ผู้ป่วยไม่ใช่ผู้บริโภค : Patients are not Consumers



ผู้ป่วยไม่ใช่ผู้บริโภค : Patients are not Consumers


By Dr.Paul Krugman ( Nobel Prize Economist 2008)
Professor of Economics and International Affairs Princeton University
(From the New York Times - April 21,2011)

แปลและเรียบเรียงโดย
- Dr. Sue Kantha. Ph.D (University of Florida)
- นพ. วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี วท.บ.,พบ., วว.(ศัลยศาสตร์)
นบ.(เกียรตินิยมอันดับ2), บ.ปค.(บัณฑิตทางกฎหมายปกครอง), ป.วิชาว่าความ สภาทนายความ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------




จากรายงานของนิตยสารไทม์ก่อนหน้านี้ว่ารัฐสภาได้ตีกลับคณะกรรมการที่ปรึกษาอิสระด้านการใช้จ่ายซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการพยายามควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลของรัฐ ซึ่งการตีกลับนี้เป็นที่คาดการณ์ได้อยู่แล้วและถือว่าขาดความรับผิดชอบเป็นอย่างมากด้วย ดังที่ผมจะอธิบายต่อไป

สิ่งที่สะดุดตาผมในขณะที่ผมพิจารณาดูที่เหตุผลข้อโต้แย้งของ พรรครีพับลิกันที่มีต่อคณะกรรมการฯซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวกับความเข้าใจว่า สิ่งที่เราต้องทำตามข้อเสนอของกรรมาธิการงบประมาณของสภาอย่างแท้จริงก็คือ “ทำให้นโยบายของรัฐในการรักษาพยาบาลตอบสนองต่อทางเลือกของผู้บริโภคให้มากยิ่งขึ้น”และนี่คือคำถามของผมว่าทำไมมันถึงกลายเป็นเรื่องปกติหรือยอมรับกันได้ที่ไปกำหนดให้“ผู้ป่วย”กลายเป็น“ผู้บริโภค”ได้



ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและแพทย์นั้นเคยเป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบพิเศษซึ่งบางครั้งเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นความยกย่องนับถือและให้เกียรติซึ่งกันและกันโดยเฉพาะ แต่ในปัจจุบันนี้บรรดานักการเมืองหรือพวกที่อ้างว่าเป็นนักปฏิรูปมักกล่าวถึงงานทางด้านการรักษาพยาบาลในลักษณะที่ไม่ต่างไปจากการทำธุรกรรมในเชิงพาณิชย์ เช่นการซื้อรถยนต์สักคันหนึ่ง และคิดว่าสิ่งเดียวที่พวกเขายังไม่พอใจก็คืองานทางด้านการรักษาพยาบาลยังไม่เป็นธุรกิจได้เพียงพอตามที่พวกเขาต้องการเท่านั้น




#มันเกิดความผิดพลาดอะไรกับพวกเราหรือ ?

สำหรับคณะกรรมการที่ปรึกษาฯนั้น: เราต้องทำอะไรบางอย่างเกี่ยวกับรายจ่ายด้านสุขภาพซึ่งหมายถึงว่าเราต้องหาทางที่จะเริ่มต้นการปฏิเสธการจ่ายบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะที่นวัตกรรมความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ระบบMedicare จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ถ้าจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับทุกๆอย่างที่แพทย์แนะนำ และมันยิ่งเป็นความจริงยิ่งขึ้นเมื่อระบบที่เหมือนการเซ็นเช็คเปล่าได้ถูกรวมเข้ากับระบบซึ่งเปิดโอกาสแก่แพทย์และรพ.(ซึ่งไม่ใช่นักบุญ)จะให้การรักษาพยาบาลที่เกินพอดีโดยมีแรงจูงใจทางด้านการเงิน

ดังนั้นคณะกรรมการที่ปรึกษาฯที่จะต้องปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายการปฏิรูปสุขภาพเมื่อปีที่แล้ว คณะกรรมการที่ปรึกษาฯซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาธารณสุขจำนวนมากได้ถูกกำหนดเป้าหมายของอัตราการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายของMedicareโดยการพยายามทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพให้เท่ากับหรือต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้โดยคณะกรรมการฯจะต้องยอมและเสนอข้อแนะนำแบบเร่งด่วนที่เรียกว่า“Fast-tract”เพื่อที่จะควบคุมค่าใช้จ่าย ซึ่งวิธีนี้จะมีผลบังคับโดยอัตโนมัติทันที ยกเว้นว่าจะถูกคัดค้านโดยรัฐสภา




