เหยื่อของรัฐ : ระบบการแพทย์ - สาธารณสุขของไทย ... โดย ..ศจ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา


เหยื่อของรัฐ: ระบบการแพทย์-สาธารณสุขของไทย


ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

//www.cueid.org
fmedthm@gmail.com





ณ นาทีนี้พวกเราทั้งประชาชนที่เจ็บป่วยอยู่ และยังไม่ป่วย รวมทั้งหมอ บุคลากรทางสาธารณสุข คงไม่สบายใจ และวิตก อนาคตจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคนไข้และหมออยู่ด้วยความหวาดระแวง



บทความนีเ้ป็น ความเห็นส่วนตัว ผ่านประสบการณ์ที่เป็นหมอประจำโรงเรียนแพทย์ เคยทำงานนอกเวลาที่โรงพยาบาลเอกชนแต่ไม่ได้ทำมา 18 ปีแล้ว และต้องทำงานสอนนักเรียนแพทย์ แพทย์ที่กำลังฝึกอบรมเป็นผู้เชี่ยวชาญ ทางอายุรกรรม และอายุรกรรมประสาท บรรยากาศของการแพทย์-สาธารณสุขไทยเริ่มมีกลิ่นอายเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆของอารยธรรมตะวันตก โดยเฉพาะของสหรัฐ ไม่ต่ำกว่า 25 ปีมาแล้ว



ลักษณะ ของการแพทย์พาณิชย์ เริ่มชัดเจนตัง้แต่โรงพยาบาลเอกชนเป็นบริษัทมหาชนเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพื่อมีกำไรแก่ผู้ถือหุ้น การตรวจเพื่อการป้องกัน-รักษา และ วิธีการรักษา ตลอดจนการใช้ยาเริ่มไม่สมเหตุสมผล และการเจาะจงเลือกยาที่อาจไม่จำเป็น เช่น หวัด ได้ ยา 6 ชนิด คือ ยาแก้แพ้ ยาลดนำ้มูก ยาละลายเสมหะ ยาแก้ไอ ยาลดบวม และยาปฏิชีวนะ ทัง้ๆที่ถ้าเป็น หวัดธรรมดาจากไวรัสหวัดเพียงดื่มนำ้อุ่น พักผ่อน ถ้ามีไข้ใช้ยาพาราเซตามอลเท่าที่จำเป็น และใช้ยาฆ่าเชื้อ (ยาปฏิชีวนะ) เมื่อมีเสมหะเขียว หรืออาการรุนแรง ฯลฯ ค่ายาจากอาการหวัดอย่างเดียวอาจตกไปถึง 5,000-7,000 บาท แถมอาจมียาฉีดด้วย และถ้าเป็นการผ่าตัดไส้ติ่งอาจสูงไปถึง 100,000 บาท จนจะ เท่ากับค่าใช้จ่ายผ่าตัดสมองในโรงพยาบาลรัฐด้วยซำ้

การให้การบริการเชิงพาณิชย์ อาศัยจุดอ่อน ช่องโหว่ ของ รพ.รัฐ ซึ่งช้าไม่สะดวก การบริการไม่ประทับใจ เปรียบได้กับเป็นการใช้เงินซือ้ความสะดวกสบาย แต่ โรงพยาบาลเอกชนก็ยังมีประโยชน์ในการหาเงินเข้ารัฐจากผู้ป่วยที่มารับบริการ จากต่างประเทศแต่ทัง้นี้ ทัง้นัน้ มาตรฐานของการรักษาก็ควรที่จะอยู่ในกรอบเดียวกัน



