WishRich
Group Blog
 
All Blogs
 

เรียนรู้ประโยชน์ คาเฟอีน ในกาแฟ

//www.healthcorners.com/2007/coffee_web/pic/coffee_2010-03-24-063209.jpg








คอกาแฟทั้งหลายคง
จะเคยผ่านหูผ่านตาคำว่า “คาเฟอีน” กันมาแล้วมากบ้างน้อยบ้าง
แต่อาจไม่ได้สนใจกันจริงจังนัก คาเฟอีนนั้นออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท
ทำให้รู้สึกตื่นเต้น บางคนดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสมอยู่
อย่างชาหรือกาแฟอาจจะทำให้นอนไม่หลับ แต่บางคนก็หลับได้สบาย
การรู้สึกมีเรี่ยวแรงขึ้นมานั้นก็ไม่ใช่ฤทธิ์ของคาเฟอีนโดยตรง
แต่เป็นการเอากำลังสำรองมาใช้
ซึ่งเมื่อถึงคราวที่เราต้องอาศัยกำลังสำรองจริงๆ แล้วก็จะไม่มีเหลือ
ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ ล้มป่วยง่าย และหายยาก หรืออาจจะไม่หายเลยก็ได้



นักดื่มทั้งหลายที่ติดคาเฟอีนแล้ว แต่ไม่มีอาการถอนยาปรากฏชัดเจนนัก
เป็นเพราะมักจะดื่มถ้วยต่อถ้วยไปเรื่อยๆ ก่อนที่ยาจะหมดฤทธิ์ลง
จึงยังไม่เห็นอาการขาดคาเฟอีน คาเฟอีนไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาความรู้สึกเหนื่อย
และเพลียของร่างกายเลย
การพักผ่อนเท่านั้นที่จะช่วยได้แต่คาเฟอีนจะเป็นตัวกระตุ้นสมองให้เราตื่น
ความอ่อนเพลียจึงยังคงอยู่



กาแฟเป็นเครื่องดื่มกระตุ้นยอดนิยมของโลก ชาวอเมริกัน 4 ใน 5 คนเป็นคอกาแฟ
และดื่มกาแฟรวมกันแล้วมากกว่า 400 ล้านถ้วยต่อวัน
ขณะที่การบริโภคกาแฟในประเทศแถบสแกนดิเนเวียมีปริมาณมากกว่า 12 กิโลกรัม
ต่อคน ด้วยจำนวนประชากรมากกว่า 25 ล้านคนที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมนี้
กาแฟจึงเป็นสินค้าที่มีมูลค่าอันดับสองในตลาดการค้าโลก
เป็นรองก็แต่อุตสาหกรรมน้ำมันเท่านั้น



คาเฟอีนคืออะไร



คาเฟอีน (caffeine) เป็นสารชนิดหนึ่งที่รู้จักกันมานาน
เป็นสารประกอบอัลคาลอยด์ มีชื่อทางเคมีว่า 1,3,7 trimethylxanthine
มีลักษณะเป็นสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขม ละลายได้ดีในน้ำร้อน
ละลายได้เล็กน้อยในแอลกอฮอล์ คาเฟอีนพบปริมาณมากในพืชจำพวกชา และกาแฟ
ซึ่งเมื่อนำมาผลิตเป็นเครื่องดื่มชาและกาแฟ ก็มีผู้นิยมบริโภคเป็นจำนวนมาก
บ้างก็นิยมในรสชาติที่หอมละมุน บ้างก็ติดใจกลิ่นที่เย้ายวนชวนชิม
ปัจจุบันสินค้าประเภทชา และกาแฟมีให้เลือกมากมายหลายชนิด
และมีการทำไร่ผลิตเมล็ดกาแฟหลายแห่งด้วยกัน
เป็นอุตสาหกรรมชั้นนำประเภทหนึ่ง



การเปลี่ยนแปลงในร่างกาย




1.    เมื่อบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
คาเฟอีนจะถูกดูดซึมผ่านระบบทางเดินอาหารได้ดี โดยเฉพาะในลำไส้เล็ก
เพราะในลำไส้เล็กมีพื้นที่ของการดูดซึมมาก
และสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็วกว่าส่วนอื่นๆ จากการศึกษาวิจัยพบว่า
คาเฟอีนถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง
แต่ถ้าได้รับคาเฟอีนเข้าไปในขณะท้องว่างหรือกำลังหิว
ร่างกายจะดูดซึมคาเฟอีนเข้าไปในเลือดได้เร็วขึ้น คือ ใช้เวลาไม่เกิน 30
นาที

2.    เมื่อคาเฟอีนถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายแล้ว จะกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ
ของร่างกายอย่างรวดเร็ว คาเฟอีนเข้าไปสู่ทุกอวัยวะในร่างกาย
และยังสามารถผ่านเข้าสู่รกไปยังทารก หรือเข้าไปในน้ำนมแม่ได้