ก่อนที่พวกคุณจะเริ่มต้นร้องโวยวายเกี่ยวกับ “นโยบายการแบ่งสันปันส่วน”และ “Death panels”(คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อการแนะนำว่าผู้ป่วยรายใดสมควรปล่อยให้เสียชีวิต) พึงระลึกไว้เสมอว่าเราไม่ได้หมายความถึงการจำกัดสิทธิของคุณในการรับการรักษาพยาบาลที่จ่ายด้วยเงินตัวเองหรือจ่ายโดยบริษัทประกันของคุณ แต่เรากำลังพูดถึงเฉพาะประเด็นว่าเราจะใช้จ่ายเงินที่มาจากภาษีอากรของประชาชนไปเพื่อประโยชน์อะไรบ้าง และเมื่อย้อนไปดูถึงคำประกาศอิสรภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา(Declaration of Independence)ก็ไม่ได้ประกาศว่า “เราทุกคนมีสิทธิในชีวิต เสรีภาพ และการแสวงหาความสุขที่มีผู้จ่ายค่าใช้จ่ายให้แล้ว”


ประเด็นอยู่ที่ว่าเมื่อต้องมีการตัดสินใจเลือกไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ค่าใช้จ่ายของรัฐเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจะต้องถูกจำกัดลง


ปัจจุบันข้อเสนอของผู้แทนจากฝ่ายรีพับริกัน (House Republican) ก็คือให้รัฐบาลผลักปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่สูงขึ้นเรื่อยๆไปที่ผู้สูงอายุ โดยการเปลี่ยนระบบ Medicare ไปเป็นระบบการใช้ใบรับรองค่าใช้จ่าย(Vouchers) ซึ่งผู้ป่วยสามารถนำไปใช้กับบริษัทประกันภัยเอกชน(private insurance)ได้ ซึ่งคาดว่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีการใดก็ตาม ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าน่าจะดีกว่า ระบบที่ต้องผ่านการทบทวนหรือพิจารณาจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ (expert review )เพราะว่ามันจะเป็นการนำเรื่องการรักษาพยาบาล(health care)เข้าไปสู่ความมหัศจรรย์ของระบบทางเลือกของผู้บริโภค(consumer choice)




ความคิดนี้ผิดพลาดอย่างไร(นอกเหนือจากข้อด้อยของระบบใบรับรองค่าใช้จ่ายที่ได้เสนอมาแล้ว:proposed vouchers) คำตอบหนึ่งก็คือมันจะไม่ได้ผล “การรักษาพยาบาลที่ใช้ผู้บริโภคเป็นหลัก (Consumer-based Medicine) ได้กลายเป็นความล้มเหลวในทุกที่ที่มีการลองใช้ ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องที่ชัดเจนก็คือ การนำระบบMedicare Advantage มาใช้แทนระบบ Medicare+Choice ซึ่งคาดว่าจะช่วยประหยัดงบประมาณแต่สุดท้ายก็จบลงด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าระบบดั้งเดิมของ Medicare (Traditional Medicare)


ประเทศสหรัฐอเมริกา มีระบบการรักษาพยาบาลที่ถูกผลักดันจากผู้บริโภคมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆที่พัฒนาแล้ว มีค่าใช้จ่ายสูงสุดแต่คุณภาพของการดูแลไม่ได้ดีไปกว่าระบบที่ถูกกว่าในประเทศอื่นๆ

แต่ความเป็นจริงที่ฝ่ายรีพับลิกันกำลังต้องการก็คือกำลังผูกติดระบบสุขภาพหรือแม้แต่ชีวิตของเราไว้กับระบบที่ล้มเหลวไปเรียบร้อยแล้วซึ่งก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความผิดพลาดนี้


ตามที่ผมได้เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่าถือเป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์กับความเห็นที่ว่า “คนไข้คือผู้บริโภค”และว่า “การรักษาพยาบาลคือการทำธุรกรรมทางการเงินธรรมดาๆ”