จาก ค่าใช้จ่ายที่มากมาย และหลายครั้ง อาจจะเกินจริง ทำให้เกิดความระแวง แคลงใจ จนถึงขั้น ไม่พอใจของคนไข้ ถ้าผลการรักษาไม่ประสบ ความสำเร็จตามที่หวัง ปัจจัยที่กระพือความระแวงของคนไข้ ยังประกอบไปด้วยความผิดพลาดของตัวหมอที่ดูแลคนไข้ ซึ่งเกิดพลาดในจุดที่สำคัญ ซึ่งในประเด็นนีต้้องมีการแยกแยะให้ถ่องแท้ว่าเป็นจุดที่ทางการแพทย์ยอมรับ ได้หรือไม่



ทัง้นีเ้มื่อใดที่มีการวิเคราะห์ ความผิดพลาดย้อนหลัง มักจะเป็นเรื่องง่ายเสมอที่จะเห็นข้อผิดเยอะ ไปหมด แต่ ณ เวลานั้น ที่อยู่ข้างๆคนไข้ โดยที่มีอาการซับซ้อน แทบเป็นไปไม่ได้ที่จะทำอะไรได้ถูกต้องเสมอไป

แต่ก็ยังคงมีความผิดพลาดอื่นๆ ที่สำคัญกว่าตรงที่หมอขาดความรู้ที่ทุกหมอพึงจะต้องมี หรือไม่สนใจ ดูแลคนไข้ ทางแก้ที่วิชาชีพแพทย์พยาบาลทำมาตลอด คือ การให้ความรู้ต่อเนื่อง ซึ่งปรากฎว่าในช่วงเวลา ที่ผ่านมามีการจัดประชุมวิชาการต่อเนื่องทุกแขนงมาตลอด แต่มีบริษัทยาซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดประชุมด้วยใน สัดส่วนที่มาก ดังนัน้ ถึงจะประกอบด้วยวิชาการวิทยาการสมัยใหม่ แต่ก็มีการส่งเสริมการขายยา ซึ่งแพง มากเข้ามาด้วย และเกิดความโน้มเอียงให้มีการใช้ยานัน้ ๆ โดยที่อาจไม่จำเป็นทัง้ ๆ ที่มียามาตรฐานอยู่แล้ว ดังนัน้ เกิดการใช้ยาไขมัน ยาลดความดันโลหิต ยาปฎิชีวนะ โดยมียาราคาถูกที่มีคุณภาพอยู่แล้วในบัญชี ยาหลักแห่งชาติ จนสูญเสียเงินมากกว่า 60,000 – 70,000 ล้านบาทต่อปี



แต่สาเหตุที่หมอจะเรียนให้ทราบต่อไปอาจเป็นประเด็นที่สำคัญมากที่สุดข้อหนึ่ง คือ การที่รัฐบาล ในยุคต่างๆที่ผ่านมาใช้การแพทย์-สาธารณสุข เป็นจุดขาย จุดเด่น ในการหาเสียง หาคะแนนนิยม

ถ้าถาม ว่าผิดหรือไม่ที่มี 30 บาทรักษาทุกโรค หรือบัตรประกันสุขภาพสำหรับคนไทยทุกคน คำตอบคือไม่ผิด และ ถือเป็นความสำเร็จยิ่งใหญ่ของประเทศที่คนไทยหลายๆล้านคนเข้าถึงการรักษาได้ อย่างยุติธรรม แต่ที่ รัฐบาลทำมากเกินไป คือ การหาคะแนนเสียง โดยตอกยำ้และให้ความมั่นใจว่าการบริการที่สำคัญคือการ รักษานัน้ ดีเลิศประเสริฐทัง้หมด ทัง้ๆที่ความเป็นจริงคือ การรักษาจะเป็นไปได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ระดับ สูงสุด แต่ดีกว่าที่ผ่านมามาก เช่นการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูน และการขยายหลอดเลือด การผ่าตัดอวัยวะหลายชนิด การรักษาโรคทางยา เป็นต้น



