WishRich
Group Blog
 
All Blogs
 

เข็มเหลือง

เข็มเหลือง

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/AscocentrumMinatum.jpg




เข็มเหลือง สมุนไพร
รากเข็มเหลืองใช้ปรุงเป็นยารักษาฝีกาฬจักหัวใจ



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ascocentrum
Minatum ( Lindl.)


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
เข็มแสด , พุ่มสุวรรณ , เข็มเหลือง


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : เข็มเหลืองเป็นพรรณไม้พุ่ม
แต่เล็กกว่าเข็มขาว


ใบ : ใบเข็มเหลืองนั้น
จะเป็นรูปไข่ ริมขอบใบจะเรียบ ส่วนตรงปลายใบมน


ดอก : ดอกเข็มเหลืองนั้น
จะอยู่รวมกันเป็นช่อมีสีเหลือง แต่ไม่มีกลิ่นหอม


การขยายพันธุ์ : เข็ม
เหลือง
ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง หรือทางกิ่ง


ส่วนที่ใช้ :
ราก ใช้เป็นยา


สรรพคุณของสมุนไพร :


ราก รากเข็มเหลืองใช้ปรุงเป็นยารักษาฝีกาฬจักหัวใจ








 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 14:07:08 น.
Counter : 2032 Pageviews.  

เข็มแดง

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/IxoraLobbii.jpg


เข็มแดง สมุนไพร ดอกเข็มแดงนั้นจะออกรวมกันเป็นช่อใหญ่แบน <br>มีสีแดงเข้ม ดอกนั้นจะโตกว่าเข็มขาวมาก แต่ไม่มีกลิ่นหอม

เข็มแดง สมุนไพร
ดอกเข็มแดงนั้นจะออกรวมกันเป็นช่อใหญ่แบน มีสีแดงเข้ม
ดอกนั้นจะโตกว่าเข็มขาวมาก แต่ไม่มีกลิ่นหอม



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ixora
Lobbii Loud.


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ :
RUBIACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
เงาะ (สุราษฎร์),เข็มแดง (ยะลา) , ตุโดปุโยบูเก๊ะ (มลายู), จะปูโย
(มะละยู-นรา)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : เข็มแดงเป็นพรรณไม้พุ่มขนาด
เล็กถึงขนาดกลาง ลัษณะต้นนั้นจะคล้ายเข็มขาว


ใบ : ใบเข็มแดงนั้น
จะหนายาวและแข็งมีสีเขียวสด ตรงปลายใบของมันจะแหลม


ดอก : ดอกเข็มแดงนั้น
จะออกรวมกันเป็นช่อใหญ่แบน มีสีแดงเข้ม ดอกนั้นจะโตกว่าเข็มขาวมาก
แต่ไม่มีกลิ่นหอม


การขยายพันธุ์ :
เข็มแดงขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง หรือปักชำ


ส่วนที่ใช้ :
ราก ใช้เป็นยา


สรรพคุณของสมุนไพร :


ราก
ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงไฟธาตุ บรรเทาอาการบวม รักษาตาพิการ รักษากำเดา
รักษาเสมหะ


อื่น ๆ :


เข็มแดงเป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกกันตามชนบท
และชอบขึ้นเองตามป่าราบ หรือป่าเบญจพันธุ์
พรรณไม้นี้ถ้าอยู่นานหลายปีอาจจะโตเท่าต้นมะม่วงได้


ถิ่นที่อยู่ :


เข็มแดงมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่จังหวัดสระบุรี
และจะมีขึ้นประปรายตามจังหวัดต่างๆ







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 14:05:12 น.
Counter : 348 Pageviews.  

ขี้อ้าย

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/TerminaliaTriptera1.jpg





ขี้
อ้าย สมุนไพร ใบขี้อ้ายจะมีลักษะเป็นใบเดี่ยวและเรียงสลับกันหรือตรงกันข้าม
กันจะเป็นรูปไข่



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Terminalia triptera Stapf.


