อนาคตใหม่ในกัมพูชา (2) "กัมปอตซิเมนต์" 2 ล้านตันป้อนใน ปท.

โรงงานผลิตปูนซีเมนต์นอกประเทศไทยแห่งแรกในกลุ่มอาเซียนของเครือเอสซีจีอยู่ที่กัมพูชาในนาม"บริษัทกัมปอตซิเมนต์ จำกัด" เริ่มลงทุนเมื่อปี 2550 ปัจจุบันเพิ่งบรรลุไลน์ผลิตเฟส 2 ทำให้มีกำลังผลิตรวม 2 ล้านตัน/ปี


ลงทุนเพิ่ม 130 ล้านเหรียญ

ทั้งนี้ เอสซีจีมีการลงทุนสร้างฐานผลิตปูนซีเมนต์ในอาเซียน 4 ประเทศด้วยกัน คือ กัมพูชา อินโดนีเซีย เมียนมา สปป.ลาว "อารีย์ ชวลิตชีวินกุล" ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจรีจินอล เอสซีจีซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ระบุว่า ไตรมาส 2/58 ความต้องการปูนซีเมนต์ในตลาดกัมพูชาเพิ่มขึ้น 12% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มาจากโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยและพาณิชย์ รวมทั้งใช้ก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ

สถิติครึ่งปีแรก เอสซีจีมีรายได้จากการส่งออกปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างไปยังตลาดกัมพูชา 15% และมีรายได้จากฐานการผลิตในกัมพูชา 16% ของรายได้รวมจากฐานการผลิตทั้งหมดในอาเซียน แนวโน้มความต้องการใช้ยังสูงต่อเนื่อง เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะเดินหน้าเพิ่มการลงทุน


"สมหวัง แม้นพิมลชัย" Country Director-Cambodia กล่าวว่า เครือข่ายเอสซีจีตอนนี้ครอบคลุมปูนซีเมนต์ ปูนผสมเสร็จหรือรีดดี้มิกซ์ แผ่นพื้นสำเร็จรูป และกระเบื้องหลังคาคอนกรีต ในปี 2549 เมื่อความต้องการใช้ใกล้ชนเพดานจึงเริ่มสร้างไลน์ที่ 2 ในปี 2556 แล้วเสร็จและเดินเครื่องผลิตจริง เดือน ส.ค. 2558 สำหรับไลน์ผลิตที่ 2 ลงทุนเพิ่ม 130 ล้านเหรียญสหรัฐ กำลังผลิตรวม 2.3 ล้านตัน/ปี

กลยุทธ์ชูคุณภาพเป็นตัวนำ


"ทุกวันนี้ การลงทุนในกัมพูชาจำนวน 2,500 ตัน/วัน นำเข้าปูนจากไทยอีก 2,500 ตัน/วัน ต่อไปจะลดบทบาทนำเข้า"


โอกาสทางธุรกิจทั้งซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง "สมหวัง" ฟันธงไว้เลยว่าตลาดกัมพูชายังเติบโตได้อีกมหาศาล หากโฟกัสเฉพาะชาวกัมพูชา 15 ล้านคนในปัจจุบัน รายได้เฉลี่ย 1,000 เหรียญสหรัฐ/หัว หรือ 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แนวโน้มจีดีพีเติบโตปีละ 7.2% ต่อเนื่องใน 5 ปีหน้า ขนาดตลาดจะใหญ่มากเพราะมีสูงถึง 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

กลยุทธ์การแข่งขันจึงต้องเริ่มจาก 1.คุณภาพสินค้า 2.ระบบจัดจำหน่าย ปัจจุบันมีดีลเลอร์หลัก 47 ราย กับซับดีลเลอร์พันกว่าแห่ง นำเสนอสินค้าใหม่สู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญต้องเลือกเซ็กเมนต์ให้ชัดเพราะความต้องการลูกค้าเริ่มหลากหลายมากขึ้น

"เราเป็นผู้นำในตลาดกัมพูชาอยู่แล้วทำยังไงให้ยั่งยืนคุณภาพต้องทำให้ดีจุดแข็งสินค้าเราทุกคนยอมรับว่าคุณภาพดีต้องทำงานหนักมากขึ้นในเรื่อง Quality Gap หรือการตัดเซ็กเมนต์"

คำอธิบายของกลยุทธ์ "ตัดเซ็กเมนต์" ปัจจุบันยอดขายปูนพอร์ตแลนด์หรือปูนโครงสร้าง มีสัดส่วน 87% เพราะราคาถูกกว่า ขณะที่ปูนพลาสเตอริ่งหรือปูนฉาบ มีสัดส่วนยอดขายแค่ 13% นั่นคือพฤติกรรมผู้บริโภคยังมีการนำปูนโครงสร้างไปใช้แทนปูนฉาบ ดังนั้น หากจัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้บริโภคใช้ปูนเฉพาะทางให้ถูกต้อง ผลักดันยอดขายปูนพลาสเตอริ่งเพิ่มเป็น 40% รายได้ก็จะโตโดยอัตโนมัติทันที

ทยอยเปิดตัวสินค้าใหม่

"ศุภกิจ ภู่เจริญศิลป์" ผู้จัดการโรงงาน บริษัทกัมปอตซิเมนต์ ์ อธิบายว่า โรงงานได้รับสัมปทาน 50 ปีจากรัฐบาลกัมพูชา มีพื้นที่ 80 เฮกตาร์ (1 เฮกตาร์เท่ากับ 10,000 ตร.ม.) ล่าสุดสัมปทานยังเหลือเวลาอีก 42-43 ปี ตามแผนไลน์ผลิตมี 4 เฟส เพิ่งลงทุน 2 เฟส อีก 3-4 ปีก็เต็มกำลังผลิตแล้ว มีพนักงานคนท้องถิ่น 461 คน

ระบบการผลิตจะมีกระบวนการทำงานเหมือน "เซมิโอเพ่นฮับ" เจาะภูเขาโดยยังเหลือขอบด้านข้างไว้ ไม่ได้ใช้วิธีทลายเขาทั้งลูก ดังนั้น ด้านบนขอบภูเขาจึงเป็นเหมือนบัฟเฟอร์โซน ทำให้ฝุ่นกับเสียงไม่กระจายตัวออกมารบกวนชุมชนรอบข้าง
"ข้อดีคือสิ่งแวดล้อมจะดีมากเพราะใช้ภูเขาไม่หมดทั้งลูก ต้นทุนแบบนี้จะสูงกว่าโรงผลิตปูนทั่วไป แต่เป็นนโยบายของเอสซีจี"

"พงศ์ธนา เดชวิทยาพร"
ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด ตบท้ายด้วยข้อมูลการทำตลาด จะต้องรักษาความเป็นผู้นำด้านสินค้าคุณภาพ โดยจะมีสินค้าใหม่ทยอยนำเสนอต่อเนื่อง อาทิ กระเบื้องเซรามิกส์ สมาร์ทบอร์ด อิฐมวลเบา เป็นต้น ถือเป็นจุดขายที่ได้เปรียบในเชิงการแข่งขันเพราะผู้บริโภคยอมรับตราสินค้าเป็นอย่างสูง

ผู้บริโภคยอมรับว่าสินค้าคุณภาพเราดี"ตำไรคุณเพียบละออ" แปลตรงตัวว่า สินค้าช้างคุณภาพดี



ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat




Create Date : 26 กันยายน 2558
Last Update : 26 กันยายน 2558 9:59:48 น.
Counter : 700 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 922554
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



กันยายน 2558

 
 
1
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
17
18
19
20
21
23
25
27
28
29
 
 
All Blog