บทวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงแก้ไข “ร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ” ... โดย นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ




บทวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงแก้ไข “ร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข”


นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ (พบ. ประสาทศัลยศาสตร์ นบ. mMM in health)




1-มาตรา ๑

ต้องเปลี่ยนคำว่า “ผู้เสียหาย” เป็น “ผู้ได้รับผลกระทบ” เพื่อให้ครอบคลุมผู้ป่วยที่ต้องการ และ ต้องเปลี่ยนคำว่า “การรับบริการสาธารณสุข” เป็น “ระบบบริการสาธารณสุข” เพื่อให้ครอบคลุมทั้ง ผู้ให้ (รัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๐(๒)) และ ผู้รับบริการ


2-มาตรา ๖

ต้องบัญญัติเพื่อ

- ให้ครอบคลุมกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องช่วยเหลือ ได้แก่ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการทำทุรเวชปฏิบัติ และ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข เช่น ขาดบุคลากร ขาดเครื่องมือ หรือ อาจครอบคลุมไปถึงผลกระทบ (ผลข้างเคียง) ที่เกิดจากกระบวนการรักษาตามมาตรฐานแล้ว เป็นสิ่งที่นาน ๆ จะเกิดขึ้นสักครั้งแต่ส่งผลเสียรุนแรงต่อร่างกายผู้ป่วย (Medical mishaps) เช่น กรณีแพ้ยารุนแรง จนตาบอด กรณีamniotic fluid embolism (น้ำคร่ำหลุดเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือด)

- ป้องกันผู้ที่หวังจะได้เงินโดยไม่สมควร เช่นกรณีอ้างเอาผลกระทบจากการรักษาตามาตรฐานมาเป็นช่องทางได้รับเงิน กรณีที่กล่าวอ้าง สิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าเกิดจากการรักษาจริงหรือไม่มาเรียกร้องเอาเงิน


3-มาตรา ๗

สัดส่วนของคณะกรรมการต้องมีสภาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแล เพราะตามมาตรา ๖ คือการที่บอกว่ากฎหมายนี้ต้องมีการพิสูจน์ผิดถูกว่า สิ่งที่นำมากล่าวอ้างเพื่อรับเงินเยียวยานั้น สมควรได้รับการช่วยเหลือหรือไม่ คนที่จะพิสูจน์ได้ดีที่สุดคือ สภาวิชาชีพที่มีความรู้ความเข้าใจในประเด็นปัญหา มิใช่NGOที่อ้างตนเป็นผู้รอบรู้กระบวนการรักษาทั้ง ๆ ที่มิใช่ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามกฎหมาย


4-มาตรา ๑๑

การวินิจฉัยผิดถูกที่ต่อเนื่องกับมาตรา ๗ เป็นเรื่อง “ข้อเท็จจริง”ตามหลักวิชาการแพทย์ ต้องใช้คนที่มีความรู้มาตัดสิน และไม่มีการใช้เสียงข้างมากของคนนอกมาตัดสิน เพราะทุกคนที่มีสิทธิลงเสียงในประเด็นนี้ต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานคือ “มีความเป็นวิชาชีพในประเด็นที่ตนเข้ามาตัดสิน” คล้ายกับการตัดสินของศาลสูง ที่ต้องเป็นองค์คณะ และต้องเป็นคนที่รู้เรื่องในประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดี หาไม่แล้วจะเกิดปรากฎการณ์ศาลเตี้ย หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไปใช้อารมณ์ตัดสินสิ่งที่มีกฎเกณฑ์ทางการแพทย์กำกับอยู่แล้ว


5- มาตรา ๑๘

และ มาตรการให้บุคลากรเข้ามาชี้แจงต้องมีให้น้อยที่สุด เพราะconceptของกฎหมายนี้คือ ไม่หาคนผิด หากต้องมีการชี้แจงก็ต้องทำเท่าที่จำเป็นและเก็บเป็นความลับ (off record) บทลงโทษที่รุนแรงต้องไม่มี มิฉะนั้นแล้ว คณะกรรมการชุดนี้จะมีภาพเป็นศาลเตี้ย


6- มาตรา ๒๐

การสร้างกองทุน (หากจำเป็นต้องสร้าง) ต้องช่วยเหลือทั้ง ผู้ให้และผู้รับบริการ ในกรณีที่เขาเหล่านั้นได้รับผลกระทบจากระบบบริการ ซึ่งเป็นความผิดของรัฐบาลโดยตรง มิใช่ความผิดของผู้ปฏิบัติงาน


