Group Blog
All Blog
|
ทนายอ้วนชวนเที่ยว - วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) เพชรบุรี สถานที่ท่องเที่ยว : วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) เพชรบุรี, เพชรบุรี Thailand พิกัด GPS : 13° 6' 22.33" N 99° 56' 28.80" E วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) เพชรบุรี วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่บนที่ราบเชิงเขาลูกโดดลูกเล็กๆ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขามไหสวรรย์ หรือ เขาวัง (พระนครคีรี) บนถนนคีรีรัถยา ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมือง เพชรบุรี จากถนนเพชรเกษมพอถึงตัวอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ให้ฉีกออกทางซ้ายมือจากถนนเพชรเกษม ไม่มุ่งหน้าไปหัวหิน เราจะมุ่งหน้าเข้าตัวจังหวัดเพชรบุรี ขับตรงมาเรื่อยๆ ขวามือเราคือ พระนครคีรี (เขาวัง) มาสุดที่สามแยก (เรียกกันเล่นๆว่าสามแยกศาลหลักเมือง) ให้เราเลี้ยวขวาไป จะเห็นทางเดินขึ้นเขาวังอยู่ทางขวามือตรงกับไฟแดงพอดี ให้เราผ่านไฟแดงตรงเข้าถนนเล็กๆที่อยู่เชิงพระนครคีรี (เขาวัง) ไปครับ ถนนเส้นนี้มีวัดเก่าและวัดที่มีชื่อเสียงน่าเที่ยวชมอยู่หลายวัดครับ เช่น วัดข่อย (มีพระธาตุฉิมพลีเศรษฐีนวโกฎิที่สวยงามมาก) วัดรัตนตรัย และ วัดสระบัว (วัดเก่าสมัยอยุธยาที่มีพระอุโบสถศิลปะอยุธยาที่สวยงามมากๆ) วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) จะอยู่เป็นวัดสุดท้ายเลยครับ วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) เป็นวัดเก่าแก่ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่ชัดเจน แต่สันนิษฐานกันว่าเป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา (ข้อมูลกรมการศาสนาระบุว่าตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2200 - จนถึงวันนี้มีอายุ 356 ปี) โดยชาวรามัญที่มีจิตศรัทธาช่วยกันสร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้นไว้กราบไหว้บูชา ต่อมาหลังจากสิ้นสุดสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดแห่งนี้จึงถูกปล่อยทิ้งร้างไว้เป็นเวลานาน อาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่ ได้กลับมาเยี่ยมญาติพี่น้องฝ่ายมารดาที่จังหวัดเพชรบุรี จึงแต่ง นิราศเมืองเพชร ขึ้น มีการกล่าวถึง พระพุทธไสยาสน์ ไว้ว่า .... สาธุสะพระนอนสิขรเขา พระพุทธเจ้าหลวงสร้างแต่ปางหลัง ยี่สิบวาฝากั้นเป็นบัลลังก์ ดูเปล่งปลั่งปลื้มใจกระไรเลย พระนอนหลับทับบาทไสยาสน์เหยียด อ่อนละเอียดอาสนะพระเขนย พระเจ้างามยามประทมน่าชมเชย ช่วยรำเพยพัชนีนั่งวีลม (อภิธานศัพท์: พระพุทธเจ้าหลวง ไม่ได้หมายถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตามที่เราเคยได้ยินกันมานะครับ เนื่องจากสุนทรภู่แต่งนิราศเมืองเพชรนี้ในรัชกาลที่ 3 แต่ พระพุทธเจ้าหลวงสร้างแต่ปางหลัง