เปิดเสรีประชาคมศก.อาเซียนการแพทย์ไทยได้มากกว่าเสีย ?





"เปิดเสรีประชาคมศก.อาเซียนการแพทย์ไทยได้มากกว่าเสีย ?!?"

โดย : นาวาอากาศโท นายแพทย์ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ กรรมการแพทยสภา



"ประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015 ความรู้ความเข้าใจ-การเตรียมตัวของภาครัฐ-เอกชนและประชาชน" ในเรื่องของสายแพทย์" ปัจจุบันผู้เขียนเป็นนักเรียนหลักสูตร"ไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รุ่นที่๑" ของสถาบันพระปกเกล้าฯ ซึ่งในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ต้องขอขอบคุณทางสถาบันพระปกเกล้าฯ ซึ่งนับป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศ ที่มีความพยายามนำเรื่อง AEC ซึ่งเป็นเรื่องใหม่และเป็นเรื่อง "ยาก-ซับซ้อน"มาทำการเปิดการเรียนการสอน-แลกเปลี่ยนองค์ความรู้กัน ระหว่างสายวิชาชีพ-สายธุรกิจหลากหลาย ทั้งภาครัฐและเอกชน

ผู้เขียนเดินเข้ามาสมัครศึกษาก็เพราะว่า คิดว่าตนเอง "รู้น้อย"...ในขณะที่คนแวดวงแพทย์ รอบๆตัวบอกว่า "คุณเนี่ยรู้ดีกว่าคนอื่นแล้ว...ในเรื่องใหม่ๆที่ไม่เคยเกิดขึ้นแบบนี้" ในฐานะ กรรมการแพทยสภาซึ่งเป็น Regulator และภูมิหลังซึ่งมีประสบการณ์บริหารองค์กรที่ดูแลเรื่อง การแพทย์นานาชาติ หรือ Medical Hub ทั้งด้าน Logistic-ประกันภัย ตลอด ๑๐ ปีที่ผ่านมา จึงจำเป็นที่ต้องขึ้นเวทีบรรยาย สัมมนา เป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานรัฐและเอกชนหลายสิบครั้งในรอบ ๒-๓ ปีที่ผ่านมา เมื่อเรื่องการเตรียมความพร้อมของไทยในประเด็นนี้เป็นที่ตื่นตัวขึ้น

การบรรยายหลายๆครั้ง พบว่าคำถามซ้ำๆยอดฮิตจากผู้ฟัง ๔ ประการเป็นดังนี้....
"คุณหมอค่ะ....ต่อไปดิฉันต้องไปพาลูกๆไปตรวจกับแพทย์ ชาวพม่าหรือชาวกัมพูชาที่มาเปิดคลีนิคในไทยหรือเปล่าคะ?..."

"อาจารย์ครับ...แพทย์เก่าและเก่งๆของเราจะไหลไปทำงานที่ประเทศ สิงคโปร์ ซึ่งค่าตอบแทนแพทย์สูงเป็น ๔ เท่าของเราหรือเปล่าครับ?..."

"เป็นโอกาสของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนไทย....ในการไปเปิดสาขาที่ เวียดนาม...หรือพม่า...หรือเปล่าครับ?..."

"ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนไทย....จะถูกกลุ่มทุนจาก สิงคโปร์...มาเลเซีย...ที่มีเงินมากกว่า...มากว้านซื้อโรงพยาบาลไทยเหมือนกิจการอื่นๆ เช่น อสังหาฯ หรือธนาคารหรือไม่...คนไทยจะได้หรือเสียประโยชน์ในฐานะผู้ใช้บริการ...?"