3.    ปริมาณการกระจายของคาเฟอีนในร่างกายมีค่าประมาณร้อยละ 40-60
ของน้ำหนักตัว และสามารถพบได้ในสารน้ำทุกส่วนของร่างกาย เช่น น้ำลาย น้ำนม
และน้ำตา คาเฟอีนในร่างกายจะถูกกำจัดอย่างรวดเร็วโดยเอ็นซัยม์ของตับ
ซึ่งเผาผลาญคาเฟอีนในร่างกายได้ถึงร้อยละ 95 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 5
จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ

4.    คาเฟอีนไม่ถูกเก็บสะสมไว้ในร่างกาย







กลไกการเสพติดของคาเฟอีน




เกิดจากฤทธิ์กระตุ้นสมอง
กลไกดังกล่าวเช่นเดียวกับยาบ้า (amphetamines) โคเคน (cocaine) และเฮโรอีน
(heroin) หากนำมาเปรียบเทียบกัน พบว่าคาเฟอีนมีฤทธิ์เสพติดน้อยกว่ายาบ้า
โคเคน และเฮโรอีนมาก ผู้ที่ติดคาเฟอีนจะมีอาการของการเสพติด
รู้สึกไม่ค่อยสบาย ไม่มีเรี่ยวมีแรง หากไม่ได้รับหรือบริโภคเข้าไป
และมีความต้องการที่จะเสพอีกอย่างมาก
การบริโภคคาเฟอีนในปริมาณน้อยจะทำให้รู้สึกมีความตื่นตัว ความคิดฉับไว
ไม่ง่วงนอน กระปรี้กระเปร่า รู้สึกมีพลัง ทำงานได้ทนทานและนานยิ่งขึ้น
ขนาดของคาเฟอีนที่เริ่มมีฤทธิ์ในการกระตุ้นสมองคือ 40 มิลลิกรัมขึ้นไป



ประโยชน์ของคาเฟอีน



1.    แพทย์อาจจะใช้กับเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดและหยุดหายใจแล้วกว่า 20
วินาที เพื่อช่วยกระตุ้นให้ฟื้น ซึ่งได้ผลไม่แน่นอน

2.    ใช้ในห้องทดลองเกี่ยวกับการกระตุ้นระบบประสาท

3.    ผสมกับยาเออร์กอทในการรักษาไมเกรน

4.    นานๆ ครั้งแพทย์จะใช้กับคนไข้ที่ถูกยาพิษบางชนิดที่ไปกดระบบประสาท
ทำให้คนไข้ง่วงซึมและหายใจไม่ค่อยได้



ทำไมดื่มกาแฟแล้วถึงไม่ง่วง



1.    คาเฟอีนมีลักษณะทางเคมีที่สำคัญประการหนึ่ง
คล้ายกับสารที่ชื่ออะดีโนซีน (adenosine) และเข้าไปจับกับตัวรับตัวเดียวกัน
เป็นที่ทราบกันดีว่าสารอะดีโนซีนเป็นสารเคมีที่สร้างขึ้นในสมอง
มีฤทธิ์ทำให้รู้สึกง่วงนอน ดังนั้นเมื่อบริโภคเครื่องดื่มประเภทชา และกาแฟ
หรือเครื่องดื่มผสมคาเฟอีนเข้าไป สมองจะเข้าใจว่าเป็นอะดีโนซีน
เนื่องจากตัวรับของอะดีโนซีนทำปฏิกิริยาจับกับคาเฟอีน
กลไกดังกล่าวทำให้สมองขาดสารที่ทำให้รู้สึกง่วงนอน ร่างกายจึงรู้สึกไม่ง่วง
และรู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีกำลังวังชายิ่งขึ้น

2.    แต่คาเฟอีนในขนาดสูงจะทำให้นอนไม่หลับ ลดระยะเวลาหลับ และหลับไม่สนิท
มือสั่น เกิดอาการวิตกกังวล
คาเฟอีนในขนาดที่เป็นโทษแก่ร่างกายอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการชักได้

3.    คาเฟอีนอาจไปเสริมฤทธิ์ของยาระงับปวด เช่น แอสไพริน พาราเซตามอล
และยังเสริมฤทธิ์ยาระงับอาการปวดศีรษะชนิดไมเกรนได้ ทำให้อาการปวดทุเลาลง



คาเฟอีนกระตุ้นการหลั่งอะดรีนาลีนและ
โดปามีน




1.    ฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอะดรีนาลีน (adrenaline) ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
ใจสั่น ความดันโลหิตสูง ตับเร่งผลิตน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด
กล้ามเนื้อตึงตัวพร้อมทำงาน ทำให้เหมือนเป็นยาชูกำลัง
การบริโภคคาเฟอีนมีผลทำให้หัวใจเต้นช้าลงเล็กน้อยในชั่วโมงแรก
และกลับเต้นเร็วขึ้นเล็กน้อยในชั่วโมงที่ 2 และ 3
ความดันโลหิตจะเพิ่มประมาณ 5-10 มิลลิเมตรปรอท และเพิ่มขึ้นนานประมาณ 2-3
ชั่วโมงแล้วอาการดังกล่าวจะหายไป

