"กทม."ผวาน้ำท่วม ลงทุนแสนล้านผุดเพิ่ม3อุโมงค์ยักษ์นำร่องก.ค.นี้ประมูล"บึงหนองบอน"6พันล.
กทม.รีวิว แผนป้องกันน้ำท่วมกรุง เฟ้นโปรเจ็กต์เร่งด่วน ลงทุนกว่า 1.1 แสนล้านเนรมิตครบระบบคลองสายหลัก ปรับปรุงท่อเก่า ผุดอุโมงค์ยักษ์เพิ่ม 3 แห่ง "บึงหนองบอน-ทวีวัฒนา-บางกะปิ" ครอบคลุมพื้นที่โซนตะวันออก-ตะวันตก เผยปลายปี"59 อุโมงค์ใต้คลองบางซื่อเสร็จกู้วิกฤต 8 พื้นที่ "ห้วยขวาง ดินแดง พญาไท จตุจักร ลาดพร้าว วังทองหลาง บางซื่อ ดุสิต"




นาย กังวาฬ ดีสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้กำลังปรับปรุงแผนป้องกันและแก้ไขน้ำท่วมกรุงเทพฯใหม่ เพื่อสอดรับกับงบประมาณประจำปีที่ได้รับเฉลี่ยปีละ 3-4 พันล้านบาท โครงการที่ไม่สามารถดำเนินการได้ต้องชะลอไปก่อน จะแก้ไขเฉพาะโครงการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาปัญหา แบ่งดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้นไม่เกิน 2 ปี ระยะกลาง 2-5 ปี และระยะยาว 5-10 ปี จากเดิมทำแผนทุก 4 ปี ทั้งนี้ หากจะให้แผนบริหารจัดการน้ำครบสมบูรณ์ต้องใช้เงินลงทุนหลักแสนล้านบาท กับต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าจะเบ็ดเสร็จ

เมืองโตเร็ว-เงินลงทุนมีจำกัด

"เมือง เปลี่ยนไปตลอดเวลาเพราะเกิดการพัฒนามาก ทั้งที่อยู่อาศัย การก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ขณะที่งบประมาณ กทม.มีจำกัด พื้นที่ไหนเป็นจุดอ่อนก็หยิบขึ้นมาดำเนินการก่อน"โดยแผนงานหลักระบบป้องกัน น้ำท่วมคาดว่าใช้เงินลงทุน 113,130 ล้านบาท เริ่มดำเนินการปี 2558 เป็นต้นไปประกอบด้วย 1.ปรับปรุงระบบคลองหลักกว่า 20 คลองพร้อมแนวป้องกันเขื่อนวงเงินกว่า 60,000 ล้านบาท เพื่อระบายน้ำจากพื้นที่ด้านเหนือลงพื้นที่ด้านใต้ และด้านตะวันออกไปตะวันตกไม่รวมระบบคลองย่อยที่จะระบายน้ำลงในพื้นที่ลุ่ม ต่ำ

2.ปรับปรุงระบบท่อระบายน้ำที่ใช้งานมานาน 30 ปีในพื้นที่กว่า 10 เขตวงเงินกว่า 40,000 ล้านบาท ที่ผ่านมาไม่สามารถดำเนินการได้เร็วเนื่องจากมีแนวระบบสาธารณูปโภคกีดขวาง จำนวนมาก หากดำเนินการจะทำให้เกิดปัญหารถติดจึงต้องปรับวิธีการโดยสร้างบ่อสูบแทน

ผุดอุโมงค์ยักษ์เพิ่ม 3 แห่ง

3.สร้าง อุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่เพิ่ม ขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อ จากคลองลาดพร้าวถึงแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มจากบริเวณถนนรัชดาภิเษกลอดใต้คลองบางซื่อไปออกแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเกียกกายครอบคลุมพื้นที่การระบายน้ำประมาณ 56 ตร.กม. พื้นที่เขตห้วยขวาง ดินแดง พญาไท จตุจักร ลาดพร้าว วังทองหลาง บางซื่อ และดุสิต อุโมงค์มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร ยาว 6.4 กม. พร้อมสถานีสูบน้ำกำลังสูบ 60 ลบ.ม./วินาที ค่าก่อสร้าง 2,500 ล้านบาท กำหนดเสร็จปลายปี 2559 ภายในปีนี้ได้รับงบฯสร้างอุโมงค์บึงหนองบอน 5,900 ล้านบาท เตรียมเปิดประมูลก.ค.นี้ จะได้ผู้รับเหมาและเริ่มก่อสร้าง ก.ย.นี้ เริ่มจากบริเวณบึงรับนํ้าหนองบอนลอดใต้คลองหนองบอน คลองตาช้าง ถนนอุดมสุข สุขุมวิท 101/1 คลองบางอ้อ ออกแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณพื้นที่บริษัทไม้อัดไทยครอบคลุมพื้นที่ 85 ตร.กม. ได้แก่ เขตประเวศ บางนา พระโขนงสวนหลวง เป็นอุโมงค์ระบายน้ำเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร ยาว 9.4 กม. พร้อมสถานีสูบน้ำกำลังสูบ 60 ลบ.ม./วินาที ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี กำหนดแล้วเสร็จปี 2562

