คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..(จบ?) ถ้ายังไม่ได้ อ่าน กระทู้ก่อนหน้า ... แวะไปอ่านก่อนก็ดีครับ จะได้อรรถรส เพิ่มขึ้น .. ^ -^ คำชี้แจงจาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม..(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก) //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-04-2011&group=7&gblog=132
คำชี้แจงจาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..( ต่อ ) //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-04-2011&group=7&gblog=134
ต่อไปนี้จะเป็น การชี้แจง จากราชวิทยาลัยแพทย์ ออร์โธปิดิกส์ แห่งประ้เทศไทย //www.rcost.or.th/ ซึ่งผมนำมาจาก ข่าวสาร ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ฉบับ เดือน มิถุนายน 2554 .. ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ปิดท้ายด้วย หนังสือเวียน ของกระทรวงการคลัง เรื่อง การเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต ... สำหรับ ผู้ที่ใช้สิทธิข้าราชการ ต้องโหลดไปศึกษา จะมีข้อกำหนดหลายอย่างที่จะเิบิกยากลุ่มนี้ เช่น อายุมากกว่า 56 ปี ต้องจ่ายเงินเองก่อนแล้วนำไปเบิกที่หน่วยงาน (ใช้ระบบเบิกตรงไม่ได้) หมอสั่งยาได้ไม่เกิน 6 สัปดาห์/ครั้ง ต่อเนื่องกันไม่เกิน 3 เดือน เป็นต้น เวลาเบิกเงินคืนจะได้ไม่เกิดปัญหา นะครับ //www.cgd.go.th/wps/wcm/connect/edff068047663b83884adfd1be5c0516/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%99.pdf?MOD=AJPERES //www.dol.go.th/landdoc/images/medias/landdoc/file/kcm_9.pdf หมายเหตุ ขอบคุณ อ.สารเนตร์ ไวคกุล และ ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ด้วยครับ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() //www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=41 ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับกลูโคซามีน (glucosamine) ในโรคข้อเสื่อม โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่พบว่ามีการสึกกร่อนของกระดูกอ่อน เนื่องจากมีปริมาณของโปรตีโอไกลแคน (proteoglycans) ลดลง ทำให้ความสามารถในการรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อลดลง เกิดอาการปวดขึ้นเมื่อมีการลงน้ำหนัก หรือมีกิจกรรมบนข้อนั้นๆ จากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อนที่พบในผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมดังกล่าวนี้ จึงทำให้เกิดแนวคิดในการนำเอากลูโคซามีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นของการสร้างโปรตีโอไกลแคนที่เป็นองค์ประกอบในกระดูกอ่อนมาใช้เพื่อรักษาหรือชะลอการเสื่อมของข้อในโรคข้อเสื่อม กลูโคซามีน (glucosamine) เป็นสารประกอบประเภทน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) ที่ปกติถูกสร้าง และพบในร่างกายของทุกคนอยู่แล้ว กลูโคซามีนจะถูกนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารขนาดโมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีโอไกลแคน, ไกลโคโปรตีน (glycoprotein), ไกลโคสามิโนไกลแคน (glycosaminoglycan), กรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid) สารเหล่านี้เป็นส่วนประกอบในเนื้อเยื่อเกือบทุกชนิดของร่างกาย โดยจะพบได้มากที่กระดูกอ่อน (cartilage)ซึ่งจะอยู่ที่บริเวณส่วนปลายของกระดูกโดยเฉพาะที่ข้อต่อ กระดูกอ่อนนั้นประกอบด้วยเมทริกซ์ของเส้นใยคอลลาเจนที่มีโปรตีโอไกลแคนอยู่ภายใน โดยโปรตีโอไกลแคนเป็นสารโมเลกุลใหญ่ที่มีความสามารถในการดึงน้ำเข้ามาหาตัวเองได้ดี จึงทำให้กระดูกอ่อนมีความยืดหยุ่น และสามารถรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อได้ ซึ่งจัดเป็นบทบาทสำคัญของกลูโคซามีนในเรื่องการทำงานของข้อ นอกจากนี้กลูโคซามีนยังมีผลยับยั้งการทำงานของสารอักเสบได้หลายชนิด จึงมีผลลดการอักเสบของข้อด้วย กลูโคซามีนที่มีจำหน่ายแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ตามการขึ้นทะเบียน คือ (1) ยาอันตราย และ (2) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันในขั้นตอนการยื่นขอขึ้นทะเบียน รวมถึงเอกสารที่จำเป็นในการขอขึ้นทะเบียน กล่าวคือ กลูโคซามีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อม ซึ่งจะต้องมีเอกสารยืนยันถึงการศึกษาทางการแพทย์ที่แสดงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารดังกล่าว และการใช้ยาจะอยู่ภายใต้การสั่งใช้จากแพทย์เท่านั้น ส่วนกลูโคซามีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงใช้รับประทาน นอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลักตามปกติ และในการขอขึ้นทะเบียนไม่จำเป็นต้องแสดงการศึกษาทางการแพทย์ประกอบ สำหรับในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุขได้อนุญาตให้มีกลูโคซามีนชนิดที่เป็นยาอันตรายเท่านั้นที่ได้รับการขึ้นทะเบียน และจำหน่ายในประเทศได้ ทั้งยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของกลูโคซามีนมีจำหน่ายในรูปแบบของสารประกอบเกลือหลายชนิด เช่น เกลือซัลเฟต (glucosamine sulfate), เกลือไฮโดรคลอไรด์ (glucosamine hydrochloride), เกลือคลอโรไฮเดรต (glucosamine chlorohydrate หรือ N-acetylglucosamine) ซึ่งทำให้ขนาดโมเลกุลและคุณสมบัติอื่นๆ ของกลูโคซามีนมีความแตกต่างกันไป เช่น ความคงตัวเมื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ในผลิตภัณฑ์ของกลูโคซามีนซัลเฟตยังมีการเติมโซเดียม หรือโปแตสเซียมในสูตรตำรับ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์มีความคงตัวเพิ่มขึ้น โดยกลูโคซามีนซัลเฟตเป็นกลูโคซามีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตรายและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ส่วนกลูโคซามีนในรูปแบบอื่นจะขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ด้านประสิทธิภาพของกลูโคซามีนต่อโรคข้อเสื่อม พบว่าการศึกษาทางการแพทย์ขนาดใหญ่ส่วนมากเป็นการศึกษาโดยใช้กลูโคซามีนซัลเฟต (glucosamine sulfate) ที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้รับกลูโคซามีนซัลเฟตในขนาด 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลานาน 3 ปี ช่วยลดอาการปวด และช่วยลดการแคบของข้อได้เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้ยา (หรือใช้ยาหลอก) แต่การใช้กลูโคซามีนซัลเฟตในระยะสั้น เช่น 3-6 เดือน พบว่าผลการศึกษามีทั้งสองแบบ คือ ให้ผลดีในการรักษา และไม่เห็นความแตกต่างในการรักษาเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้ยา นอกจากนี้การศึกษาในผู้ป่วยข้อสะโพกเสื่อมก็ไม่แสดงประโยชน์เหนือกว่าการไม่ใช้ยาเช่นกัน สำหรับกลูโคซามีนในรูปแบบอื่นนั้น พบว่ามีการศึกษาทางการแพทย์บ้าง แต่เป็นเพียงการศึกษาขนาดเล็ก จำนวนผู้ป่วยที่ใช้ศึกษาน้อย เช่น