ครม.ผ่านกฎกระทรวง สิทธิการตาย ......เปิดช่องหมอยุติรักษาตามเจตนาคนไข้ ...




เรื่องนี้ หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า เป็นเรื่องของ หมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ฯลฯ ...

แต่ จริงๆ แล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องของคนทุกคน ที่มีโอกาสเจ็บป่วย จึงเป็นสิ่งที่ควรจะรู้ไว้ ...



//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000149780

ครม.ผ่านกฎกระทรวงสิทธิการตาย เปิดช่องหมอยุติรักษาตามเจตนาคนไข้

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 ธันวาคม 2552 08:35 น.



เลขาฯสช.ชี้ครม .ผ่านกฎกระทรวงสิทธิการตาย ขอปฏิเสธการรักษา ไม่ใช่หนังสือขอให้หมอทำให้ตาย แต่เป็นความต้องการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายขอให้ยุติการรักษาไม่ยื้อชีวิตเป็น ลายลักษณ์อักษร เปิดช่องให้หมอทำได้

นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึงคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตาม หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ…ที่ออกตาม มาตรา 12 ของพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติว่า หลังจากนี้คาดว่าหลังจากคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาจะมีผลบังคับใช้ประมาณ ก.พ.-มี.ค.2553 สำหรับเนื้อหาของร่างกฎกระทรวงนี้ เป็นการทำหนังสือแสดงความจำนงของผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่จะปฏิเสธการรักษา เพื่อยื้อชีวิต เป็นลายลักษณ์อักษร


"ถือเป็นสิทธิของผู้ป่วยโดยตรง ไม่ได้เป็นการบังคับ โดยขอให้บุคลากรทางวิชาชีพทำให้เสียชีวิต เพราะทุกข์ทรมานจากการป่วย เช่น การถอดสายออกซิเจน หยุดเครื่องช่วยหายใจ ฯลฯ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดแต่ที่จริงแล้วเป็นการแสดงความจำนงของผู้ป่วยเองมากกว่า ว่า หากป่วยในระยะสุดท้ายแล้วรักษาด้วยวิธีใดไม่ดีขึ้น ก็ขอปฏิเสธการรักษา ให้จากโลกนี้ไปอย่างธรรมชาติ ซึ่งปกติมีการประพฤติปฏิบัติกันอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้เป็นลายลักษณ์อักษร เหมือนกรณีกับนายยอดรัก สลักใจ ที่บอกหมอและญาติว่า หากป่วยในระยะสุดท้ายแล้วไม่ขอให้แพทย์ดำเนินการรักษาใดๆอีก"นพ.อำพลกล่าว

นพ.อำพล กล่าวอีกว่า หนังสือดังกล่าวที่ผู้ป่วยทำไว้เพื่อขอปฏิเสธการรักษานั้น ไม่ใช่นิติกรรมผูกพันทางมรดก แต่เป็นแค่หนังสือแสดงเจตนาของผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้มีการพูดคุยมากขึ้น เพราะในร่างกฎกระทรวงดังกล่าวได้ระบุว่า หากมีปัญหาในการดำเนินการตามหนังสือดังกล่าว ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหารือกับญาติหรือบุคคลใกล้ชิดของผู้ป่วย เพื่อกำหนดแนวทางการดูแลรักษาต่อไป โดยเพื่อรักษาประโยชน์ของผู้ป่วยและดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของหนังสือให้มากที่สุด

นพ.อำพล กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ หนังสือดังกล่าวไม่ได้เป็นหนังสือเชิงนิติกรรมที่แบ่งสมบัติ หรือนำไปใช้ในชั้นศาลได้ ขณะเดียวกันญาติและแพทย์ก็ต้องรับฟังหนังสือดังกล่าว ไม่สามารถยกเลิกได้ เนื่องจากเป็นประสงค์และสิทธิของผู้ป่วย ซึ่งในปัจจุบันแพทย์และญาติของผู้ป่วยจะเป็นผู้ใช้สิทธิส่วนตัวนี้มากกว่า อย่างไรก็ตามไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับภาวะของผู้ป่วยขณะที่เขียนหนังสือดัง กล่าว เพราะจะมีพยานรับรองว่า ผู้ป่วยที่แสดงประสงค์ขอปฏิเสธการรักษาจะต้องมีสติสัมปชัญญะครบถ้วน




ปล..