2.    ส่วนฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งโดปามีน (dopamine)
ทำให้รู้สึกผ่อนคลายสบายใจ สุขลึกๆ
เชื่อว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเสพติดคาเฟอีน
ทั้งฤทธิ์กระตุ้นการกลั่งสารอะดรีนาลีน และโดปามีนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

3.    คาเฟอีนไม่มีผลต่อการเพิ่มโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด
แต่การดื่มกาแฟสามารถทำให้ระดับของโคเลสเตอรอลสูงขึ้นได้
เนื่องจากในเมล็ดกาแฟมีไขมันอยู่หลายชนิด
ซึ่งไขมันดังกล่าวจะถูกส่งเข้าสู่ร่างกายได้มาก
ถ้าผู้บริโภคกาแฟใช้วิธีต้มกาแฟคั่วบดโดยไม่ผ่านการกรองกากออก
ผู้บริโภคก็จะได้รับไขมันจากกาแฟนั้น
ไม่ว่าจะเป็นชนิดมีคาเฟอีนหรือไม่มีคาเฟอีนก็ตาม

4.    คาเฟอีนยังเป็นสารที่กระตุ้นให้มีการหลั่งกรด
และน้ำย่อยในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นได้ ผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะ
หรือลำไส้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน
แม้ว่าคาเฟอีนไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงของโรคแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้
แต่ถ้าบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเข้าไป
ในขณะที่มีแผลในกระเพาะอาหารอยู่ อาการโรคกระเพาะจะรุนแรงมากขึ้น



ปริมาณสารคาเฟอีนในอาหารและเครื่องดื่มประจำ
วัน




1.    พืชที่มีคาเฟอีนได้แก่ เมล็ดกาแฟ ใบชา
โกโก้ พบว่ากาแฟหนึ่งถ้วยมีปริมาณสารคาเฟอีนประมาณ 200 มิลลิกรัม
ชาหนึ่งถ้วยมีปริมาณสารคาเฟอีนประมาณ 150 มิลลิกรัม

2.    คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าคาเฟอีนมีอยู่เฉพาะในชา และกาแฟเท่านั้น
แต่ความเป็นจริงแล้วคาเฟอีนยังเป็นส่วนผสมสำคัญในน้ำอัดลมที่ผลิตจากเมล็ดโค
ล่า รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารหรือขนมที่ใช้ ชา กาแฟ โกโก้
และโคล่าเป็นส่วนผสมอยู่ ก็จะมีสารคาเฟอีนรวมอยู่ด้วย เช่น ลูกอมรสกาแฟ
ลูกอมรสช็อกโกเลต เค้กช็อกโกเล็ต เค้กกาแฟ น้ำอัดลมโคล่า รูทเบียร์
และเครื่องดื่มชูกำลังต่างๆ

3.    สำหรับคาเฟอีนที่ผสมลงไปในเครื่องดื่มหรือน้ำอัดลม
ส่วนใหญ่จะมีปริมาณคาเฟอีนประมาณ 50-100 มิลลิกรัม
อย่างไรก็ตามพบว่าในเครื่องผสมคาเฟอีนบางชนิดมีปริมาณสารคาเฟอีนมากถึง 200
มิลลิกรัมต่อหน่วยบรรจุ

4.    การบริโภคคาเฟอีนในปริมาณสูงเกินไปอาจจะเกิดพิษขึ้นได้
คาเฟอีนในปริมาณครั้งละ 200-500 มิลลิกรัม อาจทำให้ปวดศีรษะ เกิดภาวะเครียด
กระวนกระวาย มือสั่น และประสิทธิภาพการทำงานลดลง

5.    คาเฟอีนประมาณ 1,000 มิลลิกรัม อาจทำให้ผู้บริโภคมีไข้สูง วิตกกังวล
กระสับกระส่าย พูดตะกุกตะกัก ควบคุมตัวเองไม่ได้ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ
หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะบ่อย

6.    ขนาดของคาเฟอีนที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ ประมาณ 100
มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมในเด็กเล็ก หรือประมาณ 3,000
มิลลิกรัมในเด็กโต 5,000-10,000 มิลลิกรัมในผู้ใหญ่ตามลำดับ



กาแฟที่ไม่มีคาเฟอีน (decaffeinated coffee)