7-8- มาตรา ๒๑ และ ๒๒

การจ่ายเงินสมทบต้องมาจากรัฐบาลอุดหนุนเท่านั้น เพราะกม.นี้มีลักษณะเป็น “ประชานิยม” หรือ “สังคมสงเคราะห์” มิฉะนั้นแล้วจะเกิดปัญหาว่า หากสถานพยาบาลใดปฏิบัติงานมาก ย่อมต้องมีความเสี่ยงในการเกิดปัญหามาก นั่นหมายความว่าต้องเจียดเงินที่มีไม่พออยู่แล้ว ไปจ่ายให้ผู้ป่วยอีก (รักษาให้ฟรี ๆ แล้วยังต้องตามไปจ่ายเงินเลี้ยงดูฟรี ๆ อีก) จะเกิดกรณีไม่รับการส่งต่อ(refer) หรือปฏิเสธการรักษาโรคซับซ้อนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาตามมามาก หรือปฏิเสธการรักษาในกรณีฉุกเฉิน (ซึ่งมีโอกาสพลาดโดยประมาทสูง)


9-10- มาตรา ๒๓ และ ๒๔

เงินของกองทุนที่เหลือต้องส่งคืนคลังทั้งหมด เพราะเป็นเงินภาษี ห้ามเก็บไว้ทำอย่างอื่น

11-มาตรา ๒๕

อายุความสิบปีนับแต่รู้ว่าเกิดความเสียหาย หมายความว่า กฎหมายนี้ไม่มีอายุความตายตัว ใช้ความรับรู้ของผู้ป่วยเป็นเกณฑ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่พิสูจน์ทราบได้ยาก หลายกรณีเป็นนามธรรม ที่ไม่มีทางพิสูจน์ได้ เท่ากับว่า กฎหมายนี้ไม่มีอายุความ (ต้องตามไปแก้ในกม.วิ.ผู้บริโภคด้วย) อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มภาระให้สถานพยาบาลต้องเก็บหลักฐานทุกอย่างไว้ตลอดไป


12- มาตรา ๒๗

การกำหนดเวลาเพียง ๓๐ + ๑๕ + ๑๕ วันในการพิสูจน์ตามมาตรา ๕ และ ๖ นั้น เป็นระยะเวลาที่น้อยเกินไป เพราะการพิสูจน์ต้องตรวจทานเอกสาร ไต่สวนหาข้อเท็จจริง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่เป็นกลางจากสภาวิชาชีพ และอื่น ๆ เหล่านี้ ถือว่าเวลาไม่เกิน ๖๐ วันนั้นน้อยเกินไป เท่ากับเปิดช่องให้กระทำตามวรรคสอง ที่บัญญัติว่า “หากพิสูจน์ไม่ได้ ก็ให้ถือเป็นผู้เสียหาย” เท่ากับเปิดช่องให้มีการทุจริตเอาภาษีอากรของชาติไปแจกให้คนที่ขาด “หิริ โอตัปปะ” จ้องจะรับเงินฟรี ๆ โดยอ้างตนเป็นผู้เสียหายไว้ก่อน (ไม่มีบทลงโทษใด ๆ ในกรณีที่มีการกระทำเช่นนี้ ดังนั้นควรร่างเพิ่มให้มีบทลงโทษที่รุนแรงและถือเป็นคดีอาญาที่ยอมความมิได้ )


13-มาตรา ๓๔

ต้องบัญญัติว่า หากศาลยกฟ้องบุคลากรแล้ว ผู้ฟ้องห้ามกลับมารับเงินใด ๆ จากกองทุนนี้เป็นอันขาด มิฉะนั้นจะเกิดการจับปลาสองมือ ซึ่งเป็นการขัดเจตนารมณ์ของกม.ที่ต้องการลดการฟ้องร้องโดยไม่จำเป็น อีกทั้งค่าใช้จ่ายที่บุคลากรเสียไปเพื่อดำเนินการทางกฎหมาย กองทุนต้องเยียวยาอย่างน้อยต้องเท่ากับที่เสียไป (ยังไม่รวมความเสียหายทางจิตใจที่บุคลากรได้รับ)


14-มาตรา ๓๕

การรับเงินแล้วไปฟ้องต่อ ต้องมีการเรียกเงินพร้อมดอกเบี้ยคืนทันที มิฉะนั้นจะเกิดการจับปลาสองมือ และไม่เป็นธรรมต่อภาษีที่รัฐไปอุดหนุน อีกทั้งต้องมีโทษปรับฐานผิดสัญญาประนีประนอมที่ทำขึ้นหลังได้รับเงิน