ลองถามอากู๋ เรื่อง สิทธิที่จะตาย ได้มาเพียบ ..

//search.conduit.com/Results.aspx?q=%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0% B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2&ctid=CT461365&octid=CT461365



พินัยกรรมแห่งชีวิต ...เรื่องน่ารู้ ... เตรียมเผื่อไว้ก่อน ก็ดี ...

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2009& group=8&gblog=76


แถมเวบนี้ มีหนังสือแจกฟรี ด้วยนะครับ .. หนังสืออย่างดีเลยแหละ .

//www.thailivingwill.in.th/


ThaiLivingWill.in.th เป็นสื่อกลางเผยแพร่แนวคิดการตายอย่างมีศักดิ์ศรี ด้วยการรักษาพยาบาลที่เคารพในเจตจำนง คุณค่า และศรัทธาของผู้ป่วย

เว็บ ไซต์ นี้นำเสนอข้อมูลด้านกฎหมาย บทความ และเรื่องเล่าประสบการณ์ในวาระสุดท้าย เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหนังสือ แสดงเจตนาและสร้างความเข้าใจเรื่องการตายอย่างสงบตามธรรมชาติ



ว่าง ๆ ก็ ลองแวะไปอ่านดูนะครับ...


สาระสำคัญของ Living Will ตามร่างกฏกระทรวง พรบ สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12 (PDF 172KB)

บทบรรยาย powerpoint โดย
ศาสตราจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส
ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

//www.thailivingwill.in.th/index.php?mo=3&art=351086




(ร่าง) แนวปฏิบัติของสถานพยาบาล
เพื่อปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข

//www.thailivingwill.in.th/index.php?mo=3&art=285155




ประเด็นจริยธรรมในการดูแลแบบประคับประคอง (palliative care)*
จัดทำโดย
สมาคม นานาชาติเพื่อการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและการดูแลแบบประคับประคอง (International Association for Hospice & Palliative Care)
แปลและเรียบเรียงโดย ไพศาล ลิ้มสถิตย์**

//www.thailivingwill.in.th/index.php?mo=3&art=300223




Create Date : 13 ธันวาคม 2552
Last Update : 13 ธันวาคม 2552 12:12:31 น.
Counter : 3135 Pageviews.

4 comments
Day..12 โฮมสเตย์ริมน้ำ
(20 มิ.ย. 2568 09:58:53 น.)
วิ่งข้างบ้าน 8,9,10,11,12,14 มิ.ย.2568 สองแผ่นดิน
(18 มิ.ย. 2568 22:42:00 น.)
Note: 40 Mins (250 Cals) peaceplay
(14 มิ.ย. 2568 03:58:30 น.)
ลมในสมอง สมาชิกหมายเลข 4313444
(11 มิ.ย. 2568 18:38:28 น.)
  
ขอบคุณค่ะ มีประโยชน์มากเลยค่ะ หนูกำลังเรียนปีสี่พอดี
โดย: harry_potty วันที่: 13 ธันวาคม 2552 เวลา:13:49:16 น.
  





การตายดีในวาระสุดท้ายของชีวิต : สิทธิที่ทุกคนควรมี

ตามบทบัญญัติมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ได้ให้สิทธิบุคคลในการแสดงเจตจำนงที่จะไม่รับการบริการทางสาธารณสุขใดๆ ที่จะเป็นเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต และกำหนดวิธีดำเนินการเป็นกฎกระทรวง ซึ่งขณะนี้กฏกระทรวงได้ผ่านมติคณะรัฐมนตรีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อยู่ในระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในฐานะที่ผู้เขียนมีส่วนร่วมในการพิจารณากฎกระทรวงนี้ ทั้งเป็นแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยทางสมองที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตบ่อยครั้ง ขออนุญาตขยายความ ทำความเข้าใจต่อท่านผู้อ่านถึงสิทธิดังกล่าวว่ามีผลอย่างไร