การใช้กลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม พบว่ากลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ให้ประสิทธิภาพในการระงับปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้ไม่แตกต่างจากกลูโคซามีนซัลเฟต จากข้อมูลการศึกษาทางการแพทย์ของกลูโคซามีนดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของกลูโคซามีนในโรคข้อเสื่อมนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น รูปแบบเกลือของกลูโคซามีน ตำแหน่งข้อที่เกิดการเสื่อม ขนาดยาที่ใช้ ระยะเวลาในการใช้ ซึ่งผู้บริโภค/ผู้ป่วยที่มีความประสงค์จะรับประทานกลูโคซามีน โดยเฉพาะในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สามารถหาซื้อได้เองจากร้านขายยาทั่วไป ควรศึกษาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้เข้าใจ หรือปรึกษาแพทย์/เภสัชกรเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงประโยชน์ที่จะได้รับให้มากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้กลูโคซามีนแล้ว กลูโคซามีนในทุกรูปแบบยังมีข้อควรระวังและทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ด้วย ดังนี้ - อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยจากการรับประทานกลูโคซามีน คือ คลื่นไส้ ท้องเสีย แสบท้อง ปวดท้อง ท้องอืด นอกจากนี้ยังอาจพบอาการง่วงซึม ผื่นแพ้ผิวหนัง แพ้แสง ปากคอบวม (angioedema) หรือกระตุ้นให้เกิดการจับหืดได้ - ควรระมัดระวังการแพ้ในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้อาหารทะเล โดยเฉพาะกุ้ง ปู เพราะกลูโคซามีนที่มีจำหน่ายสังเคราะห์มาจากเปลือกของสัตว์ดังกล่าว - ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะถ้าไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมายการรักษา เพราะมีรายงานในสัตว์ทดลองว่ากลูโคซามีนทำให้การหลั่งอินซูลินลดลงได้ ถึงแม้ว่าจะยังไม่พบรายงานดังกล่าวในคนก็ตาม บทความโดย: อาจารย์ ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ![]() โดย: หมอหมู
![]() สมาคม ESCEO ชี้คริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) แตกต่างจากกลูโคซามีนชนิดอื่นๆ และควรเป็นยาพื้นฐานในการรักษาโรคข้อเสื่อม
ลีแยร์ฌ, เบลเยียม--2 ธ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ คณะทำงานเฉพาะกิจของสมาคม European Society for Clinical and Economic Aspects of Osteoporosis and Osteoarthritis (ESCEO) และแพทย์ผู้เชียวชาญจากทั่วโลก ได้มีมติร่วมกันในการใช้แนวทางการรักษาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนของ ESCEO ในทางปฏิบัติและหาข้อสรุปร่วมกันในข้อมูลทั้งหมดของกลูโคซามีน เพื่อชี้ชัดถึงความแตกต่างระหว่างคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) ซึ่งผ่านการรับรองทางคลินิก กับกลูโคซามีนชนิดอื่นๆที่ไม่ได้ผลในทางคลินิก (โลโก้: //photos.prnewswire.com/prnh/20151124/290592LOGO ) (Place and date)-แม้ว่าจะมีแนวทางปฏิบัติสำหรับการรักษาโรคข้อเสื่อมที่คำนึงด้านหลักฐ านทางการศึกษาจากองค์กรต่างๆทั้งในยุโรป อเมริกา และทั่วโลกแต่ก็ยังไม่สามารถสร้างมาตรฐานการรักษาร่วมกันได้ แต่เดิมการรักษาโรคข้อเสื่อมนิยมใช้ยาระงับปวดและยาต้านการอักเสบ โดยมีพาราเซตามอลเป็นยาพื้นฐานที่ใช้บรรเทาอาการปวด แต่ก็เกิดความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ยา