ช่องทางร้องเรียนเกี่ยวกับ ยา-หมอ-คลินิก-โรงพยาบาล-สิทธิรักษา (บัตรทอง ประกันสังคม เบิกได้ พรบ.รถ) ช่องทางร้องเรียน เกี่ยวกับ ยา - หมอ - คลินิก - โรงพยาบาล - สิทธิรักษา (บัตรทอง ประกันสังคม เบิกได้ พรบ.รถ) ๑. อย. .. สำหรับเรื่อง ยา อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ อาหารเสริม เมื่อผู้บริโภคประสบปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประเด็นที่ผู้บริโภคสามารถร้องเรียน อย. ได้แก่ พบความบกพร่องของผลิตภัณฑ์ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น เสียก่อนหมดอายุ ไม่มีฉลากภาษาไทยการแสดงฉลากไม่ครบถ้วน เป็นต้น พบโฆษณาโอ้อวด หลอกลวง หรือทำให้เข้าใจผิด ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาโดยวิธีใด พบการผลิต นำเข้า หรือขายยา และวัตถุเสพติด โดยไม่ได้รับอนุญาต พบการผลิต นำเข้า หรือขาย ผลิตภัณฑ์สุขภาพปลอม พบการผลิต หรือขาย ผลิตภัณฑ์ที่ห้าม หรือมีสารที่ห้ามใช้ เช่น ยาชุด ครีมทาฝ้า ที่มีสารปรอท-แอมโมเนีย หรือไฮโดรควิโนน หรือกรดวิตามินเอ อาหารที่ผสมสารบอแรกซ์สารฟอกขาว หรือ กรดซาลิซิลิค เป็นต้น ได้รับอันตรายจากการบริโภค หรือใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทั้งที่ได้ปฏิบัติตามวิธีใช้ คำแนะนำ หรือข้อควรระวังตามที่ระบุบนฉลากแล้ว หมายเหตุ :ชื่อ และการติดต่อกลับ (E-mail หรือ เบอร์โทร ของท่าน) มีประโยชน์มากในการดำเนินงานของกองพัฒนาศักยภาพผุ้บริโภค เนื่องจากในหลายกรณี ข้อมูลที่ท่านให้อาจไม่ครบถ้วน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ การขอข้อมูลเพิ่มเติมในบางกรณี ทำให้การดำเนินงานลุล่วงด้วยดี ตามเจตนารมณ์ของท่านที่ได้กรุณาร้องเรียน-แจ้งเบาะแสมาทางเราช่องทางร้องเรียน https://newsser.fda.moph.go.th/hpsc/frontend/theme/view_complain.php?Submit=Clear&ID_Com=00000054 ผู้บริโภคที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถร้องเรียนหรือแจ้งข้อมูล โดยแจ้งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ พร้อมรายละเอียดของเรื่องที่ต้องการร้องเรียน ไปที่ 1. สายด่วน อย. โทรศัพท์ 1556 2. โทรศัพท์ 0 2590 7354-5 3. โทรสาร 0 2590 1556 4. จดหมาย/หนังสือ (ร้องเรียน) 5. ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข 11004 6. อีเมล์ 1556@fda.moph.go.th 7. ร้องเรียนด้วยตนเอง (หรือกรณีมีตัวอย่างผลิตภัณฑ์มามอบให้) 7.1 ผู้บริโภคที่อยู่ในเขต กรุงเทพฯ สามารถร้องเรียนได้ที่ ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรร.) ตึกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอาคาร A ชั้น 1 7.2 ผู้บริโภคที่อยู่ในต่างจังหวัด แจ้งร้องเรียนที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ** กรณีนอกเวลาราชการ สำหรับโทรศัพท์ 0 2590 7354 และ สายด่วน อย. 1556 จะมีเทปบันทึกให้ฝากข้อความอัตโนมัติ** เรื่องร้องเรียนที่ส่งเข้ามา เมื่อทราบผลการดำเนินการ ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรร.) จะมีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องเรียนได้ทราบ ดังนั้น ผู้ร้องเรียนจึงควรแจ้ง ชื่อ ที่อยู่ หรือเบอร์โทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้ นอกจากประโยชน์ในการแจ้งผลการดำเนินการแล้ว กรณีที่ข้อมูลไม่เพียงพอ หรือต้องการหลักฐานเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่สามารถติดต่อกับผู้ร้องได้ โดยชื่อ ที่อยู่ ดังกล่าว จะได้รับการเก็บรักษาเป็นความลับ ส่วนกรณีผู้ร้องเรียนต้องการสินบนนำจับ จะต้องแจ้งความนำจับเป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดไว้ว่าเรื่องใดจึงจะมีสินบนนำจับไม่ใช่ทุกเรื่องจะมีสินบนนำจับ และการจะจ่ายสินบนนำจับ จะต้องรอจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ผู้ถูกแจ้งความมีความผิดจริง ซึ่งบางเรื่องอาจใช้เวลานานเป็นปี โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ ดำเนินการคือ กลุ่มกฎหมาย อาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งผู้แจ้งความนำจับจะได้รับสินบนตามอัตราที่กำหนดดังนี้ 1. กรณีที่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำความผิด และได้ดำเนินการเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายแล้ว ผู้แจ้งความนำจับจะได้รับเงินสินบนจำนวน 1 ใน 4 ส่วนในอัตราร้อยละ 60 ของเงินค่าปรับที่ได้รับ 2. กรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำความผิด และได้ดำเนินการเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายแล้ว ผู้แจ้งความนำจับจะได้รับเงินสินบนจำนวน 1 ใน 4 ส่วนในอัตราร้อยละ 80 ของเงินค่าปรับที่ได้รับ | สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา | 88/24 ถนนติวานนท ์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0 2590 7000 | ช่องทางร้องเรียนอื่น ๆ ( มีเพียบบบบบบบ ) https://newsser.fda.moph.go.th/hpsc/frontend/theme/channel.php?Submit=Clear ๒. สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ (ชื่อเดิม ..กองประกอบโรคศิลปะ)... สำหรับเรื่อง สถานประกอบการ ( คลินิก หรือ รพ. ) ที่สงสัยว่าทำผิดระเบียบ สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ ( สพรศ.) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร 0 2193 7000 กลุ่มโรงพยาบาล ต่อ 18406 กลุ่มคลินิก ต่อ 18407 เวบ สพรศ. https://mrd-hss.moph.go.th/mrd/index.php หมายเลขโทรศัพท์ภายใน สพรศ. https://mrd-hss.moph.go.th/mrd/tele.php แบบฟอร์มรับเรื่องร้องเรียน คลินิก/โรงพยาบาล กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ https://203.157.7.46/complaint/complaintForm.jsp ตรวจสอบชื่อโรงพยาบาล คลินิก ที่ได้รับการรับรองจาก กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ https://privatehospital.hss.moph.go.th/ ตรวจสอบค่ารักษาพยาบาล Online https://hospitalprice.org/ อัตราจ่าย โครงการเบิกจ่ายตรงผู้ป่วยในสถานพยาบาลเอกชนด้วยระบบ DRG (ลิงค์หน้าเวบสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ https://www.mrd.go.th/mrd/index.php ) https://www.mrd.go.th/mrd/2015%20DataFormPrivateHospital.xls?newsID=10451 รายการยาสามัญประจำบ้านที่มีไว้ในคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ โดย สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 https://203.157.7.46/uploadFiles/news/N0000000258248.pdf ![]() คลินิกเถื่อน หมอเถื่อน แจ้ง กรม สบส. 1426 หรือ 02 193 7057 หรือ web ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน https://crm.hss.moph.go.th/ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน สบส. กระทรวงสาธารณสุข ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 2 ภาพ |
นำลงบางส่วนให้อ่านกันเล่น ๆ ก่อน ...
