"แพทยสภาปกป้องทั้งคนไข้-แพทย์"

"แพทยสภาปกป้องทั้งคนไข้-แพทย์"

//www.komchadluek.net/detail/20110222/89596/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C.html


คมชัดลึก : รับตำแหน่งนายกแพทยสภาคนใหม่อย่างเต็มตัวและสมศักดิ์ศรี ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภาวาระ พ.ศ.2554-2556 วัย 65 ปี หลังได้รับการคัดเลือกให้เป็นกรรมการแพทยสภาจากแพทย์ทั่วประเทศด้วยคะแนนอันดับ 2 ได้รับเลือกจากคณะกรรมการแพทยสภาด้วยคะแนน 33 เสียงจาก 52 เสียงให้เป็นนายกแพทยสภา และศาลปกครองยกฟ้องกรณีมีผู้ร้องว่าการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาไม่โปร่งใส

ก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ หรือ "หมออำนาจ" เคยรับตำแหน่งเลขาธิการแพทยสภาในปี 2550-2552 และอุปนายกแพทยสภาคนที่ 1 ถึง 2 วาระ แม้จะเป็นนายกแพทยสภาในยุคที่ภาพของแพทย์ถูกมองในทางลบมากขึ้น แต่ “หมออำนาจ” บอกด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้มว่า “ไม่หนักใจ แต่เป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขให้ได้”

หากจะย้อนถึงจุดหักเหที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้แปรเปลี่ยนจาก ญาติมิตร เป็น คนแปลกหน้า หมออำนาจ เล่าว่า ปรากฏการณ์แบบนี้เริ่มเด่นชัดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อาจเป็นผลจากการที่แพทย์ไม่มีศิลปะในการสื่อสารให้คนไข้เข้าใจแนวทางการรักษาที่เป็นเทคนิคเฉพาะ บวกกับในระยะหลังแพทย์ต้องตรวจรักษาผู้ป่วยจำนวนมากที่แห่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ภาระงานแพทย์เท่าทีวีคูณ เวลาตรวจรักษาต่อคนจึงน้อยมาก การพูดคุย ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบใกล้ชิดแบบญาติด้วยความห่วงใยจึงค่อยๆ ลดน้อยลง

"แพทย์เป็นวิชาชีพที่ทำงานกับร่างกายมนุษย์ที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อน เมื่อแพทย์ไม่ได้อธิบาย หรือสื่อสารให้เข้าใจ คนไข้ก็จะไม่รู้และไม่เข้าใจว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนจนถึงขั้นเสียชีวิต เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในทางการแพทย์ กลับกลายเป็นเข้าใจว่าเป็นความผิดของแพทย์ทั้งหมด จนนำสู่การฟ้องร้องแพทย์" หมออำนาจกล่าว

แนวทางในการแก้ปัญหานี้ แพทยสภาจะเดินหน้าด้วยการเน้นหลักสูตรจริยธรรมแพทย์ตั้งแต่เป็นนักศึกษา รวมถึงสนับสนุนการฝึกอบรมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเพื่อให้เป็นแพทย์ประจำครอบครัว สามารถดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดและผูกพัน จากที่ปัจจุบันมีแพทย์สาขานี้จำนวนไม่มากและไม่เพียงพอ

แต่ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ... "ไม่ใช่คำตอบในเรื่องนี้"



หมออำนาจ แพทย์ที่มีดีกรีนิติศาสตรบัณฑิต เนติบัณฑิตไทยและวุฒิบัตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (ศาลยุติธรรม) พ่วงด้วย ขยายความว่า หากเป็นร่าง พ.ร.บ.ที่มีเนื้อหาที่ดีและเหมาะสมจริงๆ ก็จะเป็นประโยชน์ แต่เนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.ฉบับปัจจุบันยังไม่ใช่คำตอบของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์และผู้ป่วยหรือลดการฟ้องร้องแพทย์ เนื่องจากยังมีเนื้อหาสาระที่ไม่เหมาะสม จึงควรนำมาปรับปรุงแก้ไขและทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะหยิบวาระนี้ขึ้นมาพิจารณา เพื่อให้ได้กฎหมายที่ดีที่สุดสำหรับประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์

โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรปรับปรุงใน 3 ประเด็นหลัก คือ

1.หลักเกณฑ์การพิจารณาจ่ายเงินที่ยังมีรายละเอียดที่ยากแก่การตีความ อาจทำให้คนไข้เข้าใจผิดว่าหากเกิดเหตุไม่ประสงค์จากการรักษาสามารถรับเงินได้ทั้งหมด เมื่อไม่ได้ก็ไปฟ้องร้อง

2.องค์ประกอบของคณะกรรมการทั้งชุดใหญ่และเล็กยังไม่มีความเหมาะสม

และ 3.ภายหลังการจ่ายเงินแล้ว การยุติการฟ้องร้องไม่เป็นรูปธรรม



การขับเคลื่อนจากนี้แพทยสภาได้ประสานงานกับสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา จัดสัมมนาและประชาพิจารณ์เกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ร่วมกัน ตามที่คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาลหรือวิปรัฐบาลเคยมอบหมายให้กระทรวง สาธารณสุขดำเนินการ โดยจะเริ่มวันที่ 1 มีนาคม ในภาคใต้เป็นภูมิภาคแรก จากนั้นจะวนไปจนครบ 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ โดยจะสอบถามความคิดเห็นทั้งในส่วนของประชาชนทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ และจะรีบดำเนินการให้เร็วที่สุด หากแล้วเสร็จจะนำเสนอผลการประชาพิจารณ์ต่อรัฐบาล สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เพื่อใช้ประกอบในการดำเนินการต่อไป

"อยากให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และวิปรัฐบาลชะลอการหยิบยกร่าง พ.ร.บ.นี้ขึ้นมาพิจารณาในวาระแรกของสภาผู้แทนราษฎรไว้ก่อน เพื่อรอผลการทำประชาพิจารณ์ เพราะการพิจารณาเรื่องนี้ไม่ใช่วาระด่วนที่จะต้องเร่งรีบ แต่ควรเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อประเทศชาติ หากได้ร่าง พ.ร.บ.ที่ดีและมีประโยชน์ที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหนก็ยอมรับได้" หมออำนาจ กล่าว

ยิ่งกว่านี้ แพทยสภาในยุค หมออำนาจ จะผลักดันเรื่องค่าตอบแทนแพทย์ให้เหมาะสมกับภาระงาน เสนอแยกบัญชีเงินเดือนแพทย์ออกมาจากระบบของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) แก้ปัญหาการฟ้องร้องแพทย์ทางอาญา ดำเนินการยกร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทางการแพทย์และสาธารณสุข และเร่งการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ความรับผิดและวิธีพิจารณาความเพื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ

สำหรับการคุ้มครองประชาชน แพทยสภาจะเสนอคณะกรรมการบริหารหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบอร์ด สปสช. ให้ดำเนินการช่วยเหลือโรงพยาบาลเล็กๆ ในต่างจังหวัดที่ประสบปัญหาการมีหนี้สิน จนทำให้ขาดแคลนและไม่มียาหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์มาช่วยประชาชน อีกทั้งเสนอช่องทางช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการรักษาพยาบาล โดยเพิ่มการจ่ายเงินชดเชยตามมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ให้ครอบคลุมคนไทยทั้งประเทศและเพิ่มเพดานการจ่ายเงิน

คดีจริยธรรมที่ประชาชนร้องเรียนเกี่ยวกับแพทย์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่อง แพทย์รักษาไม่ดีไม่ถูกต้อง จะมีอนุกรรมการช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนแห่งแพทยสภา โดยมีระบบดูแลประชาชนที่เข้าใจว่าแพทย์มีพฤติกรรมผิดจริยธรรม อาจนำไปสู่การเปลี่ยนใจไม่ร้องเรียนหากเข้าใจการทำงานของแพทย์ แต่กรณีที่แพทย์เข้าข่ายการกระทำผิดจริยธรรม จะเร่งรัดขั้นตอนการพิจารณาความผิดให้แต่ละคดีเสร็จภายใน 1 ปี

“แพทยสภาเป็นองค์กรที่มุ่งดูแล ปกป้อง คุ้มครองทั้งประชาชนและแพทย์อย่างเท่าเทียมกัน แพทย์ที่ทำหน้าที่ที่ดีต้องได้รับการปกป้อง ขณะเดียวกันแพทย์ที่ทำผิดต้องได้รับการลงโทษอย่างเหมาะสม และในช่วงที่ผมอยู่ในตำแหน่งจะแก้ไขปัญหาการมองแพทย์ในแง่ลบให้ได้ จะทำให้ประชาชนเข้าใจแพทย์ และแพทย์เข้าถึงประชาชน" หมออำนาจ ให้ความเชื่อมั่น

0 พวงชมพู ประเสริฐ 0 รายงาน





Create Date : 01 มีนาคม 2554
Last Update : 1 มีนาคม 2554 15:17:19 น.
Counter : 2531 Pageviews.

1 comments
10 อันดับเตียง 2 ชั้นยอดฮิตปีล่าสุด สวรรค์แห่งการพักผ่อนและการใช้ชีวิต สมาชิกหมายเลข 8540341
(23 มิ.ย. 2568 16:35:14 น.)
Day..10 โฮมสเตย์ริมน้ำ
(16 มิ.ย. 2568 12:13:29 น.)
วันนี้ไปหาหมอ ดูแลดี แต่..... เขียนประวัติเราลงคนอื่น.. newyorknurse
(13 มิ.ย. 2568 02:37:18 น.)
โรคพาร์กินสันซ โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ newyorknurse
(17 มิ.ย. 2568 04:31:21 น.)
  



หมอถูกร้องเรียนจริยธรรมพุ่ง ถอนใบประกอบวิชาชีพ 1 พัก 3

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มกราคม 2555 13:19 น.