ซึ่งรวมถึงผลข้างเคียงต่อทางเดินอาหารและตับ นอกจากนี้แนวทางการรักษาเกือบทั้งหมดไม่ได้ระบุชัดเจนถึงความแตกต่างระหว่าง กลูโคซามีนที่ได้รับการพิสูจน์ทางคลินิก (จากเกณฑ์ที่มีหลักฐานการศึกษารองรับและ Cochrane Review) กับกลูโคซามีนที่ไม่ได้รับการพิสูจน์ทางคลินิก ยกเว้นแนวทางการรักษาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนของ ESCEO ซึ่งระบุถึงความแตกต่างไว้อย่างชัดเจน จึงก่อให้เกิดความไม่สอดคล้องในแนวทางการรักษาโรคข้อเสือม อีกทั้งทำให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติด้วย แนวทางการรักษาอย่างเป็นขั้นตอนของ ESCEO นำเสนอทางเลือกใหม่ ด้วยการใช้ยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่ออกฤทธิ์ช้า (SYSADOAs) ซึ่งมีคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร(pCGS) เป็นยาพื้นฐาน และเสริมด้วยยาพาราเซตามอลเพื่อระงับปวดตามความจำเป็น ศาสตราจารย์ ฌอง-อีฟ รีจินส์เตอร์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานของ ESCEO กล่าวว่า "แนวทางของ ESCEO แนะนำให้ใช้ยา SYSADOAs โดยเฉพาะคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟตที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) และคอนดรอยติน ซัลเฟต ที่จดทะเบียนเป็นยา ให้เป็นยาพื้นฐานในการรักษาโรคข้อเสื่อม ปัจจุบันเห็นได้ชัดว่ายาต่างๆไม่ได้มีประสิทธิภาพเหมือนกันทั้งหมด และความแตกต่างระหว่างแนวทางการรักษาทั้งหลายสะท้อนให้เห็นถึงความจริงที่ว่ า แนวทางเหล่านี้ไม่ได้พิจารณาการรักษาจากยาตัวเดียวกัน" "สาระสำคัญประการแรกที่ได้จากการประชุมคือ แนวทางการรักษาทั้งหมดล้วนเห็นตรงกันว่ากลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์ไม่ได้ผลในการรักษา ตัวยาดังกล่าวไม่เคยได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพในการทดลองทางคลินิก และไม่เคยมีการวิจัยใดๆที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการรักษาของกลูโคซามี น ไฮโดรคลอไรด์แต่อย่างใด" ศาสตราจารย์ รีจินส์เตอร์ กล่าวเสริมว่า "ในส่วนของกลูโคซามีน ซัลเฟตที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน พบว่ายังมีความแตกต่างในแต่ละสูตรตำรับ โดยสูตรตำรับยาส่วนใหญ่มักไม่คงตัวและไม่ควรนำไปใช้เพราะถือว่าเป็นยาปลอม ซึ่งอ้างว่าเป็นสูตรตำรับที่มีความ"คงตัว" แต่เป็นเพียงการผสมกลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์ และโซเดียม ซัลเฟต เข้าด้วยกันเท่านั้นซึ่งไม่มีความคงตัวแต่อย่างใด เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ โมเลกุลจะต้องถูกทำให้คงตัวในรูปของคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร(pCGS) โมเลกุลที่ถูกทำให้คงตัวเท่านั้นที่สามารถทำให้มีระดับความเข้มข้นของยาเพีย งพอที่จะส่งผลในการรักษาทั้งในกระแสเลือดและน้ำเลี้ยงข้อ และมีข้อมูลการทดลองที่แสดงถึงประสิทธิภาพอย่างชัดเจน ในมุมมองของการดำเนินไปตามธรรมชาติของโรคข้อเสื่อม การใช้สั่งใช้ยากลูโคซามีนที่ไม่มีความคงตัว จากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณ เพราะเป็นที่ทราบดีว่าในท้ายที่สุดผู้ป่วยจะไม่ได้รับประโยชน์อันใดจากผลการ รักษานั้นเลย" สรุป การประชุมครั้งนี้ก่อให้เกิดความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการเห็นพ้องร่วมกันถึง ความแตกต่างของแนวทางในการรักษา