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ :
MELIACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่นๆ : กำจาย
(เชียงใหม่) , พระเจ้าหามก๋าย , พระเจ้าหอมก๋ายปู่เจ้าหามก๋าย , ปู่เจ้า ,
คำเจ้า , สลิง , หามก๋าย(ภาคเหนือ)กำจำ (ภาคใต้), หานกราย (ราชบุรี) ,
ตานแดง(ประจวบคีรีขันธ์,สุราษฎร์ธานี,สงขลา), เป็น (สุโขทัย) ,
ประดู่ขาว(ชุมพร), แนอาม(ชอง- จันทบุรี) , แฟบ (ประจวบคีรีขัน)มะขามกราย
หามกราย , หนามกราย(ชลบุรี) , แสนคำ ,แสงคำ สีเสียดต้น (เลย) ,
หอมกราย(จันทบุรี) ,หนองมึงโจ่(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพรขี้อ้ายเป็น
พรรณไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นจะมีความสูงประมาณ 3-10 เมตร
ส่วนที่โคนต้นทางด้านล่างและจะร่วงโรยไปเมื่อแก่เปลือกจะเรียบมีสีน้ำตาลและ
จะมีรอยแตกตามความยาวต้น


ใบ : ใบขี้อ้ายจะ
มีลักษะเป็นใบเดี่ยวและเรียงสลับกันหรือตรงกันข้ามกันจะเป็นรูปไข่
มีความกว้าง ประมาณ 6-10 ซ.ม.
ขนเกลี้ยงเนื้อใบบางคล้ายกระดาษและปลายใบของมันจะแหลม
โคนใบจะสอบและแคบหรือกลม จะมีต่อมอยู่ 1 คู่ ที่ขอบใบใกล้ ๆ โคนใบ
ก้านจะเล็กเรียวและยาว ประมาณ 0.5-1.2 ซม.




ขี้อ้าย สมุนไพร
ขี้อ้ายเป็นพรรณไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เมื่อแก่เปลือกจะเรียบมีสีน้ำตาลและ
จะมีรอยแตกตามความยาวต้น



ดอก : ขี้อ้ายจะ
ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบหรือที่ปลายกิ่งดอกนั้นจะเป็น
ดอกสมบูรณ์เพศกลีบรองกลีบดอก จะเชื่อมติดกันด้านล่างจะเป็นท่อยาวประมาณ 0.8
มม.ด้านบนจแผ่ออกเป็นรูปถ้วยตื้น ตรงปลายจะแยกเป็นกลีบรูปไข่มี
4-5กลีบไม่มีกลีบดอก


เกสร :
เกสรตัวผู้นี้นจะมีอยู่ 10 อัน และมีก้านเกสรตัวผู้ยาวราว ๆ 3
มม.ส่วนรังไข่นั้นจะมีอยู่ 1 ช่อง ท่อเกสรตัวเมียจะยาว 2.5 มม.


ผล : ผลของขี้อ้่ายมี
ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน หรือเบี้ยว และกว้าง 1.0-1.5 ซม. ยาวประมาณ
1.5-2.5ซม.มีปีก3ปีก เกลี้ยง


เปลือก : เปลือกขี้
อ้าย
จะมีรสฝาด


ถิ่นที่อยู่ : ขี้
อ้าย
จะพบขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณหรือป่าดงดิบแล้งที่ดินเป็นหินปูน
ควอทไซท์ หรือหินชนวน


ส่วนที่ใช้ : เปลือก
ใช้เป็นยา


สรรพคุณของสมุนไพร :


ขี้อ้ายใช้เป็นยาขับปัสสาวะและบำรุงหัวใจ รักษาโรคบิด ท้องร่วง
ใช้รักษาภายนอกโดยการนำมาชะ ล้างบาด แผลเรื้องรัง และห้ามโลหิต







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:53:53 น.
Counter : 380 Pageviews.  

ขี้ไก่ย่าน

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/MikaniaCordata.jpg




ขี้ไก่ย่าน สมุนไพร
ดอกขี้ไก่ย่านออกเป็นช่อตามง่ามใบ เป็นกระจุก ริ้วประดับบาง
ค่อนข้างจะโปร่งใส กลีบดอกจะมีสีขาวแกมเขียว



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mikania
cordata (Burm.f.) B.L.Robinson.


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ : Asteraceae


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
ขี้ไก่ย่าน (สงขลา)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพรขี้ไก่ย่านเป็นพรรณ
ไม้ล้มลุกเลื้อย ลำต้นมีความสูงประมาณ 7 ม. มีขนเกลี้ยง
หรือมีขนนุ่มเล็กน้อย


ใบ : ใบขี้ไก่ย่านจะ
ออกตรงข้ามกัน มีลักษณะเป็นรูปไข่แกมสามเหลี่ยมและจะมีความกว้างประมาณ1.5-6
ซม. ยาวประมาณ 3-10 ซม.
ตรงปลายใบของมันจะแหลมและเรียวโคนใบนั้นจะเป็นรูปหัวใจ
ขอบใบค่อนข้างจักเป็นซี่ฟันหยาบ ๆผิวค่อนข้างจะเกลี้ยง
หรือมีขนนุ่มกระจายทั้ง 2 ด้าน ด้านล่างมีต่อมเล็กน้อย ส่วนก้านใบเล็กเรียว
และยาวประมาณ 1-6 ซม.