1.  
 กาแฟที่ไม่มีคาเฟอีนได้มาจากการกำจัดคาเฟอีนออกไปจากกาแฟ
ซึ่งทำได้หลายวิธี วิธีที่ใช้กันมากมี 3 วิธี คือ
การละลายเอาคาเฟอีนออกจากกาแฟด้วยน้ำ
ตัวทำละลายอินทรีย์หรือคาร์บอนไดออกไซด์ การละลายคาเฟอีนออกด้วยน้ำ
จะใช้เมล็ดกาแฟสดสีเขียว ก่อนการคั่วโดยล้างเมล็ดกาแฟด้วยน้ำ
และคาเฟอีนที่ละลายอยู่ในน้ำจะถูกแยกออกด้วยถ่านกัมมันต์
วิธีการนี้ต้องทำอย่างต่อเนื่อง และหลายรอบ ถือว่าเป็นการสกัดด้วยน้ำ

2.    นอกจากการละลายคาเฟอีนออกจากเมล็ดกาแฟด้วยน้ำแล้ว
ก็อาจจะใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น เมธิลีนคลอไรด์ เอธิลอะซิเตต
ซึ่งมักพบในผลไม้หรือผัก
ซึ่งการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์นี้จะทำหลังจากการสกัดด้วยน้ำแล้ว
ซึ่งคาเฟอีนที่อยู่ในตัวทำละลายจะถูกนำไปสกัดต่อไป
และตัวทำละลายดังกล่าวสามารถนำมาใช้ซ้ำได้
เมื่อนำเมล็ดกาแฟสดหลังจากสกัดไปคั่ว ตัวทำละลายที่เหลืออยู่ก็ระเหยออกไป
เนื่องจากเป็นสารระเหยง่าย

3.    อีกวิธีหนึ่งในการละลายคาเฟอีนออกจากเมล็ดกาแฟสดคือ
การใช้คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของอากาศ
แต่คาร์บอนไดออกไซด์ที่ใช้จะอยู่ในสภาพที่เป็นของไหล เรียกว่าของไหลยวดยิ่ง
ซึ่งเป็นสภาวะที่มีความดันสูง
นอกจากนี้ยังใช้คาร์บอกไดออกไซด์นี้ไหลผ่านถ่านกัมมันต์
จากกระบวนการล้างด้วยน้ำเพื่อสกัดคาเฟอีนออกมา หลังจากสกัดข้างต้น
เมล็ดกาแฟสดดังกล่าวก็จะถูกทำให้แห้ง และนำไปคั่วต่อไป
ซึ่งคาเฟอีนจะถูกสกัดออกไปมากกว่าร้อยละ 99



โทษของคาเฟอีน




1.    ใจสั่น โดยหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ
หรือเต้นผิดจังหวะ

2.    ทำให้ความดันโลหิตสูง

3.    ทำให้ไขมันในเลือดสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโคเลสเตอรอล
เกิดเป็นโรคหัวใจตามมาง่ายขึ้น

4.    กระเพาะอาหารผลิตกรดออกมามากกว่าปกติ
ซึ่งทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารง่ายขึ้น

5.    เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
อาจทำให้มีก้อนซีสต์ที่เป็นเนื้องอกในเต้านมสตรี

6.    ทำลายโครโมโซมในหนูที่ใช้ทดลอง
และลูกหนูที่คลอดออกมาพิการไม่สมประกอบ ในปี ค.ศ.1980 สำนักงานอาหาร
และยาของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศเตือนให้สตรีที่ตั้งครรภ์
หรือลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ได้

7.    ระบบประสาทถูกกระทบกระเทือน ทำให้นอนไม่หลับ มือสั่น ตึงเครียด
อารมณ์เสียง่าย ปวดหัว ประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง










 

Create Date : 26 มิถุนายน 2553    
Last Update : 26 มิถุนายน 2553 18:13:08 น.
Counter : 300 Pageviews.  

กาแฟโบราณชงด้วยเครื่องชงกาแฟสด

//www.healthcorners.com/2007/coffee_web/pic/coffee_2010-04-15-201236.jpg



กระแส
การดื่มกาแฟยุคนี้รุนแรงเหลือเกิน เดี๋ยวจัดงานโน้นงานนี้ที่เกี่ยวกับกาแฟ
และอีกไม่กี่วันก็จะมีเกมส์โชว์ที่เกี่ยวกับการบริหารร้านกาแฟ มองดูแล้ว
วงการนี้ช่างเลิศหรูเสียเต็มประดา ผู้เขียนเคยคุยกับเพื่อนรุ่นพี่คนหนึ่ง
ท่านชื่อ อาจารย์ศุภชัย แสงปัญญา ท่านเป็นผู้อำนวยการสถาบันขงจื้อ ภูเก็ต
และอีกตำแหน่งหนึ่งของท่านคือ คณบดีคณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ท่านเคยบอกไว้ว่า




"เชษฐา เธอรู้ไหมว่า การค้าขายใหญ่ๆ ระดับโลกที่ซื้อขายกันมากที่สุดคือ
น้ำมันปิโตรเลียม และสินค้าที่มีการซื้อขายรองลงมาจากปิโตรเลียมก็คือ กาแฟ"