แต่ เนื่องจากการให้ข้อมูลจากรัฐเองทำให้คนไข้ เกิดความคาดหวังสูงสุด เมื่อผลที่ได้รับไม่สุดยอด เกิดความผิดหวัง และถึงกับฟ้องร้อง แม้แต่การผ่าตัด เนือ้ งอกทาง หู คอ จมูก หรือสมองบางชนิด การที่จะเอาเนือ้ งอกออกได้อาจเกิดมีเส้นประสาทบางเส้น เสียหาย เช่น ปากเบีย้ว หูหนวก หลังจากการผ่าตัด แม้มะเร็งจะควบคุมได้ แต่เกิดความไม่พอใจขึน้

หมอที่อยู่ชนบทห่างไกลซึ่งมักจะเป็นผู้ด้อยประสบการณ์ที่สุด แต่ต้องรับภาระหนักสุด เมื่อต้องเจอ คนไข้อาการหนักต้องรักษาทางยาหรือผ่าตัด จะส่งต่อให้โรงพยาบาลใหญ่ก็ไม่ทันการณ์ จำเป็นต้องให้การ รักษา มีบางรายที่การผ่าตัดมีผลข้างเคียง ผู้ป่วยเสียชีวิตเมื่อมีการสอบสวน จะปรากฎว่าคนที่ดมยาหรือ ฉีดยาชาบล๊อกหลังไม่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ไม่มีใบประกาศนียบัตรรองรับ เป็นหมอธรรมดา ดังนัน้ ถือเป็น ความผิด มีบางรายถูกจับเข้าคุก เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นภาวะที่อาจต้องทำการรักษา หลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่งต่อ ไม่ทัน


ดังนั้น ในปัจจุบันจะเกิดการส่งต่อผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัด แม้จะเป็นผ่าธรรมดาไส้ติ่ง หรือเจ็บป่วยด้วยโรค ที่ยังไม่ร้ายแรงนัก แต่มีโอกาสที่อาการจะหนักขึ้น เรื่อยๆได้ แทนที่จะได้รับการผ่าตัด รักษาตั้งแต่ต้น ก็จะ ถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลจังหวัด เกิดเหตุการณ์ที่มีคนไข้ไส้ติ่งแตกมากขึ้น เรื่อยๆ ภาระที่โรงพยาบาล จังหวัด(โรงพยาบาลทั่วไป)หรือโรงพยาบาลศูนย์ต้องแบกรับมีมากขึ้น เรื่อยๆ เช่นกัน ในขณะที่งบประมาณ คงที่ หรือไม่มากนักเมื่อเทียบกับจำนวนคนไข้ที่ต้องได้รับการรักษามากขึน้ จำนวนแพทย์เท่าเดิม เวลาที่จะให้ผู้ป่วยแต่ละรายก็น้อยลง



เป็นเหตุหนึ่งที่แพทย์กลุ่มนีมี้ความกังวลมากกว่าแพทย์โรงพยาบาลชุมชน ผลกระทบสำคัญจากนโยบายสร้างความมั่นใจของรัฐ ที่โรคทุกอย่างรักษาได้ หายได้ คือทำให้ ประชาชนขาดการดูแลตนเอง ปล่อยตัว การป้องกันตนอ่อนด้อย โรคที่คนไข้เป็นขณะนีไ้ม่เป็นโรคเดียว เดี่ยวๆ มีหัวใจวาย ไตวาย ตับแข็ง ปอดบวม พร้อมกัน หรือเกิดต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่

อัตราป่วยไตวายสูง มากขึน้ ทุกปี เช่นเดียวกับเส้นเลือดหัวใจตีบ อัมพฤกษ์ คนเป็นความดันสูง ไขมันสูง อ้วน โรคเอดส์ ฯลฯ ทางแก้ของรัฐคือ ถมเงินสร้างศูนย์หัวใจ บอลลูนเส้นเลือด ศูนย์ล้างไต ฟอกเลือด การรักษาด้วยการละลาย ลิ่มเลือดในคนไข้อัมพฤกษ์