ก่อนตอบคำถามเหล่านี้....ผมขอเล่าเรื่อง "น้ำท่วม!!" มันคล้ายๆกับ Concept หรือหลักคิดของ AEC ดังนี้ หากเปรียบ ASEAN ๑๐ ประเทศเป็นโรงงาน ๑๐ โรงในนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง แถวๆ รังสิต-บางปะอินที่ถูกน้ำท่วมไป

การทำ AEC ก็คือการ"ลดคันกั้นน้ำของโรงงานตนเองลง".....และ ย้ายคันของเราไปเป็นคันกั้นน้ำของนิคมอุตสาหกรรม ....(ซึ่งจะได้คันที่ใหญ่ขึ้น สูงขึ้นในเนื้อทรายเท่าๆกัน-ผลรวมเส้นรอบรูปของ ๑๐ โรงงานย่อมยาวกว่าเส้นรอบรูปขอบนอกของนิคมของ ๑๐ โรงงาน) หรือก็คือ ลดข้อกีดกัน (Barrier) ระหว่างประเทศ....เพิ่มแนวป้องกันหรืออำนาจต่อรอง....นอกนิคมฯ

ซึ่งมาจากประสบการณ์ในอดีตที่ว่า....เวลาน้ำหลากมา...หากต่างคนต่างกั้นของตนเอง...ไม่สนใจคันใหญ่ส่วนรวมของนิคม..พบว่า"ทุกคนตายหมด"...ซึ่งต้องลดคันโรงงานตนเอง..โยกคันนี้ออกไป.."กั้นรวมกัน"

แต่พอมี AEC ...ใครได้ใครเสียใน ๑๐ประเทศ...ก็ต้องขึ้นกับ..."พื้นฐานเดิม"ของโรงงาน...พื้นใครสูง...พื้นใครต่ำอย่างไร...อาจจะพอเห็นแนวทางตอบคำถาม ๔ ข้อด้านบนนี้ได้

ในสายแพทย์ระดับการพัฒนาและ Technology...ประเทศไทยและมาเลเซียอยู่เป็นที่ ๒ รองแค่สิงคโปร์ ในภาพรวม...(ในภาคเอกชนเราอาจจะสูงกว่า)...แต่หากเอาพื้นที่โรงงานคูณแล้วเราอาจเป็นที่ ๑ ที่เหลืออีก ๗ โรงงานเป็นพื้นที่ลุ่มกว่าประเทศไทย
...น้ำหลากจากนอกรั้ว..นิคมฯ...ไทยยังได้เปรียบ.......น้ำฝนตกหนัก...ไหลไปไหลมาภายในนิคมฯ....ไทยยังได้เปรียบ...

การเป็น AEC คือการลด Barrier ลด Economic Rent ในประเทศ...ซึ่งเป็นตัวการทำให้...ประชาชนรวมถึงภาคธุรกิจเอกชน...ไม่ได้รับความเป็นธรรม...ประเทศไทยเดิมเรามี Rent อยู่มาก...การมี AEC คงจะลด Rent ลงไปในส่วนของสายแพทย์..

แต่จะสะดุดกับ Rent จากภายนอกที่ใหญ่กว่าคือเล่นกันในระดับภูมิภาคหรือระดับนิคมฯ...หรือไม่ผู้เขียนยังไม่ทราบได้...เพราะยังไม่เกิดจึงยังไม่เห็น แต่หากเอา Model น้ำท่วมมาจับ ต่างคนต่างกั้น..ผลคือตายแน่....หากรวมกันกั้น..มีโอกาสรอด (ไม่ได้หมายความว่ารอดแน่)



ด้านสถานพยาบาล

ประเทศไทย...มีโรงพยาบาลประมาณ ๑,๒๐๐ แห่ง โดยประมาณ ๙๐๐แห่ง/๙๐,๐๐๐เตียงเป็นกิจการของรัฐ และ ๓๐๐แห่ง/๓๐,๐๐๐เตียงเป็นของภาคเอกชน
ประเทศสิงคโปร์...๗๐ % เป็นของภาคเอกชน ที่เหลือเป็นของรัฐ (ตรงข้ามกับไทย)

ประเทศเวียดนาม...กว่า ๙๕% มีรัฐเป็นเจ้าของกิจการ (เหมือนประเทศไทยเมื่อ กว่า ๓๐ ปีที่แล้ว) ที่เหลือเป็น คลีนิคเล็กๆที่แพทย์ทำเป็นกิจการส่วนตัว..ไม่มีเตียงผู้ป่วย

ในประเทศมาเลเซีย...ผู้เขียนไม่มีตัวเลขที่แน่นอน...แต่สอบถามเพื่อนแพทย์ชาวมาเลย์แล้วสรุปว่า ๔๐/๖๐ คือเอกชน ๔๐ รัฐ ๖๐



