สิงหาคม 2559

 
28
29
30
31
 
 
All Blog
สร้างลูกน้อยให้เป็นนักอ่าน


สร้างลูกน้อยให้เป็นนักอ่าน

การอ่านเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่เพียงเสริมสร้างความรู้ได้อย่างดีเท่านั้นแต่ยังเป็นบันไดสำหรับการเรียนรู้ได้อย่างไม่รู้จบตลอดชีวิตของลูก ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่จึงมักให้ความสำคัญกับการอ่านแทบทั้งสิ้น และนี่คือเทคนิควิธีเล็กน้อยที่จะช่วยให้ลูกรักการอ่านได้อย่างดี

สร้างความคุ้นเคยกับหนังสือตั้งแต่ยังเล็ก โดยประสบการณ์ส่วนตัวไม่ได้ตั้งใจจะให้ลูกหยิบจับหนังสือเมื่ออายุน้อยๆเลยแต่เนื่องจากต้องเลี้ยงลูกลำพังอย่างไม่มีพี่เลี้ยง ช่วงเวลาการป้อนอาหารเป็นช่วงที่วุ่นวายที่สุด สิ่งหนึ่งที่ช่วยสร้างความสงบให้แก่ลูกได้คือหนังสือภาพที่มีรูปโตๆ สีสวยๆสดๆ เด็กๆจะเพ่งมองและให้ความสนใจกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าซึ่งช่วงเวลานี้คุณแม่ยังใช้โอกาสในการสอนคำศัพท์ให้กับลูกๆได้ด้วย เช่นนี่กบอ๊บๆ นี่เป็ดก๊าบๆ ถ้าเด็กโตขึ้นมาอีกนิดและสามารถโต้ตอบได้แล้ว(แต่ยังอยู่ในวัยที่ต้องป้อนข้าวอยู่) เราอาจชวนคุย เช่น นี่ตัวอะไร นี่สีอะไรนกร้องยังไง เป็นต้น เด็กที่คุ้นเคยกับหนังสือตั้งแต่ยังเล็ก จะซึมซับความรักหนังสือไปเองโดยอัตโนมัติ ช่วยบ่มเพาะความรู้สึกรักการอ่านได้อย่างดี ข้อแนะนำสำหรับการเลือกหนังสือให้เด็กเล็กคือเลือกหนังสือที่แข็งแรง ไม่ขาดง่าย เช่นหนังสือลอยน้ำ หนังสือบอร์ดบุ๊คที่กระดาษแข็งและหนา ส่วนการประยุกต์ใช้อาจนำไปใช้ในช่วงของการอาบน้ำได้ด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อลูกโตขึ้น เช่นประมาณ 1ขวบจะชอบเล่นน้ำและแช่อยู่ในกะละมังนานๆเราอาจใช้หนังสือลอยน้ำเป็นของเล่นให้ลูกในระหว่างอาบน้ำไปด้วยก็ได้

พ่อแม่ขยันอ่านให้ฟัง เมื่อลูกเริ่มโตขึ้นสามารถฟังเรื่องราวต่างได้ยาวขึ้นและมีความเข้าใจในเรื่องราวที่ยากขึ้นอีกหน่อยพ่อแม่ควรเลือกนิทานที่สอดคล้องกับวัยของลูก หรือตรงตามความสนใจของลูกมาอ่านให้ลูกฟัง โดยสร้างโอกาสในการอ่านหนังสือเป็นประจำทุกวัน เช่น ระหว่างนั่งในรถหรือก่อนนอนทุกคืนเพื่อให้ลูกคุ้นเคยกับการอ่านหนังสือซึ่งเท่ากับเป็นการบ่มเพาะวิถีชีวิตที่ดีเมื่อเขาโตขึ้นด้วยการฟังมากๆยังจะส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการในการพูดดีขึ้นด้วย คือสามารถพูดได้เร็วขึ้น ซึ่งจากประสบการณ์ของผู้เขียนคือลูกพูดเป็นคำเมื่ออายุ10 เดือน และพูดเป็นประโยคเมื่ออายุ 1 ขวบ 2 เดือนซึ่งถือว่าเร็วมากๆ