หมายถึง พระเจ้าอยู่หัวองค์ก่อนๆหน้านี้ที่ได้สร้างพระนอนองค์นี้ - คนธรรมดาคงไม่มีทุนทรัพย์จะสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ได้ จะต้องเป็นผู้มีอำนาจ วาสนา หรือ กษัตริย์ ประทม คือ บรรทม แปลว่า นอน เป็นการหลากคำในคำประพันธ์) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้เสด็จประพาสยังพระนครคีรี (เขาวัง) จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรองค์พระนอน เห็นว่าชํารุดทรุดโทรมมาก เนื่องจากประดิษฐานอยู่กลางแจ้งถูกปล่อยให้ทิ้งไว้ ผ่านแดดลมฝนมาตลอด โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลังคาสังกะสีคลุมไว้ ภายในวิหารพระนอนยังมีแผ่นสังกะสีที่ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งทางวัดได้จัดแสดงไว้ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทอดกฐินต้นที่วัดพระนอนนี้เป็นประจำทุกปี ![]() ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพระราชหัตถเลขาเมื่อคราวเสด็จประพาสมณฑลราชบุรีในปี พ.ศ. 2452 ฉบับที่ 5 กล่าวว่า “ออกจากพระนครคีรีไปตามถนนหน้าวัดพระนอน เห็นหลังคาที่ได้อนุญาตให้ทำสังกะสีคลุมขึ้นไว้นั้นแล้วสำเร็จ แต่เป็นการป้องกันได้ชั่วคราว เพราะตัวผนังชำรุดน่ากลัวจะพัง” จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลังคาคลุมองค์พระนอนใหม่ โดยเปลี่ยนจากหลังคาสังกะสีเป็นหลังคากระเบื้อง พร้อมทำผนังรอบองค์พระ เป็นลักษณะวิหารพระพุทธไสยาสน์ดังที่เห็นอยู่ปัจจุบัน วิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) ตั้งอยู่สูงขึ้นไปบนเนินเขา สันนิษฐานว่าแต่เดิม พระพุทธไสยาสน์คงประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ด้านหลังองค์พระอยู่ชิดกับเขา ต่อมาคงมีการทำหลังคาคลุมไว้เพื่อไม่ให้องค์พระโดนแดดฝน ดังที่สุนทรภู่ได้กล่าวไว้ใน นิราศเมืองเพชร ว่า .... สาธุสะพระนอนสิขรเขา พระพุทธเจ้าหลวงสร้างแต่ปางหลัง ยี่สิบวาฝากั้นเป็นบัลลังก์ ดูเปล่งปลั่งปลื้มใจกระไรเลย แสดงว่าคงจะมีการทำหลังคาหรือสิ่งก่อสร้างบางอย่างแล้ว แต่ไม่ได้เป็นอาคารปิดเหมือนเช่นปัจจุบัน วิหารพระพุทธไสยาสน์ ตั้งอยู่บนไหล่เขาสูงประมาณ 15 เมตร เป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูน วางตัวขนานไปกับไหล่เขา ผนังทางทิศเหนือใช้ส่วนหนึ่งของภูเขาเป็นผนังธรรมชาติ ผนังทางทิศตะวันออกเจาะประตู 1 ช่อง ผนังด้านทิศใต้เจาะหน้าต่าง 2 ช่อง ภายในมีเสาขนาดใหญ่จำนวน 10 ต้น เป็นเสา 8 เหลี่ยม มีบัวเสาแบบบัวกลุ่ม ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() พระพุทธไสยาสน์ ก่ออิฐถือปูน ยาว 43 เมตร ความสูงจากพระเศียรถึงฐานบรรทม 15 เมตร ประดิษฐานอยู่บนแท่นสูงประมาณ 1 เมตร องค์พระพุทธรูปนอนประทับในอิริยาบถตะแคงขวา (สีหไสยาส) พระเศียรหันไปทางทิศตะวันตก ส่วนหลังอิงอยู่กับหินภูเขาด้านหลังซึ่งใช้เป็นส่วนหนึ่งของกำแพงพระวิหาร มีพระเขนยรูปกลม 3 ชั้น รองรับพระเศียร พระหัตถ์ซ้ายแนบพระวรกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวายกขึ้นแตะพระเศียร พระกัปประ (ข้อศอก) ล้ำมาด้านหน้า พระบาทตั้งซ้อนกัน ฝ่าพระบาททั้งสองข้างเขียนลายลงมล 108 ประการสีแดงบนพื้นสีทอง นิ้วพระบาทเป็นลายก้นหอย ลงรักปิดทองทั้งองค์สวยงาม ในการบูรณะองค์พระนอนเมื่อ พ.