ด้านการผลิตแพทย์

ประเทศไทย...โรงเรียนแพทย์ ๑๙ แห่ง เป็นของรัฐ ๑๘ แห่งเอกชน ๑ แห่ง ผลิตแพทย์ปีละ ๒,๕๐๐ คน (เดิมประมาณปีละ ๑,๒๐๐คน จากสิบปีที่ผ่านมา) แพทย์ต่อประชากร ๑/๑,๘๐๐ ซึ่งจะเป็น ๑/๑,๐๐๐ ในประมาณ สิบปีข้างหน้า การกระจายยังมีปัญหา เหนือ/อิสาน ๑/๓,๖๐๐ กทม. ๑/๖๐๐ (เท่าสิงคโปร์)

ประเทศมาเลเซีย...โรงเรียนแพทย์ ๒๗ แห่ง ๑๗ แห่งเป็นของเอกชน ๑๐ แห่งเป็นของรัฐ ภาคเอกชนมี โครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยดังๆจาก ประเทศในกลุ่ม Common Wealth เปิดป็น International Program แพทย์ต่อประชากร ๑/๑,๑๐๐
ประเทศสิงคโปร์...แพทย์ต่อประชากร ๑/๖๐๐ แพทย์ที่จบจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจาก Common Wealth เข้ามาทำงานได้โดยไม่มีข้ออุปสรรค



ด้านเศรษฐกิจและเศรษฐานะ (PPP=Purchasing Power Parity)

ประเทศไทย...GDP/Head 4,800USD/ปี (ปรับPPP=8,700USD) แพทย์ 12,000 USD/ปี (ปรับ PPP=35,000USD)

ประเทศมาเลเซีย...GDP/Head 14,000USD/ปี-PPP แพทย์ 40,000USD/ปี
ประเทศสิงคโปร์...GDP/Head 40,000USD/ปี แพทย์ 44,000USD/ปี (PPP กับ non-PPPใกล้เคียงกัน)




ผมจะทดลองใช้ Economic Model (น้ำท่วม) ไล่ตอบคำถามทีละข้อ ดังนี้

๑ แพทย์ไทยคงไม่ไหลไปมาเลเซียและสิงคโปร์...ระดับความสูงทาง Technology การแพทย์ใกล้เคียงกัน ...พื้นโรงงานสูงเท่ากัน...ท่วมก็ท่วมเหมือนกัน...เวลาแห้งก็แห้งเหมือนกัน...แต่ขนาดโรงงานของเราใหญ่กว่า...หมอไทยคงไม่ย้ายโรงงานในเรื่องค่าตอบแทน (ปรับ PPP แล้ว ไทยกับสิงคโปร์ใกล้เคียงกัน แม้ Real term จะต่างกัน ๓ เท่า) อาจจะมีอยู่ปัจจัยเดียวซึ่งไม่ใช่ปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์ ก็คือสิ่งแวดล้อมของโรงงานที่ดู Modern เพราะเป็นประเทศโลกที่๑ คือว่าถ้าไม่ชอบอยู่บ้านเดี่ยว...ต้องคอยดูแลสวนรกๆ...ก็ย้ายไปอยู่ Condo เล็กๆแต่ Modern


๒ แพทย์จากประเทศเพื่อนบ้าน...ที่ลุ่มกว่าเราอย่างกลุ่ม CLMV (Cambodia-Laos-Myanmar-Vietnam) จะย้ายบ้านมาประเทศไทยหรือไม่... คำตอบที่น่าจะเป็นคือ...ย้ายเข้ามาหากมีโอกาส...เนื่องจาก...ที่สูง...น้ำไม่ท่วม...ปลอดภัยและมั่นคงกว่า...แต่ก็ต้องผ่านกติกาเดียวกันกับแพทย์ไทย...ซึ่งจบใหม่ปีละกว่า ๒,๕๐๐ คน คือ...สอบข้อสอบเดียวกันและเป็นภาษาไทย..เฉกเช่นเดียวกับแพทย์ไทยจะไปทำงานที่ประเทศ ญี่ปุ่น...ฝรั่งเศส...เยอรมันนีก็ต้องสอบเป็นภาษาของประเทศนั้นๆ...