****** เคล็ดลับในการใช้ประกันสังคมให้คุ้ม!!!! ******
//topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2009/07/L8067388/L8067388.html
ผมมีความเชื่อว่า หลาย ๆ คนในบอร์ดนี้อยู่ในระบบประกันสังคมครับ ซึ่งแต่ละเดือนนั้น จะต้องถูกหัก 5% ของรายได้ (ไม่เกิน 15,000 บาท) พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้ามีเงินเดือนตั้งแต่ 15,000 บาท ขึ้นไป ก็จะถูกหักเดือนละ 750 บาทครับ หรือปีละ 9,000 บาท แม้ว่าขณะนี้จะมีการปรับลดเงินสมทบลงเหลือ 3% ตั้งแต่เดือน ก.ค. - ธ.ค. 52 แต่ 3% = 450 บาทต่อเดือน หรือปีละ 5,400 บาท
ซึ่งวงเงิน 5,400 บาท หรือ 9,000 บาทต่อปี นั้นเป็นเงินที่สูงมาก ๆ ครับ ซึ่งเราไปซื้อประกันจากบริษัทประกันต่าง ๆ ได้เลยครับ หลาย ๆ คนที่เคยใช้ประกันสังคม มักจะบ่น ๆ ๆ ๆ ว่าบริการไม่ดี แต่อย่างไรก็ตาม ผมมีเคล็ดลับในการใช้ประกันสังคม ในแง่มุมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่มุมของการรักษาพยาบาล และดูแลรักษาสุขภาพ ดังนี้ครับ
เรา รู้หรือเปล่าครับ เวลาที่เราเลือกโรงพยาบาลประกันสังคม ตามบัตรรับรองสิทธินั้น โรงพยาบาลที่เราเลือกจะได้รับเงินเหมารายหัวจากประกันสังคม หัวละ 1,938 บาทต่อปีครับ
ดังนั้นถ้าเราเลือกโรงพยาบาลเอกชน ที่มุ่งแสวงหากำไร เพราะเป็นธุรกิจนั่นหมายความว่า ถ้าเราไม่มารักษาเลยในปีนั้น หรือมีจิตใจที่มุ่งมั่นว่าจะไม่ใช้ประกันสังคมเด็ดขาดนั้น จะเท่ากับว่าโรงพยาบาลนั้นจะได้รับเงินกินเปล่า 1,938 บาท ต่อปีทันทีครับ แต่ถ้าเกิดเราไปใช้นั่นก็หมายความว่า ถ้าค่ารักษาพยาบาลที่เรามารักษามีมูลค่ามากกว่า 1,938 บาท ก็เท่ากับว่าโรงพยาบาลขาดทุนทันทีใช่ไหมครับ
*** หลาย ๆ คน ที่มีจิตใจมุ่งมั่น แน่วแน่วว่ายังไงก็ไม่เข้ารับรักษาตามสิทธิประกันสังคมแน่ ๆ ผมก็ขอแนะนำให้เลือกโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ เป็น "โรงพยาบาลของรัฐ" ครับ เพื่อให้เงินทองของเราตกไปสู่โรงพยาบาลรัฐ ซึ่งจะได้นำเงินนี้ไปรักษาคนที่เขาขาดแคลนครับผม ถือว่าเป็นการทำบุญทางอ้อม ซึ่งเราช่วยได้ง่าย ๆ เลยครับ ***
ดังนั้นบางโรงพยาบาลก็ต้องมีการควบคุมค่าใช้จ่าย กับคนไข้ประกันสังคมอย่างใกล้ชิดครับ เพื่อให้โรงพยาบาลยังคงผลกำไรอยู่ได้ เช่น
- การจ่ายยาที่มีราคาไม่แพงนัก
- ให้พบแพทย์ทั่วไป (General Physician: GP) จนคิดว่าไม่ไหวจริง ๆ จึงค่อยส่งต่อให้แพทย์เฉพาะทาง
- ที่สำคัญที่สุด กรณีเราเจ็บป่วยหนัก ๆ ที่ต้องมีการผ่าตัดโดยแพทย์เฉพาะทาง เช่น หัวใจ ปอด ตับ ลำไส้ ฯลฯ ซึ่งโรงพยาบาลเอกชนที่เราเลือกเป็นโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ ไม่มีเครื่องมือเพียงพอ หรือไม่มีแพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ เขาก็อาจจะดิ้นรนรักษา โดยไม่ยอมส่งต่อครับ เพราะสมมติว่าเขาส่งต่อโรงพยาบาลที่เป็นศูนย์การแพทย์ต่าง ๆ เช่น จุฬาลงกรณ์ ศิริราชพยาบาล หรือรามาธิบดี โรงพยาบาลเอกชนตามบัตรรับรองสิทธิ จะต้องตามไปชำระค่ารักษาพยาบาลให้เราครับ
คิดแบบเข้าใจนะครับ (แต่อย่าเหมารวมทุก ๆ โรงพยาบาลนะครับ) เขาคงไม่ทำอะไรที่ทำให้เขา "ขาดทุน" อยู่แล้วใช่ไหมครับ หรือถ้าจะยอมก็ต้องคิดว่า "ไม่ไหวจริง ๆ" ซึ่งบางครั้งเวลาส่งต่อไปโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ คุณหมอก็มักจะบอกว่า "น่าจะมาให้เร็วกว่านี้" นี่คือปัญหา
สิ่งที่โรงพยาบาลเอกชนบางโรง ทำให้เราอยากเลือกโรงพยาบาลเขาเป็นโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ ก็คือ การบริการที่รวดเร็วกว่าโรงพยาบาลรัฐครับ ซึ่งถ้าเราเจ็บนิด ๆ หน่อย ๆ เช่น ป่วยเป็นหวัด หรือเจ็บคอ แล้วไปหาโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่เราเลือกในประกันสังคม จะได้รับการบริการที่ดีครับ เพราะ "ค่ารักษาไม่แพงมาก" แต่ถ้าเราต้องรักษาที่ต้องมีการผ่าตัด หรือใช้กระบวนการในการวินิจฉัยเฉพาะแล้วล่ะก็ เราอาจจะถูกบ่ายเบี่ยงได้ครับ หรือดึงเกมให้ช้าลง
ดังนั้น ผมจึงแนะนำว่า เราควรเลือกโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิเป็นโรงพยาบาลของรัฐใกล้ ๆ บ้านครับ ซึ่งโรงพยาบาลของรัฐนั้น เขาไม่ค่อยคำนึงผลกำไร อาจจะบริการไม่ดีนัก เพราะมีคนไข้เยอะ แต่อย่างน้อยเราก็ได้รับการบริการที่เสมอภาค ได้รับยาตามบัญชียาแห่งชาติครับ ที่สำคัญเวลาที่โรงพยาบาลรัฐตามบัตรฯ ของเรา ไม่มีแพทย์เฉพาะทางในการรักษา คุณหมอก็จะไม่ลังเลใจที่จะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ที่มีอาจารย์ หมอที่มีความรู้ทันทีครับ
อย่างคุณพ่อของเพื่อนท่านหนึ่งท่านป่วย เป็นโรคหัวใจครับ พอคุณหมอคิดว่าน่าจะใช้ และโรงพยาบาลรัฐแห่งนั้นก็ไม่มีแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจ คุณหมอเจ้าของไข้ก็ทำเรื่องส่งต่อไปยังโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทันทีครับ ซึ่งได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายถูกมาก ๆ ครับ เสียเฉพาะลิ้นหัวใจเทียม (ซึ่งเบิกไม่ได้) และค่าธรรมเนียมเล็กน้อยเท่านั้นเอง ถ้าจำไม่ผิดราคาไม่ถึง 40,000 บาทด้วยซ้ำครับ ซึ่งถ้าเราเสียเงินไปผ่าตัดเอง เราต้องเสียเงินอย่างน้อย ๆ ก็น่าจะมี 300,000 บาท หรือมากกว่านะครับ
แต่บางครั้ง คุณหมอเองก็มักจะไม่ยอมเขียนหนังสือส่งตัวให้ เพราะอาจจะเกรงโดนผู้อำนวยการโรงพยาบาลเพ่งเล็ง ก็ให้เราใช้สูตรนี้ครับ คือการอ้อนวอนคุณหมอ ผมเชื่อว่าคนเป็นหมอโรงพยาบาลรัฐ ส่วนใหญ่มีเมตตาครับ พอได้รับคำอ้อนวอน หรือขอร้องก็มักจะทำหนังสือส่งตัวให้ครับ (แต่ขอให้เราใจกล้า ๆ เอ่ยปากขอร้องครับ) เพราะถ้าคนไข้เป็นอะไรไป โดยมีสาเหตุจากการส่งตัวที่ช้าเกินไป ท่านอาจจะได้รับผลกระทบในทางลบมากกว่า
บางรายครับ ...
ไปรักษาโรคลำไส้อยู่แล้ว ที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ เช่น จุฬาลงกรณ์ หรือศิริราชพยาบาล รักษาแบบจ่ายเงินเองนะครับ มีเวชระเบียนเรียบร้อย สมมติว่าไปรักษาด้วยการจ่ายเงินเองสัก 3 ครั้ง ...
ถ้าเรามีบัตร ประกันสังคม ระบุว่าเป็นโรงพยาบาล A เราสามารถเอาเวชระเบียนที่เรารักษาอยู่ก่อนเดิม มาพบคุณหมอเพื่อให้คุณหมอโรงพยาบาล A ทำหนังสือส่งตัวไปได้นะครับ
- ถ้าโรงพยาบาล A เป็นโรงพยาบาลรัฐ และไม่มีหมอเฉพาะทางด้านที่เรารักษาอยู่ ถ้าเราขอร้องคุณหมอก็จะทำหนังสือส่งตัวให้ เพื่อให้เราได้รับการรักษาต่อเนื่องครับ ซึ่งเมื่อเราเอาหนังสือส่งตัวนี้ไปให้โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ที่เรารักษา อยู่ เราก็จะไม่ต้องเสียเงินค่ารักษาพยาบาลอีกเลยครับ แต่ถ้าโรงพยาบาล A มีหมอเฉพาะทาง เราก็มาเอายารักษาที่โรงพยาบาล A ได้ครับ เช่น ถ้าเป็นโรคความดัน เบาหวาน ฯลฯ ที่ต้องรักษาระยะยาวน่ะครับ เราก็จะได้รับการรักษาฟรี ตามสิทธิประกันสังคมทันทีครับ
- ถ้าโรงพยาบาล A เป็นโรงพยาบาลเอกชน ก็ยากมาก ๆ ทีเดียว
อีก กรณีหนึ่ง ... หลาย ๆ คนมักจะบ่นว่ากระบวนการในการวินิจฉัยของโรงพยาบาลรัฐนั้นช้าใช่ไหมครับ กว่าจะได้ทำ CT Scan หรือ ตัดชิ้นเนื้อนั้นก็ต้องรอคิวนานเหลือเกิน ผมแนะนำว่า ...
