ทุ่ม 4 หมื่น ล.ผลิตแพทย์เพิ่มมหา'ลัยรัฐ-เอกชนเปิดคณะรองรับ
Wed, 2013-03-13 13:48
//www.healthfocus.in.th/content/2013/03/2548 ปัจจุบันประเทศไทยมีแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ประมาณ 3 หมื่นคน เทียบกับจำนวนประชากรไทยขณะนี้ประมาณ 64 ล้านคน หรือเรียกได้ว่า แพทย์ 1 คน จะต้องดูแลประชากร ที่วันหนึ่งอาจต้องเข้าใช้บริการทางการแพทย์ถึง 2 พันคน ยังไม่นับรวมประชากรแฝง อย่างคนต่างด้าวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางมาใช้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทยที่มีจำนวนมากขึ้นทุกปี
โดยสัดส่วนของแพทย์ต่อประชากรที่สมดุลและมีการดูแลอย่างทั่วถึงนั้น จะต้องมีแพทย์ 1 คนต่อประชากร 500 คน หมายความว่าในจุดสมดุลไทยจะต้องมีแพทย์ 1.2 แสนคน และยังมีความต้องการแพทย์เพิ่มอีกกว่า 9 หมื่นคน
ถึงแม้คณะแพทยศาสตร์จะเป็นคณะฮอตฮิตของเด็กที่เรียนสายวิทยาศาสตร์มาโดยตลอด แต่กลับถูกจำกัดด้วยจำนวนที่นั่ง ในมหาวิทยาลัย ซึ่งมีเพียง 20 แห่งที่ เปิดรับ ทำให้การผลิตแพทย์มีความขาดแคลน อย่างไรก็ดี รัฐได้เข้ามาดูแลปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่มหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนได้ขยายแนวทางในการเพิ่มจำนวนนักศึกษาให้มากขึ้น
ทุ่ม 4 หมื่นล้านผลิต 9 พันคน
เมื่อ 18 ธ.ค. 2555 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้ดำเนินโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทยปี 2556-2560 เพื่อผลิตแพทย์ให้เพียงพอต่อความต้องการด้านบริการการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ แก้ปัญหาการกระจายแพทย์ตามภูมิภาค โดยมีเป้าหมายผลิตแพทย์เพิ่ม 5 รุ่น จำนวน 9,039 คน ประกอบด้วยโครงการผลิตแพทย์เพิ่ม โดยกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) 4,038 คน และโครงการผลิตแพทย์ชนบทเพิ่ม ภายใต้ความร่วมมือของ ศธ. และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) 5,001 คน จากการผลิตแพทย์ตามแผนปกติที่มีอยู่เดิม 4,780 คน
เมื่อรวมแล้วเป็นการผลิตแพทย์ 13,819 คน และได้อนุมัติงบประมาณกว่า 4 หมื่นล้านบาทสำหรับการผลิตแพทย์เพิ่มให้กับสถาบันฝ่ายผลิตแพทย์ สธ. และโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองจากแพทยสภา
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 12 ก.พ.ที่ผ่านมา ครม.ได้เห็นชอบงบประมาณกว่า 4 พันล้านบาท สำหรับโครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์พร้อมระบบสาธารณูปโภคของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ในการสร้างอาคารศูนย์การแพทย์ให้บริการทางการแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรองรับการบริการที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ม.รัฐเปิดหลักสูตรเพิ่ม
ในปีการศึกษา 2556 มีมหาวิทยาลัยรัฐ 2 แห่งที่เริ่มเปิดหลักสูตรด้านการแพทย์ แห่งแรกคือมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่เพิ่งเปิดสำนักวิชาแพทยศาสตร์ไปเมื่อเร็ว ๆ นี้
"รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ" อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เปิดเผยว่า ในหลักสูตรดังกล่าวจะเปิดรับนักศึกษารุ่นแรก 32 คน หากมีความพร้อมด้านการเรียนการสอนมากขึ้นก็จะรับเพิ่มเป็น 48 คน และ 60 คนตามลำดับ โดยมหาวิทยาลัยจะเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาสามารถประกอบอาชีพรับผู้ป่วยต่างชาติและผู้ป่วยเขตร้อนด้วย
"ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการขอ งบประมาณรัฐบาลประมาณ 2.3 พันล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงพยาบาลขนาด 400 เตียง เพื่อรองรับการฝึกงานของนักศึกษา และใช้เป็นงบประมาณจัดหาอาจารย์และบุคลากร ระหว่างนี้ได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และโรงพยาบาลกลางของกรุงเทพมหานคร สำหรับเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 5-6 ไปก่อน"
เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ในระหว่างการเตรียมเปิดสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ เป็นแห่งแรกของประเทศ โดยมีแผนจะรับนักศึกษาจำนวน 30 คนในปีการศึกษา 2556
นอกจากนี้ สภามหาวิทยาลัยยังได้อนุมัติให้มีการจัดตั้งวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติ
ในปี 2558 เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเปิดสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ คาดว่าจะรับนักศึกษาปีละ 40 คน โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือนักศึกษาจากประเทศตะวันออกกลาง และจะมีการจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาจากประเทศลาว, เวียดนาม และกัมพูชาด้วย
มหา'ลัยเอกชนขยับเปิดแห่งที่ 2
สำหรับมหาวิทยาลัยเอกชนที่เปิดวิทยาลัยแพทยศาสตร์มา 24 ปี อย่างมหาวิทยาลัยรังสิต ผลิตแพทย์ไปแล้วกว่า 1,200 คน โดยนักศึกษาที่จบไปส่วนใหญ่เลือกทำงานในโรงพยาบาลของรัฐ โดยในปีนี้มีแผนรับ นักศึกษาแพทย์เพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา จากเดิม 100 คน เป็น 130 คน
"ผศ.ดร.นเรฏฐ์ พันธราธร" รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาเราได้ทำความร่วมมือกับสถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์ เพื่อส่งนักศึกษาไปฝึกปฏิบัติ ในโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลราชวิถี และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) ปีนี้จึงขยาย ความร่วมมือกับโรงพยาบาลเลิดสิน เพิ่มเติม และมีการเปิดรับนักศึกษาเพิ่ม โดยมีค่าเทอมของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ตกปีละ 4.5 แสนบาท
และล่าสุดปีนี้มหาวิทยาลัยสยามได้เปิดตัวคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งที่ 2 ที่เปิดสอนในคณะดังกล่าว
"ดร.พรชัย มงคลวนิช" อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม เล่าว่า ทางมหาวิทยาลัยต้องการผลิตแพทย์เข้ามารองรับความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะคนที่อยู่พื้นที่ต่างจังหวัด อีกทั้งการเปิดประชาคมอาเซียนจะทำให้คนจากประเทศอาเซียนเข้ามาใช้บริการสาธารณสุขในไทยมากขึ้น
"เราร่วมมือกับโรงพยาบาลตำรวจในการเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ ซึ่งมีประสบการณ์การสอนกว่า 20 ปี กับการฝึกนักศึกษาแพทย์ให้กับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยมหิดล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้ตั้งเป้ารับนักศึกษารุ่นแรก 48 คน มีค่าเทอมอยู่ที่ 5 แสนบาทต่อปี"
"พล.ต.ท.น.พ.จงเจตน์ อาวเจนพงษ์" นายแพทย์ใหญ่ (สบ 8) โรงพยาบาลตำรวจ ให้มุมมองเกี่ยวกับการผลิตแพทย์ ว่า ประเทศไทยควรเปลี่ยนนโยบายด้านการผลิตแพทย์ที่ยึดติดกับสถาบันการศึกษาของรัฐ และไม่เชื่อมั่นในมาตรฐานภาคเอกชน
"จากผลการสอบใบประกอบโรคศิลปะ พบว่าอัตราการสอบได้ของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเอกชนเทียบเท่าหรือมากกว่านักศึกษาจากภาครัฐบาล ซึ่งเห็นว่าควรมีความร่วมมือกัน เพราะภาครัฐมีบุคลากรที่มีความสามารถ ขณะที่ภาคเอกชนก็มีเงินลงทุนและการบริหารจัดการที่ดี ถ้ามารวมกันก็จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ ช่วยเหลือประเทศชาติได้"
อาจเป็นทางเลือกและทางรอดของประเทศที่จะช่วยผลิตแพทย์ให้มากขึ้น เพื่อรองรับด้านสาธารณสุขของคนไทยที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 14 - 17 มี.ค. 2556
กระทู้ ที่เกี่ยวข้อง ล่าสุด .. มีคนแจมเพียบ ..
เมืองไทยแพทย์น้อยจัง มหาลัยแพทย์น่าจะรับนิสิตเยอะกว่านี้
//pantip.com/topic/30181761/comment23
คงต้องรอติดตามกันต่อไปว่า จะแก้ไขปัญหา หรือ จะกลายเป็นปัญหาใหม่ ?

นำข้อมูลมาฝาก ...