ผู้เขียนฟังแล้วไม่น่าเชื่อ แต่เมื่อลองคิดดูเล่นๆ เห็นว่าน่าจะจริง
เพราะไม่ว่าหมู่ไหนกลุ่มไหนดื่มกาแฟทั้งนั้น
และดื่มกันตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืนด้วย ดังนั้น
จึงมีคนนอกวงการจากอาชีพต่างๆ ถวิลหวังว่าจะเข้าวงการนี้ให้ได้
แต่ผู้อ่านรู้ไหมว่า วงการนี้ถ้าจะอยู่อย่างทรนงได้นั้น ต้องมีความรู้จริงๆ
เท่านั้น จึงจะรอดปากเหยี่ยวปากกาได้



ดังนั้นแล้ว ถ้าใครอยากอยู่ในวงการกาแฟแบบทรนงได้นั้น
ต้องรีบลงทะเบียนมาหาความรู้กับผู้เขียนในวิชา "กาแฟโบราณเชิงบูรณาการ"
เชื่อเถอะครับ ผู้เขียนสามารถแนะวิธีการผลิตกาแฟที่ดื่มแล้วลูกค้าติดใจ
เพราะในวิชานี้จะสอนการเบลนด์กลิ่น รสชาติ ของชาและกาแฟ ให้สมกับยุคสมัย
ไม่ดักดานเหมือนเดิม ที่ยิ่งขายยิ่งจน สนใจรีบลงทะเบียนมาเรียนกันแต่เนิ่นๆ
ใน 1 วัน วิชาที่สอนจะมี เครื่องดื่มนานาชนิด รวมทั้งวิปปิ้งครีม
ขนมปังกระเทียม ขนมปังเนยสด ขนมปังสังขยา อิตาเลียนโซดา น้ำมะนาวหวาน
พร้อมทั้งการชงกาแฟโบราณด้วยเครื่องชงกาแฟสด ซึ่งที่ไหนไม่มีสอน
เพราะกาแฟโบราณมีเนื้อค่อนข้างหยาบ ทำอย่างไรก็กลั่นกลิ่นออกมาไม่ได้
แต่ในวิชานี้มีสอน ไม่เชื่อแล้วพบกัน



ส่วนปักษ์นี้มีคำถามจากแฟนคอลัมน์โทรศัพท์มาถาม ซึ่งเป็นคำถามที่น่าสนใจ
จึงนำมาเผยแพร่ให้ได้รู้กัน



คำถาม ดิฉันมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการชงกาแฟโบราณว่า สามารถชงได้กี่วิธี
นอกจากการชงด้วยถุงชง เพราะร้านกาแฟของดิฉันขายอยู่บนห้างสรรพสินค้า
ซึ่งมีกฎห้ามใช้เตาแก๊สเป็นอันขาด แต่ที่ร้านของดิฉันนั้นขายเฉพาะกาแฟสด
ซึ่งบ่อยครั้งที่ลูกค้าเข้ามาถามหากาแฟโบราณ เพราะดื่มกาแฟสดไม่ได้
ดิฉันกลัวจะเสียโอกาส อยากให้ผู้เขียนไขปัญหาให้ด้วยค่ะ



คำตอบ การชงกาแฟโบราณนั้น สามารถชงได้หลายวิธี
เพราะเรื่องกาแฟโบราณเป็นเรื่องที่ทำง่ายขายคล่อง วิธีการชงนั้น
จะใช้วิธีต้มเป็นหม้อใหญ่ๆ ก็ได้ หรือจะใช้น้ำร้อนจากกระติกชงก็ได้
โดยใช้ถุงกรองกาแฟทั่วไปนี่แหละ
เพียงแต่เปลี่ยนน้ำร้อนจากหม้อต้มมาเป็นน้ำร้อนจากกระติกน้ำร้อนก็เท่านั้น
เอง



แต่ยังมีอีก 1 วิธีคือ การใช้เครื่องชงกาแฟสดชงกาแฟโบราณ
แต่ไม่ใช่ว่าจะเอาผงกาแฟโบราณไปใส่ก้านอัดแล้วเปิดเครื่องชงได้เลยนะครับ
เพราะผงกาแฟโบราณจะมีสถานะต่างกับผงกาแฟสดอย่างสิ้นเชิง
คือกาแฟโบราณเนื้อจะหยาบ เมื่อนำไปใส่ก้านอัดแล้วเปิดเครื่องชง
ผลที่ได้ออกมาคือ น้ำจะไหลออกมาอย่างรวดเร็ว สิ่งที่ได้ออกมาจะใส จืดชืด
ไม่มีรสกลิ่นกาแฟ ดังนั้นแล้ว เมื่อต้องการใช้ผงกาแฟโบราณกับเครื่องชง
ผู้อ่านจะต้องนำผงกาแฟโบราณไปบดให้ละเอียดจนใกล้เคียงกับผงกาแฟสดเสียก่อน
จึงจะนำมาใช้ได้