การรักษาเหล่านีเ้ป็นการรักษาเพื่อบรรเทาเยียวยา เมื่อโรคเกิดขึน้ แล้วและยัง ต้องตามต่อด้วยยานานาชนิดเพื่อพยุงให้ไม่เกิดโรคซำ้ซ้อนไปอีก แนวคิดดัง้เดิมของ 30 บาท รักษาทุกโรคและการกระจายงบลงพืน้ ที่และโรงพยาบาลชนบทมาก ที่สุดนัน้ อยู่ที่การป้องกันโรค ในขณะที่ผู้ที่เกิดโรคแล้วปริมาณจะไม่ถีบตัวสูงขึน้ มาก



แต่ อยู่ในจำนวนที่ โรงพยาบาลจะพอรองรับได้และ ณ รพ.ชุมชนก็ยังพอมีความสามารถรับมือโรคซึ่งไม่ซับซ้อนนัก และผลที่ ออกมาก็ยังค่อนข้างน่าพอใจ ข้อถกเถียงของหมอและคนไข้ NGO ขณะนี้ต่อให้อภิปรายกันอีกไม่รู้กี่ครั้ง เกรงว่าจะเกิดความบาดหมางใจกันมากขึน้ ถึงกับกลัวว่าจะมีคนเรียนหมอน้อยลง หมอที่ตัง้ใจทำงานไม่ ออกไปทำคลินิกส่วนตัวในเวลางาน ก็รับภาระมากเข้าไปอีก หมอที่อ่อนใจ อ่อนเพลียทัง้ๆที่อุทิศเวลา ชีวิต ให้คนไข้มาตลอด คงอดไม่ได้ที่จะคิดว่าถ้าพลาดเพียง 1 ราย คงหมดทุกสิ่งอย่าง หมอดีอาจอยู่ไม่ได้ ก็คง จะทยอยจากการปฏิบัติวิชาชีพไปเรื่อยๆ ซึ่งเริ่มให้เห็นมากขึน้ ทุกที

ทางออกทางแก้ของปัญหาไม่ใช่อยู่ที่ การเพิ่มโทษ ปรับ จับหมอ เพราะปรับจับหมอไม่เหมือนขับรถฝ่าไฟแดง ที่พลาดส่วนมากไม่ได้เกิดจาก ความจงใจแต่อาจมีข้อยกเว้นจากหมอพาณิชย์ที่พยายามทำโน่นทำนี่ จนเกิดความเสียหาย เสียเงิน เอา คนไข้ไม่สมควรผ่าตัดมาผ่า ในกรณีนีต้้องมีการพิจารณาอย่างเข้มงวด



โดยแพทยสภาต้องไม่ทำอย่างที่ถูก กล่าวหาว่าเป็นสภาฟอกขาว (จากดำ) การเสริมสร้างป้องกันตนจากโรคต้องทำอย่างจริงจัง ไม่ใช่โพสเตอร์ โฆษณาทางโทรทัศน์ สื่อต่าง ๆ เท่านัน้ ต้องเป็นการรณรงค์ในระดับครัวเรือน หมู่บ้าน ตำบล จังหวัด เฉกเช่น การระดมกำลังต่อสู้ข้าศึก ศัตรู ประกาศความจริงให้ทราบทัง้ประเทศ 30 บาทรักษาไม่ได้ทุกโรค ตายได้ถ้าอาการหนัก ซับซ้อน อย่า สร้างความหวังลมๆแล้งๆ สร้างภาพให้ประชาชนหย่อนล้าในการระวังตนเอง ขึน้ ภาษีนำ้อัดลม เครื่องดื่ม หวาน ของหวาน ซึ่งเป็นตัวการที่สำคัญในการเกิดโรคอ้วน และก่อให้เกิดโรคต่างๆตามมา ยอมรับความ จริง ประเทศไทยมีการขายบริการทางเพศโจ๋งครึ่ม จัดให้เป็นของรัฐดูแล ควบคุมโรคทั่วถึง และไม่ปล่อยให้ เป็นเหยื่อ แมงดา อันธพาล

