ไม่ย่อย

  14. แก้ริดสีดวงทวาร เอา
    เหงือกปลาหมอ ๔ ส่วน พริกไทย ๒ ส่วน ขมิ้นอ้อย ๑ ส่วน ปั้นน้ำผึ้ง กินวันละ
    ๒ ครั้ง หล้งอาหาร ขนาด ปลายนิ้วก้อย แก้ลม แก้ริดสีดวงทวาร

  15. ยารับประทานให้ผิวสวยเสมอ
    ให้เอาขมิ้นอ้อย กระชาย พริก ไทย หัวแห้วหมู ทุบๆ
    แล้วดองด้วยน้ำผึ้ง รับประทานก่อนนอนทุกคืน ผิวท่านจะสวยเสมอ





 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:06:20 น.
Counter : 360 Pageviews.  

สมุนไพร-ขมิ้นชัน

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/karminchan1.jpg





ขมิ้นชัน สมุนไพร ดอกขมิ้นชันลักษณะเป็นช่อ
แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอกกลีบดอกสีเหลืองอ่อน
ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma
longa Linn.


ชื่อสามัญ :
Turmeric, Curcuma


ชื่อวงศ์ :
ZINGIBERACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
ขมิ้นแกง , ขมิ้นชัน , ขมิ้นหยวก , ขมิ้นหัว , ยากยอ , สะยอ , หมิ้น


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
Turmeric


ต้น : สมุนไพร
ขมิ้นชัน
เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90
ซม.เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2
ด้านตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ


ใบ :
ลักษณะใบเดี่ยวแทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม.
ยาว 30-40ซม.


ดอก : ขมิ้นชันออก
ดอกเป็นช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ
รูปทรงกระบอกกลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ
3-4 ดอก ผลรูปกลมมี 3 พู


ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา :
เหง้า (สดและแห้ง)


สารสำคัญ :


เหง้าขมิ้นชันประกอบด้วยสารสำคัญประเภทเคอร์คูมินอยด์เป็นสารสี
เหลือง ประกอบด้วยเคอร์คูมิน, เดสเมทอกซีเคอร์คูมิน และบิสเดส
เมทอกซีเคอร์คูมิน และน้ำมันหอมระเหย มีสีเหลืองอ่อน มีสารสำคัญคือ
เทอร์เมอโรน และซิงจีเบอรีน นอกจากนี้ ยังมีสารกลุ่มเซสควิเทอร์ปีน
และโมโนเทอร์ปีน อื่น ๆ อีกหลายชนิด


ขมิ้นชันที่ดีต้องมีปริมาณเคอร์คูมินอยด์คำนวณเป็นเคอร์คูมิ
นและน้ำมันหอมระเหย ไม่น้อยกว่า 5 % โดยน้ำหนัก และ 6%
โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก ตามลำดับตามมาตรฐานของตำรับยาสมนุไพรของประเทศไทย
หรือไม่น้อยกว่า 3% และ 4% ตามลำดับ ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก




ขมิ้น
ชัน สมุนไพร เหง้าขมิ้นชันประกอบด้วยสารสำคัญประเภทเคอร์คูมินอยด์เป็นสารสี
เหลือง ประกอบด้วยเคอร์คูมิน, เดสเมทอกซีเคอร์คูมิน และบิสเดส
เมทอกซีเคอร์คูมิน และน้ำมันหอมระเหย



ขมิ้นชันมีประโยชน์
และสรรพคุณทางสมุนไพร
หลายประการดังนี้ :



  1. มีวิตามิน เอ , วิตามิน ซี , วิตามิน อี
    เมื่อข้าสู่ร่างกายจะทำงานพร้อมกันทั้ง 3 ตัว มีผลทำให้ช่วยลดไขมันในตับ

  2. สมานแผลภายในกระเพาะอาหาร

  3. ช่วยย่อยอาหาร

  4. ทำความสะอาดให้ลำไส้

  5. เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ

  6. ต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดมะเร็งในตับ

  7. สร้างภูมิคุ้มกันให้กับผิวหนัง

  8. กำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่กินเข้าไปแล้วสะสมในร่างกายเตรียมก่อ
    ตัวเป็นเซลล์มะเร็ง

  9. ช่วยขับน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรได้ดี รองมาจากการกินหัวปลี

กินขมิ้นชันให้เป็นอาหาร ใช้ปรุงอาหารกิน
ทอดปลาคลุกขมิ้นชันก็ดี ทำให้หอมน่ากินและยังได้ประโยชน์อีกด้วย
เพราะตัวขมิ้นชันจะช่วยย่อยไขมันจากน้ำมันที่ใช้ทอดปลาได้บางส่วน


