Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
15 เมษายน 2554
 
All Blogs
 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
















จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ถือกำเนิดจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น ณ ตึกยาวข้างประตูพิมานชัยศรีในพระบรมมหาราชวังเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๒ [ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินสากลในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ (ค.ศ. ๑๙๔๐) ดังนั้น พ.ศ. กับ ค.ศ.ก่อนหน้านี้จึงเหลื่อมกันอยู่ ๑ ปี] และได้รับพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก เมื่อ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๕ ทั้งนี้เพื่อผลิตบุคลากรให้รับราชการซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลจากพระบรมราโชบายปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๕



ต่อมาทั้งภาคราชการและเอกชนต้องการบุคลากรทำงานในสาขาวิชาต่างๆ กว้างขวางมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระบรมราโช บายในสมเด็จพระบรมชนกาธิราชที่จะ"ให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถาบันอุดม ศึกษาของชาวสยาม"พอที่จะช่วยให้กิจการปกครองท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยดำเนิน ไปได้ดีในระดับหนึ่งแล้วสมควรขยายการจัดการศึกษาเพื่อสนองความต้องการของ กระทรวง ทบวง กรมอื่น ๆ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กเป็นสถาบันอุดมศึกษา พระราชทานนามว่า "โรงเรียน ข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เมื่อ ๑ มกราคม ๒๔๕๓



ต่อมาทรงเห็นว่าควรขยายกิจการให้กว้างขวางตามพระราชประสงค์เพื่อให้เป็นพระ บรมราชานุสาวรีย์อันยิ่งใหญ่และถาวรในสมเด็จพระบรมชนกาธิราชพระองค์จึงได้ พระราชทานเงินทุนที่เหลือจากการที่ราษฎรได้เรี่ยไรเพื่อสร้างพระบรมราชานุ สาวรีย์พระบรมรูปทรงม้าจำนวนเก้าแสนกว่าบาทให้ใช้เพื่อสร้างอาคารเรียนและ เป็นตึกบัญชาการบนที่ดินของพระคลังข้างที่จำนวน ๑,๓๐๙ ไร่ ซึ่งอยู่ที่อำเภอปทุมวัน และเงินที่เหลือจากการสร้างก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เพื่อกิจการ ของโรงเรียนต่อไปทั้งนี้ได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินและ ทรงวางศิลาพระฤกษ์ในการสร้างอาคารดังกล่าวเมื่อ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๘



ในครั้งนั้นมีการเปิดสอน ๘ แผนกวิชา ได้แก่ การปกครอง กฎหมาย การฑูต การคลัง การแพทย์การช่าง การเกษตร และวิชาครู จัดการศึกษาใน ๕ โรงเรียน (คณะในปัจจุบัน) คือโรงเรียนรัฏฐประศาสนศาสตร์ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวังโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ตั้งอยู่ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนราชแพทยาลัยตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชโรงเรียนเนติศึกษาตั้งอยู่ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา และโรงเรียนยันตรศึกษาตั้งที่วังใหม่หรือวังกลางทุ่ง หรือวังวินเซอร์ (เคยเป็นวังของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ)



ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกูฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่จะรับผู้ซึ่งประสงค์จะศึกษาขั้นสูงให้เข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรย์เฉลิมพระเกียรติแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ให้เจริญก้าวหน้ากว้างขวางแผ่ไพศาล และมิรู้เสื่อมสูญ



จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยในช่วงแรกมีการจัดการศึกษาเป็น ๔ คณะ ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๙ - ๒๔๖๕ มีการปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาระดับประกาศนียบัตร และการเตรียมการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญา มีการติดต่อกับมูลนิธิร็อกกี้ เฟลเลอร์ เพื่อให้ช่วยเหลือการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ จากนั้นระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๖ - ๒๔๘๐ เริ่มรับผู้สำเร็จหลักสูตรมัธยมบริบูรณ์เข้าเรียนในคณะแพทยศาสตร์ขณะเดียว กันก็ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรและรับนักเรียนผู้จบประโยคมัธยมบริบูรณ์เข้า เรียนอีก ๔ คณะ และในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๑ - ๒๔๙๐ เริ่มเน้นการเรียนการสอนอันเป็นพื้นฐานของวิชาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีการจัดเตรียมมหาวิทยาลัยคือนักเรียนจะต้องเลือกเรียนตามคณะต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนทำให้มีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยขึ้น