หมายเหตุ ห้ามนำผงกาแฟโบราณไปใส่เครื่องบดเมล็ดกาแฟสดเป็นอันขาด
เนื่องด้วยผงกาแฟโบราณจะมีความมัน ชื้น และหนืดจากน้ำตาลไหม้
ซึ่งเป็นส่วนผสมหลัก ดังนั้นแล้ว ห้ามนำไปบดด้วยเครื่องบดเมล็ดกาแฟสด
ซึ่งมีฟันใบมีดค่อนข้างถี่ตื้นละเอียดชิดกันมาก ดังนั้น
เมื่อนำผงกาแฟโบราณลงไปบด ผลที่ได้จะทำให้ใบมีดไม่สามารถทำงานได้
เนื่องจากผงกาแฟไปอุดตัน ซึ่งจะเป็นเรื่องใหญ่มาก
จนต้องส่งให้ช่างถอดใบมีดออกมาทำความสะอาด จึงจะสามารถใช้งานได้ต่อไป



อนึ่ง วิธีจะบดผงกาแฟโบราณนั้น ผู้อ่านสามารถบดได้หลายวิธี เช่น
ใส่เครื่องโม่ไฟฟ้า
หรือจะใช้เป็นเครื่องบดเมล็ดพริกไทยก็สามารถทดแทนได้เหมือนกัน
แต่ปัญหาใหญ่เลยคือ
ผงกาแฟที่จะนำลงไปบดเพื่อใส่ในเครื่องชงนั้นจะต้องมีกลิ่นและรสชาติเป็นที่
ยอมรับของลูกค้านะครับ ดังนั้นแล้ว
มาพบกับผู้เขียนเพื่อมาเรียนรู้การผสมผงกาแฟกันดีกว่า







 

Create Date : 26 มิถุนายน 2553    
Last Update : 26 มิถุนายน 2553 18:04:57 น.
Counter : 533 Pageviews.  

บ้านไหนอยาก "เลิกกาแฟ" เริ่มไม่ยากอย่างที่คิด

//www.healthcorners.com/2007/coffee_web/pic/coffee_2010-04-23-062422.jpg


ขึ้นชื่อว่า "กาแฟ"
เชื่อว่าเป็นของว่างที่ทุกบ้านต้องมีติดบ้าน
เพราะนอกเหนือจากความหอมของกาแฟแล้ว
ยังช่วยให้สมาชิกในบ้านที่ทำงานหนักในตอนกลางคืน
ผ่านช่วงเวลาอันแสนง่วงนอนไปได้ด้วยดี แต่ในทางกลับกัน ถ้ากินอย่างไม่ระวัง
อาจทำให้เกิดภาวะติดคาเฟอีน ส่งผลต่อสุขภาพผู้ดื่มเองได้

       

       
กับเรื่องนี้ "นพ.สิ
รวิชญ์ เดชธรรม"
แพทย์จากรพ.สมิติเวช ศรีราชา
ให้ความรู้ว่า ในทางการแพทย์ได้กำหนดให้มีอาการที่เรียกว่า "ภาวะติดคาเฟอีน" (Caffeine dependence)
เช่นเดียวกับสารเสพติดอย่างสุรา ซึ่งภาวะดังกล่าว
ถูกกำหนดอยู่ในคู่มือการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช ที่เรียกว่า DSM-IV
เนื่องจากคาเฟอีน
เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางโดยมีสูตรโครงสร้างคล้ายสารสื่อ
ประสาทที่ชื่อว่า อะดีโนซีน (Adenosine) ทำให้สมองมีสารโดปามีน (Dopamine)
และซีโรโตนิน (Serotonin) เพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งสารทั้งสองตัวนี้มีฤทธิ์ทำให้สมองตื่นตัว และทำงานหนักขึ้น

       

       "ความรู้สึกพึงพอใจจากการดื่มกาแฟ
หลังจากดื่มกาแฟแล้ว คาเฟอีนจะเข้าสู่กระแสเลือด และเข้าสู่สมองภายใน 45
นาที และมีฤทธิ์อยู่ประมาณ 3-5 ชั่วโมง
คาเฟอีนจะผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่เรียกว่าการเมตาบอลิสม์ที่
ตับ ดังนั้น ผู้ที่ควรจะต้องเลิกดื่มกาแฟ ก็คือ ผู้ที่มีปัญหาเรื่องตับ
เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักเกินไป ขณะที่ เด็ก
และสตรีมีครรภ์ก็ควรงดดื่มกาแฟด้วยเช่นกัน
เพราะการที่สมองถูกกระตุ้นด้วยคาเฟอีน
จะทำให้เด็กมีปัญหาในเรื่องพัฒนาการของสมอง"