ถ้ากินขมิ้นชันสดๆ ต้องปอกเปลือกก่อน แต่ถ้าทำขมิ้นชันบด
เป็นผงต้องนำขมิ้นชันมาต้มน้ำให้เดือดสักพักหนึ่ง
แล้วตักออกนำมาผึ่งให้เย็นหั่นเป็นแว่นเล็กๆ ตากแดดจนแห้ง
อาจจะตากหลายครั้ง แล้วถึงจะนำมาบดให้เป็นผง
ถ้าใช้เครื่องอบให้ขมิ้นชันแห้ง ความร้อนควรไม่เกิน 65 องศา
ถ้าความร้อนเกินอาจเกิดสารสเตรอยด์ได้


กินขมิ้นชันให้ตรงเวลาที่อวัยวะส่วนต่างๆ
ของร่างกายเปิดการทำงานในช่วงเวลานั้น จะได้ผลตรงประเด็นที่ต้องการจะบำรุง
หรือแก้ไขฟื้นฟูของระบบของอวัยวะ กินเพียง 1 แคปซูลเท่านั้น
จะออกฤทธิ์มากกว่าเวลาอื่นถึง 40 เท่าตัว
แต่ถ้ามีปัญหาหลายอย่างก็กินครั้งละ 1 แคปซูล ทุกๆ 2 ชั่วโมง
ถ้ากินในจำนวนมาก ส่วนที่เหลือจะไปขับไขมันในตับ







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:04:19 น.
Counter : 354 Pageviews.  

สมุนไพร-ขิง

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/ginger1.jpg


ขิง สมุนไพร ดอกขิงทำให้ชุ่มชื่น ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ บำรุงไฟธาตุ<br> รักษานิ่ว เบาขัดคอเปื่อย และบิด

ขิง สมุนไพร ดอกขิงทำให้ชุ่มชื่น ช่วยย่อยอาหาร
ฆ่าพยาธิ บำรุงไฟธาตุ รักษานิ่ว เบาขัดคอเปื่อย และบิด



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Zingiber officinalis Roscoe.


ชื่อสามัญ :
Ginger


ชื่อวงศ์ :
ZINGIBERACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
ขิงเผือก (เชียงใหม่) ขิงแดง ขิงแกลง (จันทบุรี) สะเอ
(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เกีย (จีน)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น: สมุนไพรขิงป็นพรรณไม้ล้มลุก
มีลำต้นอยู่ใต้ดินซึ่งเรียกว่าเหง้าลำต้นจะมีความสูงประมาณ 50-100 ซม.
ลักษณะเหง้าที่อยู่ใต้ดินจะกลมและแบนลำต้นแท้จะมีลัษณะเป็นข้อ ๆ
เนื้อในจะเป็นสีขาวหรือเหลืองอ่อนสุดท้ายของข้อนั้นจะเป็นยอดหรือต้นเทียม
ใหญ่เท่าแท่งดินสอดำและกาบหรือโคนใบหุ้ม


ใบ : เป็นชนิดใบเดี่ยวจะ
ออกสลับกันเป็นสองแถว ก้านใบนั้นจะยาวห่อหุ้มลำต้น
ใบเขียวยาวรูปหอกฐานใบนั้นเรียวแหลม ขอบใบจะเรียบ มีความกว้างประมาณ 2 ซม.
ยาวประมาณ 20ซม. รูปใบคล้ายใบไพล


ดอก : จะออกรวมกันเป็นช่อ
จากลำต้นใต้ดิน ซึ่งจะแท่งขึ้นมาจากเหง้ามีก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 ซม. ทุก ๆ
ดอกมีกาบสีเขียวปนแดงลักษณะโค้ง ๆห่อรองรับ
กาบนั้นจะปิดแน่นเมื่อดอกยังอ่อน
และจะบานให้เห็นดอกในภายหลังดอกที่ปิดกันแน่นนั้นจะยาวประมาณ 5 ซม.
กว้างประมาณ 2.5 ซม.


กลีบดอก : จะติดกันแน่นยาว
ประมาณ 2 ซม.และมีสีเหลืองออกเขียวส่วนกลีบรองดอกจะยาวประมาณ 2.5 ซม.
เป็นเยื่อบาง ๆหุ้มอยู่ และมีกลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ
1ซม.ทั้งกลีบดอกและกลีบรองดอกนั้น ตรงปลายของมันจะแยกเป็น 3
กลีบสามารถอุ้มน้ำ และหลุดร่วงไว
โคนกลีบดอกม้วนห่อส่วนตรงปลายของกลีบจะผายกว้างออก


เกสร : จะมีอยู่ 6
อันเกสรตัวผู้ที่ฝ่อไปจีมีสีม่วงแดง และจะมีจุดสีเหลือง คล้ายลิ้น
ตรงปลายจะมนกลมสั้นกว่ากลีบดอกส่วนที่มีลักษณะคล้ายลิ้นนั้นมีก้านเกสรตัว
เมียอยู่ 1 อันและมีอับเรณูล้อมรอบรังไข่ มีอยู่ 3 ห้อง


เมล็ด (ผล) : จะมี 3 พู
ภายในเมล็ด ผลจะกลม ผลโตและแข็งแรง วัดผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 1 ซม.


