คลัง ส่งหนังสือด่วนถึง รพ.อนุมัติเบิกจ่ายยาข้อเสื่อมได้แบบมีเงื่อนไข
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
30 มิถุนายน 2554 10:58 น.
http:manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000079606
คลังทำหนังสือด่วน ส่งถึง รพ.ชี้ อนุมัติเบิกจ่ายยาข้อเสื่อมได้แบบมีเงื่อนไข เน้นย้ำห้ามจ่ายโดยตรง ผอ.รพ.รามาฯ เห็นด้วย ขณะที่ กก.1 รายในชุดทำงานขอถอนตัว
จากกรณีปลัดกระทรวงการคลังประกาศชัดว่าจะมีการเบิกจ่ายยาบรรเทาอาการข้อเสื่ อม (กลูโคซามีน) โดยมีข้อแม้ว่าการเบิกจ่ายยาต้องอยู่ภายใต้การประเมินอย่างรัดกุมของแพทย์ผู ้เชี่ยวชาญเท่านั้น โดยการเบิกจ่ายต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด คือ
ให้ใช้ในเวลาจำกัด 3 เดือน แล้วให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยหรือไม่ หากมีจึงให้ใช้ต่ออีก 3 เดือน แล้วต้องหยุดการใช้ยาก่อน 3 เดือน เพราะหากใช้ต่อเนื่องจาก 6 เดือนจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ
ส่วนในกรณีที่ใช้ 3 เดือนแรกแล้วแพทย์ประเมิน พบว่า ไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยก็ต้องหยุดใช้ยาทันที ส่งผลให้เกิดทั้งกระแสเห็นด้วยและคัดค้าน ขณะที่กลุ่มสิทธิสวัสดิการข้าราชการที่มีปัญหาข้อเสื่อมต่างเฝ้ารออย่างใจจด ใจจ่อ
วานนี้ (29 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงการคลัง ลงนามโดย น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะหัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว.62 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2554 เรื่อง การเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต หนังสือส่งถึงปลัดกระทรวง อธิบดี เลขาธิการ ผู้อำนวยการ อธิการบดี ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อำนวยการสถานพยาบาลของทางราชการ และสถานพยาบาลที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยหนังสือระบุถึงกรณีการกำหนดให้กลุ่มยาบรรเทาอาการข้อเสื่อมที่ออกฤทธิ์ช้า (กลูโคซามีน คอนดรอยตินซัลเฟต และไดอะเซอเรน) ทุกรูปแบบ และกลุ่มยาฉีดเข้าข้อบรรเทาอาการข้อเสื่อม(ไฮยาลูโรแนนและอนุพันธ์) เป็นรายการยาที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการข้าราชการนั้น
ล่าสุด กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว ดังนี้
1.คณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาหาข้อสรุปเกี่ยวกับประสิทธิผลและความคุ้มค่าของกลุ่มยาบรรเทาอาการข้อเสื่อม
ซึ่งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ ได้พิจารณาดังนี้
1.1 กลุ่มยากลูโคซามีนฯ ไม่ใช่ยาที่ใช้ป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม แต่เป็นยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวด ซึ่งอาจมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมบางกลุ่ม โดยต้องมีการกำหนดเงื่อนไขในการใช้ และวิธีการบริหารจัดการ ดังนั้น กรมบัญชีกลางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมกันศึกษาความคุ้มค่าและวางแนวทางการบริหารจัดการ การควบคุมกำกับการใช้ยาที่สามารถปฏิบัติได้จริง โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 1 เดือน และนำข้อสรุปเสนอคณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการพิจารณา
1.2 คณะอนุกรรมการบางท่าน เห็นว่า ในระหว่างรอผลการศึกษา กระทรวงการคลังควรทบทวนคำสั่งห้ามเบิกจ่ายยา โดยการผ่อนคลายให้เบิกจ่ายได้ตามเงื่อนไขข้อบ่งชี้ที่ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โ ธปิดิกส์แห่งประเทศไทยกำหนด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ป่วยสิทธิดังกล่าวที่ต้องใช้ยา