       


       นอกจากนี้ คาเฟอีน ยังทำให้เกิดการแท้งบุตรได้
ขณะเดียวกันยังกระตุ้นให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะจึงควรงดการได้รับคาเฟอีน ทั้งจากชา กาแฟ โกโก้
ช็อกโกแลต

       

       สำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีปัญหาเรื่องโรคหัวใจ
คาเฟอีนจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และหัวใจเต้นเร็วขึ้น
นั่นแปลว่าหัวใจทำงานหนักขึ้น ตลอดจนมีฤทธิ์ขับปัสสาวะทำให้ไตทำงานหนักขึ้น
เร่งการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก
และยังมีผลต่อสภาพจิตใจในผู้ที่มีความวิตกกังวลอีกด้วย

       

       *** อยากเลิกกาแฟ ไม่ยากอย่างที่คิด

       

       สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟเพียงวันละไม่เกิน 1 แก้ว
การเลิกกาแฟนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่สำหรับผู้ที่ติดคาเฟอีน (caffeine
dependence) การเลิกกาแฟอาจจะเป็นเรื่องยากสักนิด แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก
เกณฑ์ในการวินิจฉัยว่าท่านติดคาเฟอีนหรือไม่นั้น พิจารณาจากหลักเกณฑ์ 3 ใน 4
ข้อต่อไปนี้ คือ

       

       1. มีการใช้คาเฟอีน หรือดื่มกาแฟอยู่ แม้จะมีความรู้ว่า
กาแฟมีผลทำให้เกิดอาการทางร่างกายหรือจิตใจที่มีอยู่เรื้อรังหรือกำเริบ

       

       2. มีความต้องการได้รับคาเฟอีน หรือดื่มกาแฟอยู่ตลอด
โดยไม่สามารถลดปริมาณลงได้

       

       3. มีภาวะถอนคาเฟอีน (Caffeine withdrawal)
หรืออาการลงแดงกาแฟนั่นเอง ซึ่งอาการสำคัญก็คือ วันไหนไม่ได้ดื่มกาแฟ
จะเกิดอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอนมาก ปวดศีรษะ และอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นภายใน 24
ชั่วโมงหลังจากได้รับคาเฟอีนหรือดื่มกาแฟครั้งสุดท้าย
และจะมีอาการมากที่สุด ใน 2-4 วันแรก โดยมากภาวะถอนคาเฟอีน
มักจะพบได้ในคนที่ดื่มกาแฟเกิน 2 แก้วต่อวัน หรือได้รับคาเฟอีนอย่างน้อย
100 มิลลิกรัมต่อวัน

       

       4. มีภาวะดื้อคาเฟอีน (caffeine tolerance) กล่าวคือ
ปริมาณการดื่มกาแฟในแต่ละวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จึงจะทำให้รู้สึกสดชื่นเท่าเดิม

       

       *** สำหรับเทคนิคการเลิกดื่มกาแฟ
โดยเฉพาะในคนที่มีอาการติดคาเฟอีน
คุณหมอได้แนะนำวิธีการเบื้องต้นดังต่อไปนี้

       


       1. ให้ลดปริมาณการดื่มกาแฟในแต่ละวันลง เช่น จากที่เคยดื่มวันละ 4
แก้วให้ลดลงเหลือ 3 แก้ว แต่หากจำเป็นต้องดื่มแก้วที่ 4
ให้ชงด้วยกาแฟสกัดคาเฟอีน (Decaffeinated)
จนกระทั่งร่างกายเริ่มชินก็ให้ลดปริมาณลงอีก

       

       2. สำรวจว่า นอกจากกาแฟแล้ว
ท่านยังได้รับคาเฟอีนจากอาหารชนิดใดอีกบ้าง เช่น ชา โกโก้ ช็อกโกแลต
ซีเรียลรสโกโก้ เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
จากนั้นให้ลดการบริโภคทุกอย่างร่วมกับการลดปริมาณกาแฟที่ดื่มในแต่ละวัน
หรือเลิกบริโภคอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้

       

       3. นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอในตอนกลางคืน อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง

       

       4. ดื่มน้ำสะอาดวันละประมาณ 1-2 ลิตร และการรับประทานวิตามินบีรวม
ซึ่งจะช่วยทุเลาอาการอ่อนเพลีย

       

       5. การออกกำลังกาย จะช่วยให้สมองเพิ่มซีโรโตนิน (serotonin)
และโดปามีน (dopamine) ได้เช่นเดียวกันกับการได้รับคาเฟอีน

       

       6. งดดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่

       

       7. รับประทานอาหารเช้า
เพราะระดับน้ำตาลในกระแสเลือดที่เพียงพอจะช่วยให้สมองและร่างกายทำงานได้โดย
ไม่อ่อนเพลีย