การประกาศสิทธิ์เหนือสิทธิบัตรยาหรือ CL โดยละเมิดสิทธิบัตรของประเทศ ผู้ผลิต และเอามาผลิตจำหน่ายเองต้องกระทำในกรณีจำเป็น โดยอาจต้องมีมาตรการรองรับ เช่น ประกาศ CL ยาเอดส์ ต้องควบคุมดูแลให้ใช้ยาสม่ำเสมอ มิฉะนัน้ เชือ้จะดือ้ยาและก็ต้องประกาศ CL ยาใหม่ อื่นๆ อีก และต้องป้องกันผู้ป่วยหน้าใหม่อย่างเข้มงวด นั่นคือกลับมาที่การป้องกันอย่างเคร่งครัด คนไข้ไตวาย ทำไมถึงต้องมีศูนย์ล้างไตทั่วทุกหัวระแหง เคยมีการควบคุมการใช้ยาตามใจตัวเองหรือไม่ เจ็บกล้ามเนือ้ ปวดเข่า ใช้ยาแก้ปวดพรํ่าเพรื่อ ปัจจัยเหล่านีป้้องกันได้ ถ้าคิดจะทำอย่างจริงจัง



โรงเรียนแพทย์ ขณะนีอ้าจ ต้องปรับเปลี่ยนบทบาท จากที่ต้องการติดอันดับโลก วิชาการวิจัยลงวารสารแนวหน้า อาจแบ่งสรรพกำลัง ให้ความสำคัญกับการผลิตแพทย์ให้พร้อมที่จะต้องรับบทหนัก เป็นนักป้องกันโรค ผู้รักษามีความรู้เต็ม เพียบ ทำงานเป็นทีม มีจิตสำนึกและสามารถสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติ ตามวิชาการให้ทันได้ทุกนาที (ซึ่ง เป็นไปไม่ได้) แถมอาจต้องเป็นนักบัญชีเศรษศาสตร์ บริหารเงินที่ได้จากรัฐรายปี จะถึงเวลาหรือยังที่ โรงเรียนแพทย์จะประสานกับรัฐ และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อปรับหมอให้ตรงกับความต้องการ และหมอ ที่สามารถมีบทบาทได้ตรงเป้า ถ้าจะให้โรงพยาบาลชุมชนผ่าตัดได้ด้วยความสบายใจ ไม่ต้องส่งตัวทุกราย จำเป็นต้องสร้างบุคลากรรองรับ กำหนดอัตรากำลังให้เหมาะสม ให้มีรายได้พอควร ไม่ต้องออกเร่ทำงาน อยู่เวร ทำคลินิก จนหมดแรง ไม่ใช่ปล่อยให้หมอเผชิญชะตากรรมกันเองและถูกฟ้องอีกว่า ฝีมือไม่ถึง


ถ้า รัฐไม่ตัง้ใจหลงทาง ออดอ้อนประชาชน ขอคะแนนเสียง ป้อนคำสัญญาเป็นอะไรก็รักษาได้ ปล่อยให้หมอรับบทหนัก ซึ่งแม้จะมีกองทุนเยียวยาทันทีก็ตาม ซึ่งถือเป็นเรื่องดี แต่คุณภาพการรักษา ความปลอดภัยและชีวิตของผู้ป่วย คงไม่ได้ดีขึน้ ผ่านการออกกฎหมายใด ๆ แต่ชีวิตร่างกายเสียหายพิการ และจิตใจที่สูญเสียไป ไม่ใช่เป็นแต่คนไข้ ญาติ แต่ของหมอทุกคนด้วยครับ





Create Date : 16 สิงหาคม 2553
Last Update : 16 สิงหาคม 2553 12:07:49 น.
Counter : 2344 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]

บทความทั้งหมด