ทำความเข้าใจประกันภัยต่างๆที่เกี่ยวกับบ้าน

ทำความเข้าใจประกันภัยต่างๆที่เกี่ยวกับบ้าน


ทำความเข้าใจประกันภัยต่างๆที่เกี่ยวกับบ้าน

“เจ้าของบ้านหลังใหม่ในปัจจุบันที่มีบ้านโดยผ่านขั้นตอนการขอสินเชื่อ ต่างโอดครวญกันมาหลายเสียง เกี่ยวกับข้อเสนอขายกรมธรรม์ที่พ่วงมาเป็นเงื่อนไขในการอนุมัติสินเชื่อจากธนาคาร ด้วยจำนวนเบี้ยประกันที่ถือว่าสูงมากและจ่ายในงวดเดียว ทำให้หลายคนเกิดคำถามว่าทำไมต้องทำ ทำแล้วได้อะไร Terrabkk จึงรวบรวมข้อมูลเพื่อเป็นคำตอบให้คุณ” ปกติแล้วประกันที่พ่วงมากับสินเชื่อเพื่อบ้านจะมีอยู่เพียง 3 ประเภทเท่านั้น คือ


ประกันอัคคีภัย เป็นประกันที่คุ้มครองบ้านจากการเกิดอัคคีภัย คุ้มครองเฉพาะตัวบ้านไม่รวมถึงที่ดิน เมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้น สำหรับบ้านที่ไม่มีภาระหนี้ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์จะเป็นของเจ้าของบ้านโดยตรง แต่ถ้าบ้านติดจำนองอยู่กับธนาคารผู้รับผลประโยชน์คือธนาคารโดยหักไปกับหนี้ที่เหลือ เจ้าของบ้านจะมีหนี้น้อยลงหรือหมดไปแล้วแต่กรณี ประกันอัคคีภัยจะครอบคลุมความเสียหายของบ้านจากเหตุต่างๆ 3 เหตุการณ์

-ไฟไหม้
-ฟ้าผ่า
-แก๊สจากการทำแสงสว่างหรือใช้ประโยชน์ในบ้าน แต่ไม่รวมการระเบิดเนื่องจากแผ่นดินไหว
-ความคุ้มครองอื่นๆ ที่ระบุเพิ่มเข้ามาในกรมธรรม์
ประกันอัคคีภัยจะเป็นประกันภัยที่ทำเป็นระยะเวลาสั้นๆ แต่ต้องทำเป็นประจำ เช่น ทุกปี หรือทุก 2 -3 ปี ยิ่งเลือกระยะเวลาในการประกันที่มาก ค่าเบี้ยประกันจะยิ่งถูกลง เบี้ยประกันของประกันอัคคีภัยไม่ได้กำหนดตายตัวว่าต้องเป็นเท่าไหร่ จะขึ้นอยู่กับบริษัทประกันและลักษณะอาคาร แต่ส่วนใหญ่สำหรับบ้านเดี่ยวจะไม่เกิน 0.1% เป็นประกันภัยซึ่งกฎหมายบังคับให้บ้านใหม่ทุกหลังต้องทำ


ประกันภัยพิบัติ คุ้มครองบ้านจากภัยธรรมชาติต่างๆ เช่นน้ำท่วม แผ่นดินไหวและพายุ โดยต้องเป็นภัยธรรมชาติที่เข้าเงื่อนไขเป็นภัยพิบัติ ดังนี้

-มีการประกาศเป็นภัยพิบัติรุนแรง ตามคำแนะนำของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
-ค่าสินไหมทดแทนรวมของผู้เอาประกันภัย ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยพิบัติมากกว่า 5,000 ล้านบาท ต่อหนึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน 60 วัน โดยมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป
-แผ่นดินไหว ความรุนแรงตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ขึ้นไป
-พายุความเร็วลมตั้งแต่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
แต่ประกันภัยพิบัติจะไม่ครอบคลุมบ้านในพื้นที่ซึ่งถูกกำหนดไว้ว่าเป็นพื้นที่รองรับน้ำ พื้นที่กักเก็บน้ำ หรือทางน้ำผ่าน ซึ่งได้รับความช่วยเหลือโดยตรงจากภาครัฐอยู่แล้ว ประกันภัยพิบัติสำหรับบ้านอยู่อาศัย จะต้องเสียเบี้ยประกัน 0.5% ของราคาบ้านต่อปี เป็นประกันที่รัฐบาลไม่ได้บังคับ จะทำหรือไม่ทำก็ได้