เหง้า : เมื่อแก่จะมีรส
เผ็ดร้อนมาก เนื้อเหง้าขิงสีเนื้ออมเหลือง ๆ


การขยายพันธุ์ :


ขิงขยายพันธุ์โดยการใช้เหง้า
ปลูกในดินร่วนซุยผสมปุ๋ยหมักโดยยกดินให้เป็นร่องห่างกันประมาณ 30 ซม.
ปลูกห่างกันประมาณ 20 ซม.และลึกประมาณ 5-10 ซม. ต้องระวังโรคเชื้อรา
ตอนที่มีฝนตกมาก ๆนิยมปลูกไว้ตามบ้านเรือนทั่วไป
ชอบดินเหนียวปนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุมากอากาสค่อนข้างชื้นแต่การระบายน้ำดี
ไม่ชอบน้ำขังแฉะ แสงแดดพอควร


ส่วนที่ใช้ :
ต้น ใบ ดอก ผล ราก เหง้า เปลือกเหง้า น้ำมันหอมระเหยใช้เป็นยา


ขิง สมุนไพร ใบขิงช่วยย่อยอาหาร ขับผายลมรักษาโรคกำเดา นิ่ว คอเปื่อย<br> เบาขัด ฆ่าพยาธิ ขับลมในลำไส้ และโรคตา

ขิง สมุนไพร ใบขิงช่วยย่อยอาหาร
ขับผายลมรักษาโรคกำเดา นิ่ว คอเปื่อย เบาขัด ฆ่าพยาธิ ขับลมในลำไส้
และโรคตา



สรรพคุณของสมุนไพร:


ต้น ขับผายลม
บรรเทาอาการจุกเสียดแน่นเฟ้อ บำรุงไฟธาตุรักษานิ่วคอเปื่อย ช่วยย่อยอาหาร
ฆ่าพยาธิ รักษาโรคตา บิด ลมป่วง ท้องร่วงอย่างแรงอาเจียน


ใบ ใช้ใบสด
แล้วคั้นเอาน้ำกิน 15 มล.มีรสเผ็ดอาการชกช้ำจาการหกล้มหรือกระทบกระแทก
ช่วยย่อยอาหาร ขับผายลมรักษาโรคกำเดา นิ่ว คอเปื่อย เบาขัด ฆ่าพยาธิ
ขับลมในลำไส้ และโรคตา


ดอก ทำให้ชุ่มชื่น
ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ บำรุงไฟธาตุ รักษานิ่ว เบาขัดคอเปื่อย และบิด


ผล รักษาอาการไข้
นอกจากจะใช้เดี่ยว ๆแล้วขิงยังใช้ผสมในยารักษาต่าง ๆ คือ
รักษามะเร็งกรามช้าง มะเร็งดอกบุกหนองใน
ทำให้หญิงที่มีสามีแล้วแต่ไม่มีบุตรสามารถมีบุตรได้
ยาบำรุงน้ำนมเป็นยาอายุวัฒนะ บรรเทาอาการคอแห้ง เจ็บอก กระหายน้ำ ตามืด
ตาฟางตา ต้อกระจก วิงเวียนหัว รักษาโรคอันผูกหัวใจ โรคประสาทพิการ
โรคทั้วปวงปวดเอว ราก จะมีรสเผ็ดและขม ทำให้เนื้อหนังสดชื่น ขับลม
ทำให้เสียงไพเราะช่วยให้หลอดคอโปร่ง ฆ่าพยาธิซึ่งเป็นตัวเชื้อโรค
เจริญอาหาร รักษาบิดตกเป็นโลหิตดุจสีขมิ้น นิ่ว ไอ


เหง้า ใช้ทั้งเหง้าแก่และ
เหง้าอ่อนทำเป็นเครื่องเทศ เครื่องดื่ม กลบรส แต่งกลิ่น อาเจียน ไอ หอบ
ขับปัสสาวะบำรุงธาตุ รักษาบิด และรักษาพิษจาก ปั้วแห่ (pinellia
pedatisecta Schott)และ เทียงหน่ำแช (Arisaema consanguineum Schott) และ
ปู ปลา นกและเนื้อสัตว์อื่นมีพิษ


เปลือกเหง้า ใช้แห้งประมาณ
1.5-5 กรัม ต้มน้ำกินรสฉุน ขับปัสสาวะ ขับลม รักษาอาการท้องอืดแน่น
อาการบวมน้ำใช้ภายนอกรักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน และแผลมีหนอง น้ำมันระเหย
ใช้ผสมเป็นน้ำเชื่อมอุ่นรับประทานครั้งละ 10-15 มล.
ในเหง้าจะมีน้ำมันระเหยประมาณ 0.25-3%ซึ่งประกอบด้วย
camphene,cinelo,pellandrene,linalool,zingiberene,borneolและพวกที่ทำให้มี
รสเผ็ดร้อนนั้นได้แก่ Zingerone และ shogoal มีเม็ดสีแป้ง และ resin