ขออัดฉีดเพิ่มในงบฯปี"59

นาย กังวาฬกล่าวอีกว่า ในปี 2559 จะของบประมาณจากรัฐบาลก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำเพิ่ม 2 แห่ง มีอุโมงค์ระบายน้ำคลองทวีวัฒนาบริเวณคอขวด 1,912.9 ล้านบาท ก่อสร้าง 2 ปี (2559-2560) เป็นอุโมงค์ระบายน้ำเส้นผ่านศูนย์กลางกว่า 3.5 เมตร ความยาว 2 กม. เพิ่มประสิทธิภาพคลองทวีวัฒนาให้สามารถระบายน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน ผ่านกรุงเทพฯฝั่งธนบุรีลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โครงการแก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัย แม่น้ำท่าจีน และลงสู่อ่าวไทย โดยระบายน้ำผ่านคลองทวีวัฒนา 32 ลบ.ม./วินาที และอุโมงค์ระบายน้ำ พร้อมอาคารรับน้ำ 1,500 ล้านบาท ต่อเชื่อมจากอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบเดิม บริเวณปากคลองลาดพร้าวช่วงถนนพระราม 9 ไปถึงบางกะปิ ระยะทาง 3 กม. ก่อสร้าง 2 ปี ช่วยป้องกันน้ำท่วมเขตบึงกุ่ม บางกะปิ วังทองหลาง เป็นต้น

"แม้หัวใจสำคัญแก้น้ำท่วมกทม.อยู่ที่การพัฒนาระบบคลอง ท่อระบายน้ำให้รองรับน้ำฝนได้มากขึ้น แต่อุโมงค์ระบายน้ำยังตอบโจทย์ป้องกันน้ำท่วม เพราะเป็นการช่วยเร่งระบายน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำและคลองสายหลักลงสู่แม่น้ำ เจ้าพระยาได้เร็วขึ้น"

รื้อบุกรุกคลองลาดพร้าว

นอกจากนี้ยังได้รับงบประมาณปี 2558 เพิ่มเติมจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 3,700 ล้านบาท รื้อย้ายผู้บุกรุกริมคลองกว่า 3 พันครัวเรือน และขยายคลองลาดพร้าวให้ระบายน้ำจากเดิม 15-20 ล้าน ลบ.ม./วินาที เป็น 40 ล้าน ลบ.ม./วินาที จะใช้เวลา 4 ปี (2558-2562) ช่วยรับน้ำพื้นที่เขตสายไหม บางเขน หลักสี่ จตุจักร วังทองหลาง ลาดพร้าว และห้วยขวาง และได้รับงบฯ 118 ล้านบาทขุดลอก 36 คลอง

อย่างไรก็ตาม ช่วง ต.ค.-พ.ย.นี้เป็นช่วงที่มีน้ำมาพร้อม ๆ กัน คือ น้ำฝน น้ำทุ่ง น้ำเหนือ น้ำทะเลหนุน โดย "น้ำฝน" ฤดูกาลจะเริ่มช่วง พ.ค.-ต.ค. มีปริมาณและความถี่สูงสุดกลาง ส.ค.-ต.ค. เฉลี่ยต่อปี 1,500 มม. ประกอบกับเป็นช่วงที่เกิดพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้ามาในประเทศไทยและใกล้ กรุงเทพฯ ส่วน "น้ำทุ่ง" คือน้ำฝนหรือน้ำเพื่อการกสิกรรมอยู่ด้านเหนือและตะวันออกของกรุงเทพฯ โดยความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณ ระดับน้ำ และความลาดเอียงของระดับพื้นดินที่ทรุดตัว ด้าน "น้ำเหนือ" เป็นน้ำฝนที่ตกในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านกรุงเทพฯมีผลให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาสูงสุดในช่วง ต.ค.-พ.ย. จะรองรับปริมาณน้ำเหนือได้ 2,500-3,000 ลบ.ม./วินาที กับ "น้ำทะเลหนุน" จะสูงสุดในช่วง ต.ค.-ธ.ค. ทั้งนี้ จากการประเมินคาดว่าจะมีน้ำน้อย





Create Date : 30 มิถุนายน 2558
Last Update : 30 มิถุนายน 2558 10:07:22 น.
Counter : 998 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 922554
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



มิถุนายน 2558

 
1
7
10
14
15
16
19
20
21
22
28
 
 
All Blog