สมมติว่าโรงพยาบาลตามสิทธิของเราเป็นโรงพยาบาลรัฐ กขค. ซึ่งก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนครับว่า โรงพยาบาลแม่ข่ายของโรงพยาบาล กขค. คืออะไร สมมติว่าคือ โรงพยาบาลศิริราช ครับ เริ่มเลยนะครับ
ผม ว่ากระบวนการวินิจฉัยว่าเป็นอะไร นั้นสำคัญที่สุดครับ ผมจะแนะนำว่า ผมจะไปตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาลเอกชนครับ (จ่ายเงินเอง) เพื่อให้เราทราบว่าเราป่วยเป็นอะไรให้เร็วที่สุด จ่ายครั้งเดียวครับ แต่เคล็ดลับมันมีอยู่ว่า ... สมมติว่าผมสืบได้ว่า คุณหมอXYX ท่านเป็นอาจารย์หมออยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชและท่านยังรักษาอยู่ที่โรงพยาบาล เอกชน A ผมก็จะไปหาหมอ XYZ ที่โรงพยาบาล A ครับ เพื่อตรวจวินิจฉัย X-Ray หรือ CT Scan จนทำให้ทราบว่าเป็นอะไรกันแน่ ก่อนครับ แล้วขออนุญาตคุณหมอ (ขอร้องเลยครับ) เพื่อจะไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช กับคุณหมอ ซึ่งคุณหมอส่วนใหญ่อนุญาตครับ
- จากนั้นเราก็เอาผลการตรวจ ไปให้หมอในโรงพยาบาล กขค. ซึ่งเป็นโรงพยาบาลตามบัตรฯ รับทราบ สมมติว่าป่วยเป็นลำไส้อักเสบ ในกรณีที่โรงพยาบาล กขค. ที่เป็นบัตรประกันสังคมของเราไม่มีหมอเฉพาะทางด้านนี้ (ส่วนใหญ่จะไม่มีครับ ตอนนี้เราหาหมอเฉพาะทางตามโรงพยาบาลรัฐเล็ก ๆ ได้ยากจริง ๆ ครับ) เราก็ขอให้เขาส่งตัวไปโรงพยาบาลศิริราชครับผม อันนี้ทำได้ เพราะโรงพยาบาลศิริราชนั้นเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายครับ ทำหนังสือส่งตัวได้ไม่ยาก
แต่ในกรณีที่ต้องการโอนไปโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ ซึ่งไม่ใช่โรงพยาบาลแม่ข่าย นั้นทำได้ค่อนข้างยากครับ แต่ก็ทำได้ แต่ต้องอ้อนวอนและเดินเอกสารมากหน่อยครับ เบื้องต้นผมว่าเช็คก่อนครับว่า โรงพยาบาลอะไรเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายจะดีที่สุด การส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลแม่ข่าย นั้นมีกระบวนการที่ง่ายกว่าครับผม
แค่ นี้แม้ว่าจะยุ่งยากสักนิด แต่เราก็ได้รักษากับหมอเฉพาะทางที่เชี่ยวชาญ ด้วยเครื่องมือที่ดี โดยที่เราได้รับการรักษาฟรี เพียงแต่ค่าวินิจฉัยต้องจ่ายเงินเองเท่านั้นเองครับ
จากคุณ : นักอ่านตัวยง
เขียนเมื่อ : 10 ก.ค. 52 20:23:16


//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000154788
ครบ 35 ปี อย.เปิดศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 ธันวาคม 2552 13:08 น.
อย.ครบ รอบ 35 ปี ยกระดับงานคุ้มครองผู้บริโภค เปิดศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ พร้อมมอบโล่ผู้สนับสนุน 35 องค์กร
วันที่ 18 ธันวาคม นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานครบรอบ 35 ปี สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และเปิดศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพว่า การจัดงานสถาปนา อย.ครบรอบ 35 ปีในครั้งนี้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้บริโภค เพราะนั่นหมายความว่า อย.ได้ดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพมานานเป็นปีที่ 35 แล้ว ซึ่งในอนาคตเชื่อมั่นว่า อย.จะยังคงต้องมุ่งมั่นสร้างสรรค์การทำงานในลักษณะเชิงรุกมากขึ้น เพื่อความปลอดภัยและความมีสุขภาพที่ดีของผู้บริโภคต่อไป
สำหรับปีนี้งานครบรอบ 35 ปี อย.ได้จัดให้มีพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่ ผู้สนับสนุนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทั้งหมด 35 องค์กร ทั้งหน่วยงานราชการ เอกชน สภาวิชาชีพ และสื่อมวลชน ซึ่งคาดว่าในปีต่อๆ ไปจะเพิ่มจำนวนเครือข่ายเพื่อช่วยให้การทำงานคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ บริโภคซึ่งเป็นช่องทางที่สำคัญในการเข้าถึงหรือกระจายข้อมูลการเลือกซื้อ เลือกบริโภค ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้องไปยังผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ ก็เพื่อประโยชน์ในด้านการบริโภคอย่าง ปลอดภัยของผู้บริโภคเอง
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการ อย.กล่าวถึงการเปิดศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรร.) อย่างเป็นทางการว่า การ เปิดศูนย์เฝ้าระวังฯ เป็นการยกระดับและพัฒนาคุณภาพงานคุ้มครองผู้บริโภคจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยเปิดให้บริการแก่ผู้บริโภค หากผู้บริโภคประสบปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย อีกทั้งยังเฝ้าระวังการโฆษณาหลอกลวงจากสื่อต่างๆ ซึ่งผู้บริโภคสามารถมาร้องเรียนได้ด้วยตัวเองที่ อย.อาคาร 1 ชั้น 1 ทุกวันเวลาราชการ
นอกจากนี้ผู้บริโภคสามารถร้องเรียนมายังช่องทางอื่นๆ ได้ ดังนี้ สายด่วน อย.โทร. 1556, อีเมล 1556@fda.moph.go.th และ ตู้ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004
ซึ่งการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคในงานร้องเรียนนั้น ถือเป็นภาคที่สำคัญยิ่งในการปฏิบัติงานของ อย.ให้บรรลุเป้าหมาย และนับว่าเป็นการส่งสัญญาณที่ดีต่อการพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานของ อย.ให้ดียิ่งขึ้น
นพ.พิพัฒน์ กล่าวด้วยว่า เพื่อ ให้งานคุ้มครองผู้บริโภคมีประสิทธิภาพอย่างครบวงจรยิ่งขึ้น อย.ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามการกระทำฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยว กับผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือ ศปป.ขึ้นอีกด้วย โดยทำงานควบคู่ไปกับศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือ ศรร. ซึ่ง ศปป. ถือเป็นหน่วยงานเชิงรุกที่จะดำเนินการสำรวจตรวจจับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ สุขภาพที่กระทำผิดกฎหมายและมีผลกระทบสูงต่อผู้บริโภค ดังนั้น ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าในอนาคต อย. จะยังคงมุ่งมั่นและพัฒนางานเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์ สุขภาพต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง


เพิ่มเติม ..