ถึงที่สุดแล้ว การรักษาพยาบาลเป็นอะไรที่ต้องมีการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดเกี่ยวกับความเป็นความตาย

การจะเกิดการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดเช่นว่านั้นได้ต้องอาศัยภูมิความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างมากมายมหาศาล

นอกเหนือจากนั้นก็คือการตัดสินใจดังกล่าวต้องกระทำภายใต้เงื่อนไขพิเศษเช่นผู้ป่วยอยู่ในภาวะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้(Incapacitate) หรืออยู่ในภาวะที่มีความเครียดอย่างรุนแรง(severe stress)หรือต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนทันทีทันใด โดยไม่มีเวลาที่จะพูดคุย แลกเปลี่ยนกันหรือแม้แต่มีเวลาที่จะหาทางเลือกอื่นเพื่อการเปรียบเทียบเลย(let alone comparison shopping)


ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการที่เราต้องมี “Medical Ethics” “หลักจริยธรรมหรือจรรยาบรรณทางการแพทย์” ทำไมแพทย์ถึงต้องมีวิถีประเพณีปฏิบัติที่ดูแล้วเป็นพิเศษ เป็นที่คาดหวัง ในมาตรฐานที่สูงกว่าอาชีพอื่นๆโดยเฉลี่ย และนั่นคือเหตุผลที่เรามี รายการTV ที่เกี่ยวกับ แพทย์วีรบุรุษ(Heroic Doctor)แต่ไม่มีใครทำรายการ TV เกี่ยวกับ ผู้จัดการวีรบุรุษ (Heroic middle Managers)


แนวความคิดที่ว่าสิ่งต่างๆทั้งหมดนี้สามารถทดแทนได้ด้วย “เงิน” โดยคิดว่า “แพทย์”เป็นเพียง “ผู้ขายบริการ”(selling service) หรือ “ผู้ให้บริการ”(provider) การรักษาพยาบาล ให้กับ “ผู้ป่วย”ที่เป็น “ผู้บริโภค”(Consumers) แล้วละก็ นอกจากจะถือว่าเป็นความคิดที่แสนจะแย่และพิกลพิการแล้ว การใช้คำพูดในลักษณะนี้บ่อยๆครั้ง ยังเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความไม่ถูกต้องเป็นอย่างมากไม่เฉพาะแต่ประเด็นที่กำลังถกเถียงกัน แต่ยังชี้ให้เห็นว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรงได้เกิดขึ้นกับคุณค่าทางสังคมของเราแล้ว…










ปล.อ่านแล้วคุ้น ๆ เนอะ



Create Date : 10 มีนาคม 2555
Last Update : 10 มีนาคม 2555 0:34:37 น.
Counter : 2330 Pageviews.

2 comments
นอนให้พอดี ชีวิตจะดีทั้งกายและใจ สุดท้ายที่ปลายฟ้า
(1 ก.ค. 2568 13:56:39 น.)
Day..14 โฮมสเตย์ริมน้ำ
(26 มิ.ย. 2568 08:37:37 น.)
ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจที่โรงพยาบาล Mount Sinai ได้นำเสนอผลเบื้องต้นของ Sofiya ซึ่งเป็นผู้ช่วย..... newyorknurse
(25 มิ.ย. 2568 06:26:23 น.)
Day..10 โฮมสเตย์ริมน้ำ
(16 มิ.ย. 2568 12:13:29 น.)
  

//prachatai.com/journal/2012/11/43482

การรักษาเป็นสินค้าและความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้ในฐานะผู้บริโภค

Mon, 2012-11-05 13:41

ภาคภูมิ แสงกนกกุล



ภายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาระบบสาธารณสุขไทยเป็นระยะเปลี่ยนผ่าน การเปลี่ยนแปลงต่างๆเพื่อให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงโลก เปลี่ยนสถานภาพของแพทย์ในประเทศไทยที่มีสถานะเป็นที่ยอมรับในสังคมในฐานะผู้เสียสละเพื่อรักษาชีวิตของสังคมเป็นผู้ให้บริการ นอกจากนี้การเติบโตของธุรกิจการแพทย์ทำให้ภาพของแพทย์บางส่วนที่ผู้ป่วยมองว่าเป็นผู้มีพระคุณกลายเป็นพ่อค้า และเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้จากเดิมที่ดีกลายเป็นภาพขัดแย้งไม่เข้าใจมากขึ้น และมีการฟ้องร้องมากขึ้น [1] ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญจนฝ่ายนโยบายสาธารณสุขเช่นสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ หามาตรการเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างแพทย์คนไข้ [2]



ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ 4 แบบ

ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 4 แบบคือ [3]

• ความสัมพันธ์แบบพ่อปกครองลูก (parternalistic model) เป็นความสัมพันธ์ที่แพทย์มีลักษณะเหมือนผู้ปกครองผูกขาดการตัดสินเพียงผู้เดียวในการเลือกการรักษาให้กับคนไข้ เพราะผู้ป่วยเป็นผู้ที่ไม่รู้อะไรเลยในการรักษา แพทย์เป็นผู้รู้ดีและเต็มไปด้วยปราถนาที่ต้องการให้ผู้ป่วยหายจากการป่วยและจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้คนไข้ ผู้ป่วยต้องทำตามที่แพทย์สั่งโดยห้ามขัดขืน

• ความสัมพันธ์แบบกึ่งเสรี (deliberative model) เป็นความสัมพันธ์ที่แพทย์เสมือนครูหรือเพื่อนที่หวังดีกับคนไข้แพทย์มีหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารและชักชวนให้ผู้ป่วยเลือกการรักษาที่แพทย์คิดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของคนไข้ สิ่งที่แตกต่างจากแบบแรกคือ ผู้ป่วยมีการตัดสินใจเองว่าจะทำหรือไม่ทำตามที่แพทย์พูด

• ความสัมพันธ์แบบการแปล (interpretative) เป็นความสัมพันธ์ที่แพทย์เปรียบเสมือนเป็นที่ปรึกษาของคนไข้ โดยคนไข้เป็นผู้มีความรู้และสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์และข้อมูลที่ซับซ้อนได้ เพียงแต่ต้องอาศัยการอธิบายจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแปลสารที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายให้แก่ผู้ป่วย

• ความสัมพันธ์แบบให้ข้อมูลข่าวสาร (informative model) เป็นความสัมพันธ์ที่แพทย์มีลักษณะเป็นช่างเทคนิคที่เชี่ยวชาญการรักษาและมีหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารทุกอย่างทั้งข้อดีข้อเสียของการรักษาทุกชนิดและสร้างตัวเลือกต่างๆให้กับผู้ป่วยซึ่งอยู่ในสถานะผู้บริโภค มื่อได้รับข้อมูลแล้วก็สามารถไตร่ตรองได้เองว่าจะเลือกการรักษาในฐานะเป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายตัวเองดีที่สุด

ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จวบจนศตวรรษที่แล้วเป็นความสัมพันธ์ลักษณะพ่อปกครองลูก ที่แพทย์ผูกขาดการตัดสินใจจากคนไข้หมด การรักษาที่ดีจึงขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์และคนไข้ คือถ้ามีความสัมพันธ์ดีก็มีโอกาสที่แพทย์จะทุ่มเทการรักษาอย่างเต็มที่ และต้องอาศัยจริยธรรมส่วนตัวของแพทย์

สาเหตุที่ความสัมพันธ์เป็นแบบพ่อปกครองลูกเพราะ ความไม่สมมาตรด้านข้อมูลระหว่างแพทย์และคนไข้ การเข้าถึงข้อมูลอย่างยากลำบากของคนไข้ ความซับซ้อนของความรู้ด้านการแพทย์ ความสัมพันธ์ของคนไข้และแพทย์แบบเก่าจึงวางอยู่บนความไม่เสมอภาค โดยที่คนไข้ได้สูญเสียอธิปไตยในการตัดสินใจไปให้กับแพทย์และอยู่ในรูปแบบของการมอบอำนาจให้แพทย์ตัดสินใจ « Tutelle médicale » [5]


อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็วและการเติบโตของธุรกิจการแพทย์ เปิดโอกาสให้แพทย์สามารถหากำไรได้จากความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลและอำนาจตัดสินใจผูกขาดที่อาจเลือกการรักษาที่ไม่จำเป็นให้คนไข้เพื่อเพิ่มรายได้กับตนเองและอาจสร้างความไม่ไว้วางใจระหว่างแพทย์คนไข้ สภาพการณ์ปัจจุบันจริยธรรมของแพทย์เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอและต้องอาศัยการเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับคนไข้ ด้วยผลดีของเทคโนโลยีปัจจุบันส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลมากขึ้นผู้ป่วยสามารถหาข้อมูลที่มีความสลับซับซ้อนได้มากขึ้นและทั่วถึงกับประชาชน ทำให้ผู้ป่วยมีอำนาจทางข้อมูลมากขึ้นและสามารถมีอำนาจต่อรองกับแพทย์และดึงอำนาจตัดสินใจจากแพทย์มาสู่ตนเองอีกครั้ง