อันนี้แพทยสภา...จะต้องเข้มงวดเรื่อง..."คุณภาพ" โดยยึดหลักการและคงหลักการของประชาคม ASEAN ปฎิบัติกับคนในชาติอย่างไรก็ต้องปฎิบัติกับคนชาติ ASEAN เฉกเช่นเดียวกัน..."กติกาเดียวกัน"

๓ โอกาสที่ภาคเอกชนไทยในสายแพทย์จะไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเป็นอย่างไร...ในประเทศที่ Technology การแพทย์ต่ำกว่าเราเช่นในกลุ่ม CLMV นั้นคงเป็นโอกาสของทางภาคธุรกิจที่จะไปลงทุนเปิดบริการด้านสุขภาพ... แพทย์ไทยจะไหลออกหรือไม่...คำตอบคือ ไม่...ไม่มีแพทย์ไทยคนไหนอยากย้ายบ้านไปอยู่โรงงานที่น้ำท่วม...อยู่ที่แห้งๆก็ปลอดภัยดีอยู่แล้ว...

อาจจะมีแพทย์...พยาบาลบางส่วน...ไปช่วยเหลือ ไปเป็นครู-สอนงานยกระดับ Technology การแพทย์ของ CLMV ให้สูงขึ้น "รับจ้างทำพื้นโรงงาน" ให้ทัดเทียมกับโรงานของเรา ซึ่งได้เงินกลับมา... "ไปทำงาน Job..Job.. ชั่วคราวแล้วก็กลับมา"

กลุ่มทุนไทย...มีโอกาสมากเนื่องจากมีความแข็งแกร่งด้านการบริหารจัดการ... การเปิดโรงพาบาลเอกชนหนึ่งโรงในต่างประเทศนั้น...Supply chain ทั้งหมดคงมาจากไทย...ทั้งวิศวกร..ผู้ออกแบบโรงพยาบาลซึ่งมีประสบการณ์...ยา...เวชภัณฑ์...เครื่องมือแพทย์...และหน่วยสนับสนุนอื่นๆ ส่วนด้านแรงงานถาวร...เช่นแพทย์-พยาบาลคงต้องเป็นคนท้องถิ่น ที่ผ่านการฝึกอบรมกับเรา เนื่องจากค่าจ้างถูกกว่า ก็เหมือนกับ ญี่ปุ่น...เกาหลี..มาตั้งโรงงานในไทย...พนักงาน ๒-๓,๐๐๐ คนเป็นคนไทยทั้งหมด มีผู้จัดการ ๓-๔ คนเท่านั้นที่เป็นชาวญี่ปุ่น ขายสินค้าได้ก็นำเงินกลับประเทศแม่...ภาคเอกชนทางสายแพทย์เรามีความแข็งแกร่งในเวทีระดับภูมิภาค...Brand ของเราดี...
ภาพของโรงพยาบาลเอกชนไทยต่างแดนคงไม่แตกต่างกัน...อาจจะมีแพทย์และพยาบาลไทยอาวุโส บินไปบินมาเป็นวิทยากร...เป็นครูกับคนท้องถิ่นเป็นครั้งเป็นคราว...เรื่องย้ายบ้าน...ย้ายถิ่นพำนักไม่ต้องพูดถึง...กลัวน้ำท่วม...

๔ โรงพยาบาลไทย...จะถูกกว้านซื้อ...โดยต่างชาติหรือไม่...คำตอบคือ..แน่นอน..หากราคาเหมาะสมกับผู้ซื้อ...และผู้ขายเห็นว่าน่าเหมาะสม ธุรกิจบริการทางการเงิน(ธนาคาร)...กับธุรกิจบริการสุขภาพ(โรงพยาบาล)ก็ไม่แตกต่างกัน...แต่สุดท้ายแล้วผมคิดว่า ประชาชนได้ประโยชน์...๑๐ปีกว่าที่แล้ว หลัง IMF พวกเรากังวลว่า ธนาคารของเราจะเป็นของต่างชาติไปหมดซึ่งกว่าเป็นไปแล้วจริงๆ Equity ๘๐-๙๐% ในหลายๆธนาคารก็ถือโดยบุคคลและนิติบุคคลที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย แต่ประชาชนอย่างเราๆ ได้ประโยชน์...บริการดีขึ้น Technology ก็ดีขึ้น โปร่งใส...เป็นธรรม ภาพของโรงพยาบาลก็คงคล้ายๆกันกับในประเทศที่พัฒนาแล้ว...สถานพยาบาลส่วนใหญ่เป็นของเอกชน...ประชาชนเป็นเจ้าของ