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
//www.consumerthai.org
0- 2248 - 3734 - 7
E - mail : webmaster@consumerthai.org
สำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ( สคบ. )
//www.ocpb.go.th
โทร 1166
E-mail consumer@ocpb.go.th
//www.ocpb.go.th/main_contact.asp
เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 0-2143-9760
0-2141-3534-36
รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค -
0-2141-3407
กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา 0-2143-9770
- ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ 0-2143-0401-04
- ฝ่ายควบคุม 0-2143-0398-0400
กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก 0-2143-9768,
- ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ 0-2143-0391-93
- ฝ่ายควบคุม 0-2143-0387-89
กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา 0-2143-9767
- ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ 0-2143-0380-82
- ฝ่ายควบคุม 0-2143-0377-78
สำนักกฎหมายและคดี 0-2143-9762-63
- ส่วนกฎหมาย 0-2143-0363, 0-2143-0354
- ส่วนคดี 0-2143-0359-61
- ส่วนขายตรงและตลาดแบบตรง 0-2143-9764



สปส.เพิ่มสิทธิรักษาโรคร้าย 'แก้ปัญหา' รพ.ยื้อส่งต่อผู้ป่วย
เปิดศักราชใหม่ ผู้ประกันตนกว่า 9 ล้านคน ได้รับข่าวดีกันถ้วนหน้า เมื่อสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน (รง.) เริ่มใช้ระบบจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามกลุ่มโรคร้ายแรง เช่น โรคสมอง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคไต โรคปอดติดเชื้อ โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ฯลฯ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 โดยคำนวณตามระดับความรุนแรงของโรคหรือภาษาทางการแพทย์เรียกว่า Relative Weight (RW) ซึ่งมีตั้งแต่ระดับ 2 ขึ้นไป และเริ่มต้นระดับละ 1.5 หมื่นบาท ทั้งนี้ผู้ประกันตนเข้ารักษาได้ในโรงพยาบาลเครือข่ายประกันสังคม รวมถึงโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชนอื่นๆ ทุกแห่งนอกเครือข่ายประกันสังคม
"ปัจจุบันมีผู้ประกันตนส่วนหนึ่งป่วยเป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคไต และต้องเสียค่ารักษาจำนวนมาก เมื่อเข้ารักษาโรงพยาบาลเครือข่ายประกันสังคมก็จะมีปัญหาเรื่องไม่ยอมส่งต่อผู้ป่วย เพราะกังวลเรื่องงบค่ารักษาพยาบาล เชื่อว่าระบบนี้จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างดี สปส.ได้ตั้งงบกองกลางรองรับไว้ 4,460 ล้านบาท" นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (สปส.) อธิบาย
พร้อมกันนี้ "นพ.สมเกียรติ" ยืนยันการจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามกลุ่มโรคร้ายแรงโดยคำนวณที่ RW ตั้งแต่ระดับ 2 ขึ้นไป และเริ่มต้นระดับละ 1.5 หมื่นบาทนั้น สปส.ได้เก็บรวบรวมสถิติค่ารักษาพยาบาลมากว่า 10 ปี จากโรงพยาบาลทุกสังกัด รวมทั้งใช้ข้อมูลของสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) ซึ่งทำวิจัยตั้งแต่ปี 2550-2553 มาคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยเพื่อให้ได้ค่า RW ที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับ โดยอ้างอิงจากมาตรฐานที่วงการแพทย์สากลใช้กันอยู่
ทั้งนี้ โรคที่มีระดับความรุนแรงเกิน RW 2 ที่มาตรฐานสากลจัดไว้ ยกตัวอย่างเช่น การปลูกถ่ายไขกระดูก อยู่ในระดับ RW 53 เมื่อนำ 1.5 หมื่น มาคูณ 53 จะคิดเป็นค่ารักษา 7.95 แสนบาท การผ่าตัดเปลี่ยนตับ ระดับ RW 44 คิดเป็นเงิน 6.6 แสนบาท ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ระดับ RW 43 คิดเป็นเงิน 6.45 แสนบาท ผ่าตัดเปลี่ยนปอด ระดับ RW 41 คิดเป็นเงิน 6.15 แสนบาท ผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจโดยมีหัวกรอ PTCA ระดับ RW 28.33 คิดเป็นเงิน 424,965 บาท
ผ่าตัดต่อเส้นเลือดหัวใจและสายสวน ระดับ RW 18.10 คิดเป็นเงิน 271,548 บาท ผ่าตัดสมองและประสบอุบัติเหตุร่างกายผ่าตัดหลายส่วน ระดับ RW 17.14 คิดเป็นเงิน 257,170 บาท ผ่าตัดท่อเลือดหัวใจ ระดับ RW 15.81 คิดเป็นเงิน 237,213 บาท โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากเส้นเลือดหลายเส้นต้องใช้หัวกรอและสเต็นท์ ระดับ RW 11.88 คิดเป็นเงิน 177,264 บาท
ผ่าตัดต่อทวารหนัก ระดับ RW 4.79 คิดเป็นเงิน 71,970 บาท ผ่าตัดเปลี่ยนเข่า ระดับ RW 4.25 คิดเป็นเงิน 63,762 บาท ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ระดับ RW 4.17 คิดเป็นเงิน 62,614 บาท ปอดเป็นหนอง ระดับ RW 4 คิดเป็นเงิน 6 หมื่นบาท อุบัติเหตุได้รับการผ่าตัดสมองไม่มีโรคแทรกซ้อน ระดับ RW 3.98 คิดเป็นเงิน 59,776 บาท โรคของลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่และได้รับการผ่าตัด ระดับ RW 3.88 คิดเป็นเงิน 58,297 บาท ผ่าตัดไส้ติ่งและมีโรคแทรกซ้อนรุนแรง ระดับ RW 3.77 คิดเป็นเงิน 56,553 บาท
ปอดทะลุลมออกในช่องทรวงอก ระดับ RW 3.6 คิดเป็นเงิน 5.4 หมื่นบาท โรคหูน้ำหนวกได้รับการผ่าตัดกระดูกและแก้ไขหูชั้นใน ระดับ RW 3.6 คิดเป็นเงิน 5.4 หมื่นบาท โรคหูคอจมูกและได้รับการผ่าตัดใหญ่ ระดับ RW 3.51 คิดเป็นเงิน 52,741 บาท เนื้องอกในทางเดินหายใจ ระดับ RW 3.3 คิดเป็นเงิน 49,500 บาท
มะเร็งระบบประสาทได้รับเคมีบำบัดไม่มีโรคแทรกซ้อน ระดับ RW 3.28 คิดเป็นเงิน 49,219 บาท หนองในช่องอก ระดับ RW 3.08 คิดเป็นเงิน 46,252 บาท กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและฉีดยาสลายลิ่มเลือด ระดับ RW 2.90 คิดเป็นเงิน 43,506 บาท สวนหัวใจและฉีดสี ระดับ RW 2.45 คิดเป็นเงิน 36,780 บาท ส่องกล้องผ่าตัดถุงน้ำดี ระดับ RW 2.45 คิดเป็นเงิน 36,757 บาท ส่องกล้องลำไส้ใหญ่และต้องตัดหรือจี้เพื่อรักษาในส่วนที่ยุ่งยาก ระดับ RW 2.33 คิดเป็นเงิน 35,053 บาท โรคจอประสาทตาและได้รับการผ่าตัด ระดับ RW 2.13 คิดเป็นเงิน 32,044 บาท
"นพ.สมเกียรติ" แนะด้วยว่า กรณีผู้ป่วยจะใช้บริการระบบใหม่นี้ ควรสอบถามแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคอะไรและอยู่ในระดับ RW เท่าไหร่ เพื่อประกอบการตัดสินใจที่จะเลือกรักษาพยาบาลโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิหรือโรงพยาบาลอื่นๆ ที่ผู้ประกันตนมั่นใจ
หากผู้ประกันตนไปเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคมหรือโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิส่งต่อผู้ประกันตนไปรักษาโรงพยาบาลอื่น ทางผู้ประกันตนก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยสปส.จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด
แต่ถ้าผู้ประกันตนเลือกไปเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอื่นๆ นอกเครือข่ายประกันสังคมเอง หากมีค่าใช้จ่ายส่วนต่างเพิ่มขึ้นมา ผู้ประกันตนจะต้องเป็นผู้จ่ายค่าส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นมาเอง
"ถือเป็นข้อดีของระบบนี้ ที่ผู้ป่วยสามารถเลือกโรงพยาบาลได้อย่างเสรี ส่วนกรณีที่เกรงว่าโรงพยาบาลเอกชนจะปกปิดข้อมูลการรักษาและอาการป่วยของผู้ประกันตนเพื่อยื้อผู้ป่วยไว้รักษาเองนั้น หากตรวจสอบพบโรงพยาบาลเอกชน จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด และสปส.จะตรวจประเมินเวชระเบียนอย่างเข้มข้น โดยจัดจ้างที่ปรึกษาทางการแพทย์เพิ่มขึ้นจาก 8 คน เป็น 14 คน และจ้างที่ปรึกษาทางการพยาบาลเพิ่มขึ้นจาก 6 คน เป็น 13 คน
ตลอดจนประสานกับหน่วยงานตรวจสอบโรงพยาบาลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกรมบัญชีกลางเพื่อตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินของโรงพยาบาลเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนกรณีที่สปส.พบว่ามีการเบิกจ่ายไม่ตรงกับความเป็นจริง สปส.ก็มีมาตรการเรียกเงินคืนและตักเตือนโรงพยาบาลที่กระทำผิด" นพ.สมเกียรติ บอกทิ้งท้าย
----------
(หมายเหตุ : สปส.เพิ่มสิทธิรักษาโรคร้าย 'แก้ปัญหา' รพ.ยื้อส่งต่อผู้ป่วย : โดย ... ธรรมรัช กิจฉลอง)
----------
//www.komchadluek.net/detail/20120106/119462/สปส.เพิ่มสิทธิรักษาโรคร้าย.html
จากคุณ : หมาป่าดำ


//www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000048653
28 เมษายน 2558 21:43 น. (แก้ไขล่าสุด 28 เมษายน 2558 21:45 น.)
และ มีผู้นำไปตั้งเป็นกระทู้ในพันทิบ ห้องสวนลุม //pantip.com/topic/33579114
ก็ได้รับความสนใจ (แต่ก็แตกประเด็นไปไหนต่อไหน ? )
ผมจึงขอเข้าไปแสดงความเห็น และ นำมาบันทึกไว้ในบล็อคด้วย
..................
