"คลอโรฟิลล์" .. ดีจริง ตามที่โฆษณา หรือว่า แค่หลอกเล่น เหมือนกับที่เคย ๆ ...




ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร คลอโรฟิลล์ ไม่สามารถรักษาโรคได้นะ
https://sure.oryor.com/index.php/detail/media_specify/346

อะไรกันเนี่ย ! อาหารเสริมคลอโรฟิลล์ ช่วยให้เด็กในครรภ์แข็งแรง ช่วยทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ไม่มีหรอกนะ จะบอกให้ 

          ในภาวะที่เร่งรีบ คนปัจจุบันก็สรรหาอาหารเสริมที่บำรุงและรักษาร่างกายง่ายๆ ตามสื่อออนไลน์จึงมีโฆษณาอาหารเสริมคลอโรฟิลล์ โดยอ้างว่าช่วยรักษาโรคต่างๆมากมาย เช่น ช่วยให้เด็กในครรภ์แข็งแรง ขจัดสารพิษและสารตกค้างต่างๆในร่างกาย ซึ่งไม่เป็นความจริง จากการตรวจสอบพบว่า เป็นการกล่าวอ้างของผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคลอโรฟิลล์ดังกล่าว และพบการกล่าวอ้างโฆษณาเกินจริงทางเว็บไซต์ https://www.facebook.com/pages/คลอโรฟิลล์-บ้านสมุนไพรชัยมงคล/372000619543552 และ https://www.bansamonprai.com/bigchlorophyll1.html และจากการตรวจเลขสารบบอาหาร 21-4-00449-1-0001 เป็นผลิตภัณฑ์คลอโรฟิลล์ชนิดน้ำ แจ้งเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตราบ้านสมุนไพร ผลิตโดย บริษัท บ้านสมุนไพรชัยมงคล จำกัด จังหวัดระยอง และพบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวผลิตจากอัลฟัลฟ่า (alfalfa) สกัด ซึ่งอยู่ในรูปของ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ (sodium copper chlorophyllin) ทั้งนี้ มีรายงานวิจัยถึงความเป็นไปได้ของ คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ ว่าเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (bioactive compound) ที่มีศักยภาพในเรื่องของการต้านการกลายพันธุ์ ต้านสารก่อมะเร็ง และต้านอนุมูลอิสระ แต่กลไกดังกล่าวยังไม่เป็นที่แน่ชัด 
        นอกจากนี้ยังมีรายงานถึงการบริโภคคลอโรฟิลล์อาจทำให้เกิดอาการแพ้ มีผื่นคัน และอุจจาระร่วงได้ รวมทั้งพบว่าลิ้นเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือดำ และทำให้สีของปัสสาวะ หรืออุจจาระเปลี่ยนเป็นสีเขียวในผู้บริโภคบางรายอีกด้วย ดังนั้นการโฆษณาว่า น้ำคลอโรฟิลล์ สามารถช่วยขับสารพิษ สารตกค้างต่าง ๆ ทำให้ผิวพรรณสดใส บรรเทาอาการของโรคต่าง ๆ หรือช่วยให้เด็กทารกแข็งแรงกว่าปกตินั้น จึงยังไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัดว่าคลอโรฟิลล์มีคุณสมบัติตามที่กล่าวอ้างจริง

        หากผู้บริโภคพบเห็นการอวดอ้างสรรพคุณผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเกินจริง สามารถร้องเรียนได้ที่เว็บไซต์อย.ได้เลย ซึ่งโทษของการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และการลักลอบใส่สารอันตรายถือเป็นการเข้าข่ายอาหารปลอม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 ถึง 100,000 บาท อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคพบเห็นการอวดอ้างสรรพคุณผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเกินจริง เช่น รักษาสารพัดโรค ช่วยในการลดน้ำหนัก บำรุงร่างกาย ช่วยเรื่องผิวพรรณ เป็นต้น ผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ หรือโฆษณาหลอกลวงให้ผู้บริโภคหลงเชื่อโดยการขายตรง 

        สรุปคือ เพียงรับประทานผัก ผลไม้ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ก็พอแล้ว ที่สำคัญคืออย่าหลงเชื่อสรรพคุณว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสามารถรักษาหรือป้องกันโรคได้ นอกจากจะเสียเงินโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังอาจได้รับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายอีกนะ 

       ดังนั้น มาเช็คชัวร์แชร์กับ อย. กันก่อน อย่าหลงเชื่อกับยาเสริมอาหารที่หลอกลวงและสรรพคุณเกินจริง  นอกจากจะเสียคาใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์แล้ว ยังทำให้ได้รับโทษที่ตามมาอีกด้วย