ศ. 2540 พบอุโมงค์ภายในองค์พระ มีโบราณวัตถุอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปทำจากวัสดุตาง ๆ ได้แก่ สำริด ดินเผา ปูนปั้น หินทราย และไม้บุเงิน ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปแบบศิลปะอยุธยาตอนปลาย พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) จังหวัดเพชรบุรี เป็นหนึ่งในพระปางไสยยาสน์ขนาดใหญ่ (ในยุคโบราณ) ของประเทศไทย ที่ต้องวงเล็บเอาไว้ด้วยเพราะว่าในสมัยนี้วิชาการก่อสร้างเจริญก้าวหน้ามาก ใครๆก็สามารถสร้างพระนอนขนาดใหญ่มากๆได้ แต่ในสมัยก่อนการจะสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่นอกจากจะต้องมีทรัพย์มากแล้ว ยังต้องมีอำนาจมาก (บารมี) ด้วยถึงจะสามารถทำได้สำเร็จ จุดเด่นของพระนอนองค์นี้ที่แตกต่างจากที่อื่นกล่าวคือ ที่เศียรขององค์พระมีหมอนบรรทมรูปดอกบัวรองพระเศียรอยู่สองดอก ดอกบัวดอกแรกรองรับพระเศียร ดอกบังดอกที่สองรองรับพระกัปประ (ข้อศอก) นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฝีมือช่างในสมัยอยุธยา เช่น ในหนังสือที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพฯ มีถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงกล่าวไว้ว่า “พระนอนของเก่านั้น พระกรขวาทำทอดศอกออกไปข้างหน้า ตามแบบอินเดีย ตัวอย่างมีที่ถ้ำเมืองยะลา และพระนอนจักรสีห์ (จ.สิงห์บุรี – เจ้าของบล็อก) แต่พระนอนรุ่นหลังที่ทำศอกตรงลงมาจกพระเศียร เช่น พระนอนวัดป่าโมก พระนอนวัดพระเชตุพน” สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงหมายถึง พระนอนที่ วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) นอนตะแคง ยกพระกับประ (ข้อศอก) ขึ้น แต่ยื่นพระกับประ (ข้อศอก) ล้ำมาทางด้านหน้า เหมือนกับเวลาเราเล่นนอนตะแคงข้างหนุนมือตัวเองครับ ท่านเปรียบเทียบให้เห็นภาพที่ชัดขึ้นกับพระนอนวัดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง และพระนอนวัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพ ที่ตั้งพระกัปประ (ข้อศอก) ขึ้นตั้งฉากกับพื้นครับ อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ กล่าวไว้ว่า พระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) เพชรบุรี “มีพระพักตร์งามมาก ทั้งพระโอษฐ์ และพระนาสิกดูสมส่วน หนักแน่น สวยได้ลักษณะ” พระนอนหรือปางไสยาสน์มีหลายรูปแบบย่อยๆ นะครับ ที่เราเห็นกันบ่อยๆก็เป็น ปางโปรดอสุทินราหู ครับ อสุทินราหู เป็นยักษ์ตนนึ่ง มีร่างกายใหญ่โตมาก มีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้ามาก อยากจะเข้าเฝ้าสักครั้งหนึ่ง แต่เกรงด้วยตัวเองมีร่างกายใหญ่โต อาจจะเกิดความเดือดร้อนกับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงหยั่งทราบถึงความต้องการของอสุทินราหูจึงทรงกระทำปาฎิหาริย์ให้พระวรกายใหญ่โตมาก ขนาดที่ประทับไสยาสน์ พระบาทซ้อนกันยังสูงกว่าอสุทินราหูด้วยซ้ำ จึงเป็นที่มาของ ปางโหรดอสุทินราหู ครับ แต่เดิมในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) มีทางเข้าห้องถ้ำจำนวน 11 ห้อง (เนื่องจากเป็นเขาที่เป็นหินปูน จึงมีถ้ำมากมาย) นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปองค์เล็กเป็นจำนวนมากภายในถ้ำ แต่ตอนนี้ทางวัดได้ปิดทางเข้าไว้ ไม่อนุญาตให้ผู้ใดเข้าไปเนื่องจากข้างในไม่มีอากาศให้หายใจเพียงพอ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() วิหารพระนั่ง เป็นวิหารขนาดเล็ก ตั้งอยู่ใกล้วิหารพระนอนทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่อง ชฏาสูงทรงเทริด มีต่างหู มีพระนามว่า พระพุทธมหาอุดมมงคลนิมิต ![]() ![]() ![]() มณฑปพระฉาย หรือ วิหารพระยืน ตั้งอยู่บนไหล่เขาในระดับเดียวกันกับวิหารพระนอน และวิหารพระนั่ง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถัดจากวิหารพระนั่ง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ฉาบปูนตลอดถึงหลังคา ผนังด้านทิศตะวันออกเจาะประตู 1 ช่อง ผนัง 3 ด้านทึบ ด้นนอกเจาะเป็นซุ้มยอดแหลม ![]() ![]() ผนังด้านในฉาบปูนเรียบมีภาพเขียน ด้านทิศเหนือตรงกลางเป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับยืน พระหัตถ์แสดงปางประทานอภัย เขียนเต็มความสูงของผนัง ด้านหลังเขียนเปลวรังสี ด้านข้างมีพระสาวกยืนประคองอัญชลีอยู่ข้างละองค์ ส่วนผนังด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเขียนรูปพระสาวกยืนประคองอัญชลีเต็มผนัง ด้านละองค์ มณฑปพระฉายนี้ สร้างโดย พระครูสุเมธาจารีย์ (กุน) คงสร้างก่อนปี พ.ศ. 2456 เนื่องจากที่ฐานสถูปจำลองบรรจุอัฐิของท่านมีจารึกข้อความ “พระปลัด (เทพ) ที่ใส่พระบรมธาตุพระครูสุชาติเมธาจารีย์ (กุน) ทำเมื่อ 2456” ![]() ![]() ![]() พระอุโบสถ มีขนาดเล็ก ได้รับการปฎิสังขรณ์มาตลอด แต่มีเค้าโครงว่าน่าจะเป็นพระอุโบสถที่มีความเก่าแก่ในระดับหนึ่งเลย สังเกตจาก พาไล หน้าพระอุโบสถที่ไม่นิยมทำกันในปัจจุบันแล้ว บันไดทางขึ้นพระอุโบสถยังเป็นไม้กระดานแผ่นใหญ่ๆ แผ่นเดียวด้วยครับ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝีมือช่างท้องถิ่น สีสันสวยงาม ดูสดใสมากๆ ![]() ![]() ![]() ![]() หลวงย่อยิ้มให้ลาภ เป็นพระประธานในพระอุโบสถ ![]() ![]() เปิด ทุกวันตั้งแต่เวลา 07.00 – 17.00 น. ค่าเข้าชม ฟรี ขอขอบคุณท่านผู้มีพระคุณทุกท่านที่อุปการะข้อมูลครับ สักการะ พระนอน วัดพระพุทธไสยาสน์ เพชรบุรี – oporshady วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) : Sai Ias Bhuddist Temple – ชิลไปไหน.