มาตรา 5 และ6 องค์ประกอบของคณะกรรมการ พูดจาภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่าย .. By : doctorlawyer (แร๊งงงง)

ถ้ายังไม่ได้อ่านบทความนี้ .. แวะไปอ่านก่อนนะครับ จะได้ทราบความเป็นมา เพิ่ม อรรถรส ยิ่งขึ้น ..

ปุจฉาวิสัชนา พรบฯ .. ความเห็นของ "หมอ+นักกฎหมาย" ผู้ร่วมร่าง พรบ.นี้ ตั้งแต่เริ่ม (อ่านแล้วจะ อืมมม)
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-08-2010&group=7&gblog=70เบื้องหลังที่ถูกตัดออกไปจาก Prototype (ร่างแรก) ...ความเห็นของ "หมอ+นักกฎหมาย" ผู้ร่วมร่าง พรบ.นี้ ฯ
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-08-2010&group=7&gblog=71อ่านแล้ว ก็มาติดตามกันต่อได้เลย .... ณ บัดนี้ ...
มาตรา 5 และ6 องค์ประกอบของคณะกรรมการ พูดจาภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่าย สิ่งที่พิธีกรไม่เคยถาม สิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ไม่เคยชี้แจง สิ่งที่องค์กรเอกชนต้องการให้เป็นไป กฎหมายนี้ยังไง ๆ เขาก็ต้องการให้ใช้คำเรียกว่า
คุ้มครองผู้เสียหาย เพื่อเน้นให้เห็นว่าทุกวันนี้ โรงพยาบาลคือสถานก่ออาชญากรรมที่ทำให้เกิดความเสียหาย
ทุก ๆ วัน ทุกพื้นที่ของประเทศไทยกำลังมีอาชญากรรมเกิดขึ้นภายใต้สถานที่มีเครื่องมือ RED CROSS ดังนั้นจึงต้องมีกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายที่เกิดเหตุในสถานพยาบาล โรงพยาบาลคือ Crime Scene
บุคลากรคือ ผู้ต้องสงสัย จำเลย ผู้ต้องหา นักโทษ แล้วแต่จะเรียกขาน ที่สำคัญสถานก่ออาชญากรรมเหล่านี้ ไม่เคยมีตำรวจเข้าไปจับ เลยต้องตรากฎหมายใหม่มาเพื่อเรียกค่าทำขวัญ
จุดประสงค์ต่อเนื่องคือ เหตุที่เกิดอาชญากรรมนี้ไม่ต้องพิสูจน์ ไม่ต้องเก็บพยานหลักฐาน เพราะต้องการให้เรียกว่า
NO fault ทั้ง ๆ ที่คำนี้ไม่ได้แปลว่า ไม่พิสูจน์ผิดถูก แต่หมายถึงการไม่ไปสอบหาว่าใครเป็นทำ แต่ยังไงก็ต้องเก็บพยานหลักฐาน ซักปากคำ ตรวจสอบพยานหลักฐานที่เป็นเวชระเบียน ว่าเหตุเกิดในสถานพยาบาลนั้นเป็นเหตุอันเป็นปกติวิสัยที่ต้องมีคนเจ็บ คนตาย ทุกวัน เหตุใดผิดปกติต้องหาสาเหตุไต่สวน
ต้องรู้ว่าเหตุนั้นผิดปกติ เบี่ยงเบียนไปจากมาตรฐานการทำงานหรือไม่ แต่ไม่ต้องไปสนใจว่าใครทำ
No blame จึงเป็นคำที่เหมาะสมจะเรียก
แต่เจตนาไปใช้คำว่า NO fault เพื่อให้สาธารณชน พิธีกรที่ไม่ทำการบ้านมาดีพอ เข้าใจผิด ว่า เมตตาแล้วนะ ใช้หลัก no fault แล้วนะ ทำไมใจร้าย ใจดำ ไม่ยอมให้ผ่านกม.นี้ สรุป คือ ยังไง ๆ กม.นี้