หลังจากนั้น ในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๑ - ๒๕๐๓ เป็นระยะเวลาของการขยายการจัดการศึกษาออกไปในศาสตร์และศิลปวิทยาการต่างๆ โดยเน้นระดับปริญญาตรีเป็นหลัก และตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๔ จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาของการขยายการศึกษาระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้น และ เริ่มพัฒนาการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาส่งเสริมการค้นคว้า วิจัย การอนุรักษ์และสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมและการบริการทางวิชาการให้แก่สังคม มีการจัดตั้งสถาบันวิจัยสถาบันบริการ และศูนย์ เพื่อให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยและพัฒนาตนเอง ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ทุกวิถีทางให้สมกับเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ของ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระปิยมหาราชของพสกนิกรชาวไทยตลอดไป



ตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์


ข้อมูลจากเว็บไซต์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
//www.chula.ac.th/about/history/index.htm
ภาพประกอบจาก Insignia Museum




 

Create Date : 15 เมษายน 2554
15 comments
Last Update : 21 ตุลาคม 2555 11:53:02 น.
Counter : 5446 Pageviews.

 

นิสิตสมัยก่อนน่ารักใสๆดีจังเลยนะคะขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆค่ะ

 

โดย: แม่น้องกะบูน 15 เมษายน 2554 8:32:48 น.  

 

เข็มนิสิตจุฬารุ่นเก่าๆ ดูขลังดีนะครับคุณอิม

 

โดย: ปลายแป้นพิมพ์ 15 เมษายน 2554 12:56:22 น.  

 

มีเพื่อนจบจุฬา

อักษร 1 คน

บัญชี 1 คน

น่าจะสองคนเองนะคะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 15 เมษายน 2554 22:15:55 น.  

 

แวะมาเยี่ยมเยียนกันอีกครั้งครับ

 

โดย: ปลายแป้นพิมพ์ 23 เมษายน 2554 22:35:59 น.  

 

ขอบคุณค่ะ..สำหรับข้ออมูลขลังๆ
กับมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่รับนิสิตเรียนเต็มเวลา

ขอบคุณมากมาย
ที่เข้าไปช่วยตั้งชื่อถึง 2 ชื่อ
เพื่อคอลัมน์ "ดูหนังฟังเพลงบรรเลง??"
มีเพื่อนๆจำนวน 47 คน 79 ชื่อ

และขอบคุณเพื่อนๆอีกหลายๆคน
ที่เข้ามาเชียร์รวมเชียร์+mentถึง 100กว่า comment
ใน 3 วัน ตั้งแต่ 21-23 เมย.2554




ตอนนี้ส่งให้"ขอรบกวนทั้งชุดนอน" เลือก 5 ชื่อ อยู่ค่ะ

 

โดย: เริงฤดีนะ 24 เมษายน 2554 11:01:00 น.  

 

เคยอยากเรียนที่น์่มากค่ะ
แต่สุดท้ายไปสอบติดที่อื่นแต่คีดไปคิดมาก็ว่าเหมาะสมกับตัวเอง
แล้วค่ะพี่อิม
ปล.ภาพสวยมากค่ะ

 

โดย: Popang (popang ) 24 เมษายน 2554 14:33:01 น.  

 

รูปสวย glitter emoticon comment glitter.mthai.com

แวะมาทักทายและโหวต สาขาdiaristให้ค่ะคุณim

 

โดย: เรือนเรไร 24 เมษายน 2554 19:30:15 น.  

 

แวะมาเยี่ยมวันอาทิตย์ ก็ได้เห็นเรื่องใหม่ของพี่
หนูก็อยากให้ลูก เรียนที่จุฬาเหมือนกันนะคะ
ไม่รู้ว่าจะสมหวังไหม
แต่ก็ตามใจลูกทุกเรื่องล่ะค่ะ ไม่บังคับเรื่องเรียน
พี่สบายดีนะคะ

 

โดย: kimmy (kimmybangkok ) 24 เมษายน 2554 19:57:51 น.  

 

สมัยก่อน ใครคิดจะเรียนคอมพิวเตอร์มักจะต้องเรียนคณะที่มีวิชาเอกสถิติ

จขบ. มีเพื่อนที่จบจากจุฬาฯ หลายคน ส่วนใหญ่รู้จักกันในที่ทำงาน พวกเขาจบคณะพาณิชยศาสตร์ เอกสถิติศาสตร์ครับ

 

โดย: Insignia_Museum 24 เมษายน 2554 22:43:56 น.  