ทั้งนี้ นำไปสู่ข้อ
2.กระทรวงการคลังเห็นสมควรผ่อนคลายให้ผู้มีสิทธิสามารถเบิกจ่ายยาดังกล่าวได ้ตามเงื่อนไข ดังนี้
2.1 ค่ายาที่เบิกได้นั้นต้องเป็นการสั่งใช้ยาตามแนวทางกำกับการใช้ยากลูโคซามีนซัลเฟตของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ฯ
2.2. ห้ามสถานพยาบาลเบิกค่ายาดังกล่าวในระบบเบิกจ่ายตรงกับกรมบัญชีกลาง และให้สถานพยาบาลออกใบเสร็จรับเงินค่ายาดังกล่าว เพื่อผู้มีสิทธินำไปยื่นขอเบิกจากส่วนราชการต้นสังกัด
2.3 ให้แพทย์ผู้ทำการรักษาที่สามารถสั่งใช้ยาตามแนวทางดังกล่าว เป็นผู้ออกหนังสือรับรองการใช้ยากลูโคซามีนฯ ซึ่งเป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติแทนคณะกรรมการแพทย์ของสถานพยาบาลได้
2.4 กรณีที่กรมบัญชีกลางตรวจสอบพบว่าสถานพยาบาลมีการสั่งจ่ายยาไม่เป็นไปตามแนวทางจะดำเนินการเรียกคืนเงินค่ายาดังกล่าว
3.การเบิกจ่ายค่ายา ให้ส่วนราชการตรวจสอบคำขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล และหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายให้ถูกต้อง และให้ส่วนราชการผู้เบิกจัดทำรายงานการเบิกจ่ายเงินค่ายากลูโคซามีนฯประจำเดือนส่งให้กรมบัญชีกลางพร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงินและสำเนาหนังสือรับรองการใช้ยา ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
รศ.นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ทางโรงพยาบาลเพิ่งได้รับหนังสือดังกล่าว และได้เรียกประชุมทีมแพทย์ เพื่อรับทราบเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งหลักๆ คือ
1.ต้องสั่งยาตามข้อกำหนดของราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ฯ
2.ต้องให้ผู้ป่วยเบิกจ่ายไปก่อน โดยโรงพยาบาลไม่สามารถเบิกจ่ายตรงได้
3.แพทย์ที่จะสั่งจ่ายยากลุ่มนี้จะต้องเป็นแพทย์เฉพาะทาง 3 ด้าน คือ 1.อายุรแพทย์โรคข้อ 2.แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู 3.แพทย์ออร์โธปิดิกส์
สำหรับกรณีคนไข้ที่จะมีสิทธิรับยานี้ สิ่งสำคัญต้องเป็นผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่มีอาการในระยะปานกลาง ไม่ใช่สาหัส ซึ่งแพทย์จะต้องทำการวินิจฉัย และมีใบสั่งยามาแล้ว และต้องมีอายุตั้งแต่ 56 ปีขึ้นไป อีกทั้ง อาการป่วยต้องไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ เว้นแต่ข้อเสื่อมเพราะความชราเท่านั้น ทั้งนี้ หนังสือดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2554 เป็นต้นไป
“การตัดสินใจของกรมบัญชีกลางครั้งนี้ ถือว่าดี และรอบคอบ ถือว่าเป็นธรรมกับข้าราชการที่ป่วยด้วยอาการข้อเสื่อม หลังจากนี้ในยาอื่นๆที่เล็งว่าจะยกเลิกอีก 8 ตัว อยากให้กรมบัญชีกลางพิจารณาในลักษณะคล้ายกันด้วยเช่นกัน คือ เน้นความคุ้มค่า ควบคู่ไปกับความจำเป็นต้องใช้ แต่หนังสือดังกล่าวยังไม่ใช่ประกาศตายตัว เพราะยังต้องรอการพิจารณาความคุ้มค่า และวิธีการบริหารจัดการจากคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาอีก 1 เดือน ซึ่งไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ แต่โดยส่วนตัวเห็นว่าข้อกำหนดนี้ดีแล้ว” รศ.นพ.ธันย์ กล่าว
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ระบุว่า จากปัญหาดังกล่าวที่มีทั้งกลุ่มเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยในการทบทวนประกาศ และมีมติให้สามารถเบิกยากลุ่มข้อเสื่อม ล่าสุดมีกระแสข่าวว่า นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะ 1 ในคณะกรรมการชุดนี้ได้ถอนตัวออกแล้ว แต่คณะกรรมการหลายท่านยังไม่ห็นหนังสือยืนยันที่ชัดเจน โดยผู้สื่อข่าวพยายามติดต่อขอสัมภาษณ์ แต่ไม่สามารถติดต่อได้ เนื่องจาก นพ.ยศ ติดภารกิจไปที่ต่างประเทศ
แถม...