ขอแจมหน่อย .. ไม่ได้ค้านหัวชนฝา แต่ก็อยากให้ช่วยกันคิด วิเคราะห์ประเด็น การเรียกร้อง คณะกรรมการฯ ^_^
ผมอ่านจากข่าว และ การสร้างแคมเปญรณรงค์ ... ยัง มึน ๆ อยู่ว่า จะให้ตั้ง "คณะกรรมการควบคุมราคา รพ.เอกชน " เพื่อให้ทำหน้าที่อะไร ? แค่ "เพิ่ม" ช่องทางให้เข้าไปร้องเรียน ? ... (และที่ อาจ สำคัญกว่าคือ มีใครเป็นคณะกรรมการบ้าง ? )
แทนที่ จะ ตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นมาใหม่ .. สร้างระบบขึ้นมาใหม่ ซ้ำซ้อนกับที่มีอยู่ แถม ค่าใช้จ่าย ที่ต้องมีเพิ่มเติม ให้กับ คณะกรรมการ และ เจ้าหน้าที่ รวมไปถึงขั้นตอนการตรวจสอบ ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายทั้งนั้น ..
เปลี่ยนไป เรียกร้อง กระตุ้น (บังคับ) ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ทำหน้าที่ให้ดี (เอาเงินที่จะไปตั้งกรรมการให้ ไปเพิ่มงบให้หน่วยงานฯดีกว่า) และ หาวิธีเผยแผ่ความรู้เกี่ยวกับ การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิของผู้ป่วย ฯลฯ ให้กับประชาชนทั่วไป น่าจะดีกว่า นะครับ
ปล.
๑. กรณีตัวอย่าง ยาฉีด อะดรีนาลีนเพื่อกระตุ้นหัวใจ 148 หลอด
......... กรณีนี้ เรียกว่า " โกง " ... ก็คงไม่ตรงกับหน้าที่ของ คณะกรรมการฯ ที่จะตั้งขึ้น
๒. ที่บอกว่า " พวกเราบ่นกันมานานมากแล้ว ทางรพ.เอกชนก็มักโต้แย้งว่าต้นทุนสูง รัฐไม่ได้เข้ามาดูแล ประชาชนสามารถเลือกได้ที่จะไม่เข้ารพ.เอกชน แต่เวลาเจ็บป่วยฉุกเฉินขึ้นมาเราไม่สามารถเลือกโรงพยาบาลได้ ? "
.......... ค่ายา รพ. (คลินิก) เอกชน " แพง " เพราะต้องรวม "ต้นทุน" อย่างอื่น เช่น ค่าที่ดิน ค่าตึก ค่าอุปกรณ์ ค่าโฆษณา ค่าไฟฟ้า ค่าดอกเบี้ยแบงค์ ฯลฯ เข้าไปในค่ายา นั้นด้วย ( ในขณะที่ รพ.รัฐ ไม่ต้องนำมารวมด้วย )
ตอนผมอยู่ รพ.รัฐ ก็เคยมีการทำวิจัย "ต้นทุน ของ รพ." ซึ่งยุ่งยากสับสน แต่ก็พยายามทำกันมาหลายปี จนนำมาสู่การคิดต้นทุนของ ระบบบัตรสุขภาพ (บัตรสามสิบบาท) ซึ่ง "รัฐ" ต้องหา เงินมาชดเชย แต่ รพ.รัฐ ก็ไม่เคยได้ตามต้นทุนที่คิดไป ครั้งแรกต้นทุนสองพัน รัฐ จ่ายมา แปดร้อยบาท แถมหักโน่นนี่นั่น เหลือมาถึง รพ. จริง ๆ แค่ห้าร้อยกว่าบาท ปัจจุบัน สปสช.เพิ่มมาให้ แต่ก็ยังไม่พอ )
......... เวลาเจ็บป่วยฉุกเฉิน ตอนนี้ก็กำลังมีความพยายามแก้ไขอยู่ ถึงแม้ว่าจะยังแก้ไม่ได้ก็ตาม ( แต่ถ้าจะให้ดี ควรลดเรื่องโฆษณา ที่เกินจริง ทำให้ ประชาชนเข้าใจผิด ?)
๓. หน่วยงานที่ "น่าจะ" เป็นผู้รับผิดชอบดูแล (ตามกฏหมาย) มีเยอะ แต่ก็มีปัญหาในการทำงาน ซึ่งผมก็ไม่คิดว่า คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาใหม่จะทำได้ดีกว่า ?
เช่น การที่จะเข้าไปตรวจสอบหาข้อมูลว่า ค่ารักษานั้นสมเหตุสมผลหรือเปล่า ? ก็ต้องใช้ คน ใช้ เงิน .. หลังจากนั้น ถ้าคณะกรรมการสรุปว่า ไม่สมเหตุสมผล แล้วทำอย่างไรต่อ ? .. ( ยังไม่รวมถึงนิยามว่า " อะไรคือ สมเหตุสมผล" อีกนะครับ )
แถม ..
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
//www.ocpb.go.th
พรบ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
เหตุผลในการประการใช้ พรบ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
1. เพื่อกำหนดสิทธิของผู้บริโภค
2. เพื่อกำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจ
3. เพื่อกำหนดให้มีการจัดตั้งองค์กรของรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
โดยให้เหตุผลในการประกาศใช้ พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบัน การเสนอขายสินค้า และบริการต่างๆ ต่อประชาชนนับวันแต่จะเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบธุระกิจการค้า และผู้ประกอบธุระกิจ โฆษณา ได้นำวิชาการทางการตลาดและทางการโฆษณามาใช้ในการส่งเสริมการขายสินค้า และบริการซึ่งการกระทำดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคตกอยู่ในฐานะและบริการ ที่เสียเปรียบ เพราะผู้บริโภค ไม่อยู่ ในฐานะที่ทราบภาวะตลาด และความจริงที่เกี่ยวกับคุณภาพและราคาของสินค้าต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องทันท่วงที นอกจากนั้นในบางกรณีแม้จะมีกฏหมายให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคโดยการกำหนดคุณภาพ และราคาของสินค้าหรือผู้ประกอบธุระกิจโฆษณาเมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคย่อมจะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเป็น การ ไม่คุ้มค่า และผู้บริโภคจำนวนมากไม่อยู่ในฐานะ ที่จะสละเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีได้และในบางกรณีไม่อาจจะระงับ หรือยับยั้ง การกระทำที่เกิดความเสียหาย แก่ผู้บริโภค ได้ทันท่วงที สมควรมีกฏหมายให้ความคุ้มครอง สิทธิของผู้บริโภค เป็นการทั่วไป โดยกำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจ การค้าและผู้ประกอบธุรกิจ โฆษณาต่อผู้บริโภค
เพื่อให้ความเป็นธรรมตามสมควรแก่ผู้บริโภค ตลอดจนจัดให้มีองค์กรของรัฐ ที่เหมาะสมเพื่อตรวจตรา ดูแลและประสานงานการปฏิบัติงานของส่วนราชการต่าง ๆ ในการให้ ความคุ้มครองผู้บริโภค จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ นี้ขึ้น
ช่องทางร้องเรียน เกี่ยวกับ เรื่อง ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18
เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว นโยบายดี แต่การปฏิบัติล้มเหลว ? ...
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-10-2014&group=7&gblog=185




( ปล. พาดหัวข่าว กับเนื้อหา ไม่ตรงกัน นะครับ )
//www.matichon.co.th/news/436676
เมื่อวันที่ 22 มกราคม นพ.วิศิษฎ์ ตั้งนภากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า พ.ร.บ. สถานพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2559 เป็นต้นมา เจตนารมณ์กฎหมายฉบับนี้ เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐาน ความปลอดภัยของระบบบริการสุขภาพครอบคลุมสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างไรก็ตาม ตามกฎหมายฉบับนี้ นอกจากจะกำหนดให้สถานพยาบาลทุกแห่งต้องแสดงชื่อ รายการผู้ประกอบวิชาชีพ อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ และค่าบริการอื่นแล้ว ยังต้องแสดงค่ายาเวชภัณฑ์ และ ห้ามเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเกินอัตราที่แสดงและมีการเพิ่มหลักเกณฑ์การดำเนินการของสถานพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน ตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉินอีกด้วย โดยสบส. ได้แจ้งเวียนให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)ทั่วประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน
ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้ยังได้ปรับปรุงเงื่อนไขการอนุญาตการโฆษณาสถานพยาบาลให้รัดกุมขึ้น โดยกำหนดให้การโฆษณาทุกชนิดในเขตกรุงเทพมหานคร จะต้องขออนุญาตจาก สบส. และในส่วนภูมิภาค ให้ขออนุญาตที่ สสจ. และได้เพิ่มโทษการโฆษณาโอ้อวดให้หนักขึ้นจากเดิมซึ่งมีแค่โทษปรับอย่างเดียว แต่กฎหมายฉบับนี้เพิ่มโทษจำคุก 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาทจนกว่าจะระงับการโฆษณา ในกรณีที่ลักลอบโฆษณา มีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาทและให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาท จนกว่าจะระงับการโฆษณา กรณีโฆษณาที่มีการเผยแพร่ก่อนกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้ดำเนินการขออนุญาตกับ สบส. หรือสสจ.ในพื้นที่ ภายใน 90 วัน หลังจากประกาศที่ออกตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ.ฉบับนี้ใช้บังคับ และเมื่อยื่นขออนุญาตแล้วอนุโลมให้โฆษณาต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งผลการพิจารณา
ทพ.อาคม กล่าวอีกว่า สำหรับบทลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืน ได้เพิ่มโทษหนักขึ้นกว่าเดิม เพื่อป้องปรามการกระทำผิด เช่น การลักลอบเปิดสถานพยาบาลโดยมิได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกจากเดิมไม่เกิน 3 ปี เพิ่มเป็น 5 ปี หรือปรับเพิ่มจากเดิมไม่เกิน 6 หมื่นบาท เป็น 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีการเก็บค่ารักษาพยาบาล ยา และเวชภัณฑ์เกินกว่าที่แสดงไว้ที่ป้าย ก็มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จากเดิมมีโทษปรับอย่างเดียวไม่เกิน 2 หมื่นบาท นอกจากนี้ กฎหมายยังครอบคลุมโทษถึงผู้กระทำความผิดที่เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลที่รับผิดชอบการดำเนินงานของนิติบุคคล จนเป็นเหตุให้เกิดการกระทำผิด จะต้องร่วมรับผิดชอบในความผิดนั้นด้วย

- ทำอย่างไรดีเมื่อแพทย์โดนฟ้อง ... รศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ (นำมาฝาก)
- ไปคลินิกแล้ว จะดูอย่างไรว่า ผู้ที่ตรวจรักษา เป็น หมอจริง ?