ในขั้นต้นสิทธิดังกล่าว หากบุคคลได้แสดงเจตจำนงไว้ (ซึ่งต้องเป็นการทำไว้ล่วงหน้า ขณะที่ยังมีสติสัมปัญชัญญะดีอยู่) จะมีผลต่อเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าบุคคลนั้นอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือไม่ ซึ่งแม้ในกฎกระทรวงได้กำหนดไว้แล้วก็ตาม ข้อวินิจฉัยดังกล่าวอยู่ที่ดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งตามมาตรฐานวิชาชีพมีกำหนดไว้แล้วว่าหมายถึงผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือเฉียบพลันที่มีอาการรุนแรง ไม่สามารถเยียวยาให้กลับคืนมาในสภาพที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ หรือมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้แก่ โรคมะเร็งที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา แพร่กระจายไปยังอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง ตับ ปอด โรคที่ทำให้อวัยวะสำคัญหลายระบบศูนย์เสียการทำงานไม่สามารถรักษาได้ และโรคที่มีการทำลายสมองเป็นบริเวณกว้างทำให้ไม่รู้สึกตัวไม่สามารถรักษาให้ฟื้นตัวได้ ซึ่งข้อวินิจฉัยดังกล่าวมักต้องกระทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาท จึงมั่นใจได้ว่าการใช้สทธิดังกล่าวจะไม่เกิดปัญหาว่าจะถูกละเลยให้เสียชีวิตกรณีที่เป็นภาวะที่ยังเยียวยารักษาได้

ในขั้นต่อไปการรักษาที่ถูกระบุไว้ว่าจะไม่ขอรับบริการเมื่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งมักได้แก่ การไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ การไม่ใช้เครื่องช่วยหายใจ การไม่ปั๊มหัวใจเมื่อหัวใจหยุดเต้น เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ในการปฏิบัติ แพทย์จะเป็นผู้อธิบายและให้คำแนะนำแก่ครอบครัวของผู้ป่วยว่าควรหรือไม่ควรทำอะไร เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานเนิ่นนานต่อไป เมื่อครอบครัวเข้าใจดีแล้วทางโรงพยาบาลอาจให้มีการลงนามรับทราบข้อมูลดังกล่าว หากมีการแสดงเจตจำนงไว้ล่วงหน้าก็จะเป็นสิ่งที่ครอบครัวจะยอมรับได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามมาตรฐานวิชาชีพที่กำหนดไว้เป็นที่ยอมรับกันว่าในวาระสุดท้ายของชีวิตดังกล่าว การรักษาที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร ทั้งนี้โดยความเป็นชอบของครอบครัวด้วย

ปัญหาการที่ผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิตถูกให้การรักษาโดยยืดการตายออกไป โดยการใช้เครื่องพยุงสัญญาณชีพเช่นเครื่องช่วยหายใจ ยากระตุ้นการทำงานของหัวใจ เกิดจากข้อกฎหมายอาญา ที่กำหนดว่าบุคคลมีความผิด หากพบเห็นผู้ที่กำลังเป็นอันตราบต่อชีวิตแล้วไม่ให้ความช่วยเหลือ เมื่อการรักษาดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วย การให้สิทธิตามมาตรา 12 นั้น จึงควรให้สิทธิแก่ทุกคนโดยความเห็นชอบของครอบครัวผู้ป่วย มิใช่ให้เฉพาะผู้แสดงเจตนาเท่านั้น ทั้งนี้ในประเทศที่ให้สิทธิดังกล่าวมีเพียงร้อยละ 30 เท่านั้นที่จะทำหนังสือแสดงเจตจำนงดังกล่าวล่วงหน้า นอกจากนี้ควรกำหนดข้อยกเว้นว่าผู้ป่วยวาระสุดท้ายของชีวิตนั้น ไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในภาวะอันตรายที่แพทย์ต้องให้การรักษาทันทีตามสิทธิของผู้ป่วยในกรณีทั่วไปพึงได้รับ


ด้วยความปรารถนาดีจาก

นายแพทย์สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์
ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา
โดย: หมอหมู วันที่: 11 มกราคม 2553 เวลา:16:32:15 น.
  