ผมลงข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในบล๊อก ..ว่าง ๆ ก็แวะไปอ่านกันนะครับ ..
คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม ..(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-04-2011&group=7&gblog=132
คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..( ต่อ )
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-04-2011&group=7&gblog=134
แนวปฏิบัติ บริการ ดูแลรักษา ข้อเข่าเสื่อม พศ. ๒๕๕๓ ของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์
//www.mediafire.com/?q6jqyvyci46b51s

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 กรกฎาคม 2554 11:19 น.
//manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9540000080208
คกก.กองทุนยา สิทธิข้าราชการ ยื่นหนังสือค้าน คลังออกำสั่งคืนสิทธิ์เบิกจ่ายกลูโคซามีน ด้านคณะทำงานวิชาการ เผย กรณี นพ.ยศ ลาออกนั้น เป็นแค่การตัดสินใจส่วนตัว ยังไม่มีหนังสือการลาออกชัดเจน ชี้เหตุอยากออกเพราะรับไม่ได้กับ มติคลัง
แหล่งข่าวรายงานว่า กระทรวงการคลังออกหนังสือ ให้คืนสิทธิการเบิกจ่ายยาบรรเทาอาการข้อเสื่อม (กลูโคซามีน) แก่กองทุนข้าราชการสวัสดิการเหมือนเดิมนั้น และมีกระแสข่าวว่า นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะ 1 ในคณะกรรมการชุดนี้ได้ตัดสินใจถอนตัวออกนั้น ล่าสุด ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดงานแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะคณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กระทรวงการคลัง ได้ทำหนังสือคัดค้านคำสั่งการคืนสิทธิการเบิกจ่ายดังกล่าว
เนื่องจาก คณะกรรมการบริหารฯ ได้ออกคำสั่ง ให้คณะอนุกรรมการได้ทำการศึกษาทบทวนรายการยากลุ่มบรรเทาอาการข้อเสื่อม ซึ่งตามขั้นตอนต้องส่งเรื่องกลับเข้าคณะกรรมการบริหารฯก่อน แต่ยังไม่มีการกำหนดวาระการประชุมแต่อย่างใด ฉะนั้นคำสั่งดังกล่าวถือว่ายังไม่ผ่านมติของคณะกรรมการบริหารฯ แต่อย่างใด
นพ.สัมฤทธิ์ ศรีธํารงสวัสดิ์ คณะทำงานด้านวิชาการทางการแพทย์ ภายใต้คณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวลือว่า นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP)กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ถอนตัวจากคณะทำงานดังกล่าว ว่า ตนได้รับทราบเรื่องนี้ผ่านอีเมล์ จากนพ.ยศ โดยตรง ซึ่งเป็นจดหมายเวียนถึงคณะทำงานด้วยกัน ระบุว่า อยากจะถอนตัวออก เนื่องจากเหตุผลส่วนตัวที่รู้สึกว่า กระทรวงการคลัง มีการตัดสินใจที่ ไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นธรรม อาศัยแค่ระบบอำนาจของคณะกรรมการใหญ่และอาศัยบทบาททางการเมือง เป็นหลัก ซึ่งการทำหน้าที่เป็นเพียงคณะทำงานฯนั้นไม่มีอำนาจในการตัดสินใจใดๆ อยู่แล้ว แต่การตัดสินใจของ นพ.ยศ นั้นยังไม่ชัดเจนเป็นเอกสารใดๆ
