ซีอีโอ "อนันดา" ฟันธง คอนโดฯแนวรถไฟฟ้ายังไม่ล้นตลาด
สัมภาษณ์

จากสถิติ 8 ปี ที่ยึดพื้นที่ 24 สถานีรถไฟฟ้า มาปักหมุดคอนโดมิเนียมได้ถึง 30 โครงการ 2.2 หมื่นยูนิต คิดเป็นมูลค่าขายกว่า 8 หมื่นล้านบาท คงไม่เกินเลยที่ "บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์" จะออกตัวว่าเป็นผู้นำพัฒนาคอนโดฯแนวรถไฟฟ้า

ปัจจุบันถึงจะมีผู้ประกอบการเริ่มวิตกต่อตลาดคอนโดฯจะเข้าสู่สภาวะ"ซึมเซา-ล้นตลาด"แต่"โก้-ชานนท์ เรืองกฤตยา"ซีอีโออนันดาฯย้ำว่ายังมีดีมานด์โดยเฉพาะคอนโดฯแนวรถไฟฟ้าที่ยังไปได้ดี

- สถานการณ์ตลาดคอนโดฯครึ่งปีแรก

ตลาดไม่ซึมอย่างที่กังวลนะ ที่สุดแล้วโครงการจะขายดีหรือไม่ อยู่ที่ทำเล อสังหาฯตอนนี้เป็นบลูชิป มองว่าขุมทรัพย์อยู่ตรงไหน อยู่รอบสถานี ยิ่งใกล้ยิ่งดี ถึงแพง แต่ก็ยังขายได้ เราเทสต์ตลาดเมื่อไหร่ก็มีดาต้าที่ชี้ว่าไปได้ สูตรสำเร็จของเราคือคอนโดฯติดรถไฟฟ้า ดีมานด์ตลาดยังมีอยู่ ไตรมาส 2 จะเปิดโครงการใหม่ เช่น สีลมใกล้บีทีเอสช่องนนทรี ทำเลนี้น่าตื่นเต้น ตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจยังไม่มีโครงการใหม่ นอกจากนี้มีเตาปูน และท่าพระ ที่เป็นดับเบิลสเตชั่น

- ช่วงนี้่เศรษฐกิจไม่ดีกระทบกำลังซื้อ

ธุรกิจอสังหาฯตลาดจะน้ำขึ้นน้ำลงตลอดเวลา จุดยืนเราคือคอนโดฯติดรถไฟฟ้า มีดีมานด์สูงจะเห็นว่าไม่ใช่เราคนเดียว แบรนด์อื่นก็ประสบความสำเร็จ ยอดขายทุกคนก็ไปได้ดี ทำให้เห็นชัดเจนว่าดีมานด์ยังดี ของเราไตรมาสแรกครองแชมป์ยอดขายคอนโดฯเกิน 7 พันล้าน กำลังซื้อยังดีอยู่ แต่ทุกคนต้องระมัดระวังตลอดเวลา ที่ชะลอน่าจะเป็นกรณีไม่มีสตอรี่รถไฟฟ้า

- ขายดีเป็นพราะมีเก็งกำไรเยอะ

เก็งกำไรหรือไม่ ดูจากอะไร การจอง มาทำสัญญามั้ย ผ่อนสม่ำเสมอหรือเปล่า โอนจริงหรือไม่ ดาต้าของเราคือซื้อแล้วโอนจริง โอนเป็นเงินสด 35% มีไม่โอน 2% ไม่มาทำสัญญา 5% มีถูกปฏิเสธสินเชื่อ 5%

- ราคาขายและราคาที่ดินแนวรถไฟฟ้า

ที่ดินมีจำกัด ราคาคอนโดฯก็ปรับขึ้นทุกปี พูดยากเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ แล้วแต่ทำเล ต้นทุนที่ดินและก่อสร้างด้วย เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาราคาที่ดินปรับขึ้นเร็ว แต่ปีนี้จะทรงตัว การต่อรองก็เบาลง ไม่อยากให้เจ้าของที่ดินดันราคาขึ้นไปอีก หากที่ดินสูงเกินจะพัฒนาโครงการในซีบีดีไม่ได้ ถ้าได้ราคาจะแพง 3-4 แสนบาท/ตร.ม. ผมก็ไม่ชอบ อยากให้ลูกค้าซื้อได้ เรามีลูกค้ากลุ่ม มีเอลลิโอ 1 ล้านบาท ไอดีโอราคา 1.5 ล้านบาท และแอชตัน 30 ล้านบาท

- โครงการใหม่ที่ราคาขายแพงสุด

น่าจะเป็นโครงการสีลม เพราะราคาที่ดินแพง ห่างบีทีเอสช่องนนทรี 250 เมตร ราคาน่าจะอยู่ที่ ตร.ม.ละ 2 แสนบาทต้น ๆ ราคาจะตั้งแพงกว่านี้ก็ได้ เรากันไพรซิ่งโพลิซีของเรามากกว่า

- แลนด์แบงก์ในมือ

ซื้อที่ดินมาเท่าไหร่ก็พัฒนาหมด ไม่ได้ซื้อเก็บไว้ ทำเลสีลมยังมีกำลังรวบรวมหลาย ๆ เจ้า การซื้อที่ดินจะดูตามแนวรถไฟฟ้า คือ รถไฟไปที่ไหน อนันดาและไอดีโออยู่ที่นั่น (หัวเราะ) ปัจจุบันสร้างคอนโดฯแนวรถไฟฟ้า 24 สถานีจากทั้งหมด 64 สถานี อีก 5 ปีจะมี 222 สถานี ก็จะขยายการพัฒนาตามไปด้วย