ต้องมีการพิสูจน์ว่าการรักษาพยาบาลถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ ถ้าไม่พิสูจน์ เรื่องที่บอกจะไปพัฒนาการรักษา ไปลดเบี้ย ไปเพิ่มเบี้ย ก็เป็นเรื่องโกหกพกลม ไว้หลอกเด็ก ๆ หลอกสส.ให้ยกมือผ่านกม.นี้ทั้งสิ้น สิ่งที่กม.นี้ควรมีไม่ใช่ no fault แต่เป็น no blame ต่างหาก ซึ่งเป็นคำแสลงของเขา เหมือนกับ
ที่ไม่ยอมให้ใช้คำว่า ผู้ได้รับผลกระทบ แต่ยังไง ยังไง ก็ต้องใช้คำว่า ผู้เสียหาย ประเด็นต่อมาคือที่ทะเลาะกันเรื่องมาตรา ๕ และ ๖ ไม่ต้องไปพูดภาษากม. จะขยายความง่าย ๆ ว่า มาตรานี้มีปัญหาอะไรต้องขบคิดเพื่อมิให้โดนหลอก
หลักการที่อ้างว่าต้องมีกม.นี้ ก็เพื่อ เยียวยา โดยการเอาเงินมาให้กับผู้ที่โดนกระทำมิดีมิร้าย (ผู้เสียหาย) ในสถานพยาบาล (สถานที่เกิดเหตุ crime scene) โดยไม่ต้องการให้มี investigation เพราะเมื่อสืบสวนแล้วส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ศาลยกฟ้องในที่สุด
เมื่อยกฟ้องบ่อย ๆ เพราะมีการสืบลงลึก แล้วพบว่าไม่ได้กระทำผิดมาตรฐาน แต่เป็นเหตุสุดวิสัย ก็ต้องหาช่องทางอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าเยียวยา โดยใช้คำว่า
ผู้เสียหายที่โดนกระทำการเสียหายโดยอาชญากรในสถานพยาบาล (และที่สำคัญไม่ต้องพิสูจน์ผิดถูก) ที่ทะเลาะกันมาก ๆ ก็ตรงนี้แหละ ความเสียหาย อย่างไรจึงเรียกว่า ความเสียหาย ขอให้ดูตัวอย่างนี้จะได้เข้าใจชัด ๆ
- ก. เดินข้ามทางม้าลายในจังหวะไฟแดงของรถ แล้วโดนรถคันนั้นผ่ามาชน
- ข. เดินข้ามทางม้าลายในจังหวะไฟเขียวของรถ แล้วโดนรถนั้นชน
- ค. เดินข้ามถนนที่ไม่มีไฟจราจร ไม่มีทางม้าลาย แล้วโดนรถชน
ข้อ ก. วิญญูชนน่าจะเรียกได้ว่า ผู้เสียหาย แบบนี้ต้องรีบเยียวยา โดยด่วน แถมต้องฟ้องอาญาด้วยซ้ำไป
ข้อ ข. จะให้เรียกว่าผู้เสียหายดีหรือไม่
ข้อ ค. เช่นกัน ใครผิดก็ไม่รู้ คนขับรถผิด คนข้ามผิด หรือถูกทั้งคู่ แต่ผิดที่กทม.สะเพร่าไม่ทำทางม้าลาย จราจรไม่ยอมมายืนกำกับ ฟ้องใครดี ใครทำใครเสียหาย
เปลี่ยนตัวอย่างใหม่ - คนไข้ถูกผ่าตัดผิดข้าง ผิดคน ผิดอวัยวะ
- คนไข้แพ้ยา ทั้ง ๆ ที่ตนเองก็ไม่รู้ แพทย์ก็ไม่ทราบว่าคนไข้จะแพ้ยาตัวนี้
- คนไข้รับการรักษาแล้วไม่พอใจผลการรักษา ทั้ง ๆ ที่ไม่ว่าหมอไหนในโลกมารักษาก็อาจมีโอกาสเกิดเหตุการณ์ไม่พอใจนี้ได้ เช่น ผ่าแล้วแผลติดเชื้อ