ผู้ป่วยจากเดิมที่มีลักษณะตั้งรับ (passive) กลายมาเป็นผู้ป่วยที่มีความอิสระ (autonomy) พวกเขาไม่ใช่ผู้ป่วยที่เชื่อง ต้องเชื่อฟังคำสั่งทุกอย่างจากแพทย์โดยไม่รู้ว่าแพทย์ทำสิ่งที่ดีหรือแย่กับตน แต่ผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยที่รับรู้ เรียนรู้ได้ ว่าการรักษาใดที่ดีสำหรับตน ตัดสินใจได้ด้วยตัวเองและมีแขนขาสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ถึงแม้ตนเองจะป่วยอยู่ก็ตาม

แนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ทั่วโลกค่อนข้างจะเปลี่ยนจากระบบพ่อปกครองลูกเปลี่ยนเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะผู้ป่วยเป็นผู้บริโภค อย่างไรก็ตามก็มีการโต้แย้งกับแนวความคิดดังกล่าว [6] โดยเห็นว่าการรักษาไม่ควรเป็นสินค้าแต่ควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนมีสิทธิเข้าถึง และอาจมองว่าโมเดลผู้ป่วยเป็นผู้บริโภคจะเป็นการบั่นทอนความสัมพันธ์อันดีระหว่างแพทย์และคนไข้

ข้อโต้แย้งดังกล่าวเป็นสิ่งที่น่าคิด แต่ควรแยกออกจากกันก่อนว่า การแพทย์เชิงพาณิชย์ที่ลดทอนสิทธิการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วยและโมเดลผู้ป่วยเป็นผู้บริโภคเป็นคนละเรื่องกัน ในประเทศฝรั่งเศสที่จัดหาการบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึงให้กับประชาชนทุกคนหรือแม้แต่ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ถึงแม้บางรายไม่ได้เป็นผู้เสียภาษีเลยก็ตาม ต่างก็เปลี่ยนเป็นโมเดลผู้บริโภค โดยมองว่าเป็นการเพิ่มอำนาจและสิทธิของผู้ป่วยและเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการประชาธิปไตยในระบบสาธารณสุข สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคมีความแข็งแกร่งและสามารถเป็นปากเป็นเสียงให้กับคนไข้ที่เดือดร้อนจากการรักษาที่ผิดพลาดของแพทย์ได้



เชิงอรรถ

[1] //www.doctor.or.th/clinic/detail/7043

[2] มติและข้อเสนอจากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๑

[3] //www.med.yale.edu/intmed/resources/docs/Emanuel.pdf

[4] //www.who.int/genomics/public/patientrights/en/

[5] Claude Le Pen, « Patient » ou « personne malade » ? Les nouvelles figures du consommateur de soins, Revue économique-vol.60, N°2 mars 2009, p.258.

[6] //www.mat.or.th/file_attach/22Mar201205-AttachFile1332376445.pdf



โดย: หมอหมู วันที่: 10 พฤศจิกายน 2555 เวลา:13:16:10 น.
  
ทักทายจ้า นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วนเมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt สลายไขมันด้วยความเย็น CoolSculpting romrawin รมย์รวินท์ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime อัลเทอร่า Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน กำจัดขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ เลเซอร์ขนรักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขนถาวร เลเซอร์ขน กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Pico Pico NCTF 135 HA Rejuran Belotero Revive Glassy Skin Juvederm Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra Sculptra Radiesse UltraClear Aviclear Laser AviClear Laser Aviclear Aviclear AviClear Accure Laser Accure สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Fit Firm Emsculpt สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Elite Apex ให้ใจ สุขภาพ
โดย: น้องเมย์น่ารัก วันที่: 9 มกราคม 2568 เวลา:10:28:26 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]

บทความทั้งหมด