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::

เพิ่มเติมความเห็นจาก เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
https://www.facebook.com/utai.sukviwatsirikul/posts/1971456199552185

Utai Sukviwatsirikul ได้แชร์โพสต์ .... อาหารเสริม #คลอโรฟิลล์

1. มนุษย์ไม่ใช่พืช เราไม่จำเป็นอยากได้คลอโรฟิลด์มาสังเคราะห์แสง เรากินข้าวปลาอาหารก้อได้พลังงาน

2. คลอโรฟิลล์ที่มาขาย #ไม่ใช่คลอโรฟิลล์แท้ๆ มันคือ #สีผสมอาหาร ราคาถูกๆ แล้วมาใส่ซอง ตอแหลว่ามาจากธรรมชาติ มีสรรพคุณแหกตามากมาย

3. ร่างกายมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆที่มีเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา อยู่มากมาย เพื่อสร้างสมดุลย์ ความเชื่อที่ว่า แดกคลอโรฟิลล์เพื่อล้างสารพิษ Detox ชำระคราบสกปรกออกจากร่างกาย คือ ความเชื่อที่เอามาหลอกขายคนโง่ๆชอบมโนเท่านั้น

4. อยากได้ คลอโรฟิลล์แท้ๆ ไปกินอาหารประเภท สลัด ผักและผลไม้ ที่มีเส้นใย อร่อยกว่า ได้คุณค่าทางโภชนการมากกว่า คุ้มค่ากว่า

กินปุ๊บ ฉลาดปั๊บ ไม่หลงเป็นเหยื่ออาหารเสริมหลอกลวงทั้งหลาย


*******************************

มีคนถามหลายครั้งแล้วเกี่ยวกับ คลอโรฟิลล์ .. พอลองค้นดูในเนต มีแต่ โฆษณา เพียบ

ไปเจอที่น่าจะเป็นวิชาการหน่อย นำบางส่วนมาฝากกัน ถ้าสนใจ ก็แวะไปอ่านฉบับเต็ม ตามลิงค์ที่ลงไว้ได้เลยครับ ..

https://www.dmsc.moph.go.th/webroot/nakhonRatchasima/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_04_%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B9%8C.htm


ภก.บรรจง กิติรัตน์ตระการ

ในอเมริกากำหนดความปลอดภัยของสารคลอโรฟิลลิน (Chlorophyllin) ในผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารหรือใช้เป็นสีผสมอาหารได้ไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ใหญ่ ส่วนเด็กอายุตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป สามารถรับประทานคลอโรฟิลลินได้ในขนาด 90 มิลลิกรัมต่อวัน

รายงานเรื่องการเกิดพิษจากการได้รับสารคลอโรฟิลลินมากเกินกำหนด พบว่า อาจทำให้สีของปัสสาวะหรืออุจจาระเปลี่ยนเป็นสีเขียว และอาจทำให้เกิดท้องเสียได้ นอกจากนี้ ยังพบรายงานการเกิดอาการแพ้สารคลอโรฟิลลิน โดยอาจพบผื่นแพ้ขึ้นตามตัว เวียนศีรษะ เหงื่ออกมากและความดันโลหิตตกอย่างรวดเร็วได้

ในความเป็นจริง คลอโรฟิลล์เป็นสารสีเขียวที่พบในพืชทั่วไป เวลาที่เรา รับประทานผัก ผลไม้ที่มีสีเขียว ร่างกายของเราก็จะได้รับคลอโรฟิลล์ไปด้วย สารคลอโรฟิลล์ที่อยู่ในรูปธรรมชาตินี้ จะอยู่ในรูปคลอโรฟิลล์ที่ละลายในน้ำมัน ตัวอย่างเช่น ในผักชีฝรั่ง 1 ถ้วย มีคลอโรฟิลล์สูงถึง 38 มิลลิกรัม ผักขม 1 ถ้วย มีคลอโรฟิลล์ 23.7 มิลลิกรัม ดังนั้น ถ้าเรารับประทานผัก ผลไม้สดเป็นประจำ ร่างกายก็จะได้รับคลอโรฟิลล์อยู่แล้ว

ในอดีตเราอาจเคยเห็นหมากฝรั่งผสม คลอโรฟิลล์ที่อ้างว่าช่วยลดกลิ่นปากและทำให้ลมปากหอมสดชื่น
ในปัจจุบัน เราอาจเห็นผง คลอโรฟิลล์ ชนิดชงน้ำดื่มที่อ้างว่าช่วยในการล้างสารพิษ และรักสุขภาพ