ดอก : ขี้ไก่ย่านจะ
ออกดอกช่อตามง่ามใบ เป็นกระจุก ริ้วประดับบาง ค่อนข้างจะโปร่งใส
กลีบดอกจะมีสีขาวแกมเขียว ยาวประมาณ 4-5 มม.
โคนเชื่อมติดกันตรงปลายจะแยกออกเป็น 5 แฉก อับเรณูสีเทาอมมน้ำเงินอ่อน
หรือสีดำอมเทา ท่อเกสรตัวเมียมีสีขาว


ผล : ถ้าแห้งจะมีสีน้ำตาล
เข้ม มีต่อมระยางค์แงจำนวนมากยาว 3-4 มม. ผลอ่อนจะมีสีขาว
ถ้าแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีแดง


ถิ่นที่อยู่ : ขี้
ไก่ย่าน
เป็นพรรณไม้ตามชายป่า สองข้างทาง และตามบริเวณป่ารุ่น
มักจะขึ้นเป็นพุ่มพันกันยุ่ง


ส่วนที่ใช้ : ใบ
ใช้เป็นยา


สรรพคุณของสมุนไพร :


ใบ ใช้ใบขี้ไก่ย่านตำพอก
ตามบาดแผล หรือแผลบวม รักษาโรคหิด







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:51:31 น.
Counter : 1376 Pageviews.  

ขี้กาขาว

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/TrichosanthesCordata1.jpg




ขี้
กาขาว สมุนไพร ผลขี้กาขาวมีลักษณกลมและโต มีผลขนาดเท่าผลมะนาว
เมื่อผลสุกจะมีสีแดง



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Trichosanthes cordata Roxb.


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ :
CUCURBITACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : ขี้
กาขาว เถาขี้กา


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : สมุนไพรขี้กาขาวเป็น
พรรณไม้เถาเลื้อยตามพื้นดิน
เถาจะกลมและโตขนาดเท่าก้านไม้ขีดหรือโตกว่าเล็กน้อย
ตามข้อของเถาจะมีมือเกาะ


เถาและใบ : เถาและใบขี้
กาขาว
จะมีขนหนากลมโต ดูผิวเผินแล้วจะคล้ายฟักเขียว
แต่เถาและใบจะเล็กว่า ไม่กลวง


ดอก : ดอกขี้กาขาวจะ
โตและมีสีขาวล้วน


ผล : ผลขี้กาขาวมี
ลักษณกลมและโต มีผลขนาดเท่าผลมะนาว เมื่อผลสุกจะมีสีแดง




ขี้กา
ขาว สมุนไพร
ใบสดของขี้กาขาวใช้ตำสุมขม่อมเด็กเวลาเย็นรักษาอาการคัดจมูกได้ดี
ใช้ปรุงเป็นยา



การขยายพันธุ์ : ขี้
กาขาว
ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด
ชอบขึ้นเองตามธรรมชาติบนพื้นดินที่รกร้างทั่วไป และตามทางรถไฟ
หรือตามไร่นามีมากในกรุงเทพฯ


ส่วนที่ใช้ :
เถา ใบสด


สรรพคุณของสมุนไพร:


เถา เถาขี้กาขาวใช้
ปรุงเป็นยาบำรุงถุงน้ำดี ลูกถ่ายแรงกว่าเถา บำรุงน้ำดี ล้างเสมหะ
ดับพิษเสมหะและโลหิต รักษาตับปอดพิการ ใช้เถาต้มกับน้ำให้เดือดนาน
ๆใช้เป็นยาฆ่าเลือดไร และเหาได้


ใบสด ใบสดของขี้กาขาวใช้
ตำสุมขม่อมเด็กเวลาเย็น รักษาอาการคัดจมูกได้ดี ใช้ปรุงเป็นยา
ขี้กาขาวจะใช้น้อยกว่าขี้กาแดง







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 12:49:56 น.
Counter : 1226 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  

WishRich
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มาเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองไปพร้อม ๆ กัน เพื่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงานครับ
Friends' blogs
[Add WishRich's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.