แพทยสภา สรุปข้อมูล 2555
โหลดเอกสาร pdf ได้ที่ .. //www.mediafire.com/?qb2jxznghu0p9qo
แถม บทความเกี่ยวกับ การลาออกของแพทย์ ด้วยละกัน ..
จริงหรือ ? อาชีพในฝันปัจจุบัน ไม่ใช่ยุคของ "แพทย์" ! ....
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-03-2009&group=7&gblog=20
ทำไม ผมถึงลาออกจากราชการ .... เรื่องเก่าเขียนไว้ตั้งแต่ปี 2551 เอามาเล่าสู่กันฟัง
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-01-2011&group=15&gblog=37
ปัญหาสาธารณสุขไทย ความจริงของ แพทย์ไทย กับอนาคตไร้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-11-2012&group=7&gblog=169
สาเหตุที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ ... เคยมีการวิจัยมาเพียบ เมื่อไหร่จะเริ่มแก้ไข ???
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2010&group=7&gblog=140
หมอไทยวิกฤติแล้ว คนเก่ง ยี้ เรียนแพทย์ ....
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-03-2009&group=7&gblog=19


29 มีนาคม 2013 · https://www.facebook.com/photo.php?fbid=503693066358171&set=a.503535493040595.1073741910.100001524474522&type=1&theater
ผมอยากให้ผู้บริหารเลิกบ่นเรื่องการผลิตแพทย์เพิ่มเหมือนแผ่นเสียงตกร่องเสียที ?!?!
แพทยสภาผลิตแพทย์เพิ่มมากจนเรากังวลว่ามากกว่านี้ เราจะได้ "คุณภาพ"ที่ต่ำเท่าเพื่อนบ้านแล้ว
/ความเหนือกว่าของเราคือคุณภาพ ไม่ใช่ปริมาณ /
วันนี้ ปี2556 รับนักเรียนแพทย์ปี1จำนวน2800 และจะจบในอนาคต น้องๆเหล่านี้รัฐบาลมีตำแหน่งให้จริงหรือ /จะให้เขาไปอยู่ที่ไหน คุณภาพชีวิตอย่างไร /
วันที่1เมษายน2556 ผมท่านนายก และเลขาธิการแพทยสภา ต้องไปปฐมนิเทศน์น้องลงพื้นที่ในชุมชนของ สธ./ปีนี้ที่จบทั้งหมดตัวเลขที่ผม 2126คน และเพิ่มทุกปีจนครบ2800 คนต่อปี หมายความว่า รพ.สธ.ในอนาคต 840 แห่งต้องรับแพทย์เพิ่มที่ละ 3คนต่อปีทุกปี รพ.เล็กๆจำนวนหลายร้อยแห่ง ที่มีหมอ 5 คนต้องเตรียมตำแหน่งเพิ่มด้วย เป็น 8-11-14 ใน3ปี หากไม่ลาออก ซึ่งดีขึ้นแน่นอน การผลิต ชนะการลาออกแน่ๆ /หมายความว่ารัฐต้องเตรียมงบจ้างเฉพาะหมอจบใหม่ ราว2แสนบาทต่อคนต่อปี ปีละ 560 ล้านบาทเริ่มต้นไม่รวมเบี้ยเลี้ยงอีกกว่า 300 ล้านบาทเริ่มต้น เป็น ราว900ล้านบาท ในกระทรวงต่างๆ ตามแพทย์ที่จบ โดย 85%อยผู่ในกระทรวงสาธารณสุข สะสมไปเรื่อยๆ/ เรากังวลปัญหานี้มานานแล้ว /รพ.เอกชนไม่มีทางจะรับแพทย์ปีละ2000กว่าคนได้แน่นอนครับ /
..สิ่งที่ต้องทำต่อคือวางแผนกำลังพลบน "ข้อเท็จจริง" ในแพทย์ทั้ง 4เสาหลัก คือ รร.แพทย์ สธ. รัฐอื่นๆ และเอกชน ให้สอดคล้องกันได้แล้วครับ โดยเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง /ก่อนจะเกิดภาวะสับสนที่ดึงบุคลากรคุณภาพกันเอง/ ซึ่งหาก สธ.ไม่ปฎิรูปขยายระบบให้ทัน ปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่จะซับซ้อนกว่าเก่าแน่ ยิ่งถ้า AEC มายุ่งด้วยนะครับ /...
โปรดอย่ามองแค่การผลิต ทุกชีวิตหมอต้องมี"ทางเดิน"ให้เขาครับ !?!
.......................
วันที่: 4 ก.พ. 60 แพทยสภามึนมหาลัยแห่เปิด หมอ ห่วง ไร้คุณภาพ-ล้น เผย มรภ.นครปฐม-สจล.-ม.พายัพ ขอเปิดคณะแพทย์
//www.matichon.co.th/news/450934
นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา เปิดเผยกรณีที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าขณะนี้มหาวิทยาลัยหลายๆ แห่ง ขยายการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนด้านการแพทย์ ทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) และสถาบันเทคโนโลยี ทั้งที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในด้านอื่นๆ ว่า เนื่องจากรัฐบาลได้กำหนดเอาไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้อิสระมหาวิทยาลัยในการเปิดหลักสูตรต่างๆ ได้ ซึ่งส่วนตัวคิดว่าค่อนข้างอันตราย ดังนั้น ในส่วนของแพทยสภา จะเข้มงวดหลักเกณฑ์การเปิดสอนคณะแพทยศาสตร์ให้มากขึ้น ทั้งจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรที่จะต้องมีครบตามที่กำหนด รวมถึง จะต้องมีโรงพยาบาลรองรับการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาด้วย ซึ่งเท่าที่ทราบขณะนี้มีมหาวิทยาลัยขอเปิดสอนในหลักสูตรแพทยศาสตร์แล้ว 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) นครปฐม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยพายัพ ขณะเดียวกันยังมีมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งขอขยายจำนวนรับนักศึกษาแพทย์ต่อปีเพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนในการจัดการเรียนการสอน
นพ.สมศักดิ์กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ การที่มหาวิทยาลัยขอเปิดสอนคณะแพทยศาสตร์ และขอขยายจำนวนรับนักศึกษาเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดข้อกังวลว่าจะขาดคุณภาพ เพราะจำนวนอาจารย์แพทย์ปัจจุบันมีจำกัด และการผลิตแพทย์สาขาใดก็ตามในปริมาณมาก จะกระทบกับคุณภาพการจัดการศึกษาตามมา อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะแพทยศาสตร์ 22 แห่ง มีนักศึษาแพทย์เข้าเรียนปีละประมาณ 3,000 คน ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการ หากผลิตเพิ่มขึ้นก็อาจล้น หรือปริมาณเกินความต้องการ ส่วนหนึ่งเพราะอัตราการเกิดลดลง แม้จะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น แต่จำนวนแพทย์ที่อยู่ในระบบกว่า 50,000 คน ยังถือว่าเพียงพอต่อความต้องการ
ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเปิดสอนคณะแพทย์อยู่แล้ว 22 แห่ง และกำลังจะขอเปิดเพิ่มอีกอย่างน้อย 3 แห่ง ยังไม่นับรวมการรับนักศึกษาแพทย์เข้าเรียนผ่านโครงการพิเศษต่างๆ และนักศึกษาไทยที่ไปเรียนคณะแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ อย่างสหรัฐอเมริกา ผมไม่กังวล เพราะมีคุณภาพ และได้รับการรับรอง แต่ที่กังวลคือคนที่ไปเรียนคณะแพทย์ศาสตร์ในจีน ฟิลิปปินส์ รัสเซีย โปรแลนด์ และอินเดีย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ไปเรียนในประเทศเหล่านี้ จะสอบไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ของไทย ทั้งนี้ จะมีนักศึกษาแพทย์จบใหม่เฉลี่ยร้อยละ 6 ต่อปี ดังนั้ ผมอยากให้มหาวิทยาลัยที่เตรียมจะเปิดสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์ดูความพร้อมของตนเองให้ดี ไม่อยากให้การผลิตแพทย์เป็นธุรกิจการศึกษา หากเปิดสอนมากเกินไป จบออกมานักศึกษาอาจไม่มีงานทำ แม้บางแห่งจะให้เหตุผลว่าเปิดสอนแพทย์เพื่อส่งออกไปทำงานยังต่างประเทศ แต่หากไม่มีคุณภาพ ก็ไม่สามารถสอบใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะผ่าน ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมาก นพ.สมศักดิ์กล่าว
นพ.สมศักดิ์กล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางแก้ไขในเบื้องต้น ทางแพทยสภาจะเข้มงวดในเรื่องการคัดกรองมหาวิทยาลัยที่จะเปิดสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์ให้มากขึ้น หากมหาวิยาลัยใดผลิตบัณฑิตที่ไม่มีคุณภาพ สอบใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะผ่านได้น้อย ก็อาจต้องปิดหลักสูตร