โดยคณะทำงานเฉพาะกิจต่างเห็นพ้องร่วมกันในความแตกต่างระหว่างคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) ซึ่งได้รับการพิสูจน์ทางคลินิกและจดทะเบียนเป็นยา กับกลูโคซามีนประเภทอื่นๆ หลักฐานทางคลินิกของคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร - มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าในแง่ของการลดอาการปวดและการทำงานของเข่า - ช่วยชะลอการดำเนินไปของโรค ด้วยเหตุนี้ คริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) จึงเหนือกว่ากลูโคซามีนประเภทอื่นๆที่วางจำหน่ายในตลาด โดยเป็นกลูโคซามีนเพียงชนิดเดียวที่มีความคงตัวและมีความน่าเชื่อถือทางการร ักษา โดยส่งผลให้มีระดับความเข้มข้นของกลุโคซามีนที่ให้ผลในการรักษาทั้งในกระแสเ ลือดและและในข้อ ดังนั้นเมื่อจะสั่งยาพื้นฐานในการรักษาโรคข้อเสื่อม แพทย์ควรพิจารณาคริสตัลไลน์ กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร (pCGS) ซึ่งถือได้ว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แหล่งข่าว: ESCEO โดย: หมอหมู
![]() อายุรศาสตร์ ง่ายนิดเดียว
https://www.facebook.com/medicine4layman/photos/a.1454742078175154.1073741829.1452805065035522/1935598710089486/?type=3&theater อ่านมาเล่าให้ฟัง ยารักษาเข่าเสื่อมสามตัว glucosamine, chondroitin และ hyarulonic acid ติดค้างมานานแล้ว ตกลงข้อมูลว่าไง 🍖🍖 รู้จักยาสามตัวนี้คร่าวๆก่อน🍖🍖 glucosamine กับ chondroitin เป็นยากินหวังผลไปเพิ่มประสิทธิภาพและการสร้างกระดูกอ่อน เนื่องจากโรคข้อเสื่อมนั้นอวัยวะสำคัญที่ถูกทำลายคือกระดูกอ่อน สารทั้งสองตัวนี้สกัดมาจากสัตว์ glucosamine มาจากเปลือกแข็งสัตว์ทะเล ส่วน chondroitin มาจากกระดูกอ่อนของสัตว์ แต่ไม่ต้องกังวลได้ผ่านกรรมวิธีมาจนรับรองว่าใช้ได้แล้ว สำหรับ hyaluronic acid จะเหมือนสารกันชนและหล่อลื่นในข้อ ในกลุ่มข้อเสื่อมสารนี้จะลดลง เป็นยาฉีดเข้าข้อ ยาตัวนี้มีความหลากหลายมากและผลการรักษาก็ขึ้นกับชนิดของยา เช่น มวลโมเลกุลมากหรือน้อย เกลือที่มาผสมกับ hyaluronic acid ที่ส่งผลต่อการแตกตัว ความคงรูป ก็ทำให้ผลการรักษาต่างกัน 🍟🍟เราใช้ยาทั้งสามตัวนี้เพื่ออะไร🍟🍟 แน่ละก็เพื่อทดแทนความเสื่อม เพื่อหวังผลสองประการคือนิยมใช้วัดผลคือ การลดปวด และสมรรถภาพข้อที่ดีขึ้นคือความสามารถในการเคลื่อนที่ ส่วน hyaluronic acid จะหวังผลลดปริมาณการผ่าตัดรักษาข้อเสื่อมโดยเฉพาะข้อเข่าด้วย เมื่อมันทำหน้าที่เป็นยา ก็ต้องมีการศึกษาที่ละเอียดบอกถึงประโยชน์ ผลเสีย ข้อบ่งใช้ ข้อควรระวังที่ชัดเจน มีการศึกษามากมายทั้งสังเกตเอา ทดลองทดสอบ รวบรวมการศึกษา ที่ผมรวบรวมและทบทวนมานี้เป็นระดับการรวบรวมการศึกษาและแนวทางการรักษา โดยไปค้นเสริมการศึกษาย่อยๆที่น่าสนใจ 🍳🍳มีคำแนะนำที่เป็นแนวทางจากสมาคมแพทย์ต่างๆหรือไม่🍳🍳 ข้อดีสำหรับยายุคนี้คือหากมีการศึกษาก็จะบอกได้ว่าหลักฐานเป็นอย่างไร แข็งแรงแน่นหนาหรืออ่อนยวบ เพื่อมาประกอบคำแนะนำ หลายๆแนวทางที่ผมค้นมาเป็น backbone ยึดหลักในการอ่านและค้นต่อคือ คำแนะนำของ american colleges of rheumatology, american associations of orthopedics surgery, NICE UK guidelines ปรากฏว่าแนวทางออกมาคล้ายๆกัน รวมทั้งการรวบรวมการศึกษาแบบ systematic review อีกสามสี่อันที่จะบันทึกไว้ตอนท้าย ข้อมูลไปในทางเดียวกันทั้งสิ้น (ความน่าเชื่อถือสูง ทั้งตรงกันและแม่นยำ) 🌮🌮 glucosamine และ chondroitin ผลเป็นอย่างไร🌮🌮 