- รู้ไว้ใช้สิทธิ์เมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน การเรียกเก็บค่ามัดจำหรือลงนามรับผิดชอบค่ารักษา เองฯ อาจทำไม่ได้
- ระบบสุขภาพสหรัฐฯ ทำ แพทย์-พยาบาล หมดไฟทำงาน เหตุจากภาระงานเกินตัว เทคโนโลยีล้าหลัง ( เน้น สหรัฐ )
- คดีทางปกครอง เกี่ยวกับ ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล กับ เวชระเบียนในความครอบครองควบคุมดูแลรักษา ของ รพ
- เจอข้อมูลข่าวสารสุขภาพออนไลน์ ทำไงจึงไม่ถูกหลอก ? โดย มะไฟ
- การตั้งท้องคือความเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง และ การคลอด ก็คือ การเข้าสู่สมรภูมิรบ
- แนวทางการชันสูตรศพคดี การตรวจผู้ป่วยคดี และ การจัดทำเอกสารทางคดี สำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ปี 2562
- คำแนะนำมาตรฐานการป้องกันโรคหัวใจปี 2019 .. ( คัดลอกจากเวบ DrSant บทความสุขภาพ นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ )
- ค่าบริการผู้ป่วยไม่ฉุกเฉินนอกเวลาราชการ ครั้งละ 110 บาท ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข
- แพทย์ต้องการความมั่นคง สังคมต้องการผู้เชี่ยวชาญ ผ่าปัญหา หมอสมองไหล กับ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
- ชี้แนวโน้มการฟ้องร้องทางการแพทย์สูงขึ้นเรื่อยๆ
- เทคนิคการสื่อสารสำหรับแพทย์ ... ผศ. นพ. พนม เกตุมาน
- Tips เยี่ยมไข้ 'ผู้ป่วยหนัก'" 14 ข้อ ..จากเฟส ชีวามิตร Cheevamitr Social Enterprise
- อัตราการมีบุตรของวัยรุ่น : ข้อมูล พ.ศ.2558-2559
- No Fault ในความหมายทางการแพทย์ ... พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
- สธ.ออกคู่มือจัดบริการเพิ่มพิเศษของ รพ. พร้อมประกาศจ่ายเงินบำรุงเป็นค่าตอบแทน
- iinfographic 9 ข้อควรรู้เรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่ ( UCEP )
- ชี้แจง เรื่องเครื่อง Thermatron กับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ .. โดย นพ. นิธิ ผอ รพ จุฬาภรณ์
- นพ.ธีระ วรธนารัตน์ : เจ็บป่วยฉุกเฉิน เมื่อนโยบายยังไม่ชัด ต้องคิดก่อนเข้า
- ถอดความ รายการสามัญชน คนไทย ตอน กฎหมายคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบทางสาธารณสุข ... ชเนษฎ์ ศรีสุโข
- เมื่อแพทย์และพยาบาลต้องล้มละลายเพราะถูกไล่เบี้ย ... ผศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ
- กรรมการแพทยสภาในต่างประเทศ มีคนนอกหรือไม่และทำหน้าที่อะไร ?
- รีบเกินไปพาวินิจฉัยโรคพลาด ผละจาก งานยุ่ง เพื่อที่จะมี เวลาคิด .. นำมาฝาก
- นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภาชี้คดีฟ้องหมอพุ่ง หวั่นอนาคตระบบสาธารณสุขไทยกำลังจะเจ๊ง
- รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้าประกาศ นอกเวลาราชการโรคไม่ฉุกเฉินเก็บ 200
- "การแก้ปัญหาปลายเหตุ" ... ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา
- ประกันภัยภาระรับผิดชอบในวิชาชีพ ทางออกหนึ่งสำหรับคดีทางการแพทย์
- แพทยสภา ดัน ต่ออายุใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ไม่ต้องสอบใหม่ ไม่มีผลย้อนหลัง
- โรงพยาบาลปฏิเสธการรักษาถือเป็นละเมิด ... แล้วทำไม "แพทยสภา" ถึงบอกว่า หมอมีสิทธิปฏิเสธคนไข้ได้ ?
- แขวนป้าย แขวน ใบ ว. ... ถ้ารู้แล้วยืนยันจะเสี่ยงก็ไม่ว่ากัน
- โรงพยาบาลเอกชน "แพง" .. ข้อมูลที่ยังไม่รู้ หรือว่า แกล้งไม่รู้ ? ( ฟังความอีกข้าง ^_^ )
- คำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชนแสนแพง ... ( นำมาฝาก )
- ขรก.เบิกกลูโคซามีนได้แล้ว หลังศาลปกครองมีคำสั่งเพิกถอนเกณฑ์ ก.คลัง
- สพฉ. จับมือ สธ. พัฒนาการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินตามนโยบาย เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์
- เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว นโยบายดี แต่การปฏิบัติล้มเหลว ? ...
- กฏหมาย แพทย์ต้องรู้ ( ผู้ป่วยและญาติ ก็ควรรู้ )
- ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แจงสภาพข้อเท็จจริงระบบสุขภาพของไทย
- บริการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ เลือกอย่างไร ไม่ให้ถูกหลอก ?
- สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย 2556 ; Adolescent Pregnancy Thailand 2013
- (เก็บมาฝาก) สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิต เกล็ดโลหิต เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (สเต็มเซลล์)
- มหัศจรรย์! ล้างพิษมายาวิทยา-ไสยศาสตร์ ... โดย : ศ.น.พ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
- อาหารเสริม....บนเส้นทางสู่อมตะ ... ศจ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (นำมาฝาก)
- ทุ่ม 4 หมื่นล้าน ผลิตแพทย์เพิ่มมหา'ลัยรัฐ-เอกชน เปิดคณะรองรับ
- ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ ขยายเวลาให้ข้าราชการ เบิกค่ายากลูโคซามีน ได้ ( คดีพลิกอีกแล้วครับท่าน )
- ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับโรคมะเร็งจาก รพ.จอห์น ฮอพกินส์ เป็นเรื่องโกหกแต่เชื่อ ?
- ปัญหาสาธารณสุขไทย ความจริงของ “แพทย์ไทย” กับอนาคตไร้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- สิทธิการตาย กับ หน้าที่ทำให้ตาย ... โดย : นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ (พบ., นบ, ปรม.)
- เมื่อ สาธารณสุข กลายเป็น สาธารณทุกข์ โดย : นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ
- ฉีดยาแล้วตายในสหรัฐ.......กรณีศึกษาบทเรียนในประเทศไทย โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
- เปิดเสรีประชาคมศก.อาเซียนการแพทย์ไทยได้มากกว่าเสีย ?
- คลังสั่งถอน “กลูโคซามีนซัลเฟต” จากระบบเบิกค่ายา ขรก. ..ห้ามเบิกตั้งแต่ ๑ พย. ๕๕
- กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ มีมติ "ไม่อนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลเอกชนใน รพ.รัฐ" .. ???
- โครงการ การประกวดคำขวัญCME ครั้งที่ 2 .. เรียนเชิญแพทย์ทุกท่านนะครับ
- ผู้ป่วยไม่ใช่ผู้บริโภค : Patients are not Consumers
- กระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงและกระบวนการยุติธรรมในแพทยสภา
- รวมลิงค์บทความ เกี่ยวกับ พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข .. ( เพียบบบบบบ )
- 12 วลีฮิต ติดปากหมอ ที่ต้องขอแปล ... จากเวบ เดลินิวส์
- ชี้ช่องทางเลี่ยงจ่ายค่ายามหาโหด ลอกคราบ ‘รพ.เอกชน’คิดอย่างไรถึงแพงสุดขั้ว !