15-มาตรา ๓๗

การกล่าวอ้างเรื่องผลสะสมที่ใช้เวลาเป็นสิบปี นั้นเป็นการยกเอากรณีสารพิษจากอุตสาหกรรมมากล่าวอ้าง ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการรักษาพยาบาล ยิ่งไปกว่านั้นการบัญญัติว่า “นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้กระทำ” หมายความว่ากฎหมายต้องหากตัวผู้กระทำ ซึ่งขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย

อีกทั้งการบัญญัติเรื่องอายุความสิบปีแบบม. ๒๕ จะทำให้กฎหมายนี้ไม่มีอายุความในการมาขอรับเงิน เรียกได้ว่า กม.นี้เป็นกม.เลี้ยงดูตลอดชีพ หากใครก็ตามสามารถนำตนเข้าไปอยู่ในนิยามของคำว่า “ผู้เสียหาย” ได้สำเร็จ


16-มาตรา ๓๘

การไกล่เกลี่ยเพื่อให้ได้ข้อตกลงอื่น ตามหลักการก็ต้องให้คู่กรณีมาตกลง แต่กฎหมายนี้บอกว่า “ไม่หาตัวคนกระทำ” แล้วจะให้ใครมาไกล่เกลี่ย

ยิ่งไปกว่านั้น การไกล่เกลี่ยเพื่อให้ได้ข้อตกลงอื่น หมายความว่า ผู้ให้การรักษาที่ตกเป็นจำเลย(ถ้ามี ซึ่งไม่ควรมีเพราะไม่หาตัวคนทำผิด) ต้องเสนอoptionอื่นเพิ่มเติมให้กับผู้ร้อง ซึ่งเป็นอะไรไม่ได้นอกจาก “เงินก้อนพิเศษ” นอกเหนือไปจากที่กองทุนจัดหาให้


17-18มาตรา ๓๙ และ ๔๐

การทำสัญญาประนีประนอม ต้องจบได้จริง ๆ วิธีเดียวที่จะจบได้คือ ต้องยุติสิทธิการฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและอาญา โดยบัญญัติให้คดีอาญาตามมาตรา ๒๙๑ และ ๓๐๐ ที่มีมูลละเมิดมาจากการให้บริการสาธารณสุขเป็นคดีที่ยอมความได้ ซึ่งสามารถกระทำได้เพราะการกระทำในกรณีนี้เป็นการกระทำที่อยู่บนพื้นฐานของการเข้าไปช่วยผู้อื่น ความประมาทที่เกิดขึ้นไม่สมควรเป็นเหตุให้เอาผิดทางอาญา (เทียบเคียงได้กับ Samaritan law หรือ กรณีLife guard โดดไปช่วยคนจมน้ำในสระแล้วไม่สำเร็จ กลับต้องโดนคดีอาญา)


20-21-22 มาตรา ๔๒-๔๓-๔๔

เป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะหลักการของกฎหมายคือไม่หาคนทำผิด ไม่แพ่งโทษ (no-blame แต่ไม่ใช่no-fault) ดังนั้นการจะไปพัฒนาระบบปลอดภัยจึงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นกระบวนการนี้ควรปล่อยให้เป็นเรื่องของสถานพยาบาล ร่วมกับสภาวิชาชีพในการปรับปรุงระบบ


23-มาตรา ๔๕

ต้องตัดไปทั้งมาตรา เพราะปอ. ปว.อ.มีบัญญัติไว้แล้ว และหากบัญญัติให้เป็นไปตามข้อเสนอของมาตรา ๓๙ และ ๔๐ ข้างต้น ม.๔๕ นี้ก็ไม่จำเป็นต้องมี หาไม่แล้วจะเป็นภาระแก่บุคลากรที่จะถูกข่มขู่ให้หาเงินมาเพิ่มเติมให้อีก หรือต้องไปสำนึกผิดทั้ง ๆ ที่ตนเองก็ไม่ได้ผิด หรือ ยิ่งไปกว่านั้น ใครจะไปสำนึกผิดได้ เพราะกฎหมายนี้บอกว่าไม่หาคนผิด ไม่แพ่งโทษ แล้วจะให้ใครไปทำตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๕นี้


24-มาตรา ๔๖

บทลงโทษสูงเกินไป และต้องเพิ่มบทลงโทษในกรณีที่ คณะกรรมการ จ่ายเงินผิดหลักเกณฑ์ มิฉะนั้นแล้วจะไม่เกิดความรับผิดชอบใด ๆ เลยต่อการจ่ายเงินจำนวนมาก (ที่มาจากภาษีอากร) ออกไป ซึ่งสามารถเกิดกรณีทุจริตได้