หลักฐานทั้งหมดมาจากหลักฐานชั้นดีทั้งสิ้นว่า ไม่แนะนำ การใช้ยาทั้งสองในการรักษาผู้ป่วยข้อเสื่อมที่มีอาการ เพราะจากการทบทวนทั้งหมดพบว่าประสิทธิภาพในการลดปวด และประสิทธิภาพการใช้งานของข้อ สำหรับglucosamine ไม่ได้ต่างจากยาหลอกและการรักษามาตรฐานตามปกติ (ทั้ง glucosamine sulphate และ glucosamine hydrochloride) ส่วน chondroitin มีหลักฐานเช่นกันว่าสำหรับอาการปวดนั้น ลดได้มากกว่ายาหลอกก็จริงแต่ว่าไม่มีนัยสำคัญทั้งทางคลินิกและทางสถิติ ส่วนประสิทธิภาพข้อนั้น ไม่ได้ดีกว่ายาหลอกเลย แนวทางทั้งหมดจึงไม่แนะนำการใช้ยาทั้งสองชนิดนี้ แม้โทษจะไม่มีชัดเจน แต่ประโยชน์ก็ไม่ชัดเจนเช่นกันมีแนวโน้มไปทางไม่ต่างจากยาหลอกด้วย หากเทียบกับการรักษาอื่นๆมาตรฐานเช่นการลดน้ำหนัก การทำกายภาพ หรือยาแก้ปวดพาราเซตามอล การรักษามาตรฐานให้ผลการรักษาที่ดี ราคาไม่แพง ทรงประสิทธิภาพกว่า 🍜🍜แล้วยาฉีดเข้าข้อ hyaluronic acid จะดีกว่าไหม🍜🍜 หลักฐานทั้งหมดก็มาจากข้อมูลที่ดีเชื่อถือได้ดีเช่นกันว่า ไม่แนะนำ การใช้ยาฉีดเข้าข้อเพื่อรักษาอาการปวดและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานข้อ แต่...ตรงนี้เสียงจะแตกเล็กน้อย ไม่เป็นเสียงเดียวกัน เพราะจากการศึกษาแม้ภาพรวมจะดูประโยชน์ไม่มาก คือลดปวดได้จริงและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานข้อได้เพิ่มขึ้น หากไปเทียบกับการรักษามาตรฐานหรือยาหลอก แต่ว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้น มันน้อยเกินกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ (Minimal Clinically Important Improvement) ที่จะบอกว่าส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม โดย hyaluronic ชนิดโมเลกุลหนักจะให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า 🍦🍦แล้วมีที่ใช้บ้างไหม🍦🍦 สมาคมโรครูมาตอยด์ หรือ หลายๆวารสารที่มีความน่าเชื่อถือสูง รวมทั้งมีการศึกษาตีพิมพ์ในจดหมายเหตุการแพทย์ของไทยด้วยว่า มันก็ยังพอมีที่ใช้ เพราะการศึกษากลุ่มย่อยบางกลุ่มก็สามารถลดปวดได้ดี และชะลอการผ่าตัดได้ (เช่นผู้ที่มีโรคร่วมมากๆ มีข้อห้ามการใช้ยาต้านการอักเสบ) ลดการใช้ยาตัวอื่นที่มีผลข้างเคียงสูงได้ อันนี้คือ hyaluronic นะ ส่วนยากินนั้นค่อนข้างชัดและตรงกันว่าไม่เกิดประโยชน์ คำแนะนำของสมาคมโรครูมาติซั่มของอเมริกา แนะนำใช้ได้หากให้การรักษาทางกายภาพแล้วและให้ยาแก้ปวดลดการอักเสบเต็มขนาดแล้ว อาจจะ..ใช้คำว่าอาจจะ..ใช้ยาฉีดก่อนที่จะไปสู่ขั้นตอนการรักษาต่อไปคือการผ่าตัด ---&& อันนี้ส่วนตัวนะ ผมคิดว่าอาจจะเป็นการรักษาเพื่อชะลอการผ่าตัดเท่านั้น (เพราะน่าจะถึงขั้นต้องผ่าแล้วล่ะ) ผลระยะยาวและประสิทธิภาพโดยรวมไม่น่าจะชนะการผ่าตัดได้ แต่ว่าบางคนก็โรคร่วมมาก หรือรอคิวผ่าตัดในการปรับร่างกาย ยาตัวนี้ก็อาจมีที่ใช้ โดยคำนึงถึงราคาด้วยนะ&&-- 🍞🍞ผลเสียล่ะ🍞🍞 การฉีดยาอาจเกิดการติดเชื้อหากใช้ไม่ระวัง หรืออาจมีการเจ็บและอักเสบหลังฉีดยาได้ pseudoseptic reaction ได้ และราคาที่ไม่ถูกเอาเสียเลย ต้องฉีดต่อเนื่องกันหลายครั้งหลายเข็มในหนึ่งการรักษา ส่วนข้อสะโพกยังไม่มีการศึกษาที่ยืนยันได้ชัดเจนทั้งประโยชน์และโทษเหมือนข้อเข่านะครับ สรุป...ปรับชีวิต...กายภาพ...ยาแก้ปวดผลข้างเคียงต่ำ...ยาต้านการอักเสบ..."อาจ"เลือกใช้ยาฉีดเข้าข้อ...ผ่าตัดรักษา น่าจะเป็นการดูแลรักษาโรคข้อเสื่อมที่ดี โดยเฉพาะข้อเข่า อ้อ...