 


หวัดดีค่ะ..

วันนี้แวะมาแปะประกาศคณะปฏิวัติ
เอ๊ย!!!ประกาศกิจกรรมเพื่อนบล็อคด้วยค่ะ





ได้หยิบมา 5 ชื่อ เป็นดังนี้ค่ะ

1."ขยับตัวโน้ต มากระโดดบนแผ่นฟิล์ม"
(โดยคุณ MeMom) เพราะเก๋ดี

2."เพลงที่ใช่ กับหนังที่ชอบ"
(โดยคุณ i'm not superman) เพราะเก๋และsimple

3."เพลงดังหนังเด่นประเด็นเด็ด"
(โดยคุณหอมกร) ตรงชัด

4."หนัง+เพลง บรรเลงปากกา"
(โดย คุณ"ณ มน") เพราะตรง conceptและเข้าใจในทันที

5."ค้นหนังคว้าเพลง"
(โดยคุณ tuk-tuk@korat) เพราะแอบลึกเล็กๆและชัด




แถมด้วยคะแนนยอดนิยมพิเศษ 2 ท่านได้แก่
Popular 1.“เพลงไม่ดัง...หนังก็เงียบ”
(โดยคุณPanwat)
เพราะฮามากมาย

terbahak bahak



Popular2. "บันเทิงเริงฤดี"
(โดยคุณอุ้มสี)
ในกรณีที่จะเป็นคอลัมน์ของตัวเองในโอกาสต่อไป
(ใครจะรู้???)เราอาจจะได้เขียน
ในหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่ง คริ คริ

heart eye glass

 

โดย: เริงฤดีนะ 25 เมษายน 2554 17:39:26 น.  

 

ชอบภาพเข็มจุฬาเก่า ๆ จังค่ะ รัชชี่เป็นเด็กธรรมศาสตร์ ก็เก็บเข็มที่ติดเสื้อและตรงปกเสื้อ (ที่เป็นแบบตุ้งติ้ง) และกระดุมด้วยค่ะ นาน ๆ ทีหยิบมาดูก็ชื่นใจดี

 

โดย: รัชชี่ (รัชชี่ ) 25 เมษายน 2554 19:00:38 น.  

 

ได้อ่านประวัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างละเอียดเลย
ชอบภาพประกอบครับ ตึก และกิจกรรมสมัยก่อน คลาสสิคจริงๆ

 

โดย: dj booboo 26 เมษายน 2554 1:59:35 น.  

 

มาเชิญชวนคุณอิม ซึ่งอาศัยอยู่ในดินแดนที่มีมะม่วงหลากสายพันธุ์ อร่อยๆทั้งนั้น ไปติชมคนมีมะม่วงบ้านๆ ที่อุตส่าห์เอามาแปรรูปไว้กิน เพราะถ้าไม่ทำ มันก็เน่าเปล่าครับ

 

โดย: ปลายแป้นพิมพ์ 26 เมษายน 2554 11:40:35 น.  

 

สวัสดีวันสีชมพูค่ะ แวะมาทักทายกันยามบ่ายนะคะ
เห็นเข็มจุฬาฯ อยากให้ลูกสาวได้เรียนที่นี่จังเลย แนะนำหน่อยนะคะ ว่าคณะอะไรดี ลูกบอกว่าวิศวะจุฬาไม่ดัง

 

โดย: ไผ่สวนตาล 26 เมษายน 2554 14:05:35 น.  

 

 

โดย: izephyr888 24 มกราคม 2555 11:36:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Insignia_Museum
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 66 คน [?]




ความตั้งใจในการทำบล็อกเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เริ่มต้นด้วยการเขียนถึงถิ่นที่อยู่ในวัยเด็ก ต่อมาเป็นเรื่องเครื่องหมายต่างๆ เรื่องศิลปะ ภาพถ่ายในยุคก่อนๆ อาหารการกิน และอะไรต่อมิอะไรที่ประสบพบเห็น สนใจอะไรขึ้นมาก็อยากรู้ให้มากขึ้น กลุ่มเนื้อหาจึงแตกแขนงไปเรื่อยๆ
New Comments
Friends' blogs
[Add Insignia_Museum's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.