ตำรับยา :



  1. รักษาอากราท้องอืดเฟ้อจุกเสียดและปวดท้อง
    คลื่นไส้อาเจียนใช้เหง้าสดขนาดหัวแม่มือ 5 ก. เคี่ยวให้ข้นแล้วเอาพอก
    ตอนอุ่น ๆเอาผ้ากอซปิดไว้
    พอผ้าเย็นให้ทาใหม่อีกจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้นหรือจะใช้เหง้าสดตำแล้วนำไปต้ม
    กิน

  2. รักษาอาการท้องขึ้นและปวดท้องนำขิง 30 กรัม
    มาชงกับน้ำเดือดประมาณ 500 ซี.ซี. ชงแช่ทิ้งไว้นาน 1
    ชม.แล้วกรองรับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ

  3. รักษาโรคจุกเสียดทำให้หลับสบาย ใช้ขิงแก่ต้มกับน้ำเทเอน้ำรับ
    ประทาน

  4. รักษาอาการไอและขับเสมหะ ให้ใช้เหง้าสด ประมาณ 60 กรัม น้ำตาลทราย 30
    กรัม ใส่น้ำ3 แก้ว นำไปต้มให้เหลือครึ่งแก้ว แล้จิบกินตอนอุ่น ๆ
    หรือใช้ฝนกับมะนาวแทรกเกลือใช้กวาดคอหรือจิบบ่อย ๆ

  5. ปวดข้อ ใช้น้ำคั้นจากเหง้าสด ผสมกาวหนังวัว
    เคี่ยวให้ข้นพอกหรือใช้เหง้าสดนำมาย่างไฟ แล้วตำผสมน้ำมันมะพร้าวใช้ทา

  6. ไอเรื้อรังใช้น้ำผึ้งประมาณ 500 กรัม แล้วน้ำที่คั้นจากเหง้าสดประมาณ 1
    ลิตรมาผสมแล้วเคี่ยวในกระทะทองเหลือง
    ทำจนน้ำระเหยไปหมดแล้วจึงเอามาปั้นเป็นเม็ดเท่าพุทราจีน
    ใช้อมรับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ3 ครั้ง

  7. โรคอหิวาตกโรค ปวดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียนให้นำเหง้าสดประมาณ 500 กรัม
    ใส่น้ำ 7 แก้ว นำไปต้ม ใหเเหลือ 2 แก้วแล้วแบ่งกินเป็น 3 เวลา

  8. ผมร่วงเริ่มหัวล้าน ให้ใช้เหง้าสดนำมาผิงไฟให้อุ่นตำพอกบริเวณที่ผมร่วง
    วันละ 2 ครั้ง ราว ๆ สัก 3 วันถ้าเห็นว่าดีขึ้น
    อาจใช้พอกต่อไปสักระยะจนผมขึ้น
    ขิง สมุนไพร เหง้าขิงใช้ทั้งเหง้าแก่และเหง้าอ่อนทำเป็นเครื่องเทศ <br>เครื่องดื่ม กลบรส แต่งกลิ่น อาเจียน ไอ หอบ ขับปัสสาวะบำรุงธาตุ รักษาบิด

    ขิง สมุนไพร
    เหง้าขิงใช้ทั้งเหง้าแก่และเหง้าอ่อนทำเป็นเครื่องเทศ เครื่องดื่ม กลบรส
    แต่งกลิ่น อาเจียน ไอ หอบ ขับปัสสาวะบำรุงธาตุ รักษาบิด



  9. ไอจากการตรากตรำทำงานหนัก ควรใช้น้ำผึ้ง และน้ำคั้นจากเหง้าสดอย่างละ
    120กรัม น้ำคั้นจากรากผักกาดหัวสดน้ำคั้นจากลูกสาลี่สด และนมสด อย่างละ
    1แก้ว ผสมกันนำไปเคี่ยวให้ข้น แล้วแบ่งรับประทานครั้งละ 2-3 ช้อนคาวครั้งละ
    2 เวลา เช้า-เย็น

  10. หนังมือลอกเป็นขุยให้ใช้เหง้าสดมาหั่นเป็นแผ่น นำมาแช่เหล้า 1 ถ้วยชา
    ทิ้งไว้นาน 24 ชั่วโมงเอาแผ่นขิงที่แช่น้ำถูทา
    ตามบริวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง

  11. จุกแน่นหน้าอก ให้ใช้เหง้าสด 500 กรัม
    คั้นเอาน้ำออกให้หมดเหลือแต่กากหมาดๆ ห่ผ้าผิงไฟให้อุ่น
    นำมาบริเวณที่ปวดจนยาเย็น นำลูกประคบไปอุ่นแช่ น้ำขิงแล้วผิงไฟให้
    ร้อน แล้วนำมาประคบอีก จนกว่าจะรู้สึกสบายดีขึ้น

