บริการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ เลือกอย่างไร ไม่ให้ถูกหลอก ?





บริการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ เลือกอย่างไร ไม่ให้ถูกหลอก

เนื่องด้วย พระราชบัญญัติ สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ว่าด้วยเรื่องการขึ้นสถานพยาบาล ซึ่งหมายถึง สถานที่รวมตลอดถึงยานพาหนะ ซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ และจากประกาศ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542)ว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์การยกเว้นสถานพยาบาลซึ่งไม่ต้องอยู่ในบังคับ ของ พรบ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ข้อที่ 1.3 เป็นสถานพยาบาลเคลื่อนที่ของสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนที่ใช้ ยานพาหนะเป็นที่ให้บริการและออกให้บริการไปยังหน่วยงานที่ร้องขอเพื่อการตรวจดูแลสุขภาพพนักงาน นักศึกษา ควรเป็นไปตามสัญญาประกันสุขภาพหรือการตรวจสุขภาพประจำปีระหว่างสถานพยาบาลกับหน่วยงานเท่านั้น

    ดังนั้น จึงมีประกาศจากกระทรวงฯ เรื่องแนวทางการให้บริการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่สำหรับสถานศึกษาและสถานประกอบการ โดยสถานพยาบาลเอกชนที่เรียกเก็บค่าบริการ สถานพยาบาลเอกชนนั้นต้องเป็นสถานพยาบาลที่มีเตียงผู้ป่วยไว้ค้างคืนเท่านั้น

    ซึ่งพิจารณาได้จากใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลที่ออกให้โดยกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น และ หากต้องออกบริการจะต้องมีหน่วยงานร้องขอให้ไปตรวจ และเป็นไปเฉพาะกรณีเพื่อการตรวจดูแลสุขภาพพนักงานนักศึกษา ตามสัญญาประกันสุขภาพหรือตรวจประจำปีระหว่างสถานพยาบาลกับหน่วยงานเท่านั้น

ทั้งนี้ หากสถานศึกษา/ผู้ประกอบกิจการ สงสัยหรือต้องการตรวจสอบว่าสถานพยาบาล เอกชนนั้นสามารถให้บริการได้หรือไม่
- ในเขตกรุงเทพมหานครสอบถามได้ที่สํานักสถานพยาบาลและการ ประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โทร 0 2590 1997 ต่อ 405,406 
- ในส่วน ภูมิภาค สอบถามได้ที่ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ทุกจังหวัด
- สอบถามที่สายด่วนคุ้มครองบริการสุขภาพ หมายเลข  0 2193 7999 ตลอด 24 ชั่วโมง

( ในขณะนี้มีสถานพยาบาล(เอกชน) ประเภทที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ที่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ จํานวน 326 แห่งเท่านั้น )

มีคำแนะนำใน 3 ประการ ได้แก่
1. การให้บริการตรวจสุขภาพนักเรียน ผู้ใช้แรงงาน เพื่อเป็นสวัสดิการ จะต้องตรวจโดยสถานพยาบาลภาครัฐหรือเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยพักค้างคืนเท่านั้น และก่อนดำเนินการ ควรแจ้งขออนุญาตที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ
2. บุคลากรที่ดำเนินการตรวจสุขภาพจะต้องเป็นผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ เท่านั้น
3. หากไม่แน่ใจว่าหน่วยบริการที่ไปตรวจสุขภาพถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ขอให้แจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่เพื่อร่วมกันตรวจสอบก่อน หรือสอบถามสายด่วนคุ้มครองบริการสุขภาพ สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ โทร. 0-2193-7999 ตลอด 24 ชั่วโมง.

สำหรับ บริษัทที่ตรวจสุขภาพเถื่อน จะมีความผิด 2 ข้อหา ได้แก่
1.ข้อหา สถานพยาบาลเถื่อน ตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี จำคุกไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.ข้อหา แพทย์เถื่อนและเทคนิคการแพทย์เถื่อน ผู้ที่ดำเนินการตรวจสุขภาพและเจาะเลือด ไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและเทคนิคการแพทย์ ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม และ พ.ร.บ.เทคนิคการแพทย์ มีโทษเท่ากัน คือจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



Create Date : 28 มิถุนายน 2557
Last Update : 28 มิถุนายน 2557 22:20:39 น.
Counter : 5994 Pageviews.

0 comments
วิ่งข้างบ้าน 15,17,18,19,21 มิ.ย.2568 สองแผ่นดิน
(24 มิ.ย. 2568 22:37:50 น.)
วิ่งข้างบ้าน 8,9,10,11,12,14 มิ.ย.2568 สองแผ่นดิน
(18 มิ.ย. 2568 22:42:00 น.)
ข้อเข่าเสื่อม VS กระดูกพรุน ต่างกันอย่างไร? หนึ่งเสียงในกทม.
(16 มิ.ย. 2568 09:46:37 น.)
ลมในสมอง สมาชิกหมายเลข 4313444
(11 มิ.ย. 2568 18:38:28 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]

บทความทั้งหมด