แนวความคิดเรื่องการใช้ คลอโรฟิลล์ เริ่มจากการที่หมอคนหนึ่ง ได้ออกมาบอกว่า คลอโรฟิลล์ สามารถช่วยรักษาอาการต่างๆได้มากมาย เช่น แผลไหม้ แผลที่เท้า ฮ่องกงฟุต แผลในปาก ทอนซิลอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร ความดันสูง มะเร็ง ฯลฯ

ซึ่งจากการศึกษาข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์แล้ว จะพบว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องไร้สาระมากเพราะมีความจริงทางวิทยาศาสตร์มากมาย ที่ต่างจากการโฆษณาของเขา เช่น ปัจจุบัน (เดือน เมย 2549) ยังไม่มีการสรุปในระดับที่น่าเชื่อถือได้แบบ meta-analysis เกี่ยวกับการใช้ คลอโรฟิลล์ ในทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยจำนวนหนึ่ง ที่ทำกับสารอนุพันธ์ของ คลอโรฟิลล์ ได้แก่ chlorophyllin (ซึ่งเป็น derivative ของ คลอโรฟิลล์) ซึ่งถือเป็นระยะเริ่มต้นมาก ชื่อคล้ายกัน แต่ก็เป็นสารคนละชนิดกัน ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

งานวิจัยที่มีอยู่ เน้นไปที่การใช้เพื่อระงับกลิ่น มีชิ้นหนึ่งทำตั้งแต่ปี 1968 แต่ไม่มีข้อมูลประกอบ ไม่มีบทคัดย่อ และอีกชิ้นหนึ่ง ทำปี 1989 ทดสอบว่าใช้ระงับกลิ่นอุจจาระได้ไหม ปรากฏว่า ไม่ได้ (มีการเทียบผลกับการใช้สารหลอก)

1. คลอโรฟิลล์ ไม่ได้เป็น catalyst (สารช่วยเร่งปฏิกริยา) และ คลอโรฟิลล์ ก็ไม่ได้ผลิต ออกซิเจน จาก คาร์บอนไดออกไซด์ แต่เป็น by product จากการสลายโมเลกุลของน้ำต่างหาก

2. มีคนเปรียบ คลอโรฟิลล์ ว่าเป็น "เลือดของต้นไม้" แต่ในความจริงแล้ว เลือดของคนเราและ คลอโรฟิลล์ มีหน้าที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง

3. คลอโรฟิลล์ ที่ชอบอ้างว่าเป็นสาร"ธรรมชาติ"นั้น แท้จริงแล้ว ในกระบวนการผลิต มันต้องถูก สกัดและทำปฏิกริยาเคมีกับสารอื่นๆ (เช่น acetone, hexane, copper) จนได้สารใหม่ ได้แก่chlorophyllin (ซึ่งเป็น derivative ของ chlorophyll)ที่ไม่ใช่คลอโรฟิลล์ ตามธรรมชาติ

4. พวกที่อ้างว่า คลอโรฟิลล์ สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้นั้น ข้อนี้เป็นจริงครับ แต่ประสิทธิภาพ น้อยมากๆ ยิ่งเทียบกับยาฆ่าเชื้อที่อ่อนที่สุด คลอโรฟิลล์ ยังเทียบชั้นไม่ติดเลย นอกจากนี้ยังพบอีกว่าถึงมันจะยับยั้งเชื้อได้จริง แต่ได้เพียงบางชนิดเท่านั้น และมันก็กลับทำให้เชื้ออื่นๆเติบโตขึ้นมาแทน

5. ฤทธิ์ในการลดกลิ่นปากนั้น มีน้อยมากๆ ถ้าจะให้ได้ผลจริงจะต้องใช้ในความเข้มข้นมากกว่าที่ ขายในปัจจุบันมาก ในสินค้าหลายๆสูตรตำรับที่มีการใช้คลอโรฟิลล์ จะเป็นการใช้เพื่อ"แต่งสี" ให้มีสีน่าทานเท่านั้น ไม่ได้ใช้เพื่อให้มันลดกลิ่นปากจริงๆ