  12. บาดแผลสด ให้ใช้เหง้าสด ล้างให้สะอาด นำมาตำเอาน้ำมา

  13. แมลงเข้าหู ควรใช้น้ำที่คันจากเหง้าสดนำมาหยอดหู

  14. โรคริดสีดวงทวารเรื้อรังนำเหง้าที่ยังไม่ได้ปอกเปลือก
    เอามาหั่นเป็นแผ่นมาผสมกับน้ำผึ้งแล้วเอามาบดเป็นผง คั่วให้ดำ
    นำมาพอกที่หัวริดสีดวงทวารปิดยึดเอาไว้ไม่ให้เคลื่อนที่

  15. ผิวหนังเป็นปื้นแดงและปื้นขาว นำเหง้าสดมาหั่นเป็นแผ่นถูทาบ่อย ๆ

  16. แผลเริมที่บริเวณหลัง ให้ใช้เหง้า 1 หัว
    เอามาเผาจนผิวนอกเป็นถ่านคอยปาดถ่านที่ผิวนอกออก เผาและปาดไปเรื่อย
    ๆนำผงถ่านที่ได้มาผสมกับน้ำดีหมูทาบริเวณที่เป็น

  17. หน้าแขนขาบวมน้ำ จุกแน่นหน้าอก ท้องอืด จุกแน่นบริเวณสะดือ ผะอืดผะอม
    อึดอัดใช้โงวเกียพ้วย (Acanthopanax gracillistylus W.W.
    Smith)แห้งเปลือกรากและต้นเก๋ากี้ (Lycium chinense Mill.) แห้ง
    เปลือกเหง้าขิงแห้ง ใยเปลือกลูกหมากแก่ เปลือกโป่ง รากสน (Poria
    cocos Wolf.) แห้งให้ใช้อย่างละ 3 กรัม นำมาผสมกันบดเป็นผง แบ่งกินครั้งละ
    10 กรัม ใส่น้ำ 1 แก้ว ต้มจนเหลือ 1 แก้ว
    เทน้ำรับประทานแบบน้ำชาในช่วงที่รับประทานยานี้ไม่ควรจะกินอาหารที่มีมันมาก
    ของเย็น หรือของแข็ง

  18. ฟกช้ำจาการหกล้มหรือกระทบกระแทก ให้ใช้เหง้าสด
    นำมาผสมกับเหง้าพอกหรือใช้น้ำคั้นจากใบสด 1 ถ้วย ตังกุย (Angelica sinensin
    Diels.) ประมาณ100 กรัม บดเป็นผง ผสมกับเหง้ากิน ติดต่อกันประมาณ 3 วัน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาและ
ทางคลีนิค :



  1. ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร
    มีฤทธิ์สามารถป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนนอกจากนี้แล้วยังพบว่ามีสารสกัดขิง
    ด้วยน้ำร้อน ถ้าฉีดเข้าหลอดโลหิตดำของแมว
    จะไม่สามารถยับยั้งการตอบสนองของหลอดลมเมื่อใช้ขิงอย่างเดียว
    แต่ถ้าใช้กับสมุนไพรอื่น ๆ
    จะได้ผลฤทธิ์ต่อระบบการย่อยอาหารนั้นหลังจากที่เทน้ำต้มที่สกัดจากเหง้ามี
    ความเข้มข้นประมาณ 50%
    ใส่สุนัขที่ทำให้สงบแล้วนั้นจะพบว่าที่หลอดอาหารและกระเพาะอาหารในครั้งแรก
    มีผลซึ่งทำให้ลดกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารระยะต่อมาจะออกฤทธิ์ข่วยกระตุ้น
    กรดและน้ำย่อยออกมากขึ้นแต่ถ้าให้สุนัขกินผงขิงแห้งประมาณ 0.1-1
    กรัมจะมีสารเมือกในกระเพาะอาหารมากขึ้นและกรดเกลือก็จะออกมากขึ้นน้ำที่แช่
    สกัดได้จากเหง้านั้นจะสามารถยับยั้งการทำให้สุนัขอาเจียนด้วยอะโปมอร์ฟีน
    ส่วนกระต่ายนั้นให้กินน้ำขิงที่มี
    zingeroneจะมีผลสามารถทำให้ลำไส้คลายตัวและมีการบีบตัวลดลง

  2. ฤทธิ์ต่อระบบประสาท
    สารสกัดได้จากเหง้าขิงด้วยน้ำร้อนโดยมีความเข้มข้นประมาณ 0.15%
    ซึ่งมีฤทธิ์ต่อต้านอาการชักที่เกิดจากการให้ยา metrazol
    แก่เซลล์ประสาทหอยทาก (Snail
    neurons)นอกจากนี้ยังพบว่ามีฤทธิ์ในการทำเป็นยาเฉพาะที่ต่อระบบประสาท
    sciaticnerve ของกบ สารสกัดด้วยเมะานอลประมาณ
    50%นี้จะมีฤทธิ์สามารถลดอาการปวดในหนูถีบจักร

  3. ฤทธิ์รักษาโรคมาลาเรีย ให้
    ใช้เหง้าสด เอามาล้างให้สะอาดแล้วเช็ดเปลือกนอกให้แห้งแล้วนำมาหั่นเป็นฝอย
    แล้วตำให้ละเอียดใช้ห่อผ้าก็อตทำเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ
    นำมาวางตามจุดแทงเข็มแล้วใช้พลาสเตอร์ปิดไว้ให้อยู่นิ่ง ที่จุดแทงเข็ม
    จากคนไข้ 40 รายก่อนวางมีอาการไข้ 4-6 ชั่วโมง
    หลังจากการวางยานี้แล้วประมาณ 8 ชั่วโมงให้เอาห่อยาออก แล้วพอกยาอีก 2
    ครั้ง ได้ผลช่วยระงับอาการจับไข้ได้ 36 รายได้ทำการตรวจโลหิตแล้วไม่พบเชื้อ
    แต่ไม่ได้ผลอีก 4 ราย

  4. ฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
    สารสกัดที่ได้จากขิงนั้นไม่ไมีผลต่อเชื้อ แบคทีเรีย
    Stapphyulococcusaureus (เชื้อ หนอง) Escherichia coli และ Pseudomo nas
    eroginosa

  5. ฤทธิ์ในการฆ่าพยาธิ พบว่า
    สามารถฆ่าพยาธิใบไม้ได้และยังรักษาอาการปวดท้องจากพยาธิตัวกลมในลำไส้
    โดยใช้เหง้าขิงสดประมาณ 60กรัม
    นำมาต้มคั้นเอาแต่น้ำมาผสมกับน้ำเชื่อมให้มีปริมาตรครบ 60
    มล.หลังจากที่ได้กินยานี้แล้ว อาการปวดท้องจะลดลงและหายไป
    หยุดอาเจียนและอาการอึดอัดปวดมวนท้อง ตามปรกติแล้วหลังจากที่กินยานี้ประมาณ
    1-3 วันก็จะหายไป ถ้าอาการหยุดแน่นหายไปก็จะรับประทานยาขับพยาธิตัวกลมได้

  6. ใช้ทำเป็นยาขัดฟัน
    โดยการนำมาผสม Magnesium silicate Rock Salt,borax,สีเสียด พริกไทยดำ Alum
    เฮ่งยิ้มหวาน Pyrethrum,Masticและยาสูบจาการที่ได้ทดลองกับเด็กอายุประมาณ
    10 ขวบ ที่มีอาการเหงือกบวมหินปูนจับ ฟันมีสี หรือฟันผุ
    มีผลปรกกฏว่าฟันและเหงือกดีขึ้น ภายใน 1เดือน
    และอาการดีนั้นยังดีต่อไปเป็นเวลาประมาร 12 ปี

  7. ฤทธิ์ที่ยับยั้งการเจริญเติบโต
    ของเชื้อราและโปรโตชัว
    นำน้ำที่แช่สกัดจาก เหง้าขิงได้พบ
    ว่ามีฤทธิ์สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา (Trichophytonuiolaceum
    และเชื้อดปรโตชัว trichomonas

  8. ฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็ง
    พบว่ามีผู้นำสารสกัดโดยใช้ตัวทำละลาย ต่าง ๆ
    นำไปทดลองฆ่าเซลล์มะเร็งชนิดCa-Her-lich-Ascites ซึ่งพบว่า
    สารสกัดด้วยน้ำนั้นไม่มีผลแต่สารสกัดด้วยเมธานอลมีผลเล็กน้อย





 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:00:52 น.
Counter : 403 Pageviews.  

สมุนไพร-ขี้เหล็ก

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/KheeLhaek2.jpg


ขี้เหล็ก สมุนไพร ฝักของขี้เหล็กแก้พิษไข้เพื่อน้ำดี <br>พิษไข้เพื่อเสมหะ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง

ขี้เหล็ก สมุนไพร
ฝักของขี้เหล็กแก้พิษไข้เพื่อน้ำดี พิษไข้เพื่อเสมหะ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Cassia siamea (Lamk.) Irwin et Barneby


ชื่อสามัญ : Cassod
tree, Siamese senna, Thai copperpod, Siamese cassia


ชื่อวงศ์ :
Fabaceae (Leguminosae)


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง)
ยะหา (ปัตตานี) ขี้เหล็ก จีหรี่ (ภาคใต้)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพร
ขี้เหล้ก
เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่


