ปลุกฮับบางซื่อ 7 หมื่นล้าน บิ๊กอสังหาได้คืบเอาศอกขอเช่า 100 ปี

นับว่าเป็นโปรเจ็กต์ที่น่าจับตาไม่น้อย เมื่อ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" จะเนรมิต "สถานีกลางบางซื่อ" 218 ไร่ ให้เป็นฮับธุรกิจและที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ของเอเชีย


แต่ยังเป็นที่กังขาด้วยสไตล์การทำงานแบบการรถไฟฯ แถมใช้เม็ดเงินลงทุนสูง อาจจะทำให้โปรเจ็กต์นี้ไปไม่ถึงฝั่งฝัน

"ผมเป็นคนริเริ่มโครงการตั้งแต่วันแรกมานั่งเป็นบอร์ด ไอเดียมาจากสถานีโตเกียวของญี่ปุ่น จะเร่งพัฒนาก่อนคือโซน A จะเชิญเอกชนประมูล พ.ค. 59 แล้วเสร็จปีོ เพราะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนปีུ จะเร่งทุกอย่างให้เร็วขึ้นอีกให้ทันกับรถไฟสายสีแดงเปิดใช้ปีེ" คำยืนยันจาก
"ออมสิน ชีวะพฤกษ์" ประธานบอร์ด ร.ฟ.ท.

พร้อมสาธยายว่า พื้นที่ทั้งหมดมี 305 ไร่ แบ่งพัฒนา 4 โซน พัฒนาเชิงพาณิชย์ 3 โซน มูลค่าลงทุน 6.8 หมื่นล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้าง 30,800 ล้านบาท ที่เหลือเป็นค่าดำเนินการทางการเงิน


จะใช้เวลาพัฒนา 15 ปี แบ่งเป็น 3 ระยะ ช่วง 5 ปีแรก เริ่มที่ "โซน A" 35 ไร่ อยู่ห่างจากสถานี 50-100 เมตร เหมาะพัฒนาเป็นศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร อาคารสำนักงานและธุรกิจบริการ เช่น โรงแรม 3-4 ดาว ศูนย์อาหาร มูลค่าลงทุน 1 หมื่นล้านบาท

ระยะ 10 ปี เป็น "โซน B" 78 ไร่ อยู่ด้านตะวันออกของสถานี ห่างจากตลาดนัดจตุจักร 700 เมตร เหมาะพัฒนาเป็นย่านพาณิชยกรรม ศูนย์การค้า ศูนย์แสดงสินค้า มูลค่าลงทุน 2.4 หมื่นล้านบาท

และระยะยาว 15 ปี เป็น "โซน C" 105 ไร่ อยู่บริเวณสถานีขนส่งหมอชิต 2 และสวนสาธารณะ 3 แห่ง เหมาะพัฒนาที่อยู่อาศัยหรือเมืองใหม่ มีทั้งโรงพยาบาล โรงเรียน สปอร์ตคอมเพล็กซ์ มูลค่าลงทุน 3.4 หมื่นล้านบาท และ "โซน D" 87.5 ไร่เป็นพื้นที่เปลี่ยนถ่ายการเดินทาง เช่น ที่จอดรถ และทางเดินเชื่อม (Sky Walk)

ขณะที่เสียงสะท้อนจากนักธุรกิจภาคอสังหาฯ ศูนย์การค้า โรงแรม ศูนย์แสดงสินค้าและโรงพยาบาล ผ่านเวทีทดสอบความสนใจ (Market Sounding) วันที่ 5 ส.ค.ที่ผ่านมา ต่างมองว่าทำเลที่ตั้งมีศักยภาพ แต่รูปแบบโครงการยังไม่ชัด ที่สำคัญเงินลงทุนสูง ต้องใช้เวลาดำเนินการหลายปีถึงจะคุ้มทุน


"นริศ เชยกลิ่น" หัวเรือใหญ่ บมจ.สิงห์ เอสเตทกล่าวว่า เป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยที่จะเปิดโซนพัฒนาใหม่ ถ้าสามารถผลักดันขยายระยะเวลาเช่าที่ดินจาก 30 ปี เป็น 99 ปีอย่างมักกะสัน จะมีเอกชนสนใจมากขึ้น และยังดึงดูดนักลงทุนต่างชาติด้วย ทำให้ลงทุนได้เต็มที่ เนื่องจากโครงการใช้เงินลงทุนสูง

"อยากให้กำหนดเวลาพัฒนาแต่ละโซน ให้ชัดและพัฒนาเป็นอะไร ดูแล้วมีธุรกิจที่คล้ายกันอยู่ จะแข่งขันกันเอง การลงทุนจะไม่สำเร็จ และขอให้รัฐลดภาษีที่ดิน"

ด้าน "พรนริศ ชวนไชยสิทธิ์" นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์มองว่า ไอเดียพัฒนาของรถไฟยังคลุมเครือ และจุดขายแต่ละโซนยังไม่แรง เช่น จะสร้างคอนโดมิเนียมให้เช่า ในบริเวณใกล้เคียงมีคอนโดมิเนียมที่ขายขาดอยู่แล้ว ควรสร้างจุดเด่นของพื้นที่ให้ที่ดินมีมูลค่าเพิ่ม เพราะเอกชนต้องลงทุน 6-7 เท่าของโครงการ

ส่วนผู้แทน "รสา กรุ๊ป" ระบุว่า สนใจพัฒนาอาคารสำนักงานและโรงแรมระดับ 3-4 ดาว


ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat




Create Date : 24 สิงหาคม 2558
Last Update : 24 สิงหาคม 2558 10:25:16 น.
Counter : 655 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 922554
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



สิงหาคม 2558

 
 
 
 
 
 
2
5
7
8
9
11
12
14
15
16
17
20
21
23
25
27
29
30
 
 
All Blog