คอม พระนอนองค์ใหญ่ วัดพระพุทธไสยาสน์ เพชรบุรี – sakanaj. วัดพระพุทธไสยาสน์ - วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี วัดพระพุทธไสยาสน์ หรือ วัดพระนอน - travel2guide.com วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) เพชรบุรี – สายหมอกและก้อนเมฆ ![]() ![]() ![]() นึกถึงพระนอนจักสีห์คุณบอล องค์ใหญ่เบ้อเริ่มจริงๆ
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() โดย: หอมกร
![]() ![]() มาเที่ยว ไหว้พระ ด้วยครับ
วัดนี้ เคยไปแล้วครับ โดย: สองแผ่นดิน
![]() ![]() อรุณสวัสดิ์ครับคุณบอล ชอบพระพักต์ท่านครับ เป็นยิ้มละไม ที่ดูแล้วสงบ เย็น มีความสุข องค์พระประธานก็ยิ้มละไมเช่นกัน ดูแล้วนึกถึงช่วงที่มีการสร้างพระ บ้านเมืองในยุคนั้นน่าจะสงบร่มเย็นมากๆ จนศิลปินผู้ปั้นสะท้อนใส่ลงไปในองค์พระพุทธรูปครับ ![]() โดย: กะว่าก๋า
![]() ![]() วัดผาลาดสวยมากจริงๆครับ
ผมยังคิดว่าจะหาโอกาสไปเดินอีกสักรอบ หน้าฝนแบบนี้ มอสต้องขึ้นเยอะแน่นอนเลยครับ ![]() ไม่รู้คุณบอลต้องกินยาแก้แพ้ด้วยรึเปล่า เพราะผมกินทีไร สลบเหมือดทุกทีเลยครับ ![]() โดย: กะว่าก๋า
![]() ![]() อ่านแล้วอยากเที่ยวเพชรบุรีรเลยครับ
เมื่อก่อนเป็นจังหวังใกล้ๆ ที่ไปบ่อยมาก แต่ไม่เคยไปฝั่งวัดเลยครับ อยู่ที่ทะเล แล้วก็เลยไปหัวหินเลย หัวหินคราวหน้าก็จะไปกินร้าน อะไรนะ...เดอะ บาเก็ท อะไรแบบนี้ใช้ไหมครับที่เป็นร้านประจำของพี่บอลเหมือนกัน อร่อยดี แถมราคาถูกด้วย จากบล๊อก ผมก็ว่า ผมน่าจะเป็นช่วงรู้สึก downๆ จังหวะพี่บอลดีครับที่คนข้างๆ เข้ามาพูดคุยเปิดใจกัน เคลียร์ใจกันได้ และพี่บอลก็พร้อมเปิดใจด้วย ผมไม่เลยครับ ผมไม่อยากพูดไม่อยากเคลียร์ รู้สึกไม่มีอะไรจะอธิบาย หรืออยากพูดคุย อยากแค่เงียบๆ ไป ผมก็น่าจะเหมือนพี่บอลครับ ถ้ายังพูดคือไม่สุด ถ้าสุดคือไม่พูด เหมือนครั้งนี้ครับ ยินดีด้วยครับที่ตอนนี้ดีขึ้นแล้ว จริงๆ เพื่อนช่วยได้เยอะนะครับ การอยู่ท่ามกลางคนที่เราเป็นตัวเองได้ เราไว้ใจดีที่สุดครับ โดย: จันทราน็อคเทิร์น
![]() ![]() สวัสดีค่ะคุณบอล
พี่แวะมาลงชื่อไว้ก่อนนะคะ เดี๊ยวมาใหม่ค่ะ สุขกายสบายใจนะคะคุณบอล โดย: tanjira
![]() ขอให้หายเร็วๆนะครับคุณบอล
ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนจริงๆครับ เชียงใหม่วันนึงมี 3 ฤดูเลย เช้าหนาว บ่ายร้อน ค่ำฝนตกครับ ![]() โดย: กะว่าก๋า
![]() ![]() สวัสดีครับคุณบอล
แวะมาเที่ยวอีกรอบครับ ฟังเสียงกระดิ่งลม พาใจร่มดีจัง ขอบคุณที่ไปเยี่ยมบล็อกการ์ตูนน้องหมา และส่งกำลังใจให้นะครับ โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา
![]() ![]() |
ทนายอ้วน
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() Friends Blog
|
มาชมวัดด้วยครับ