25-มาตรา ๔๗

ต้องบัญญัติให้สปสช. จ่ายเงินสมทบทุกปีต่อเนื่องด้วย มิใช่เฉพาะเงินก้อนแรก เพราะสปสช.ถือเป็นstakeholderใหญ่ที่กุมเงินไว้

มาตรา ๔๙ บังคับให้เยียวยาในกรณีที่รับเงินและจบไปแล้ว ดังนั้นหากไม่ได้รับจะเกิดการฟ้องร้องมากมายแน่ ต้องตัดทิ้งทั้งหมด ให้มีผลเฉพาะในอนาคตเมื่อกม.บังคับใช้แล้วเท่านั้น


26-มาตรา ๕๐

สัดส่วนคณะกรรมการชั่วคราว ไม่เป็นธรรม เป็นการล็อคสเปคให้NGOมามีอำนาจเบ็ดเสร็จ ผิดหลักธรรมาภิบาลในการตรากฎหมาย





-------------------------------------------------




หมายเหตุ

บทวิเคราะห์นี้ให้เทียบเคียงกับร่างของรัฐบาลเป็นหลัก และวิเคราะห์บนพื้นฐาน กฎหมายการแพทย์ (medical law)



**แก้ 26 มาตรา ใน 50 มาตรา ควร นำกลับไปให้กฤษฎีการ่างใหม่ตกลง กันก่อน แล้วเข้ามาแบบสมานฉันท์ ดีกว่า..

ใน 26 ข้อที่แก้ร่างรัฐบาลนี้ ก็ตรงกับของ NGO จำนวนหลายข้ออยู่นะครับ ร่างที่มีปัญหาคือร่างรัฐบาลนั่นเอง..


นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ




1. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
(คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ)
//www.tmc.or.th/download/d051253-05.pdf



ถ้าสนใจจะอ่านร่างอื่น ก็แวะไปที่ บล๊อกนี้ เลยครับ มีครบทั้ง ๗ ร่าง ให้โหลดไปอ่านกัน ..

ข่าวปชส.กิจกรรมความเคลื่อนไหว สมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท แห่งประเทศไทย

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2010&group=7&gblog=64








Create Date : 02 กันยายน 2553
Last Update : 2 กันยายน 2553 11:43:11 น.
Counter : 2543 Pageviews.

2 comments
  



นำไปลงในห้องสวนลุม พันทิบ ด้วย .. เผื่ออยากแจม ก็เชิญนะครับ

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L9647148/L9647148.html



แถม กระทู้เก่า ๆ ที่เคยคุยกันด้วยนะครับ ..

ร่าง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ... ปัญหา หรือ โอกาส ...

//topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2010/07/L9460294/L9460294.html


ถาม - ตอบ ทุกประเด็นเกี่ยวกับ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

//topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2010/07/L9524623/L9524623.html


ประเด็นที่น่าสงสัย ใน พรบ.คุ้มครอง ฯ ..และ..ลิงค์กระทู้บทความที่น่าสนใจ จะได้เข้าใจตรงกันมากขึ้น

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-08-2010&group=7&gblog=69


ประชุมแบบจับเข่าคุยกับผู้ร่วมร่างพรบ.ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหาย เราเลิกทะเลาะกันเถอะ

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L9572016/L9572016.html

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-08-2010&group=7&gblog=85


ปุจฉาวิสัชนา พรบฯ .. ความเห็นของ "หมอ+นักกฎหมาย" ผู้ร่วมร่าง พรบ.นี้ ตั้งแต่เริ่ม (อ่านแล้วจะ อืมมม)

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-08-2010&group=7&gblog=70


ทำไม พรบ.ร่างรัฐบาลที่เป็นร่างหลัก จึงมีปัญหา (มากกว่าร่าง ภาคประชาชน) ??? ...โดย 716:16

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=31-08-2010&group=7&gblog=96

โดย: หมอหมู วันที่: 3 กันยายน 2553 เวลา:18:18:41 น.
  


ใครสนใจก็ลองแวะไปโหลดมาอ่านกันนะครับ ...

ร่างใหม่ จาก สภาทนายความ
//www.mediafire.com/?4lyz3rpl37pa8xc

เปรียบเทียบ ๓ ร่าง พรบฯ
//www.mediafire.com/?slodsosamvks28e

รวมบทความ พรบฯ
//www.mediafire.com/?p7r6az6gk19ot

โดย: หมอหมู วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:2:12:11 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]

บทความทั้งหมด