รวบรวม กระทู้ที่เกี่ยวเนื่องกัน ....



ครม.ผ่านกฎกระทรวง สิทธิการตาย ......เปิดช่องหมอยุติรักษาตามเจตนาคนไข้ ...

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-12-2009&group=7&gblog=44


ผลสัมมนาเรื่องสมองตาย การตายตามกฎหมายที่แพทย์วินิจฉัย ... นพ.สุกิจ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-11-2009&group=7&gblog=38


ภาวะสมองตาย : ระยะสุดท้ายของชีวิตที่จะต่อชีวิตผู้อื่นได้

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-07-2008&group=4&gblog=53


พินัยกรรมแห่งชีวิต ...เรื่องน่ารู้ ... เตรียมเผื่อไว้ก่อน ก็ดี ...

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2009&group=8&gblog=76


(เก็บมาฝาก) สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาค ร่างกาย อวัยวะ ดวงตา และ โลหิต

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-01-2009&group=7&gblog=10


หมอ ... มีสิทธิ์... ที่จะปฏิเสธ .... คนไข้ที่ไม่ฉุกเฉิน..... หรือเปล่า ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=20-08-2009&group=7&gblog=29






โดย: หมอหมู วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:15:40:18 น.
  




กมธ. วุฒิสภา จัดสัมมนาระดมความเห็นทุกฝ่ายกรณีกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิการตายมีผลบังคับใช้

//www.radioparliament.net/news1/news.php?id_view=2100

7 มิ.ย. 54 ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามและตรวจสอบการใช้บังคับกฎหมายในวิชาเวชกรรม วุฒิสภา เผย จะจัดสัมมนาเรื่อง “เจตนารมณ์การขอใช้สิทธิการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต : ผลกระทบต่อผู้ป่วยและแพทย์” 10 มิ.ย. นี้ หวัง ทำความเข้า แลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสวงหาแนวทางปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องตามเจตนารมณ์และเหมาะสมกับบริบทของสังคมอย่างแท้จริง ภายหลัง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้แล้ว

ศาสตราจารย์นายแพทย์วิรัติ พาณิชย์พงษ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามและตรวจสอบการใช้บังคับกฎหมายในวิชาเวชกรรม ในคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ให้สัมภาษณ์ถึงโครงการสัมมนาเรื่อง “เจตนารมณ์การขอใช้สิทธิการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต : ผลกระทบต่อผู้ป่วยและแพทย์” ว่า ...

ขณะนี้พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งอาจส่งผลกระทบหลายเรื่อง โดยเฉพาะมาตรา 12 ในเรื่องสิทธิการตาย

ดังนั้น กมธ.จึงได้จัดสัมมนาเรื่องดังกล่าวขึ้นในวันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2554 เวลา 08.00 – 15.30 น. ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข 306 – 308 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2

โดยมีวัตถุประสงเพื่อทำความเข้าใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง”ประเด็นความเสี่ยงของแพทย์เมื่อละเว้นการช่วยชีวิตผู้ป่วยที่ขอใช้สิทธิตาย”

และเพื่อแสวงหาแนวทางปฏิบัติในการลดผลกระทบและลดความเสี่ยงให้กับบุคคลากรทางด้านสาธารณสุขและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในประเด็น จรรยาแพทย์ ความผิดลหุโทษ ความประมาททางอาญา การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาไต่ตรองไว้ก่อน สิทธิการประกันชีวิต สิทธิตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 การรับรองเอกสารหนังสือแสดงเจตนา

ทั้งนี้ จะมีการอภิปรายในหัวข้อดังกล่าวและเรื่องเจตนารมณ์และผลกระทบของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ. 2553 ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 โดยมี นายแพทย์อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา เปิดการสัมมนา


อัญชิสา จ่าภา ข่าว/เรียบเรียง

โดย: หมอหมู วันที่: 12 มิถุนายน 2554 เวลา:16:22:58 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]

บทความทั้งหมด