ที่ผมได้เกริ่นเรื่อง Rent….Economic Rent ในประเทศของสายการแพทย์ภายในประเทศต้องลดลง...โปร่งใส...เป็นธรรมมากขึ้น...ไม่ได้ผูกขาดว่ากิจการนั้นๆรัฐเท่านั้นที่เป็นเจ้าของได้

โจทย์ต่อไปคือ...เมื่อ Rent ภายในต่ำลง แต่จะต้องไปผจญกับ Rent ในระดับภูมิภาคหรือไม่...

คำตอบน่าจะอยู่ที่ประสบการณ์หรือข้อเท็จจริงจากวงการอื่นๆเช่น กลุ่มธนาคารซึ่งนำหน้าสายแพทย์ไปกว่า ๑๐ปี...ผู้เล่นคงน้อยลง...แต่ Rent ต่อประชาชนและประเทศลดลง(เทียบกับของเดิม)



สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอออกตัวว่า...บทความนี้เขียนยาก...เวลาไปบรรยายคู่กับสายวิชาชีพอื่นๆเช่นสภาวิศวกร...สภาสถาปนิก...ใน ๒ สายวิชาชีพนี้พูดได้เต็มที่ในมุมมองของ ธุรกิจ-เอกชน-แรงงาน-ผลตอบแทนได้ ๑๐๐% ผลตอบแทนที่เข้ามาในหน่วยธุรกิจ ผลตอบแทนแรงงาน คือผลประโยชน์ของชาติ...

แต่ในสายแพทย์นี้ เรามี Domestic ซึ่งต้องธำรงรักษา...ต้องขอบคุณคนไทยที่ยังรักและหวงแหน แพทย์-พยาบาลไทย...ไม่ใช่ "ขุดพื้นโรงงานเราไปถมพื้นโรงงานข้างเคียง"...ดังนั้นต้องพิจารณาทั้งภาคหน่วยธุรกิจ-เศรษฐกิจและภาคประชาสังคมด้วย...เนื่องด้วยขาดงานวิจัยรองรับในเรื่อง AEC กับสายแพทย์...แล้วมองให้ครบ ๓๖๐ องศา

ที่สำคัญคือ...ต้องเลิกมองแบบ..."ข้าเป็นประเทศไทย"....กั้นแต่โรงงานของเราฝ่ายเดียวน้ำใหญ่มา...ตายหมด...ด้วยความเชื่อมั่นในโครงสร้างพื้นฐานของสายแพทย์...ของประเทศไทย...ผู้เขียนมีความเชื่อมั่นว่า...AEC กับประเทศไทยในสายแพทย์..

.."ไทยได้มากกว่าเสีย".....



//www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/world/20120117/430367/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%81.%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2.html





Create Date : 10 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2555 14:39:15 น.
Counter : 2987 Pageviews.

0 comments
ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจที่โรงพยาบาล Mount Sinai ได้นำเสนอผลเบื้องต้นของ Sofiya ซึ่งเป็นผู้ช่วย..... newyorknurse
(25 มิ.ย. 2568 06:26:23 น.)
Day..13 โฮมสเตย์ริมน้ำ
(24 มิ.ย. 2568 08:47:08 น.)
10 อันดับเตียง 2 ชั้นยอดฮิตปีล่าสุด สวรรค์แห่งการพักผ่อนและการใช้ชีวิต สมาชิกหมายเลข 8540341
(23 มิ.ย. 2568 16:35:14 น.)
วันนี้ไปหาหมอ ดูแลดี แต่..... เขียนประวัติเราลงคนอื่น.. newyorknurse
(13 มิ.ย. 2568 02:37:18 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]

บทความทั้งหมด