- คนไข้รับการรักษาแล้วไม่พอใจผลการรักษา ทั้ง ๆ ที่ทำดีและถูกต้องแล้ว บอกแล้วว่าผ่าตัดตรงนี้อาจทำให้เหงือกบวมและชาได้ตลอดชีวิต เพราะเนื้องอกที่กรามมันกินเส้นประสาท ต้องตัดออกทั้งเนื้องอกและเส้นประสาท แต่คนไข้ก็ยังไม่พอใจ โดยอ้างว่าชาเกินกว่าที่หมอบอก (แถมพิสูจน์ไม่ได้ด้วยว่าชาจริงหรือเปล่า)
ถ้าเราจะออกกองทุนมาช่วยคนในตัวอย่างเหล่านั้น เราอยากให้กองทุนช่วยคนกลุ่มไหนที่สุด กลุ่มไหนห้ามช่วยโดยเด็ดขาดเพราะอาจเป็นพวก 18 มงกุฎที่อยากได้เงิน กลุ่มไหนยังตัดสินไม่ได้เพราะลังเล ...
- กลุ่มแรก - คนไข้ถูกผ่าตัดผิดข้าง ผิดคน ผิดอวัยวะ
ต้องช่วยแน่นอน บุคลากรวิชาชีพเห็นด้วยล้านเปอร์เซ็นต์ NGO ก็เห็นด้วยแน่นอน) แถมให้อีกว่าเมื่อช่วยแล้วต้องส่งเรื่องไปสอบสวนยังสภาวิชาชีพ
รับเงินแล้วห้ามจบ เพราะไม่งั้นก็ไม่เกิดการพัฒนาอะไรเลย
- กลุ่มสอง - คนไข้แพ้ยา ทั้ง ๆ ที่ตนเองก็ไม่รู้ แพทย์ก็ไม่ทราบว่าคนไข้จะแพ้ยาตัวนี้
แพทย์ว่ามันเป็นเรื่องกรรมบันดาล ใครจะไปรู้ว่าคนไข้แพ้ยาตัวนี้ ก็เจ้าตัวยังไม่รู้เลย แต่คนไข้บอกว่าต้องช่วยเพราะฉันเสียหาย องค์กรเอกชนบอกว่าให้ยาเขากินแล้วผิวไหม้ ทำไมใจร้ายไม่เยียวยา แล้วคุณละคิดว่าจะให้เงินหรือไม่ ???
ประเด็นนี้คือประเด็นปัญหาที่ทะเลาะกัน แต่ผู้ผลักดันไม่ปริปากพูด เพราะโดยสามัญสำนึกแล้วมันเป็นเรื่องเหตุปัจจัย (ตามพุทธศาสนา) หรือกรรมบันดาล
เพียงแต่เกิดแล้วก็ต้องรักษาช่วยเหลือกันต่อไป ห้ามทอดทิ้งผู้ป่วย แต่ไม่ใช่เรื่องที่จะมาพูดว่าใครทำให้เสียหาย เมื่อไม่รู้ว่าใครทำ ไม่พอใจ ทุกวันนี้ก็ไปออกสื่อขอความเห็นใจ ใครไม่เห็นใจก็ใจร้ายแน่ๆ เพราะมีบาดแผลให้เห็น จากนั้นก็ฟ้องศาลเรียกเงิน
- กลุ่มสาม - คนไข้รับการรักษาแล้วไม่พอใจผลการรักษา ทั้ง ๆ ที่ไม่ว่าหมอไหนในโลกมารักษาก็อาจมีโอกาสเกิดเหตุการณ์ไม่พอใจนี้ได้ เช่น ผ่าแล้วแผลติดเชื้อ
ก็เป็นกลุ่มปัญหา
ที่ทะเลาะกันคนละเรื่อง หมอไม่ยอมให้เรียกว่า ผู้เสียหาย เพราะทำเต็มที่แล้ว ใครจะไปรู้ว่าคนไข้จะเกิดปัญหาติดเชื้อ เชื้อมันอยู่ในอากาศ เวลาติดหวัดยังไม่เห็นเคยไปฟ้องเพื่อที่เอาหวัดมาพ่นใส่หน้า
แต่ผู้ป่วยบอกว่า มันติดเชื้อหลังผ่าตัด ก็ต้องรับผิดชอบ เพราะหมอเป็นคนผ่า หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครทำ ก็ให้เรียกว่า ผู้เสียหาย จึงเป็นที่มาของการใช้คำว่า หากพิสูจน์ไม่ได้ภายใน ...วัน ก็ให้ถือว่าเป็นผู้เสียหายแล้วให้คณะกรรมการรีบจ่ายเงินเยียวยา คุณในฐานะผู้เสียภาษีจะว่ายังไง ???