- ฉลาดเลือกใช้...การแพทย์ทางเลือก .... โดย อ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
- “อย.มีหน้าที่รับรองเฉพาะส่วนผสม สถานที่ผลิต และระบบการผลิต ไม่ได้รับรองสรรพคุณว่าสามารถรักษาโรคต่างๆ
- การใช้ดุลพินิจของแพทย์ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ... นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ
- คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..(จบ?)
- กฤตขาดแพทย์ผ่าตัดสมอง 30 จังหวัด! ใครป่วยตายสถานเดียว-ชี้หมอแบกคนไข้ 1 ต่อ 3.5แสน
- สิทธิคนไข้ในเรื่องการตรวจAnti HIV .. กระทู้น่าสนใจจากห้องลุมพินี
- 'แพทยสภา' เตรียมฟ้องศาลปกครองเพิกถอน'สิทธิการตาย' หวั่นคนไข้ทั่วไป เสียสิทธิหลายกรณี
- คลัง ส่งหนังสือด่วนถึง รพ.อนุมัติเบิกจ่ายยาข้อเสื่อมได้แบบมีเงื่อนไข
- คลังไฟเขียวเบิกจ่ายยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมเหมือนเดิม ... ( ไม่รู้จะมีคดีพลิก อีกหรือเปล่า ??? )
- คลังคุมเข้มเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ขรก. ... กรมบัญชีกลาง ยังไม่ให้เบิกยารักษาข้อเข่าเสื่อม ???
- ผมมีงานมีการทำ....ไม่ต้องการไปขอทานใคร ............ แก้วสรร อติโพธิ
- ทำไมหมอไม่ชอบให้โรงพยาบาลรัฐบาลขาดทุน? ... พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
- คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..( ต่อ )
- คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม ..(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)
- 41 ความในใจ ที่ หมอ ขอบอก ..... จาก รีดเดอร์ส ไดเจสท์
- ประชาชนต้องการความปลอดภัยในการไปโรงพยาบาล หรือต้องการได้รับเงินชดเชยความเสียหาย?
- วิปรัฐบาลรับลูกภาคีวิชาชีพแพทย์ เสนอ ครม.ทบทวน กม.ค้มครองผู้เสียหายฯ
- "แพทยสภาปกป้องทั้งคนไข้-แพทย์"
- ด้วยรัก..ถึงนักโฆษณา... โดย Panrudee Yung ( นำมาฝากจาก FB )
- เชิญชม รายการ Business Week ทาง TNN 01...สัมภาษณ์ น.อ.(พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา
- ขอนแก่นโมเดล .. ดีจริงหรือ ??? .. ลองมาฟังความเห็น ข้อกังวลใจ ของจักษุแพทย์
- " เบื้องหลัง " .... พรบคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ฯ ... โดย นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ
- ผู้ร้ายในโรงหมอ ??? .... โดย ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี ..กรุงเทพธุรกิจ..
- "ศาลปกครองกลาง" ตัดสินให้ผู้ป่วยชนะคดี "เวชระเบียนหาย" รพ.ศิริราช ต้องจ่ายชดเชย ๑ แสนบาท+ดอกเบี้ย
- สรุปผลการสัมมนาร่างพรบ.คุ้มครองฯ ของ บุคลากรทางการแพทย์เขตภาคเหนือ ณ คณะแพทย์ศาสตร์ มช. เมือ ๓พย๕๓
- คำถามที่ต้องตอบ และคำตอบที่ต้องใคร่ครวญเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ..จากเวบสมาพันธ์แพทย์
- เมื่อร่างพรบ.คุ้มครองฯ เป็นกฎหมาย การดูแลผู้ป่วยโดยหลักการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์จะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป
- ขยะใต้พรม พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสธ. ... โดย doctorlawyer
- พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯประชาชนได้ประโยชน์จริงหรือ ??... โดย ศ.พญ.ถนอมศรี ศรีชัยกุล
- รายการจับเข่าคุย สรุปประเด็น พรบ.คุ้มครองผู้เสียหาย..ครบถ้วน โดย อ.วันชาติ
- "จุรินทร์" ไม่รู้เท่าทันเอ็นจีโอ (หรือ แกล้งโง่..) ... โดย พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
- "คลอโรฟิลล์" .. ดีจริง ตามที่โฆษณา หรือว่า แค่หลอกเล่น เหมือนกับที่เคย ๆ ...
- พ.ร.บ .คุ้มครองความเสียหายฯ กับผลกระทบด้านลบต่อสังคมในระยะยาว ....... โดย สุจิตรา
- พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯเพื่อใคร?! ... คอลัมน์: บันทึก...บ้านเมือง จาก หนังสือพิมพ์ บ้านเมือง
- สรุปข่าว และ กำหนดการ ประชาพิจารณ์/ประชามติ ร่าง พรบ.คุ้มครองฯ ฉบับรัฐบาล 3 ก.ย. ถึง 16 ก.ย. 53
- บทวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงแก้ไข ร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ... โดย นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ
- นัก กม.แจง กมธ.สธ.คุ้มครองผู้เสียหาย ยุติธรรม เอื้อ 2 ฝ่าย .... ข่าวจาก ASTV online
- ร่างกฏหมายมูลนิธิสังคมสงเคราะห์ชนิดบังคับเรียกเก็บก่อนเดินเข้าโรงพยาบาล ..... โดย เคมบริดส์
- ทำไม พรบ.ร่างรัฐบาลที่เป็นร่างหลัก จึงมีปัญหา (มากกว่าร่าง ภาคประชาชน) ??? ...โดย 716:16
- ประเด็นที่ซ่อนเร้นใน พรบ.คุ้มครองฯ... ประเด็นที่วิญญูชนหน้ากากหลุด .... โดย ไทสยาม
- 7 กย 53 ... องค์กรแพทย์ รพ.ราชวิถี จัดประชุมวิชาการเรื่อง (ร่าง)พรบ.คุ้มครองฯ ดีจริงหรือ ???
- ไอเดียเจ๋ง! กทม.เล็งเพิ่มศักยภาพเทศกิจ"ทำคลอด-เข้าเฝือก" .....เพิ่มความเห็น นพ.อุสาห์ (พรบ.คุ้มครอง)
- ทำไมผมจึงเชื่อว่าร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯจะส่งเสริมให้มีการฟ้องร้อง มากยิ่งขึ้น ... นพ.วิสุทธิ์
- กฎหมายต้องเป็นธรรม ... โดย นพ. เกษม ตันติผลาชีวะ (ไทยโพสต์)
- ขอให้คิดให้รอบคอบก่อนที่จะรับร่าง พรบ.คุ้มครองฯ ซึ่งกำลังเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ .. โดย นพ.เอื้อชาติ
- ไม่ยากหาก "นายกฯอภิสิทธิ์" คิดจะทำ ... โดย ลม สลาตัน (ไทยรัฐ) .. (เป็นเรื่อง พรบ.คุ้มครองฯ)
- พ.ร.บ.คุ้มครองความเสียหายฯ และการเมืองภาคประชาชน .. โดย สุจิตรา
- ทำไมจึงคัดค้านร่างพ.ร.บ.คุ้มครองฯ .... โดย พญ. เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธาน สผพท.
- รายการ "เวทีสาธารณะ" สนทนา หาทางออก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ....เพิ่มความเห็นเบื้องลึกเบื้องหลัง ..
- อะไรคือ ความเสียหาย ในร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ... โดย ศ.นพ.ธารา ตริตระการ
- เหตุผลสำคัญที่ไม่ต้องมีพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข .. พญ.เชิดชู
- ปัญหาการประกันความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุขโดยผิดพลาด .. โดย แก้วสรร อติโพธิ
- เหยื่อของรัฐ : ระบบการแพทย์ - สาธารณสุขของไทย ... โดย ..ศจ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
- ระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย ลงทุนน้อยแต่หวังผลเกินจริง ..รักษาฟรี ไม่พอใจแถมเงินกลับบ้าน
- โพลชี้ ปชช.ไม่เห็นด้วยหมอ-บุคคลากรแพทย์ค้านพรบ.คุ้มครองผู้เสียหาย ...จาก มติชน
- สืบเนื่องจาก อ.นิธิ เขียน " ใครเสีย ในร่างพ.ร.บ.คุ้มครองความเสียหายฯ " .. ขอแจมหน่อย นะครับ..