       

       8. หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำ เพื่อหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ
และควรหลีกเลี่ยงการไปร้านกาแฟ

       

       9. หากมีอาการปวดศีรษะระหว่างงดกาแฟ สามารถรับประทานยาพาราเซตามอล
หรือแอสไพรินได้ ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดไมเกรนซึ่งมีส่วนผสมของคาเฟอีนอยู่

       

       10. หากมีอาการหงุดหงิด ใจสั่น อาจจะใช้วิธีอาบน้ำเย็นช่วย

       

       เทคนิคทั้ง 10 ข้อนี้ นพ.สิรวิชญ์ บอกว่า ประยุกต์จากความรู้ทางวิชาการ
และจากประสบการณ์การแนะนำผู้มาตรวจสุขภาพ
รวมถึงประสบการณ์ของตัวเองในการลดปริมาณการดื่มกาแฟ
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยให้ผู้อ่านทุกบ้าน ลดปริมาณการดื่มกาแฟได้
แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการเลิกดื่มกาแฟก็คือ
ความตั้งใจและความมุ่งมั่น ของท่านผู้อ่านเอง ขอให้โชคดีนะครับ






 

Create Date : 26 มิถุนายน 2553    
Last Update : 26 มิถุนายน 2553 17:55:49 น.
Counter : 336 Pageviews.  

ใช้ ผงกาแฟ ขัดหน้าใสปิ๊ง จริงหรือ ?





 

Create Date : 26 มิถุนายน 2553    
Last Update : 26 มิถุนายน 2553 17:50:57 น.
Counter : 337 Pageviews.  

ภัยจากสีชาเย็น

//www.healthcorners.com/2007/coffee_web/pic/coffee_2010-06-16-064016.jpg












 

ชาเย็น ถือว่าเป็นเครื่องดื่มยอดนิยม
ที่ซื้อง่าย ขายคล่อง ทีเดียว
เพราะมีขายตั้งแต่ในร้านอาหารในห้องแอร์ยันร้านริมฟุตปาธข้างทาง
เพราะรสชาติหวานเย็นเข้ากับสภาพอากาศของเมืองไทย
แต่เพราะความที่หากินกันได้ง่ายดาย 
มีเรื่องควรระวังเกี่ยวกับชาเย็นมาฝากกัน

       

       รู้หรือไม่ว่า ชาผงสำเร็จรูปที่ใช้ทำชาเย็นนั้นหลายยี่ห้อ
ผู้ผลิตอาจจะนำสีย้อมผ้ามาใช้ผสม ในชาสำหรับชงดื่ม
โดยพบว่ามีการใส่สีสังเคราะห์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใส่ในอาหารในชาผง
ซึ่งส่วนใหญ่พบในชาผงที่ลักลอบนำเข้าประเทศ

       

       อันตรายจากสีผสมอาหารที่พบในชา จะส่งผลต่อผู้บริโภคได้ 2 ทางคือ
เกิดจากตัวสีเอง
หากบริโภคในปริมาณมากหรือบ่อยครั้งสีจะไปเคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้
ทำให้น้ำย่อยอาหารออกมาไม่สะดวก ทำให้ท้องเดิน น้ำหนักลดและอ่อนเพลีย

       

       เกิดจากสารอื่นที่ปนเปื้อนจากกระบวนการผลิตสี ได้แก่ โลหะหนัก
ตะกั่ว แคดเมียม สารหนู ปรอท พลวง โครเมียม เป็นต้น
สารเหล่านี้จะเข้าไปสะสมในร่างกาย จนก่อให้เกิดโรคโลหิตจาง เนื้องอก
และมะเร็งได้

       

       เพื่อความปลอดภัย
ควรเลือกซื้อชาผงที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว
โดยฉลากจะต้องแสดงข้อความเป็นภาษาไทย มีเครื่องหมาย อย. ระบุเลขสารบบอาหาร
ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุ
เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ต้องมีระบุไว้

       

       แม้ว่าเราจะไม่สามารถสังเกตความแตกต่างระหว่างชาผงที่ผสมสีกับชาผง
ที่ไม่ผสมสีด้วยตาเปล่าได้ แต่เมื่อนำไปชงในน้ำแล้วพบว่า
น้ำชามีสีสันที่ฉูดฉาดกว่าปกติหรือผิดสังเกต
ก็เป็นไปได้ว่าชาผงที่นำมาชงนั้นมีการใส่สีสังเคราะห์ ฉะนั้น
ก่อนดื่มชาดูให้ดี ชาดีสีไม่สดเกินไป







 

Create Date : 26 มิถุนายน 2553    
Last Update : 26 มิถุนายน 2553 17:28:57 น.
Counter : 346 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  

WishRich
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มาเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองไปพร้อม ๆ กัน เพื่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงานครับ
Friends' blogs
[Add WishRich's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.