- กลุ่มสี่ - คนไข้รับการรักษาแล้วไม่พอใจผลการรักษา ทั้ง ๆ ที่ทำดีและถูกต้องแล้ว บอกแล้วว่าผ่าตัดตรงนี้อาจทำให้เหงือกบวมและชาได้ตลอดชีวิต เพราะเนื้องอกที่กรามมันกินเส้นประสาท ต้องตัดออกทั้งเนื้องอกและเส้นประสาท แต่คนไข้ก็ยังไม่พอใจ โดยอ้างว่าชาเกินกว่าที่หมอบอก (แถมพิสูจน์ไม่ได้ด้วยว่าชาจริงหรือเปล่า)
เป็น
กลุ่มที่น่ารังเกียจที่สุด คล้าย ๆ กับคนที่ไม่เดือดร้อนในเหตุการณ์เผาราชประสงค์ แต่ดันทะลึ่งไปเข้าคิวรับเงินจากรัฐบาล ซึ่งก็ไม่ใช่เงินนายก ไม่ใช่เงินสส. แต่เป็นเงินเราเองที่เสียภาษี ที่โดนรีดภาษี
แถมท่าทีนายกก็ดูไม่ยี่หระในการสร้างตะแกรงมาร่อนกลุ่มนี้ออกไป อาจเพราะเตรียมตัวเลือกตั้ง ให้ ๆ ไป เถอะ เขาจะได้ลงคะแนนให้เราอีกในคราวหน้า
กลุ่มนี้เป็นอีกกลุ่มที่แพทย์ออกมาต่อต้านไม่ยอมให้ผ่านกม.ที่มีช่องโหว่ นี้ ไป แล้วคุณในฐานะผู้เสียภาษีอยากให้หรือไม่ ???
ที่สุดแล้ว
หากไม่ต้องการให้มีตะแกรงร่อนทุจริตชนมาแอบอ้างเอาเงินโดยอ้างตนเป็น ผู้เสียหายจากการกระทำของบุคลากรสาธารณสุข ก็ต้องกำกับมาตรา 5 และ 6 ให้ดี ๆ และเพื่อที่จะกำกับมาตรา 5 และ 6 ให้ดี ๆ ก็ต้องมีคนที่รู้เรื่อง เงื่อนไขว่าอย่างไรจึงจะเข้าหรือไม่เข้าด้วยมาตรา 5 และ 6 แน่นอน
คน ๆ นั้นต้องมีความรู้ในการรักษาผู้ป่วย ต้องรู้เรื่องขั้นตอนการรักษาอย่างดี จึงจะให้ความเป็นธรรมได้ คน ๆ นั้นเป็น นักหนังสือพิมพ์ สื่อมวลชน นักสังคมสงเคราะห์ NGO มูลนิธิเพื่อพวกเราเอง ทนายความ ตำรวจ หรือไม่ ???