ใบ : ใบขี้เหล็กเป็น
ใบรวมซึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 20 ใบ ลักษณะใบจะดกหนาทึบ
คล้ายใบทรงบาดาลหรือใบของชุมเห็ดไทย


ดอก : ขี้เหล็กจะ
ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองสวย


ฝัก : มีลักษณะแบนอวบและ
ยาวประมาณ 15 ซม. คล้ายกับฝักแค


การขยายพันธุ์: ขี้
เหล็ก
เป็นพรรณไม้ที่ปลูกไม่ยาก โดยใช้เมล็ดเพาะ 
เป็นพรรณไม้ที่พบอยู่ทั่วไปในประเทสไทย ศรีลังกา
และมาเลเซียนิยมปลูกไว้เป็นไม้ร่มตามริมถนน
หรือตามบ้านเรือนและสวนทั่วไปต่างประเทศสั่งซื้อพันธุ์ไปปลูกเป็นไม้ประดับ


ส่วนที่ใช้ :
เนื้อไม้ ใบอ่อน ดอก ฝัก ราก


ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ :


ใบอ่อนและดอกขี้เหล็ก พบว่ามีสารจำพวก Chromone มีชื่อว่า
Barakol ส่วนในใบพบสาร A mthraquinones (เช่น Rhein, Sennoside
Chrysophanol,Aloe-emodin),Alkaloid และสารอื่นอีกหลายชนิด
จากการศึกษาพบว่า ใบขี้เหล็กออกฤทธิ์เป็นยาระบายเพราะมีสาร
Anthraquinone และพ.ศ 2492 อุไร อรุณลักษณ์
และคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาลัยพบว่า
สารสกัดด้วยแอลกฮอล์ของใบขี้เหล็กนี้มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง
ทำให้สัตว์ทดลองมีอาการซึม เคลื่อนไหวช้า
ชอบซุกตัวแต่ไม่หลับและศึกษาโดยใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการ นอนไม่หลับ
พบว่าสารสกัดจากใบขี้เหล็กด้วย แอลกอฮอล์มีฤทธิ์สงบประสาทได้ดี
ช่วยให้นอนหลับ
กระวนกระวายสบายและระงับอาการตื่นตัวทางประสาทได้แต่ไม่ใช่ยานอนหลับโดยตรง
และไม่พบอาการเป็นพิษมีความปลอดภัยในการใช้สูง


สรรพคุณของสมุนไพร :



  • ดอก รักษาโรคเส้นประสาท
    นอนไม่หลับ ทำให้หลับสบาย รักษาโรคหืด รักษาโรคโลหิตพิการ ผายธาตุ
    รักษารังแค ขับพยาธิ

  • ราก รักษาไข้
    รักษาโรคเหน็บชา ทาแก้เส้นอัมพฤกษ์ให้หย่อน แก้ฟกช้ำ แก้ไข้บำรุงธาตุ
    ไข้ผิดสำแดง

  • ลำต้นและกิ่ง เป็นยาระบาย
    รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคกระษัย แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ขับระดูขาว

  • ทั้งต้น แก้กระษัย
    ดับพิษไข้ แก้พิษเสมหะ รักษาโรคหนองใน รักษาอาการตัวเหลือง เป็นยาระบาย
    บำรุงน้ำดี ทำให้เส้นเอ็นหย่อน

  • เปลือกต้น
    รักษาโรคริดสีดวงทวาร โรคหิด แก้กระษัยใช้เป็นยาระบาย

  • กระพี้ รสขมเฝื่อน
    แก้ร้อนกระสับกระส่าย บำรุงโลหิต คุมกำเนิด

  • ใบ รักษาโรคบิด
    รักษาโรคเบาหวาน แก้ร้อนใน รักษาฝีมะม่วง รักษาโรคเหน็บชา
    ลดความดันโลหิตสูง ขับพยาธิ เป็นยาระบาย รักษาอาการ นอนไม่หลับ

  • ฝัก แก้พิษไข้เพื่อน้ำดี
    พิษไข้เพื่อเสมหะ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง เบื้องบน โลหิตขึ้นเบื้องบน
    ทำให้ระส่ำระสายในท้อง

  • เปลือกฝัก
    แก้เส้นเอ็นพิการ

  • ใบแก่ ใช้ทำปุ๋ยหมัก

คุณค่าทางอาหาร :


ดอกตูมและใบอ่อนของขี้เหล็กมีรสขม ต้องคั้นน้ำทิ้งหลายๆครั้ง
ก่อนจึงเอามาปรุงอาหารได้ นิยมนำมาทำแกงกะทิ
หรือทำเป็นผักจิ้มจะช่วยระบายท้องได้ดี


ทั้งดอกตูมและใบอ่อนมีสารอาหารหลายอย่างคือ วิตามิน เอ และวิตามิน ซี
ค่อนข้างสูง
ในดอกมีมากกว่าใบเอาใบขี้เหล็กมาบ่มรวมกับผลไม้จะช่วยทำให้ผลไม้สุกเร็วขึ้น







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 11:58:36 น.
Counter : 349 Pageviews.  