- สืบเนื่องจากคำถามของ "กาแฟดำ" ในเรื่อง "หมออย่าทะเลาะกัน คนไข้จะเป็นลม" .. โดย พญ.เชิดชู
- สนทนาเรื่องรัฐสวัสดิการกับอาจารย์บุญส่ง ชเลธร ... โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย
- ติดกระดุมเสื้อผิดตั้งแต่ พรบ. หลักประกันสุขภาพ .. โดย พ.ต.ท หญิง ฐิชาลักษณ์ ณรงค์วิทย์
- ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการฯ...ใครได้ใครเสีย? ... จาก พญชัญวลี ศรีสุโข + นสพ.มติชน
- บทเรียนจากประเทศสวีเดน ว่าด้วยการชดเชยความเสียหายจากบริการสาธารณสุข .. มติชน
- มาตรา 5 และ6 องค์ประกอบของคณะกรรมการ พูดจาภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่าย .. By : doctorlawyer (แร๊งงงง)
- เบื้องหลังที่ถูกตัดออกไปจาก Prototype (ร่างแรก) ...ความเห็นของ "หมอ+นักกฎหมาย" ผู้ร่วมร่าง พรบ.นี้ ฯ
- ปุจฉาวิสัชนา พรบฯ .. ความเห็นของ "หมอ+นักกฎหมาย" ผู้ร่วมร่าง พรบ.นี้ ตั้งแต่เริ่ม (อ่านแล้วจะ อืมมม)
- ประเด็นที่น่าสงสัย ใน พรบ.คุ้มครอง ฯ ..และ..ลิงค์กระทู้บทความที่น่าสนใจ จะได้เข้าใจตรงกันมากขึ้น
- ปีกสองข้างของการบริการสุขภาพและการสาธารณสุขไทย ปัญหาที่ท้าทาย ( ตอน ๓ ) .... โดย นพ.อุสาห์
- ปีกสองข้างของการบริการสุขภาพและการสาธารณสุขไทย ปัญหาที่ท้าทาย ( ตอน ๒ ) .... โดย นพ.อุสาห์
- ความเห็นเกี่ยวกับ พรบ.คุ้มครองฯ ..โดย นพ.วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี ( แพทย์ + นักกฎหมาย)
- ปีกสองข้างของการบริการสุขภาพและการสาธารณสุขไทย ปัญหาที่ท้าทาย .. โดย .. นพ.อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์
- ข่าวปชส.กิจกรรมความเคลื่อนไหว สมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท แห่งประเทศไทย
- ถ้าไม่มีพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขแล้ว ประชาชนจะยังได้รับความคุ้มครองอยู่หรือไม่ ?
- ร่าง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ... ปัญหา หรือ โอกาส ...
- อย.เตือนเหรียญ"ควอนตั้ม"ไม่มีผลทางการแพทย์ ..... เตือนแล้วเตือนอีก จะมีคนเชื่อมั่งหรือเปล่าเนี๊ย ???
- อาหารเสริมหรือเสริมอาหาร จะเอาอะไรกันแน่ ??? อาหารต้านอนุมูลอิสระ ??? ... นำมาฝากจากเวบ หมอชาวบ้าน
- มะรุม พืชสมุนไพร แต่ไม่ใช่ ยาวิเศษ .... บทความดี ๆ จากเวบ สสส.
- ห้องตรวจในโรงพยาบาลของรัฐ ... กับ ... ความลับของผู้ป่วย
- วิตามิน อาหารเสริม ... โทษมากกว่าคุณ ??? .... จาก นสพ.ไทยรัฐ
- ใครว่า องค์การอาหารและยา ( อย. ) ไม่มีผลงาน ... ผมค้านเต็มที่ ... มีผลงานของ อย.มาแสดงด้วย .
- จริง-เท็จ แผนเด็ดโฆษณา ฟิลเตอร์เทพ-แอร์ ฆ่าหวัด09 ..... นักวิชาการชี้ เป็นไป ไม่ได้
- เภสัช มช. ช่วยไขข้อข้องใจ 5 ประการ ว่าด้วย น้ำหมักชีวภาพ ....
- ทำไม ต้อง " ขาว " .. ทำไม ต้อง " เอาชีวิต สุขภาพ ของเรา " เพื่อให้คนอื่นเขาดู ???
- กว่าจะมาเป็นหมอผิวหนัง ... แพทย์ผิวหนังคือใคร ... อยากรู้ก็แวะมาอ่านได้เลย ...
- ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยัน.. การใช้ Growth Factor .. มารักษารอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าได้จริง ...
- FW mail ... รวมสินค้า (แหกตา) โดนแล้วจะตาแหก...
- ครม.ผ่านกฎกระทรวง สิทธิการตาย ......เปิดช่องหมอยุติรักษาตามเจตนาคนไข้ ...
- ...สาวฮ่องกง.... จำนวนมาก ถูกบริษัทลดน้ำหนัก หลอกโกงเงิน .... แล้วเมืองไทยละ ???
- อาหารเสริม เลือดจระเข้ ดีจริงหรือ ???
- สุดยอดการหลอกลวงด้านสุขภาพ ... จาก อเมริกา ดูแล้วก็ไม่ต่างอะไร กับเมืองไทย ...
- ผลสัมมนาเรื่องสมองตาย การตายตามกฎหมายที่แพทย์วินิจฉัย ... นพ.สุกิจ
- ตีแผ่ FW Mail สุขภาพที่หลายคนเข้าใจผิด (หมอแมว) แถมเรื่อง การช่วยชีวิตเบื้องต้น
- ...... " ผ่าตัด เสี่ยงหรือเปล่าครับหมอ ??? " .... " หมอรับรองหรือเปล่าว่าจะหาย ???" ....
- คุณไพศาล บอกว่า..วิชาปัญจศาสตร์ รักษามะเร็งหาย ๑๐๐ % .. แผนปัจจุบันตายทุกคนหรือตายเป็นส่วนใหญ่ ???
- ไทยติด ๑ ใน ๕ ประเทศ ที่เสี่ยงต่อการทำศัลยกรรม แล้วมีปัญหาตามมาต้องกลับไปผ่าตัดแก้ไข ???
- FW Mail : รายชื่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ดีที่สุดในเมืองไทย ... ... จริงหรือ ???
- หมอ ... มีสิทธ ิ... ที่จะปฏิเสธ .... คนไข้ที่ไม่ฉุกเฉิน..... หรือเปล่า ???
- ผลการสำรวจสุขภาวะของแพทย์ไทย ปี พ.ศ. 2545 - 2549
- อึ้ง! วิจัยเผยคนไทยใช้ยาเกินจำเป็น 500ล.ต่อปี .... ( จริง ๆ น่าจะมากกว่านั้นเยอะ )
- น้ำ MRET น้ำโมเลกุลหกเหลี่ยม ... ใครเชื่อ ผมไม่เชื่อ ????
- พยากรณ์โอกาสเสี่ยงโรคหัวใจ หลอดเลือดล่วงหน้า 10 ปี อัตโนมัติ
- โรคหรือสภาพร่างกายหรือสภาพจิตใจ ซึ่ง ไม่สามารถจะรับราชการทหาร (คัดเลือกทหาร) ตามมาตรา 41
- ได้ไม่เท่าเสีย ....โดย สุนทร นาคประดิษฐ์ ( ความเห็น เกี่ยวกับ การฟ้องร้องแพทย์ )
- ช่องทางร้องเรียนเกี่ยวกับ ยา-หมอ-คลินิก-โรงพยาบาล-สิทธิรักษา (บัตรทอง ประกันสังคม เบิกได้ พรบ.รถ)
- การรักษาด้วย คีเลชั่น ดีจริงหรือมั่วนิ่ม? + แพทยสภาไม่รับรอง อัปเดต 11มค68
- กลูต้าไทโอน ทำให้ผิวขาวจริงหรือไม่.. โดย...สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย
- !@! มดลูกเกือบแตก !@!
- ภัยจากนามบัตร ยาป้าย ยาสลบ ( ใครที่มีสุตรยาป้าย ถ้าได้ผลจริง มีคนให้เงินล้าน ไม่ต้องไปป้ายข้างถนน)
- ฟ้องร้องแพทย์ ความยุติธรรมแก่ใคร ฤๅ???
- นศ.แพทย์ เจอดี! ประชาชนฟ้อง ฉีดยาชุ่ย! ฆ่าทารก !
- (เก็บมาฝาก) สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาค ร่างกาย อวัยวะ ดวงตา
- บทความเรื่อง : สาร Glutathione สำหรับทำให้ผิวขาวที่กำลังเป็นที่นิยม
- อย. ยัน "ไม่เคยรับรอง" ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ลดอ้วนได้จริง ..วิธีตรวจสอบ แอบอ้างเลข อย. (ปลอมทุกอย่าง)
- อย.ย้ำ ผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อ เครื่องบำบัดด้วยกระแสไฟฟ้าสถิตย์ อวดอ้างสรรพคุณรักษาโรค
- ขอประนามหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ที่ลงรูปน้องนีนาเหยื่อสุนัขโหด
- ยา กับ อาหารเสริม (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) ต่างกันอย่างไร ???
- อาหารเสริม ดีจริงหรือ ??? กินกูลต้าไธโอน ขาวจริงป่ะ ???
- ข้อแนะนำก่อนจะพบแพทย์กระดูกและข้อ
- มีบทความสุขภาพ โรคทั่วไป โรคกระดูกและข้อ ทำเป็น pdf ให้ download
งานเยอะมั้ยคะ