- มีทำเลไหนที่จะไม่ไป

อย่างบางใหญ่จะมีทั้งรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) และศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวสต์เกต แต่ผมว่าพัฒนาเป็นทาวน์เฮาส์ติดรถไฟฟ้าน่าจะดีกว่าคอนโดฯ ณ วันนี้ผมว่าซัพพลายคอนโดฯสายสีม่วงเยอะช่วงรัตนาธิเบศร์ ส่วนแจ้งวัฒนะจะมีรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ยังไม่คิดจะไปเช่นกัน สูตรของคอนโดฯแนวรถไฟฟ้าจะต้องอาศัยการสัญจรของคนที่แน่น ๆ สร้างรัศมีไม่เกิน 300-500 เมตร

- จะรุกตลาดต่างจังหวัด

ยังไม่ถึงเวลาเชื่อว่าตลาดยังอยู่ที่กรุงเทพฯ หัวเมืองหลักยังไงความลึกของธุรกิจยังต้องรอความชัดเจนนโยบายจากรัฐบาล จะต้องนิ่ง ดีและเร็ว

- ไฮสปีดเทรนกับตลาดอสังหาฯ

เป็นความฝันของผมว่า ถ้ามีแซทเทิลไลฟ์ทาวน์เหมือนโตเกียว มีไฮสปีดเทรนวิ่งเข้ามาในหัวเมืองหลัก อยุธยา ชลบุรี หัวหิน เช่น อยู่พัทยา-ระยอง นั่งรถไฟเข้ากรุงเทพฯ 30 นาทีที่มักกะสันแล้วไปต่อจะเป็นดอร์ทูดอร์ ลดความแออัดของเมือง อย่างอังกฤษหรือญี่ปุ่นจะมีไลฟ์สไตล์คนจะอยู่ชานเมือง นั่งรถไฟมาทำงานในเมือง ถ้าไฮสปีดเทรนเกิดขึ้นจะมีไลฟ์สไตล์ใหม่เกิดขึ้น คนจะซื้อบ้านต่างจังหวัดได้ แล้วเดินทางมาทำงานในเมืองโดยรถไฟ ผมเชื่อว่าการใช้ชีวิตของคนจะเปลี่ยนไป


"บีทีเอส" ปลุกซัพพลายทะลัก

โซนบีทีเอสตลาดพลู เป็นอีกทำเลที่แข่งดุเดือด ซัพพลายทะลัก จุดเด่นคือสามารถใช้ถนนเทอดไท ถนนสายรองไปออกย่านตลาดพลูและวุฒากาศได้ เมื่อย้อนดูทำเลโซนตลาดพลู ค่ายอสังหาริมทรัพย์ที่เข้ามาปักธงเป็นรายแรก"นารายณ์ พร็อพเพอร์ตี้" เปิดตัวเดอะพาร์คแลนด์ รัชดา-ท่าพระกว่า 800 ยูนิต เมื่อปี′52 ราคาเริ่ม ตร.ม.ละเกือบ 40,000 บาท ปัจจุบันราคารีเซลขยับขึ้นเป็น ตร.ม.ละ 60,000 บาท

จากนั้น "บมจ.แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์" เปิดตัวลุมพินีเพลสกว่า 900 ยูนิต ห่างเดอะมอลล์ 2-3 ป้ายรถเมล์ ไม่หวือหวามากนัก จากนั้นค่าย "ควอลิตี้ เฮ้าส์"เปิดตัวคาซ่าคอนโด 2 โครงการ รัชดา-ท่าพระ และรัชดา-ตลาดพลู ประชิดบีทีเอสตลาดพลู รวม 900 ยูนิต โครงการแรกราคา ตร.ม.ละ 50,000-60,000 บาท โครงการ 2 ขยับราคาไม่ต่ำกว่า 70,000 บาท/ตร.ม.ปัจจุบันปิดการขายแล้ว

จากนั้น "บมจ.เจ้าพระยามหานคร" เปิดตัวแบงคอคฮอไรซอน รัชดา-ท่าพระ กว่า 700 ยูนิต ตามมาด้วย บจ.แกรนด์ ยูนิตี้ฯ เปิดตัวยูดีไลท์ 937 ยูนิต เริ่มยูนิตละ 2.1 ล้านบาท หรือตารางเมตรละ 7.3 หมื่นบาท แต่เนื่องจากขายได้ช้ากว่าเป้าจึงปรับสเป็กวัสดุตกแต่งใหม่ พร้อมกับขยับราคาขายลงมาเริ่มยูนิตละ 1.9 ล้านบาท ตอนนี้มียอดขาย 40-50%

ล่าสุดค่าย "เอพี" เปิดตัวแอสปาย สาทร-ท่าพระ หัวมุมแยกรัชดา-ราชพฤกษ์ 1,219 ยูนิต เริ่มต้น 1.98 ล้านบาท หรือตารางเมตรละ 8.4 หมื่นบาท มูลค่าโครงการ 3,300 ล้านบาท ทำสถิติปิดการขายได้ภายในไม่กี่วัน

ซัพพลายใหม่ทะลักไม่ขาดสายแบบนี้ ตอกย้ำทำเลแนวรถไฟฟ้าได้รับความนิยมสูง โดยเฉพาะจากกลุ่มที่ซื้อเพื่อลงทุนและเก็งกำไร


ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat




Create Date : 02 มิถุนายน 2558
Last Update : 2 มิถุนายน 2558 10:53:01 น.
Counter : 613 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 922554
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



มิถุนายน 2558

 
1
7
10
14
15
16
19
20
21
22
28
 
 
All Blog