อย่าไอมากนัก เพราะ ไอมากจะเจ็บเข่า ที่มา -AHRQ april 2009 -GAIT trial -Clin Orthop Relat Res (2014);472:2028-34 -AAOS recommendation 2009 -ACR positional statement 2014 -Correspondence in NEJM 2015;372:2569-70 ...เถียงกันสนุกดี -NICE guidelines 2014 -OARSI recommendation in osteoartritis & cartilage 2014;22:363-88 -J Med Assoc Thai 2007 Sep;90(9) -Medscape review 2013, June 19 ข้อเข่าเสื่อม https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=15 ข้อเข่าเสื่อม น้ำไขข้อเทียม https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=16 ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ ขยายเวลาให้ข้าราชการ เบิกค่ายากลูโคซามีน ได้ ( คดีพลิกอีกแล้วครับท่าน ) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-12-2012&group=7&gblog=171 ขรก.เบิกกลูโคซามีนได้แล้ว หลังศาลปกครองมีคำสั่งเพิกถอนเกณฑ์ ก.คลัง https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-05-2015&group=7&gblog=187 คลังสั่งถอน กลูโคซามีนซัลเฟต จากระบบเบิกค่ายา ขรก. ..ห้ามเบิกตั้งแต่ ๑ พย. ๕๕ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-10-2012&group=7&gblog=161 คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก) ttp://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-04-2011&group=7&gblog=132 คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..( ต่อ ) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-04-2011&group=7&gblog=134 คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..(จบ?) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2011&group=7&gblog=146 โดย: หมอหมู
![]() |
บทความทั้งหมด
|
หนังสือเวียน ของกระทรวงการคลัง เรื่อง การเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต ... สำหรับ ผู้ที่ใช้สิทธิข้าราชการ ต้องโหลดไปศึกษา จะมีข้อกำหนดหลายอย่างที่จะเิบิกยากลุ่มนี้ เช่น อายุมากกว่า 56 ปี ต้องจ่ายเงินเองก่อนแล้วนำไปเบิกที่หน่วยงาน (ใช้ระบบเบิกตรงไม่ได้) หมอสั่งยาได้ไม่เกิน 6 สัปดาห์/ครั้ง ต่อเนื่องกันไม่เกิน 3 เดือน เป็นต้น เวลาเบิกเงินคืนจะได้ไม่เกิดปัญหา นะครับ
//www.cgd.go.th/wps/wcm/connect/edff068047663b83884adfd1be5c0516/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%99.pdf?MOD=AJPERES
//www.dol.go.th/landdoc/images/medias/landdoc/file/kcm_9.pdf
คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม ..(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-04-2011&group=7&gblog=132
คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..( ต่อ )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-04-2011&group=7&gblog=134
คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..(จบ?)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-07-2011&group=7&gblog=146
แนวปฏิบัติ บริการ ดูแลรักษา ข้อเข่าเสื่อม พศ. ๒๕๕๓ ของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์
//www.mediafire.com/?q6jqyvyci46b51s
คลัง ส่งหนังสือด่วนถึง รพ.อนุมัติเบิกจ่ายยาข้อเสื่อมได้แบบมีเงื่อนไข
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-07-2011&group=7&gblog=142
ข้อเข่าเสื่อม
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=15