//www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9540000166465



แพทยสภา เผย ยอดร้องเรียนการกระทำผิดจริยธรรมแพทย์กว่า 200 กรณี ขณะผลพิจารณาความผิดตัดสินถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 1 ราย พักใช้ใบอนุญาต 3 ราย ตักเตือน 15 ราย ย้ำ คกก.แพทยสภาพิจารณาอย่างเป็นธรรม วอนแพทย์ -ผู้ป่วยเจรจากันก่อนตัดสินใจฟ้องร้อง หวังยุติข้อพิพาทด้วยความเข้าใจ


ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา กล่าวถึงสถานการณ์การร้องเรียนกรณีความผิดทางจริยธรรมของแพทย์ ว่า ในระหว่างเดือน ต.ค.2553 ถึง ก.ย. 2554 พบมีผู้ป่วยและญาติร้องเรียนกรณีความผิดจริยธรรมของแพทย์เพื่อเข้าสู่กระบวน การพิจารณาของคณะกรรมการ (คกก.) แพทยสภา ทั้งหมด 202 กรณี แบ่งเป็นเรื่องร้องเรียนแบบมูลความผิด 74 กรณี และไม่มีมูล 104 กรณี

ซึ่งหากพบว่าเป็นการร้องเรียนที่ไม่มีมูล เช่น เป็นการยืนยันแค่พยานปาก ทาง คกก.แพทยสภา ก็จะส่งเรื่องเพื่อชี้แจงว่า ไม่พบมูลความผิด จึงไม่สามารถดำเนินการได้

ส่วนขั้นตอนทางกฎหมายอื่น เช่น ผู้ป่วยหรือญาติจะดำเนินการทางชั้นศาล ก็แล้วแต่การตัดสินใจ เนื่องจากแพทยสภามีหน้าที่ในการพิจารณาจริยธรรม ตาม พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 เท่านั้น

ขณะที่จำนวนการฟ้องร้องในชั้นศาลเกี่ยวกับความผิดพลาดของแพทย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ตั้งแต่ปี 2539-2554 พบว่าแพทย์ถูกฟ้องร้องในคดีแพ่งจำนวน 162 คดี และคดีอาญาจำนวน 20 คดี โดยส่วนมากเป็นการร้องเรียนกรณีไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ

นายกแพทยสภา กล่าวว่า สำหรับช่วงปีงบประมาณที่ผ่านมา ทางแพทยสภาได้มีมติพิจารณาตามเรื่องร้องเรียนกรณีแพทย์ที่ทำผิดจริยธรรม โดยมีการลงโทษถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ 1 ราย พักใบอนุญาต 3 ราย โดยขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างขั้นตอนของการพิจารณาจากสภานายกพิเศษเพื่อดูว่าม ีข้อโต้แย้งใดๆ หรือไม่ นอกจากนี้ยังมีแพทย์ที่มีความผิดที่ไม่รุนแรง ซึ่งแพทยสภาได้ดำเนินการว่ากล่าวตักเตือนไปแล้วจำนวน 15 ราย


ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กล่าวต่อว่า ในแต่ละคดีที่ผ่านการพิจารณาของแพทยสภานั้นจะใช้พิจารณาทุกกระบวนการกระทั่ง แล้วเสร็จประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี โดยแต่ละกรณีจะมีขั้นตอนการพิจารณาที่แตกต่างกัน ก็ต้องใช้เวลาประสานงานกับทางราชวิทยาลัยต่างๆ เพื่อพิจารณามูลความผิด ซึ่งขอย้ำว่า ในปี 2555 จะพยายามเร่งรัดมาตรการการประสานงานต่างๆ เพื่อให้ผลการพิจารณาแล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด ทั้งขั้นตอนการพิจารณาในขั้นของราชวิทยาลัย คณะอนุกรรมการจริยธรรมแพทยสภา และคณะอนุกรรมการกลั่นกรองจริยธรรม

“ขอย้ำว่า จะทำหน้าที่ในการพิจารณาทุกเรื่องร้องเรียนอย่างเป็นธรรม และยังปลูกฝังให้บุคลากรทางการแพทย์ดูแลผู้ป่วยเสมือนญาติ ซึ่งต้องทำโดยหน้าที่และจิตสำนึกที่ดี รักษาและช่วยชีวิตทุกคนด้วยความตั้งใจจริง ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติอันดีของแพทย์ทั่วไปอยู่แล้ว

ดังนั้นเชื่อว่า ความผิดพลาดหลายกรณีคงไม่ได้เกิดจากการตั้งใจกระทำผิดของแพทย์เสมอไป ซึ่งหากเป็นไปได้กรณีผิดพลาดเล็กน้อย อยากให้ผู้ป่วยและญาติเจรจากันก่อนตัดสินใจฟ้องร้อง เนื่องจากหากเรื่องถึงชั้นศาลจะใช้เวลาในการตัดสินนาน เพราะกระบวนการพิจารณาคดีแพทย์กับผู้ป่วยนั้นมีขั้นตอนซับซ้อน ดังนั้น หากรู้จักไกล่เกลี่ยก็จะเป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย” ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กล่าว



โดย: หมอหมู วันที่: 4 มกราคม 2555 เวลา:14:01:50 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]

บทความทั้งหมด