หากคำตอบคือ
- ใช่ งั้นคราวหน้าเวลาไปโรงพยาบาลก็ต้องเชิญคนเหล่านี้มาเป็น Care provider หรือ ผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย เพราะเขาเหล่านี้สามารถรักษาผู้ป่วยตามพรบ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- ไม่ งั้น
องค์ประกอบของ คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ ก็ต้องมีสภาวิชาชีพ แพทย์ พยาบาล บุคลากรมาตัดสินประเด็นเรื่องมาตรา 5 และ 6 ให้ถูกต้อง คนนอกไม่เกี่ยวเพราะการตัดสินแบบนี้ต้องใช้เหตุผลทางวิชาการ ไม่ใช้ความรู้สึกสงสารหรือเห็นอกเห็นใจ (เหมือนการตัดสินคดีของท่านเปา ที่ต้องใช้เหตุผลความถูกต้องตามหลักกฎหมายเพียว ๆ แม้จะน่าสงสารยังไงก็ไม่เกี่ยว เป็นเรื่องที่มาว่ากันทีหลังว่าหากเห็นใจจะช่วยอย่างไรดี แต่ยังไง ๆ ก็ต้องตัดสินไปตามเหตุผลทางวิชาการก่อน)
ชัดเจนออกอย่างนี้ ทำไมถึงยังมีอาการ stiff neck คัดค้านหน้าตาใสซื่ออยู่ได้ว่า ไม่ต้องมีวิชาชีพมามากมายในกรรมการ แถมยังอ้างว่ามีอธิบดี มีนายแพทย์ใหญ่ ผู้อำนวยการสถานพยาบาล แพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ มาเป็นกรรมการแล้ว ยังไม่พอใจอีกหรือ ถ้าคิดว่าคนเหล่านี้มีคุณสมบัติดังกล่าวดีแล้ว เวลาไม่สบายต้องผ่าตัด ต่อโน่น ตัดนี่ ก็ไม่ต้องตามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงเสียงจริงที่แต่งชุดดำประท้วงอยู่ตอนนี้ แต่ให้เชิญคนเหล่านี้มาให้การรักษากันเองก็แล้วกัน
ชัดยิ่งกว่าชัด แต่ทำไมเวลาออกทีวี ถึงแกล้งทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ อยู่ได้ ทั้ง นักกฎหมายใส่สูท สวมแว่น อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ นักกฎหมายมหาชนผู้ได้ตำแหน่งวิชาการสารพัด ทั้งสารพัดองค์กร ทั้งแพทย์นักบริหารทั้งหลาย เวลาป่วยก็ไม่ต้องไปร้องขอแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงเสียงจริง ปฏิบัติงานจริงในปัจจุบันมาให้การรักษา จริงหรือไม่ คิดเอาเอง อ่านจบแล้วหน้าไม่ชา
ต้องไปทำ MRI ว่าเป็น Trigeminal neuroma หรือไม่
แล้วอย่าลืมปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ว่าแต่ว่าจะเอาแบบไหน
ตัวจริงเสียงจริงแต่แต่งชุดดำ หรือ เอาแบบ
นักเก้าอี้ใส่สูทผูกไทเดินสายประชุม หรือ เอาแบบนั่งคิดนอนคิด ออกทีวีทันทีที่มีโอกาส หรือ
เอาแบบค้านดะปะฉะแหลก ส่งโดย: doctorlawyer ปล....แร๊งงงงงงง แต่ผมเห็นด้วยกับหมอเขานะ

ร่างใหม่ จาก สภาทนายความ
//www.mediafire.com/?4lyz3rpl37pa8xc
เปรียบเทียบ ๓ ร่าง พรบฯ
//www.mediafire.com/?slodsosamvks28e
รวมบทความ พรบฯ
//www.mediafire.com/?p7r6az6gk19ot