สมุนไพร-ขจร

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/kajon1.jpg




ขจร สมุนไพร ดอกขจร
มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ช่วยบำรุงตับ
บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงฮอร์โมนของสตรี



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Telosma minor., Craib.


ชื่อสามัญ :
Cowslip creeper.


ชื่อวงศ์ :
ASCLEPIAPACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : สลิด
ผักสลิดคาเลา สลิดป่า ผักสลิด กะจอน ขะจอน ผักขิก


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพร
ขจร
เป็นไม้เลื้อยยืนต้นเนื้อแข็ง จะขึ้นพาดพันไปตามต้นไม้ใหญ่ได้ไกล ๆ
ต้นหรือเถาของขจรมีขนาดเล็ก แต่จะมีความเหนียวมาก
ซึ่งสามารถใช้เถาขจรแทนเชือกได้
เถาขจรจะเป็นสีเขียวเถาแก่ก็จะเป็นสีน้ำตาลเถากลมเรียม
ลักษณะของเถานั้นจะคล้ายชิงข้าชาลี


ใบ : ขจรมักจะแตก
ใบเป็นพุ่มแน่นและทึบ จนในบางครั้ง
พุ่มใบจะแผ่ปกคลุมต้นไม้อื่นได้มิดเลยทีเดียว ใบขจรจะเป็นสีเขียว
อ่อน ใบบาง ก้านใบยาว ใบรูปใบโพธิ์ หรือรูปหัวใจ
หรือคล้ายใบพลูขอบใบจะเรียบ เกลี้ยงไม่มีจักจะเห็นเส้นใบชัด
หน้าใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบแหลมเป็นติ่ง


ดอก : ขจรเป็นไม้
ดอกที่มีกลิ่นหอมและแรงกว่ากลิ่นดอกชำมะนาด ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ
ห้อยเป็นกระจุกหรือเป็นพวงๆ คล้ายพวงอุบะตามโคนก้านใบ  ช่อดอกหนึ่ง ๆ
จะมีดอกประมาณ 10-20 ดอก ดอกจะมีสีเขียวอมเหลือง หรือสีเหลือง กลีบดอกหนา
เนื้อกลีบดอกจะมีลักษณะหยุ่น ๆ เมื่อดอกบานกลีบดอกมีลักษณะเหมือนดาว 5 แฉก


เมล็ด (ผล) : มีลักษณะกลม
และยาวคล้ายกับลูกนุ่นที่ยังเล็กผลอ่อนจะมีรสหวานใช้รับประทานเป็นผักได้
ส่วนผลแก่จะแตกออกเป็นเมล้ดในปลิวว่อนคล้ายนุ่นงิ้ว
หรือนุ่นลูกรักนุ่นในลูกข้าวสาร ซึ่งมีเมล็ดเกาะติดอยู่กับใยสีขาว


เกสร : จะเป็นใยสีขาว ๆ
คล้ายใยนุ่นงิ้วปลิวว่อน


การขยายพันธุ์ :
ขจรขยายพันธุ์โดยการปักชำ หรือเอาเมล็ดไปเพาะ


ส่วนที่ใช้ :
ดอก และ ราก


สรรพคุณของสมุนไพร:


ดอกขจร มีสรรพคุณช่วย
บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
รักษาหวัดที่เกิดจากการตากลมหรืออากาศเย็น ช่วยบำรุงตับ บำรุงสายตา
บำรุงเลือด บำรุงฮอร์โมนของสตรี ช่วยขับเสมหะ และแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ


ราก นำรากต้นขจรมา
บดผสมกับยาหยอดรักษาตา และรับประทานให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา
หรือทำให้รู้รสอาหาร ดับพิษทั้วปวง


คุณค่าทางอาหาร :


ทั้ง ยอดอ่อน ผลอ่อน และดอกของขจรสามารถนำมาทำอาหารได้ทั้งนั้น
โดยเฉพาะใช้เป็นผักต้มหรือผักลวกจิ้มน้ำพริก หรือทำเป็นอาหารอื่นๆ เช่น
แกงส้มดอกขจร ยำดอกขจร แกงจืดดอกขจร ข้าวต้มดอกขจร
เป็นต้น และส่วนที่มีคุณค่าทางอาหารมากที่สุดคือส่วนยอดอ่อน ทั้งนี้ดอกขจรมี
คุณค่าวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ได้แก่ วิตามิน เอ วิตามิน ซี แคลเซียม
และฟอสฟอรัสสูง







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 11:56:37 น.
Counter : 316 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  

WishRich
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มาเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองไปพร้อม ๆ กัน เพื่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงานครับ
Friends' blogs
[Add WishRich's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.