ประกันคุ้มครองหลักทรัพย์ TMRA คือประกันชีวิตที่ทำขึ้นสำหรับคุ้มครองบ้านหรือที่ดินสำหรับผู้ขอสินเชื่อในการซื้อบ้าน สำหรับเจ้าของบ้านที่กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินมาซื้อบ้านแล้วเกิดเสียชีวิตหรือสูญเสียความสามารถในการใช้หนี้ไปก่อนครบสัญญา ทางบริษัทประกันก็จะชดใช้หนี้สินในส่วนที่เหลือให้กับธนาคารแทน ถือเป็นการประกันอนาคตของครอบครัวผู้ขอสินเชื่อ และประกันความเสี่ยงให้กับทางธนาคารไปในเวลาเดียวกัน
เบี้ยประกันจะขึ้นอยู่กับราคาประเมินของหลักประกันหรือสินทรัพย์ซึ่งแต่ละบริษัทประกันภัยจะกำหนดไว้ไม่เท่ากัน ส่วนมากไม่เกิน 5.5% เป็นประกันระยะยาวที่จ่ายเป็นครั้ง อาจจะเพียง 3 ปี หรือตลอดอายุการกู้ยืมก็ได้ จำนวนเงินเอาประกันจะลดลงเรื่อยๆ ตามยอดหนี้ซึ่งลดลงทุกปี ประกันชนิดนี้เป็นประกันที่รัฐบาลไม่ได้บังคับให้ทำ ดังนั้นจะทำหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้เอาสินเชื่อเอง
ในบรรดาประกันเกี่ยวกับบ้านทั้ง 3 ประเภท มีเพียงประกันอัคคีภัย ที่ต้องทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และมีเบี้ยประกันเพียง 0.1 % เท่านั้น ดังนั้นทางธนาคารไม่มีสิทธิ์บังคับซื้อประกันอื่นๆ เพิ่มเติม
ประกันที่เป็นปัญหาที่สุดสำหรับผู้ขอสินเชื่อในปัจจุบันนี้คือ ประกันคุ้มครองหลักทรัพย์ TMRA ที่มีตัวเลขของเบี้ยประกันที่ค่อนข้างสูง และต้องจ่ายเป็นก้อนในตอนทำสัญญากู้ยืม ซึ่งธนาคารหลายแห่งพูดจาเชิงว่าบังคับให้ทำ เพราะทางธนาคารเองจะได้ประโยชน์จากประกันประเภทนด้านการประกันความเสี่ยงต่อหนี้เสีย โดยอาจจะยื่นข้อเสนอลดดอกเบี้ยให้ หรือสามารถผ่อนชำระเบี้ยประกันได้โดยเปิดเป็นยอดกู้อีกยอดหนึ่ง และมีการสื่อสารให้เจ้าของบ้านเข้าใจว่าประกันประเภทนี้เป็นประกันที่กฎหมายบังคับให้ทำ ซึ่งไม่จริง
แต่การที่กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ ไม่ได้หมายความว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ตรงกันข้ามประกันประเภทนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้มีรายได้น้อยและเป็นเรี่ยวแรงหลักของครอบครัว เพราะตามที่ได้กล่าวกันมาแล้วว่าช่วยใช้หนี้ให้ทั้งหมดในกรณีที่ผู้กู้เสียชีวิตหรือพิการ ภาระในการผ่อนบ้านก็จะไม่ตกไปอยู่กับครอบครัว แต่ก็ต้องดูเงื่อนไขประกอบด้วยว่าครอบคลุมหนี้ทั้งหมดหรือไม่ แต่ถ้าเจ้าของบ้านมีกำลังในการจ่ายหนี้ ประกันประเภทนี้ก็ไม่มีความจำเป็น


การทำประกันคุ้มครองหลักทรัพย์ TMRA ไม่จำเป็นต้องทำกับสถาบันการเงินที่ยื่นขอสินเชื่อเท่านั้น หากพบบริษัทประกันชีวิตหรือประกันภัยที่มีเงื่อนไขดีกว่า ก็สามารถทำกับที่นั่นได้ โดยธนาคารไม่มีสิทธิ์มาบังคับใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้หากพบธนาคารที่อ้างว่าบังคับทำ สามารถแจ้งไปได้ที่สำนักงานคระกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ที่สายด่วน 1186

Cr.https://www.prop.in.th/blog/?p=501




Create Date : 16 กรกฎาคม 2558
Last Update : 16 กรกฎาคม 2558 14:10:14 น.
Counter : 517 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 922554
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



กรกฏาคม 2558

 
 
 
1
5
9
11
12
18
19
23
26
27
30
31
 
 
All Blog