6. คลอโรฟิลล์มีโมเลกุลใหญ่ ไม่สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ (ว่ากันว่า ถ้ามันถูกดูดซึมได้ คนเราคงมีสีเขียว) ดังนั้นพวกที่อ้างว่าสมารถออกฤทธิ์โดยการกินนั้น เป็นเรื่องหลอกลวง เมื่อไม่นานมานี้ มีคนพยายามพิสูจน์ว่ามันสามารถดูดซึมได้ และก็สรุปว่ามันสามารถดูดซึมได้จริง แต่การทดลองดังกล่าวนั้น ไม่ได้ทำในลำไส้มนุษย์และตัว คลอโรฟิลล์ ที่นำมาใช้ก็เตรียมให้อยู่ในรูปพิเศษ ที่สามารถถูกดูดซึมได้ (ประมาณว่ายัดเยียดให้มันดูดซึมให้ได้)

7. คลอโรฟิลล์เอง ไม่ได้มีลักษณะเป็นเส้นใย ไม่สามารถทำให้เกิดการถ่ายอุจจาระให้มากขึ้นแต่อย่างใด (หลายคนชอบเรียกว่า detox) และถึงแม้มันจะทำให้ถ่ายได้มากขึ้น ก็ไม่ได้ช่วยขับสารพิษอะไรออกจากร่างกายแต่อย่างใด

สรุปแล้ว ในปัจจุบันยังไม่พบว่า การกิน คลอโรฟิลล์ จะมีประโยชน์ต่อมนุษย์แต่อย่างใด โดยเฉพาะสาเหตุหลักที่ว่า มันไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายนั่นเองครับ การรับประทานผัก ผลไม้ที่มีสีเขียว ร่างกายของเราก็จะได้รับคลอโรฟีลล์ไปด้วย



แถม ...

คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) บล็อกของคุณ Marquez ซึ่งเป็นเภสัชกร
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=marquez&date=22-09-2006&group=8&blog=1

ความจริง!! เกี่ยวกับน้ำคลอโรฟิลล์
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=bluedolphin&date=31-03-2007&group=5&gblog=5

คลอโรฟิลล์มีสรรพคุณต่างๆที่กล่าวจริงหรือ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
https://www.oknation.net/blog/print.php?id=417559

อีกครั้ง กับคำชี้ชวนเรื่อง อาหารเสริมคลอโรฟิลล์ กับ ฮีม
https://palermos.exteen.com/20080818/entry

อ่านแล้ว ใครจะเชื่อแบบไหน ก็ไม่ว่าอะไรอยู่แล้ว .. เงิน ของตัวเอง สุขภาพของตัวเอง ก็ต้องดูแลกันเองเนอะ


แถม ..


อาหารเสริมหรือเสริมอาหาร จะเอาอะไรกันแน่ ??? อาหารต้านอนุมูลอิสระ ??? ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=11-05-2010&group=7&gblog=57

วิตามิน อาหารเสริม ... โทษมากกว่าคุณ ???
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-04-2010&group=7&gblog=54




Create Date : 23 กันยายน 2553
Last Update : 31 พฤษภาคม 2561 15:15:49 น.
Counter : 19598 Pageviews.

1 comments
  
เมษายน ๒๕๖๐ ... เรื่องราวเดิม ๆ ๆ ๆ

ระวัง! อย่าหลงเชื่อโฆษณาโม้เกินจริงของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคลอโรฟิลล์ พบโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต แอบอ้าง รมช.สธ. เป็นลูกค้า ดำเนินคดีเฉียบกับผู้กระทำผิด

//oryor.com/oryor2015/news-detail.php?cat=51&id=346

อย. รุดตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคลอโรฟิลล์ตามที่เป็นข่าว พบมีการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต โอ้อวดสรรพคุณเกินจริงว่าบำรุงร่างกาย ทำให้แข็งแรง ที่สำคัญยังพบแอบอ้างชื่อ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นลูกค้า ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด วอนผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อ ย้ำ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยา ไม่สามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้ หากอยากได้รับคลอโรฟิลล์ หันมารับประทานผักกันให้มากดีกว่า อย.จะดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดอย่างเข้มงวด

นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ตามที่มีข่าวทางสื่อออนไลน์ โฆษณาสรรพคุณของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคลอโรฟิลล์ว่า “เยี่ยมน้าเพิ่งคลอดได้ 7 วัน นี่คือเด็ก 7 วัน เด็กหนักเกือบ 5 กิโลกรัม เพราะตอนท้องทานคลอโรฟิลล์ คลอดออกมาก็ดื่มต่อเนื่อง ร่างกายแข็งแรงมาก” นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความห่วงใยผู้บริโภค เกรงจะตกเป็นเหยื่อและหลงเชื่อหาซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคลอโรฟิลล์ดังกล่าวมารับประทาน ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า เป็นการกล่าวอ้างของผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคลอโรฟิลล์ดังกล่าว และพบการกล่าวอ้างโฆษณาเกินจริงทางเว็บไซต์//www.facebook.com/pages/คลอโรฟิลล์-บ้านสมุนไพรชัยมงคล/372000619543552 และ http:www.bansamonprai.com/bigchlorophyll1.html และจากการตรวจเลขสารบบอาหาร 21-4-00449-1-0001 เป็นผลิตภัณฑ์คลอโรฟิลล์ชนิดน้ำ แจ้งเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตราบ้านสมุนไพร ผลิตโดย บริษัท บ้านสมุนไพรชัยมงคล จำกัด จังหวัดระยอง และพบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวผลิตจากอัลฟัลฟ่า (alfalfa) สกัด ซึ่งอยู่ในรูปของ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ (sodium copper chlorophyllin) ทั้งนี้ มีรายงานวิจัยถึงความเป็นไปได้ของ คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ ว่าเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (bioactive compound) ที่มีศักยภาพในเรื่องของการต้านการกลายพันธุ์ ต้านสารก่อมะเร็ง และต้านอนุมูลอิสระ แต่กลไกดังกล่าวยังไม่เป็นที่แน่ชัด นอกจากนี้

ยังมีรายงานถึงการบริโภคคลอโรฟิลล์อาจทำให้เกิดอาการแพ้ มีผื่นคัน และอุจจาระร่วงได้ รวมทั้งพบว่าลิ้นเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือดำ และทำให้สีของปัสสาวะ หรืออุจจาระเปลี่ยนเป็นสีเขียวในผู้บริโภคบางรายอีกด้วย ดังนั้น การโฆษณาว่า น้ำคลอโรฟิลล์ สามารถช่วยขับสารพิษ สารตกค้างต่าง ๆ ทำให้ผิวพรรณสดใส บรรเทาอาการของโรคต่าง ๆ หรือช่วยให้เด็กทารกแข็งแรงกว่าปกตินั้น จึงยังไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัดว่า คลอโรฟิลล์มีคุณสมบัติตามที่กล่าวอ้างจริง
กรณีมีการการอ้างถึง นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นลูกค้าของบ้านสมุนไพรดังกล่าว ขอให้ผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อการแอบอ้าง ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอีกด้วย

เลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า ขอให้ผู้บริโภคใช้วิจารณญาณพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนว่า มีความจำเป็นหรือไม่ที่ต้องดื่มน้ำคลอโรฟิลล์ และถ้าหากอยากได้รับคลอโรฟิลล์ เพียงรับประทานผักมาก ๆ นอกจากร่างกายจะได้รับคลอโรฟิลล์แล้ว ยังได้รับใยอาหารที่ช่วยเรื่องระบบขับถ่ายอีกด้วย ที่สำคัญ อย่าได้หลงเชื่อสรรพคุณว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสามารถรักษาหรือป้องกันโรคได้ นอกจากจะเสียเงินโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังอาจได้รับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายโดยคาดไม่ถึง ที่สำคัญ มีข้อห้ามบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในเด็ก และสตรีมีครรภ์เด็ดขาด พร้อมทั้งขอให้ผู้ประกอบการทุกรายเห็นแก่ความปลอดภัยของผู้บริโภค ดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม อย่าโฆษณาด้วยวิธีการต่าง ๆ ในลักษณะที่เกินเลยความเป็นจริง ซึ่งโทษของการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณ

มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และการลักลอบใส่สารอันตรายถือเป็นการเข้าข่ายอาหารปลอม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 ถึง 100,000 บาท อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคพบเห็นการอวดอ้างสรรพคุณผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเกินจริง เช่น รักษาสารพัดโรค ช่วยในการลดน้ำหนัก บำรุงร่างกาย ช่วยเรื่องผิวพรรณ เป็นต้น ผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ หรือโฆษณาหลอกลวงให้ผู้บริโภคหลงเชื่อโดยการขายตรง ขอให้แจ้งร้องเรียนมายังสายด่วน อย. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อทางราชการจะได้ตรวจสอบและ ดำเนินการทางกฎหมายอย่างเข้มงวดต่อไป
- See more at: //oryor.com/oryor2015/news-detail.php?cat=51&id=346#sthash.H0jw8uVU.dpuf
โดย: หมอหมู วันที่: 13 เมษายน 2560 เวลา:18:32:59 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]

บทความทั้งหมด