เชื่อมโยงความสงสัยเข้ากับการค้นหาคำตอบ ตอนที่ลูกชายของผู้เขียนยังเล็กเขาชอบรถก่อสร้างมาก คุณแม่จึงพยายามหาหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับก่อสร้างหลายๆแบบมาให้ลูกอ่าน ในการอ่านเราสามารถชวนลูกเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆในสิ่งที่ลุกสนใจ เช่น รถตักดิน รถปูน รถบรรทุก รถกระเช้า ฯลฯ เพื่อให้ลูกมี“คลังคำศัพท์” ในสิ่งที่เขาสนใจได้มากขึ้น เวลาขับรถไปบนถนนแล้วพบเจอรถดังกล่าวเราก็จะถามว่านี่รถอะไรนะ เราลองไปดูในนิทานกันนะ อะไรแบบนี้เป็นต้น

เมื่อลูกโตขึ้นความสนใจของเขาจะมีมากขึ้น จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เขาได้พบเราสามารถใช้ความอยากรู้อยากเห็นของลูกเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้และการอ่านได้เช่นครั้งหนึ่ง ลูกชายสงสัยว่าทำไมหิ่งห้อยถึงมีแสงสว่างคุณแม่ก็หาหนังสือเรื่องหิ่งห้อยมาอ่านให้ลูกฟัง ซึ่งไม่เพียงจะได้คำตอบต่อคำถามที่อยากรู้เท่านั้นแต่ยังได้ความรู้อื่นๆไปด้วย เช่น วงจรชีวิตของหิ่งห้อยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับหิ่งห้อย รวมทั้งความรู้สึกรักและหวงแหนธรรมชาติสิ่งแวดล้อมไปด้วยเพราะหิ่งห้อยเป็นแมลงที่ยังไม่สามารถเพาะเลี้ยงได้และต้องเติบโตในสภาพแวดล้อมที่มีความสะอาดและสมบูรณ์เท่านั้น

มีมุมหนังสือเล็กๆแต่ทั่วถึง เมื่อพ่อแม่บ่มเพาะวิถีชีวิตของการอ่านแล้วการหยิบหนังสือมานั่งอ่านจะเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายมาก แต่บรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่านก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการอ่านให้มากขึ้นกว่าเดิม นอกจากชั้นหนังสือในห้องนั่งเล่นแล้วคุณพ่อคุณแม่อาจหยิบหนังสือติดรถไว้สักสามเล่ม หรือมีมุมหนังสือเล็กๆในห้องนอนสักหน่อย เด็กๆก็จะมีโอกาสหยิบหนังสือมาอ่านได้บ่อยยิ่งขึ้น

พ่อแม่คือต้นแบบสำคัญ เหนือสิ่งอื่นใดการเห็นแบบอย่างที่ดีคือการเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก เด็กๆจะไม่เชื่อในสิ่งที่พ่อมา “บอก”แต่เขาจะเชื่อในสิ่งที่พ่อแม่ “ทำ” การที่พ่อแม่รักการอ่าน หรือมีวิถีชีวิตที่อ่านหนังสืออยู่เสมอย่อมเป็นสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ลูกตระหนักต่อสิ่งนั้นไปโดยปริยาย

มาช่วยกันสร้างนักอ่านตัวน้อยให้กับประเทศของเรากันมากๆนะคะ



คอนโดแมว , พัดลมมือถือ , หมอนผ้าห่ม , หมอนหัวทุย  , เก้าอี้หัดนั่ง




Create Date : 17 สิงหาคม 2559
Last Update : 17 สิงหาคม 2559 16:13:19 น.
Counter : 872 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3067369
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments