แพทยสภา ดัน ต่ออายุใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ไม่ต้องสอบใหม่ ไม่มีผลย้อนหลัง แพทยสภา ดัน ต่ออายุใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ไม่ต้องสอบใหม่ ไม่มีผลย้อนหลังแพทยสภา ผลักดันแก้ พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เดินหน้าให้มีการ ต่ออายุใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม จากเดิมมีผลตลอดชีพ วัตถุประสงค์เพื่อแพทย์พัฒนาความรู้และเทคโนโลยีการรักษาผู้ป่วย พร้อมตรวจสอบจำนวนแพทย์ในระบบต่อเนื่อง ย้ำขึ้นทะเบียนต่ออายุไม่ต้องสอบใหม่ แต่ให้แสดงหลักฐานอบรมและศึกษาต่อเนื่องแทน แถมไม่มีผลย้อนหลังแพทย์ที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพฯ ไปแล้ว ครอบคลุมเฉพาะแพทย์ใหม่ที่สอบใบอนุญาตที่ต้องจ่ายค่าขึ้นทะเบียน เผยความคืบหน้าเสนอร่างกฎหมายต่อ รมว.สธ.แล้ว นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ไขการต่ออายุใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่า ขณะนี้แพทยสภาได้ส่งร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้กับ รมว.สาธารณสุขแล้ว เพื่อนำเข้า ครม.และส่งต่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป โดยในส่วนของการต่ออายุใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้น แพทยสภาได้เป็นผู้เสนอจากเดิมที่ใบอนุญาตตลอดชีพ ซึ่งที่ผ่านมาได้เป็นผู้ผลักดันมาโดยตลอดเพื่อให้เกิดการคุ้มครองประชาชน เดิมนั้น แพทยสภาได้แก้ไขในส่วนของระเบียบ แต่ได้ถูกคัดค้านว่าตามกฎหมาย แพทยสภามีอำนาจเพียงแค่การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมเท่านั้น ไม่มีอำนาจการให้ต่อใบอนุญาต ทำให้ต้องมีการแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามการแก้ไขการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้น จะให้มีผลเฉพาะผู้ที่สอบและรับใบอนุญาตใหม่เท่านั้น โดยมีการกำหนดชัดเจนว่าจะต้องต่ออายุเมื่อครบกี่ปี แต่จะไม่มีผลย้อนหลังไปยังแพทย์ผู้ได้รับใบอนุญาติฯ ก่อนหน้านี้ เพราะที่ผ่านมามีผู้ต่อต้านมาก แพทยสภาจึงได้สรุปว่าคงจะไม่ให้มีผลย้อนหลังเช่นเดียวกับใบขับขี่ที่ไม่มีผลกับผู้ที่ได้รับใบขับขี่ตลอดชีพไปแล้ว โดยให้ขึ้นทะเบียนต่อใบอนุญาตโดยไม่ต้องจ่ายเงิน และให้แสดงหลักการเข้าร่วมอบรมหรือประชุมวิชาการแทน เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีการติดตามและพัฒนาองค์ความรู้วิชการแพทย์ต่อเนื่อง เป็นลักษณะการบังคับ นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบว่ายังมีแพทย์ที่ยังคงทำงานในระบบกี่คนและทำงานอยู่ที่ไหนกันบ้าง เพราะปัจจุบันแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาตขณะนี้มีจำนวนถึง 50,000 คน แต่แพทยสภากลับไม่รู้ว่ามีใครที่ยังทำงานเป็นแพทย์ในระบบอยู่บ้าง เรื่องการแก้ไขให้มีการต่อใบอนุญาตเป็นข้อเสนอของทางแพทยสภาเอง และได้ผลักดันพยายามทำมาหลายปี แต่ด้วยมีเสียงต่อต้าน ขยับทีไรก็มีเสียงคัดค้านทุกที โดยเฉพาะจากแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาตไปแล้ว ดังนั้นจึงได้สรุปให้การต่อใบอนุญาตฯ ให้ครอบคลุมเฉพาะคนจบใหม่เท่านั้น ไม่ให้มีผลย้อนหลังเพื่อให้สามารถออกกฎหมายนี้ออกมาได้ โดยในประเทศสหรัฐฯ ก็ไม่มีผลย้อนหลังเช่นกัน ทั้งนี้หากเป็นไปได้อยากให้นำเข้า สนช. และผ่านการพิจารณาในรัฐบาลชุดนี้ นายกแพทยสภา กล่าวและว่า นอกจากนี้ที่ล่าช้าส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์การเมือง ทำให้ยังไม่มีความคืบหน้า ส่วนสาเหตุที่ต้องมีการแก้ไขในประเด็นนี้ นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า เป็นแนวโน้มเดียวกับทั่วโลก ซึ่งหลังแพทย์ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแล้ว บางคนสงสัยว่าในกลุ่มแพทย์ที่เรียนจบมานานแล้วจะยังมีความรู้และความเชี่ยวชาญในการรักษาและดูแลผู้ป่วยอีกหรือไม่ และมีการพัฒนาการรักษาและเทคโนโลยีการแพทย์ที่รุดหน้าหรือไม่ ซึ่งจะส่งผลต่อการรักษาผู้ป่วย ดังนั้นแพทยสภาจึงได้เสนอในเรื่องนี้ ซึ่งเรื่องนี้ทุกวิชาชีพต่างต้องทำเหมือนกันหมดเพื่อเป็นการคุ้มครองประชาชน โดยหลักเกณฑ์ที่จัดทำขึ้นได้ดูตัวอย่างจากต่างประเทศ และประเทศในภูมิภาคอาเซียนนี้ ต่อข้อซักถามว่าในการต่อใบอนุญาตของแพทย์จำเป็นต้องมีการสอบหรือไม่ นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ไม่ต้อง แต่ให้ใช้หลักฐานแสดงถึงการอบรมและการศึกษาต่อแทน ซึ่งในประเทศสหรัฐฯ ที่มีการสอบใบประกอบวิชาชีพใหม่ในการต่ออายุ ปรากฎว่ามีแพทย์ที่ลาออกไปครึ่งหนึ่ง แม้ว่าจะมีข้อถกเถียงว่าการแสดงถึงการอบรมและการศึกษาจะประกันได้อย่างไรว่าแพทย์มีความรู้ดีขึ้น แต่ก็ดีกว่าไม่ได้เข้ารับการอบรมหรือศึกษาใดๆ เลย ส่วนที่ในอดีตที่ไม่มีการกำหนดการต่ออายุใบประกอบวิชาชีพแพทย์นั้น หากไปดูทุกประเทศเหมือนกันหมด โดยพึ่งมีการกำหนดหลักเกณฑ์การต่อใบอนุญาตทีหลังทั้งสิ้น นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ในการแก้ไข พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ยังมีการแก้ไขในเรื่องอื่นๆ เช่นการพิจารณาเรื่องร้องเรียน ซึ่งแต่เดิมการพิจารณามีหลายขั้นตอนมากจนเกิดความล่าช้า และมักถูกต่อว่าจากผู้เสียหายทั้งผู้ป่วยและญาติ ดังนั้นจึงมีการปรับแก้ให้การพิจารณาเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น ![]() แพทยสภาดัน กม.ต่ออายุใบอนุญาตหมอทุก 5 ปี มีผลเฉพาะหมอจบใหม่ ไม่ย้อนหลังแพทสภาเร่งผลักดันแก้ พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม ให้ต่อใบอนุญาตหมอจบทุก 5-10 ปี มีผลเฉพาะหมอจบใหม่ ไม่มีผลย้อนหลัง พร้อมออกใบอนุญาตชั่วคราว 1 ปีให้หมอต่างชาติ เร่งกระบวนการพิจารณาข้อร้องเรียนจริยธรรมและมีอำนาจสั่งแบนหมอในระหว่างการสอบสวนได้ ส่วน พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคนั้น เสนอแก้ไข ให้แพทย์ เป็น ผู้ให้บริบาล ไม่ใช่ ผู้ให้บริการ ซึ่งเท่ากับผู้ป่วยไม่ใช่ผู้บริโภค และแพทย์จะไม่รวมอยู่ในคดีผู้บริโภคอีกต่อไป นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตัวแทนคณะกรรมการแพทยสภาได้เข้าพบ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และนำเสนอร่างกฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ 1.ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม 2.ร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค และ 3.ร่าง พ.ร.บ.เซลล์บำบัด เพื่อขอให้รัฐมนตรีผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า สาระสำคัญของร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับนั้น ในส่วนของ ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม มีการแก้ไขใน 4 ประเด็น คือ 1.แก้ไขขั้นตอนการสอบสวนและลงโทษในคดีจริยธรรมให้เร็วขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากที่ผ่านมาแพทยสภามักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าใช้เวลาในการพิจารณายาวนาน นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า สาเหตุที่ใช้เวลาพิจารณาข้อร้องเรียนนาน เนื่องจากกฎหมายได้กำหนดกระบวนการไว้หลายขั้นตอน กล่าวคือ เมื่อมีการร้องเรียนก็ต้องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมเพื่อดูว่ามีมูลหรือไม่ หลังจากนั้นยังต้องผ่านคณะกรรมการกลั่นกรองก่อนเข้าสู่คณะกรรมการแพทยสภา และเมื่อคณะกรรมการแพทยสภาพิจารณาแล้ว ก็ยังต้องนำเรื่องเข้าคณะกรรมการสอบสวนอีกครั้งเพื่อกำหนดบทลงโทษ หากไม่ทำตามนี้ก็ถือว่าทำผิดกฎหมาย ดังนั้นจึงแก้ไขร่างกฎหมายใหม่ ให้ใช้เวลาน้อยลงครึ่งหนึ่ง เมื่อพิจารณาข้อร้องเรียนเสร็จแล้วก็ให้กำหนดบทลงโทษเลย 2.แก้ไขให้แพทยสภามีอำนาจยุติการกระทำบางอย่างได้ เนื่องจากที่ผ่านมาเมื่อแพทย์กระทำผิด กว่าจะผ่านขั้นตอนการพิจารณาจริยธรรมก็ใช้เวลานาน 2-3 ปี และมักถูกต่อว่าว่าหมอทำผิดทำไมไม่ลงโทษสักที ซึ่งกรณีเช่นนี้แพทยสภาไม่สามารถสั่งให้ยุติการกระทำได้จนกว่าจะพิจารณาจริยธรรมเสร็จ ดังนั้นจึงต้องแก้ไขกฎหมาย ให้มีอำนาจสั่งให้ยุติการกระทำชั่วคราวได้ในระหว่างการสอบสวน หากสอบสวนแล้วไม่ผิดก็กลับมารักษาต่อไปได้ 3.แก้ไขให้มีการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมทุกๆ 5-10 ปี จากเดิมที่เป็นใบอนุญาตตลอดชีพ โดยใช้กับแพทย์รุ่นใหม่ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา แต่จะไม่รวมไปถึงแพทย์ที่มีใบอนุญาตอยู่ก่อนแล้ว เหตุผลก็คือต้องการให้แพทย์ปรับปรุงองค์ความรู้ให้ทันสมัยตลอดเวลา และจะได้อัพเดทสถานะว่ายังมีอาชีพเป็นแพทย์รักษาคนหรือไปประกอบวิชาชีพอื่นแล้ว สมมติเด็กจบใหม่ก็ได้ใบอนุญาต 5 หรือ 10 ปี เมื่อหมดอายุก็มาต่อใหม่ ถ้าไม่มาต่อก็รักษาคนไข้ไม่ได้ โดยเราจะมีเกณฑ์การประเมินว่าจะต่อใบอนุญาตให้หรือไม่ หมอจะได้อัพเดทความรู้ตลอดเวลา ส่วนคนที่มีใบอนุญาตอยู่แล้ว เราจะไม่ไปรอนสิทธิ เหมือนใบขับขี่ตลอดชีพ ใครมีก็ต้องมีต่อไป นพ.สมศักดิ์ กล่าว และ 4.แก้ไขให้ออกใบอนุญาตชั่วคราว อายุ 1 ปี แก่แพทย์ชาวต่างชาติได้ เนื่องจากต้องการดึงตัวแพทย์ที่เก่งๆ ให้มารักษาและสอนในไทยได้ วิธีนี้จะทำให้หมอจำนวนมากได้เรียนรู้กับคนเก่งๆ โดยตรง โดยไม่ต้องส่งไปเรียนถึงเมืองนอก ขณะที่ในส่วนของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคนั้น ได้เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมว่าแพทย์ เป็น ผู้ให้บริบาล ไม่ใช่ ผู้ให้บริการ ซึ่งเท่ากับผู้ป่วยไม่ใช่ผู้บริโภค และแพทย์จะไม่รวมอยู่ในคดีผู้บริโภคอีกต่อไป หลักการนี้เป็นสากล ไม่มีประเทศไหนให้เรื่องการแพทย์เป็นคดีผู้บริโภคแบบไทย บางประเทศถึงกับออกกฎหมายว่าในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินห้ามฟ้องทางแพ่งกับผู้ให้การช่วยเหลือด้วยซ้ำเพราะไม่เช่นนั้นจะไม่มีใครกล้าช่วยเลย ขณะที่ประเทศไทยทุกวันนี้เห็นได้ชัดเจนว่าหมอไม่กล้ารักษาและส่งต่อไปโรงพยาบาลอื่นหมด ดังนั้นวิธีนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน เพราะทำให้หมอกล้ารักษามากขึ้ นอกจากนี้ ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.เซลล์บำบัด จะเกี่ยวกับการกำกับดูแลสเต็มเซลล์ โดยใช้มาตรฐานเดียวกับของสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดียังมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณาอีกมาก เช่น ถ้าทำแล้วไม่ก่อให้เกิดอันตรายก็ให้ทำได้เลย แต่หากไม่เกิดอันตรายก็จริงแต่เป็นการหลอกลวงประชาชนให้จ่ายเงินโดยไม่ได้ผล ก็ต้องควบคุมเช่นกัน สเต็มเซลล์เป็นเรื่องใหม่และยังไม่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งในส่วนของแพทยสภาก็มีเพียงข้อกำหนด และคุมได้แต่หมอ ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นพ.สมศักดิ์ กล่าว """"""""""""""""""""""""""""""""""""""""" ความเห็นของผม .. -ผู้ที่จะเข้าเรียนแพทย์ ในอนาคต รับทราบข้อกำหนดนี้ และถือว่าเป็นการบังคับตามกฏหมาย (กฏหมายออกบังคับใช้แล้ว ถือว่ารู้และยอมรับ) -ส่วนนักศึกษาแพทย์ และ แพทย์ที่มีใบประกอบวิชาชีพแล้ว ถือว่า เป็น ทางเลือก(กฏหมายไม่มีผลย้อนหลัง) ๒.ควรมีระบบวิธีการ ที่จะใช้ในการพิจารณาต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้ชัดเจนว่าจะทำอย่างไรบ้าง และ มีระบบที่ช่วยสนับสนุน เช่น การเก็บคะแนน CMEควรมีข้อสอบ บทความเนื้อหาความรู้ที่ทันสมัยและจำนวนมากเพียงพอ ที่จะให้แพทย์เข้าไปศึกษา ๓.ควรมีมาตรการจูงใจ ให้แพทย์ มาต่อใบอนุญาต ถ้าไม่ต่อใบอนุญาตฯ ก็ทำงานเป็นแพทย์ได้แต่ถ้ามาต่อใบอนุญาตฯ จะมีข้อดี มากกว่า เช่น ถ้าไม่ต่อ พอมีคดี ทนายหรือศาล อาจมองว่าไม่ได้อัพเดต ถ้าไม่ต่อใบอนุญาตฯ ในรพ.เอกชน อาจไม่รับเข้าทำงาน ถ้าต่อใบอนุญาตฯก็เป็นหลักฐานเพิ่มความน่าเชื่อถือสำหรับผู้ป่วย เป็นต้น ๔. ผมคิดว่าจุดประสงค์ของ การต่อใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพวิชาชีพเวชกรรม หรือการเก็บคะแนน CME คือเพื่อยืนยันกับประชาชนทั่วไปว่า แพทย์ที่รักษาเขานั้น มีการเรียนรู้ต่อเนื่องติดตามความรู้ใหม่ๆ สม่ำเสมอ จึงต้องมีสัญลักษณ์ หรือ เอกสารที่มองเห็นจับต้องได้อย่างชัดเจน และ ประชาชนทั่วไปรับรู้เข้าใจ ประเด็นสำคัญที่สุดคือ การประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนได้ทราบว่า เขาจะได้ประโยชน์อะไรบ้างมีวิธีการตรวจสอบ หรือ มีข้อสังเกตเครื่องหมายสัญลักษณ์ใบรับรอง ได้อย่างไร
ถ้าประชาชนทราบแล้วแต่ยังยืนยันที่จะไปรักษากับแพทย์ที่ไม่ได้ต่อใบอนุญาตฯไม่ได้ติดตามความรู้ให้ทันสมัย ก็ถือว่า เป็นความเสี่ยงที่ผู้ป่วยยอมรับเองซึ่งผมเชื่อว่า ผู้ป่วย
โดยส่วนตัวผมเชื่อว่า ผู้ที่เสียค่าใช้จ่ายเองอยากได้รับการรักษาจากแพทย์ที่ติดตามความรู้ต่อเนื่อง มากกว่าหมอที่ไม่เคยอัพเดตเลย ดังนั้น"มาตรการทางสังคม " จึงน่าจะเป็นมาตรการที่ "จูงใจ" ให้แพทย์ที่ยังปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ตรวจรักษาผู้ป่วยอยู่ สนใจสมัครใจ ที่จะเข้ามาต่อใบอนุญาต^_^
ปล. ถ้าเทียบง่ายๆ เหมือนกับ ไปกินอาหารในต่างถิ่น ถ้าร้าน มีเครื่องหมาย หรือ ข้อมูล ที่แสดงว่าอาหารอร่อย ก็น่าจะดีกว่า (เสี่ยงน้อยกว่า) ไปกินร้านที่ไม่มีข้อมูลอะไรเลยส่วนว่า เราไปกินแล้วจะอร่อย หรือเปล่า ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง .................ความเห็น ใน เวบไทยคลินิก ... หัวข้อ 34034: แพทยสภา ดัน ต่ออายุใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม คิดเห็นอย่างไร ? (จำนวนคนอ่าน 2787 ครั้ง) //www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1455696146 หัวข้อ 35177: หมอเจตน์ ยันไม่ 2 มาตรฐาน 'แพทย์-ทันตแพทย์' ต่อใบอนุญาตทุก 5 ปี (จำนวนคนอ่าน 735 ครั้ง) //www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1481376887 จากกระทู้ในเวบไทยคลินิก .. มีผู้สงสัยว่า ทำไม ถึงไม่ให้ แพทย์ทุกคนต่ออายุใบประกอบวิชาชีพ ? ( ทำไมถึงไม่ ย้อนหลัง ? ) ถ้าสงสัยให้ ถามอากู๋ ^_^ ^_^ ^_^ ผมใช้คำค้นว่า แพทยสภา ต่อใบอนุญาต ศาลปกครอง ไปพบกระทู้นี้ .. เลยนำมาฝาก น่าจะพอทำให้หายสงสัย ได้ว่า ทำไม ถึง " ไม่ย้อนหลัง" ( ส่วนตัวผม ก็อยากให้ " แพทย์ทุกคน " ต้องต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ แต่เมื่อกฏหมายทำไม่ได้ ถึงเสนอให้ใช้ มาตรการทางสังคม ) สภาวิชาชีพกำหนดให้ต่ออายุใบประกอบวิชาชีพได้เพียงใด //rparun.blogspot.com/2012/11/license.html กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว แพทยสภาก็เคยออกข้อบังคับแพทยสภาเกี่ยวกับการต่ออายุใบประกอบวิชาชีพ (โปรดดูข้อ 25 แห่งข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการศึกษาต่อเนื่องสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2543 //www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2543/D/064/22.PDF) ต่อมาก็ถูกฟ้องศาลปกครอง เพราะพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรมฯ ยังไม่ให้ทำแบบนั้นได้ ศาลปกครองสูงสุดก็ให้รับคำร้อง เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2545 (//court.admincourt.go.th/ordered/Attach/45_pdf/s45-0586-o01.pdf) คาดว่าแพทยสภาคงไม่เชื่อจึงนำเรื่องไปปรึกษากับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งมี บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การกำหนดให้แพทย์ต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม (เรื่องเสร็จที่ 49/2546) ให้ความเห็นว่าต้องแก้พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 เท่านั้น (ดูรายละเอียดที่ //www.lawreform.go.th/lawreform/images/th/jud/th/deca/2546/c2_0049_ 2546.htm) และต่อมาก็มีการยกเลิกข้อความในข้อบังคับแพทยสภานั้น (โปรดดู ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการศึกษาต่อเนื่องสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 //www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00126605.PDF) ไม่พบคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีนี้ อาจเป็นเพราะประเด็นที่จะวินิจฉัยไม่มีอีกต่อไปแล้วเนื่องจากมีการยกเลิกข้อ บังคับแพทยสภาดังกล่าวหรือไม่ก็ผู้ร้องขอถอนคำร้องออกไป นำมาฝาก .. เทียบเคียงแนวคิด และ การดำเนินการ
การต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม หลักการ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข //www.dentalcouncil.or.th/dentist/relicense.php ทพ.ไพศาล กังวลกิจ เลขาธิการทันตแพทยสภา ในข่าวสารฉบับที่แล้ว ผมได้เรียนให้ทราบว่าการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นสิ่งที่วิชาชีพคงหลีกเลี่ยงได้ยากแล้วเนื่องจากสถานการณ์ต่างๆได้บีบคั้นเข้ามาทุกที เราเป็นวิชาชีพสุดท้ายที่ดำเนินการ เพียงแต่จะเกิดเร็วหรือช้าเท่านั้น ในฉบับนี้ขอนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนดำเนินการ หลักการในการต่ออายุใบอนุญาตคืออะไร วิชาชีพทันตกรรมเป็นวิชาชีพที่กระทำต่อร่างกายของมนุษย์ เกี่ยวข้องโดยตรงกับสุขภาพ คุณภาพชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนด้วยเหตุนี้หากผู้กระทำไม่มีความรู้ ความสามารถที่ดีพออาจทำให้เกิดอันตรายต่อประชาชนและชุมชนได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองประชาชน รัฐจึงได้ออกกฎหมายให้ผู้ที่จะกระทำได้ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถที่ผ่านการศึกษาฝึกอบรมมาอย่างดีแล้วเท่านั้น กฎหมายนี้คือ พระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 ตามกฎหมายนี้ทันตแพทย์ทุกคนที่ปฏิบัติงานต้องขึ้นทะเบียน ผู้ไม่ได้ขึ้นทะเบียนจะประกอบวิชาชีพนี้ไม่ได้และนี่คือที่มาของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สมัยก่อนใบประกอบโรคศิลปะไม่ได้กำหนดอายุของใบอนุญาตไว้ นั่นคือสามารถใช้ใบอนุญาตนี้ทำงานได้ตลอดชีวิต สาเหตุที่ไม่กำหนดอายุใบอนุญาตเข้าใจว่าเนื่องจากเมื่อมีความรู้เป็นทันตแพทย์แล้ว น่าจะมีความรู้ติดตัวไปตลอดชีวิต แต่แนวคิดนี้มีการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน เนื่องจากวิชาชีพทันตแพทย์เป็นวิชาชีพที่ต้องใช้วิชาการและเทคโนโลยีในการประกอบวิชาชีพ วิทยาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์และทันตแพทย์มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก จำเป็นที่ผู้ประกอบวิชาชีพต้องติดตามความก้าวหน้า เพื่อนำมาปรับใช้ให้บริการที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมีความปลอดภัยสูงสุดแก่ประชาชน วิชาการเมื่อ 10 หรือ 20 ปีก่อน กับปัจจุบันมีหลายเรื่องที่เปลี่ยนแปลงไป สถานการณ์ของโรคต่างๆก็เปลี่ยนไป ทำอย่างไรจึงจะให้หมอมีความรู้มีมาตรฐานที่ดีทันสมัยอย่างต่อเนื่อง มาตรการเรื่องการต่ออายุใบประกอบวิชาชีพจึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อกระตุ้นให้ทันตแพทย์มีการศึกษาหาความรู้ ติดตามวิชาการและเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่เสมอ เกิดความตื่นตัวในการพัฒนาตนเอง ตลอดเวลานั่นเอง วิธีนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งในอเมริกา และ ยุโรป และนี่คือหลักการในเรื่องการต่ออายุใบอนุญาต การศึกษาต่อเนื่องกับการต่อทะเบียนวิชาชีพ จากหลักการที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะให้ทันตแพทย์ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเกิดการพัฒนาตนเอง และให้บริการที่มีมาตรฐานทันสมัย วิธีการที่ให้บรรลุตามหลักการดังกล่าวคือส่งเสริมสนับสนุน กระตุ้นให้ผู้ประกอบวิชาชีพได้เข้าร่วมประชุม อบรม และอ่านบทความทางวิชาการตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้หน่วยงานต่างๆ และสภาวิชาชีพต่างๆจึงได้จัดตั้งศูนย์การศึกษาต่อเนื่องขึ้น ทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาระบบการศึกษาต่อเนื่อง ให้มีได้หลากหลายรูปแบบ เข้าถึงได้ง่าย เช่น การประชุมวิชาการ การศึกษาทางไกลผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งสื่อ internet การจัดประชุมวิชาการภายในหน่วยงาน การเสนอรายงานผู้ป่วย งานวิจัย เขียนบทความลงวารสาร หรือการอ่านบทความในวารสารก็ถือเป็นการศึกษาต่อเนื่องทั้งสิ้น ทำให้สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ที่ใด มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานให้หน่วยกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง เช่น เข้าร่วมประชุมวิชาการ 1 ชั่วโมงได้ 1 หน่วย โดยศูนย์การศึกษาต่อเนื่องจะทำหน้าที่บันทึกและรวบรวมหน่วยการศึกษาต่อเนื่องให้ในทุกกิจกรรมที่ศูนย์รับรอง เป็นความสะดวกของผู้เข้าร่วมกิจกรรมและสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลาว่าได้รับหน่วยสะสมอยู่เท่าใดแล้ว ด้วยเหตุนี้สภาวิชาชีพในหลายประเทศ จึงได้ใช้กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง มาเป็นเกณฑ์ใช้ประกอบในการต่ออายุใบอนุญาต หรือพูดง่ายๆว่าเอา relicensing ผูกติดกับ CE (continuing education) เช่น สภาการพยาบาล กำหนดว่าจะต้องมี 50 หน่วย CNU ในการต่อใบอนุญาตทุก 5 ปี แพทยสภาเคยกำหนดไว้ที่ 100 หน่วย CME ในทุก 5 ปี ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา 45 จาก 51 รัฐ ใช้ CE เป็นเกณฑ์หลักในการต่อทะเบียนวิชาชีพ แต่จำนวนและระยะเวลาในการต่อของแต่ละรัฐแตกต่างกัน มีตั้งแต่ต่อทุก 12 เดือน ถึง 70 เดือน จำนวนหน่วยการศึกษาต่อเนื่องที่ใช้มีแตกต่างกัน ตั้งแต่ 10 ถึง 30 หน่วยต่อปี โดยส่วนใหญ่อยู่ที่ 20 หน่วยต่อปี ในยุโรปมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ส่วนใหญ่ต้องมีการต่อทะเบียนใบอนุญาตระยะเวลาต่อแตกต่างกันและการใช้หน่วยการศึกษาต่อเนื่องที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามมีหลายคนที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ CE มาประกอบในการต่อใบอนุญาต เนื่องจากเป็นการบังคับให้ทุกคนต้องทำ วิธีนี้ผู้ออกกฎระเบียนไม่ต้องหาวิธีจูงใจให้คนมาร่วม จะจัดการประชุม อบรมดีเลวอย่างไรก็ได้ คิดราคาลงทะเบียนอย่างไรก็ได้ เพราะผู้เข้าร่วมประชุมมาเพื่อต้องการหน่วยการศึกษาต่อเนื่อง หน่วยงานจัดมีรายได้มากขึ้น คนที่มาอาจไม่ได้ต้องการความรู้จริงๆ มาเพื่อเอากระดาษรับรองหน่วยไปแสดงเวลาต่อทะเบียน จึงไม่ควรเอา CE ไปผูกติดกับ relicensing กลุ่มนี้เห็นว่า การศึกษาต่อเนื่องควรใช้วิธีจูงใจให้ร่วมมากกว่าการบังคับ ให้เรียนตามที่อยากจะเรียน จึงจะเป็นประโยชน์ที่จะเอาไปใช้กับผู้ป่วยจริงๆ คนจัดการประชุมหรือหลักสูตรการฝึกอบรม จึงต้องจัดอย่างดีมีคุณภาพ ราคาไม่แพงมาก เพื่อจูงใจให้คนมาร่วมอาจสร้างแรงจูงใจทางอ้อม เช่น กำหนดว่าโรงพยาบาลหรือคลินิกที่ได้มาตรฐาน หมอต้องมีการศึกษาต่อเนื่อง การสมัครงานหรือสมัครเรียนต่อ ต้องใช้หลักฐานการศึกษาต่อเนื่องมาประกอบด้วย แสดงว่าเป็นผู้ใฝ่รู้ จะได้รับการพิจารณาก่อนหรือถ้าถูกร้องเรียนในเรื่องทำงานไม่ได้มาตรฐาน ถ้าผู้ถูกร้องเรียนไม่มีการศึกษาต่อเนื่อง ก็จะโดนโทษหนักกว่าคนที่มีการศึกษาต่อเนื่อง เพราะถือว่าไม่มีการพัฒนาตนเอง หรืออาจจะมีการออกใบรับรองหรือประกาศนียบัตรให้กับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องครบตามหลักเกณฑ์ สามารถเอาไปติดแสดงให้คนไข้และญาติได้ดู เพื่อให้คนไข้เกิดความมั่นใจว่าหมอที่ให้การดูแลรักษานั้นเป็นหมอที่ใฝ่รู้ สนใจเรียนต่อ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่มีการบังคับ ใช้มาตรการจูงใจเชิงบวกอย่างเดียว ก็ไม่มีหลักประกันว่าทุกคนจะทำ เกิดมีหลายมาตรฐาน จึงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกัน เราจึงต้องพิจารณากันให้รอบคอบ หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข การต่อใบอนุญาตต้องมีการแก้ไขพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 เพื่อให้ดำเนินการได้ การแก้ไขทำได้ 2 แบบ คือกำหนดวิธีการและระยะเวลา การต่อใบอนุญาตลงในพระราชบัญญัติเลย หรือกำหนดให้มีการต่อ แต่ระยะเวลาวิธีการและเงื่อนไขให้ออกเป็นข้อบังคับ การออกเป็นข้อบังคับจะมีความยืดหยุ่นกว่าและแก้ไขเปลี่ยนแปลงในภายหลังได้ง่ายกว่าเป็นเรื่องที่คนในวิชาชีพต้องปรึกษาหารือกันว่าจะทำอย่างไรจึงเหมาะสมจะต่อทุกกี่ปี ทุกครั้งที่ต่อต้องทำอย่างไรบ้าง และจะมีเงื่อนไขอะไร จะใช้ CE ประกอบด้วยหรือไม่ ถ้าใช้จะใช้เท่าไรเอากี่หน่วย จะต้องมีการสอบความรู้ด้วยหรือไม่ ทันตแพทยสภาจึงอยากให้พวกเราได้ช่วยกันแสดงความคิดเห็น เพราะเรื่องนี้กระทบกับทุกคนครับ .................................. หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการต่อใบอนุญาตของสภาวิชาชีพต่างๆ พยาบาล กำหนดในพระราชบัญญัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 ให้มีการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทุก 5 ปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ในพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาล หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขออกเป็นข้อบังคับสภาการพยาบาล การต่อทะเบียนใบอนุญาตใช้ 50 หน่วยการศึกษาต่อเนื่องและเสียค่าธรรมเนียมต่อ 500 บาท ทนายความ กำหนดในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ใบอนุญาตมีอายุใช้ได้ 2 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต เว้นแต่ใบอนุญาตประเภทที่เสียค่าธรรมเนียมในอัตราตลอดชีพให้มีอายุตลอดชีพของผู้ได้รับใบอนุญาต หลักเกณฑ์วิธีการ กำหนดในกฎกระทรวง ค่าต่อใบอนุญาตทนายความตลอดชีพ 4,000 บาทใบอนุญาตทนายความ 2 ปี เสียค่าธรรมเนียม 800 บาท ผู้มีใบอนุญาตเป็นทนายความ 2 ปี จะขอต่อใบอนุญาตให้เป็นทนายความตลอดชีพได้ แต่ต้องก่อนใบอนุญาตเดิม(2 ปี) หมดอายุโดยเสียค่าธรรมเนียม 800 บาท วิศวกร กำหนดในพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 ว่า การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาตการพักใช้ เพิกถอนใบอนุญาตให้ออกเป็นข้อบังคับสภาวิศวกร ข้อบังคับกำหนดให้ต่อทะเบียน ทุก 5 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาตหรือนับแต่วันอนุมัติให้ต่อใบอนุญาต ค่าต่อใบอนุญาตระดับวุฒิวิศวกร 3,000 บาท ระดับสามัญ 2,000 บาท ระดับภาคีวิศวกร 1,000 บาท สถาปนิก กำหนดในพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 ว่าการออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาตการพักใช้เพิกถอนใบอนุญาตให้ออกเป็นข้อบังคับสภาสถาปนิก ข้อบังคับกำหนดให้ต่อทะเบียน ทุก 5 ปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาตหรือนับแต่วันที่ต่อใบอนุญาต ค่าต่อใบอนุญาตระดับวุฒิสถาปนิก 3,000 บาท สามัญสถาปนิก 2,000 บาท ภาคีสถาปนิก 1,000 บาท บัญชี กำหนดในพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ไม่กำหนดอายุใบอนุญาตแต่ต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามที่สภาวิชาชีพกำหนด สภาวิชาชีพบัญชีกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องชำระค่าธรรมเนียมเป็นรายปี ปีละ 1,000 บาท นับจากวันที่ออกใบอนุญาต (ไม่ใช้หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง) สัตวแพทย์ กำหนดในพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2545 การออกใบอนุญาตต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามข้อบังคับสัตวแพทยสภา สัตวแพทยสภากำหนดอายุใบอนุญาตใช้ได้ 5 ปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต การต่อใช้ 100 หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง เสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท กายภาพบำบัด กำหนดในพระราชบัญญัติกายภาพบำบัด พ.ศ. 2547 การออกใบอนุญาตอายุใบอนุญาตและการต่อใบอนุญาตให้เป็นไปตามข้อบังคับสภากายภาพบำบัด ค่าต่อใบอนุญาตฉบับละ 2,500 บาท ข้อบังคับกำลังอยู่ในระหว่างการร่าง เทคนิคการแพทย์ กำหนดในพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2547 การออกใบอนุญาตอายุใบอนุญาตและการต่อใบอนุญาตให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาเทคนิคการแพทย์ ค่าต่อใบอนุญาตฉบับละ 2,500 บาท ข้อบังคับกำลังอยู่ในระหว่างการร่าง โดย: หมอหมู
![]() หมอเจตน์ ยันไม่ 2 มาตรฐาน 'แพทย์-ทันตแพทย์' ต่อใบอนุญาตทุก 5 ปี
Sat, 2016-12-10 11:27 -- hfocus https://www.hfocus.org/content/2016/12/13124 ประธาน กมธ.สาธารณสุข ยัน แพทย์-ทันตแพทย์ มาตรฐานเดียวกัน ต่ออายุใบอนุญาต/สอบความรู้ทุก 5 ปี ถ้ามีการต่อต้าน สภาวิชาชีพต้องไปจัดการเคลียร์กันเอง นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานกรรมาธิการสาธารณสุข (กมธ.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงกรณีที่ทันตแพทย์บางกลุ่มคัดค้าน พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพทันตกรรม (ฉบับ 2) พ.ศ.2559 ซึ่งกำหนดให้ทันตแพทย์ต้องต่อใบอนุญาตทุก 5 ปี พร้อมทั้งโจมตีว่าเลือกปฎิบัติเพราะ พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม (ฉบับ 2) พ.ศ.2559 ซึ่งบังคับใช้กับวิชาชีพแพทย์ กลับไม่กำหนดให้ต้องต่ออายุนั้น ยืนยันว่า 3 วิชาชีพ คือ แพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร จะมีมาตรฐานเดียวกัน โดยในส่วนของกลุ่มเภสัชกร มีการออก พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 ไปแล้ว ส่วนกฎหมายของแพทย์และทันตแพทย์ ก็เขียนเหมือนกันกับของเภสัชกรทุกคำ เพียงแต่กฎหมายวิชาชีพเวชกรรมยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกฤษฎีกา แพทย์ก็ต้องต่อ เพียงแต่ขั้นตอนการออกกฎหมายยังอยู่ในชั้นการพิจารณาของกฤษฎีกา ส่วนของทันตแพทย์ออกมาแล้ว จะบอกว่าแพทย์ไม่เห็นต้องไปต่ออายุใบประกอบโรคศิลปะไม่ได้ แพทย์ก็ต้องต่ออายุเหมือนกัน มันต้องมีมาตรฐานเดียว จะให้กลุ่มหนึ่งต่ออายุ อีกกลุ่มหนึ่งไม่ต้อง แบบนี้คงตอบสังคมไม่ได้ นพ.เจตน์ กล่าว นพ.เจตน์ กล่าวอีกว่า วัตถุประสงค์ของการให้ต่ออายุใบประกอบโรคศิลปะก็เพื่อคุ้มครองประชาชน เพราะมีแพทย์หรือทันตแพทย์บางส่วนที่เปิดคลินิกอย่างเดียว ไม่สนใจโลก ขณะที่วิชาการองค์ความรู้ทางการแพทย์พัฒนาไปทุกวัน อย่างไรก็ดี การเขียนตัวบทกฎหมาย ได้พยายามเอื้อให้ผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะก่อนที่กฎหมายบังคับใช้ สามารถต่อใบอนุญาตได้โดยง่าย เช่น สามารถอัพเดทข้อมูลวิชาการผ่านเว็บไซต์ ตอบแบบสอบถาม หรืออ่านรายงานประจำปีของทันตแพทย์สมาคม แล้วทำแบบฝึกหัดผ่านเว็บไซต์ ฯลฯ กล่าวคือสามารถเรียนทางอินเทอร์เน็ตที่คลินิกโดยไม่ต้องเดินทางเข้ามาประชุมได้ กมธ.พยายามปรับแก้ให้อ่อนนุ่มที่สุดและฟังความคิดเห็นของผู้ที่ไม่เห็นด้วย เชิญมาให้ข้อมูลหมดเลย ไม่ได้ทำโดยพลการ เจตนารมณ์ กมธ.คือทำให้ง่ายที่สุดเพื่อเอื้อแก่คนที่มีใบประกอบโรคศิลปะอยู่แล้ว เราอำนวยความสะดวกขนาดนี้แล้ว ถ้ายังปฏิเสธอีกก็เป็นเรื่องที่เกินไปนะ นพ.เจตน์ กล่าว นพ.เจตน์ กล่าวอีกว่า ตัวองค์กรวิชาชีพซึ่งกรณีนี้คือทันตแพทยสภา จะต้องเป็นผู้ออกแบบหลักเกณฑ์ข้อบังคับหรือเกณฑ์ที่จะกำหนดว่าจะต่อหรือไม่ต่อใบอนุญาต ซึ่งถ้ายังมีแรงต้านหรือมีปฏิกิริยา กลุ่มวิชาชีพก็ต้องไปทำความเข้าใจกันเอง ขอบอกว่ามาตรฐานของกลุ่มวิชาชีพเหล่านี้ต้องเป็นมาตรฐานเดียว เมื่อเป็นมาตรฐานเดียว แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร ต้องเหมือนกัน ทุกวิชาชีพต้องมีการต่ออายุเพื่อคุ้มครองประชาชนและมีแนวทางพัฒนาองค์ความรู้ แต่การพัฒนาองค์ความรู้ไม่ใช่ว่าต้องตึงเป๊ะ ต้องมาประชุม เขียนรายงาน ต้องเดินทางไปอบรม ไม่ถึงขนาดนั้น เขาสามารถนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์แล้วเรียนรู้วิชาการได้ อันนี้คือเจตนารมณ์ของเรา แต่เราไม่รู้ว่าทันตแพทยสภาจะออกแบบอย่างไร นพ.เจตน์ กล่าว ทั้งนี้ สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพทันตกรรม (ฉบับ 2) พ.ศ.2559 กำหนดว่า ทันตแพทย์ที่จบหลังที่พ.ร.บ.ดังกล่าวประกาศใช้ จะได้ใบอนุญาตมีอายุ 5 ปี โดยต้องมีการศึกษาเก็บคะแนนเพื่อนำคะแนนมาต่ออายุใบอนุญาตทุก 5 ปี ส่วนทันตแพทย์ที่มีใบอนุญาตตลอดชีวิตอยู่แล้วยังคงใช้ได้ต่อไป แต่ต้องมีการศึกษาต่อเนื่องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามข้อบังคับทันตแพทยสภาเช่นกัน หากทันตแพทย์เก่าได้คะแนนไม่ถึงจะถูกพักใบอนุญาต ส่วนทันตแพทย์ใหม่หากคะแนนไม่ถึงจะไม่ได้รับการต่ออายุใบอนุญาต ส่วนการเก็บคะแนนสามารถทำได้หลายวิธี เช่น เข้าร่วมประชุม สัมมนาวิชาการในหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง การทำงานประจำ หรือเพียงแค่อ่านเอกสารวิชาการ บทความวิชาการผ่านเว็บไซต์ สำหรับทันตแพทย์ที่อยู่ในคลินิกหรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกลโดยไม่ต้องเดินทาง และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ขณะที่จุดเริ่มต้นของการแก้ไขกฎหมายให้ทันตแพทย์ต้องต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทุก 5 ปีนั่น มีลำดับเหตุการณ์ดังนี้ จุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2547 (8 พ.ย.) ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา แจ้งให้ สธ.พิจารณาเรื่องการต่อใบอนุญาตวิชาชีพทันตกรรม 29 พ.ย.47 สธ.ส่งเรื่องให้ทันตแพทยสภาดำเนินการต่ออายุ 3 ก.พ.48 พล.ท.พิศาล เทพสิทธา นายกทันตแพทยสภาในเวลานั้น ทำหนังสือตอบกลับไปว่า "ยังไม่สมควรให้มีการต่ออายุใบอนญาตวิชาชีพทันตกรรม" 9 เม.ย.50 ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาทวงถามเรื่องการต่ออายุใบอนุญาต 15 ส.ค.50 สธ.ขอให้ทันตแพทยสภาทบทวนเรื่องการต่ออายุใบอนุญาต 24 ส.ค.50 ทันตแพทยสภาแจ้งผลการวินิจฉัย ไม่ย้อนหลัง ไม่กำหนดวันหมดอายุ ไม่กำหนดเพดานเรื่องเงิน 19 ม.ค.52 ทันตแพทยสภาเสนอ ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรมไปที่ สธ. ระบุไม่ย้อนหลัง ไม่กำหนดวันหมดอายุ ไม่กำหนดเพดานเรื่องเงินเดือน 18 พ.ย.52 คณะกรรมการกฤษฎีกาแก้ไขให้ย้อนหลัง มีอายุไม่เกิน 5 ปี เก็บค่าต่ออายุไม่เกิน 4,000 บาท 20 เม.ย.54 ครม.มีมติเห็นชอบในหลักการของ ร่าง พ.ร.บ.ฯ เสนอไปยังสภาผู้แทนราษฎร 10 พ.ค.54 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร 14 พ.ย.57 ครม.มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ฯ ยืนยันตามมติ ครม. 20 เม.ย.54 2 ธ.ค.57 ครม.มีมติให้ สธ.ไปพิจารณาทบทวนร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสภาวิชาชีพ 15 ม.ค.58 ทันตแพทยสภายืนยันส่ง ร่าง พ.ร.บ.ฯ ต่อ ครม. 19 ม.ค.58 ครม.เห็นชอบต่อ ร่าง พ.ร.บ.ฯ ที่เสนอมา ส่งต่อ สนช. 9 ก.พ.59 สนช.มีมติรับหลักการวาระที่ 1 16 พ.ค.59 พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพทันตกรรม (ฉบับ 2) พ.ศ.2559 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยระบุเหตุผลในการประกาศ พ.ร.บ.ฉบับนี้ว่า โดยที่ พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2537 มิได้กำหนดอายุใบอนุญาตและการต่ออายุใบอนุญาต เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมพัฒนาความรู้ความสามารถและติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง สมควรกำหนดอายุใบอนุญาตและการต่ออายุใบอนุญาต รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตรา พ.ร.บ.นี้ 12 พ.ย.59 พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพทันตกรรม (ฉบับ 2) พ.ศ.2559 มีผลบังคับใช้ โดย: หมอหมู
![]() ข่าวเก่า ตั้งแต่ ปี ๒๕๕๔ ... ๕ ปี ผ่านไป เหมือนจะเดินหน้า ?
//www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9540000016165 หมอร้องผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา เหตุแพทยสภาไม่ยอมให้แพทย์ต่อใบอนุญาตฯ โดย MGR Online 7 กุมภาพันธ์ 2554 09:09 น. กลุ่มหมอร้องผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา เหตุแพทยสภา ไม่ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ ตาม รธน.กรณีให้แพทย์ต่อใบอนุญาตฯ แหล่งข่าวจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง กล่าวว่า ปัจจุบันแพทย์ถูกฟ้องร้องมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการประกอบวิชาชีพไม่ได้มาตรฐาน จึงอยากให้แพทยสภาปรับเปลี่ยนการออกใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ให้กับผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านแพทยศาสตรบัณฑิต จากเดิมที่เป็นการออกใบอนุญาตฯ แบบตลอดชีพ มาเป็นต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี เพื่อเป็นการเปิดรับความรู้ใหม่ๆ ซึ่งปัญหา คือ มีการเรียกร้องและขอให้คณะกรรมการแพทยสภา เล็งเห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้ เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณา และแก้ไขเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 อย่างต่อเนื่อง แต่จนถึงบัดนี้กลับไม่มีการดำเนินการใดๆ แหล่งข่าวรายเดิมกล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาเคยมีแพทย์ร้องไปยังสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ซึ่งล่าสุด ทางสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินฯ ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ ผร. 24/3974 ถึงกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเห็นว่า เจตนารมณ์ของการกำหนดให้มีการต่ออายุใบอนุญาตฯ คือ การพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้บริการและประชาชน ดังนั้น แพทย์ผู้ซึ่งประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 จำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ตาม พ.ร.บ.ประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 ซึ่งจะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ในส่วนที่เกี่ยวกับการให้บริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และมีประสิทธิภาพแก่ประชาชนอย่างจริงจัง เหมือนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ที่ได้ดำเนินการให้เกิดการบริการด้านสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานสากลและมีประสิทธิภาพแล้ว โดยกำหนดอายุใบอนุญาตของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลคราวละ 5 ปี ขณะที่ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์กลับไม่มีการดำเนินการ นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า ตนได้รับหนังสือจากผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาแล้ว และได้ทำหนังสือชี้แจงว่า แพทยสภาไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่เรื่องนี้มีความเห็นที่หลากหลายมาก แต่เบื้องต้นได้มีการวางแนวทางโดยไม่จำเป็นต้องแก้ พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 แต่อาจใช้วิธีออกกฎข้อบังคับแพทยสภาแทน โดยใช้การต่อทะเบียนวิชาชีพแพทย์ทุกๆ 3 ปี โดยผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์จะต้องมีการฝึกอบรมองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มเครดิตทางวิชาการให้ตนเอง จากนั้นจะมีเกณฑ์ประเมินเพื่อให้สามารถต่อทะเบียนใบอนุญาตฯ โดยหมายความว่า แม้จะมีใบอนุญาตวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งเป็นแบบตลอดชีพเหมือนเดิม แต่แพทย์รายดังกล่าวจะไม่สามารถประกอบวิชาชีพได้ มีเพียงความเป็นแพทย์เท่านั้น สิ่งสำคัญจะต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อต่อทะเบียนอย่างต่อเนื่องทุกๆ 3 ปี จึงจะสามารถประกอบวิชาชีพนี้ได้ โดย: หมอหมู
![]() ![]() ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ โดย: nokyungnakaa
![]() |
บทความทั้งหมด
|
Thu, 2016-03-03 16:26 -- hfocus
แพทสภาเร่งผลักดันแก้ พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม ให้ต่อใบอนุญาตหมอจบทุก 5-10 ปี มีผลเฉพาะหมอจบใหม่ ไม่มีผลย้อนหลัง พร้อมออกใบอนุญาตชั่วคราว 1 ปีให้หมอต่างชาติ เร่งกระบวนการพิจารณาข้อร้องเรียนจริยธรรมและมีอำนาจสั่งแบนหมอในระหว่างการสอบสวนได้ ส่วน พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคนั้น เสนอแก้ไข ให้แพทย์ เป็น ผู้ให้บริบาล ไม่ใช่ ผู้ให้บริการ ซึ่งเท่ากับผู้ป่วยไม่ใช่ผู้บริโภค และแพทย์จะไม่รวมอยู่ในคดีผู้บริโภคอีกต่อไป
นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตัวแทนคณะกรรมการแพทยสภาได้เข้าพบ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และนำเสนอร่างกฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ 1.ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม 2.ร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค และ 3.ร่าง พ.ร.บ.เซลล์บำบัด เพื่อขอให้รัฐมนตรีผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า สาระสำคัญของร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับนั้น ในส่วนของ ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม มีการแก้ไขใน 4 ประเด็น คือ
1.แก้ไขขั้นตอนการสอบสวนและลงโทษในคดีจริยธรรมให้เร็วขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากที่ผ่านมาแพทยสภามักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าใช้เวลาในการพิจารณายาวนาน
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า สาเหตุที่ใช้เวลาพิจารณาข้อร้องเรียนนาน เนื่องจากกฎหมายได้กำหนดกระบวนการไว้หลายขั้นตอน กล่าวคือ เมื่อมีการร้องเรียนก็ต้องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมเพื่อดูว่ามีมูลหรือไม่ หลังจากนั้นยังต้องผ่านคณะกรรมการกลั่นกรองก่อนเข้าสู่คณะกรรมการแพทยสภา และเมื่อคณะกรรมการแพทยสภาพิจารณาแล้ว ก็ยังต้องนำเรื่องเข้าคณะกรรมการสอบสวนอีกครั้งเพื่อกำหนดบทลงโทษ หากไม่ทำตามนี้ก็ถือว่าทำผิดกฎหมาย ดังนั้นจึงแก้ไขร่างกฎหมายใหม่ ให้ใช้เวลาน้อยลงครึ่งหนึ่ง เมื่อพิจารณาข้อร้องเรียนเสร็จแล้วก็ให้กำหนดบทลงโทษเลย
2.แก้ไขให้แพทยสภามีอำนาจยุติการกระทำบางอย่างได้ เนื่องจากที่ผ่านมาเมื่อแพทย์กระทำผิด กว่าจะผ่านขั้นตอนการพิจารณาจริยธรรมก็ใช้เวลานาน 2-3 ปี และมักถูกต่อว่าว่าหมอทำผิดทำไมไม่ลงโทษสักที ซึ่งกรณีเช่นนี้แพทยสภาไม่สามารถสั่งให้ยุติการกระทำได้จนกว่าจะพิจารณาจริยธรรมเสร็จ ดังนั้นจึงต้องแก้ไขกฎหมาย ให้มีอำนาจสั่งให้ยุติการกระทำชั่วคราวได้ในระหว่างการสอบสวน หากสอบสวนแล้วไม่ผิดก็กลับมารักษาต่อไปได้
3.แก้ไขให้มีการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมทุกๆ 5-10 ปี จากเดิมที่เป็นใบอนุญาตตลอดชีพ โดยใช้กับแพทย์รุ่นใหม่ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา แต่จะไม่รวมไปถึงแพทย์ที่มีใบอนุญาตอยู่ก่อนแล้ว เหตุผลก็คือต้องการให้แพทย์ปรับปรุงองค์ความรู้ให้ทันสมัยตลอดเวลา และจะได้อัพเดทสถานะว่ายังมีอาชีพเป็นแพทย์รักษาคนหรือไปประกอบวิชาชีพอื่นแล้ว
สมมติเด็กจบใหม่ก็ได้ใบอนุญาต 5 หรือ 10 ปี เมื่อหมดอายุก็มาต่อใหม่ ถ้าไม่มาต่อก็รักษาคนไข้ไม่ได้ โดยเราจะมีเกณฑ์การประเมินว่าจะต่อใบอนุญาตให้หรือไม่ หมอจะได้อัพเดทความรู้ตลอดเวลา ส่วนคนที่มีใบอนุญาตอยู่แล้ว เราจะไม่ไปรอนสิทธิ เหมือนใบขับขี่ตลอดชีพ ใครมีก็ต้องมีต่อไป นพ.สมศักดิ์ กล่าว
และ 4.แก้ไขให้ออกใบอนุญาตชั่วคราว อายุ 1 ปี แก่แพทย์ชาวต่างชาติได้ เนื่องจากต้องการดึงตัวแพทย์ที่เก่งๆ ให้มารักษาและสอนในไทยได้ วิธีนี้จะทำให้หมอจำนวนมากได้เรียนรู้กับคนเก่งๆ โดยตรง โดยไม่ต้องส่งไปเรียนถึงเมืองนอก
ขณะที่ในส่วนของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคนั้น ได้เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมว่าแพทย์ เป็น ผู้ให้บริบาล ไม่ใช่ ผู้ให้บริการ ซึ่งเท่ากับผู้ป่วยไม่ใช่ผู้บริโภค และแพทย์จะไม่รวมอยู่ในคดีผู้บริโภคอีกต่อไป หลักการนี้เป็นสากล ไม่มีประเทศไหนให้เรื่องการแพทย์เป็นคดีผู้บริโภคแบบไทย บางประเทศถึงกับออกกฎหมายว่าในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินห้ามฟ้องทางแพ่งกับผู้ให้การช่วยเหลือด้วยซ้ำเพราะไม่เช่นนั้นจะไม่มีใครกล้าช่วยเลย ขณะที่ประเทศไทยทุกวันนี้เห็นได้ชัดเจนว่าหมอไม่กล้ารักษาและส่งต่อไปโรงพยาบาลอื่นหมด ดังนั้นวิธีนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน เพราะทำให้หมอกล้ารักษามากขึ้
นอกจากนี้ ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.เซลล์บำบัด จะเกี่ยวกับการกำกับดูแลสเต็มเซลล์ โดยใช้มาตรฐานเดียวกับของสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดียังมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณาอีกมาก เช่น ถ้าทำแล้วไม่ก่อให้เกิดอันตรายก็ให้ทำได้เลย แต่หากไม่เกิดอันตรายก็จริงแต่เป็นการหลอกลวงประชาชนให้จ่ายเงินโดยไม่ได้ผล ก็ต้องควบคุมเช่นกัน
สเต็มเซลล์เป็นเรื่องใหม่และยังไม่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งในส่วนของแพทยสภาก็มีเพียงข้อกำหนด และคุมได้แต่หมอ ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นพ.สมศักดิ์ กล่าว
//www.hfocus.org/content/2016/03/11815