นพ.สัมฤทธิ์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ สำหรับกรณีการตัดสินใจของ กระทรวงการคลังนั้น โดยส่วนตัวก็เห็นว่าเป็นเป็นการอาศัยอำนาจทางการเมืองเป็นหลัก ไม่แน่ว่า หากหลังการเลือกตั้งแล้ว อาจมีการเปลี่ยนอีกหรือไม่ ดังนั้น ข้อสรุปทุกอย่างคงไม่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ คณะทำงานฯ อย่างแน่นอน จากนี้บทบาทของคณะทำงานจะเป็นอย่างไรต้องรอดูอีกครั้งหลังเลือกตั้ง
ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา กล่าวว่า การออกประกาศลักษณะนี้ถือว่าดีต่อทุกฝ่าย เนื่องจากในผู้ป่วยข้อเสื่อมก็ยังมีความจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าว ส่วนการคุมการเบิกจ่ายโดยห้ามเบิกตรงนั้น ก็เป็นอีกแนวทางในการควบคุมค่าใช้จ่ายไปในตัว และที่สำคัญประกาศนี้น่าจะช่วย ให้บรรยากาศความเห็นต่างเกี่ยวกับเรื่องนี้เบาบางลงได้
อย่างไรก็ตาม ส่วนกรณีที่จะศึกษาความคุ้มค่าและวางแนวทางการบริหารจัดการเพื่อให้สามารถ ปฏิบัติได้จริงนั้น ขณะนี้ตนยังไม่ได้หนังสือเชิญการหารือ ซึ่งยังไม่ทราบว่าจะเป็นคณะอนุกรรมการเดิมหรือไม่ หรืออย่างไร แต่หากกรมบัญชีกลางต้องการข้อมูลใดๆ ก็พร้อมร่วมมือ ส่วนกรณีการลาออกของ นพ.ยศ นั้น ตนยังไม่เห็นหนังสือใดๆ
ด้านผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ตนมั่นใจว่า เรื่องความคุ้มค่าของยากลูโคซามีนนั้น ไม่สามารถใช้เวลาเพียงแค่ 1 เดือนเพื่อศึกษาวิจัยได้ และเชื่อว่าความคุ้มค่าที่คณะอนุกรรมการที่มีราชวิทยาลัยออโธปิดิกส์ แพทยสภาและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง พยายามนำเสนอนั้นเป็นแค่ความคุ้มค่าเฉพาะกลุ่มเท่านั้น นั่นคือ กลุ่มที่ป่วยด้วยอาการข้อเข่าเสื่อมจากโรคชรา และมีอายุตั้งแต่ 56 ปีขึ้นไป ซึ่งขณะนี้เวลาผ่านไปยังไม่มีผลงานทางวิชาการมายืนยันชัดเจน
ที่สำคัญหนังสือคำสั่งของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ก็เป็นเพียงหนังสือชั่วคราวเท่านั้น
หากพบว่าไม่ไม่มีผลงานวิชาการใดๆยืนยันว่าคุ้มค่าจริง ทางคณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ก็จะเสนอการศึกษาเช่นเดิม คือ ยาดังกล่าวไม่มีความคุ้มค่าทั้งเรื่องของประสิทธิผลการรักษาและเรื่องของค่า ใช้จ่าย ให้แก่คณะคณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ เพื่อพิจารณาควบคู่กันไป
“อย่างไรก็ตาม หากคลังจะมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใดๆ นั้นคณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลไม่ได้มีบทบาทในการดูแล ควบคุม หรือเรียกร้องใดๆ หากแต่ทำหน้าที่เพื่อศึกษาความคุ้มค่าอย่างตรงไปตรงมา ตามข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อให้การใช้ยาของคนไทยมีความพอดี” ผศ.นพ.พิสนธิ์ กล่าว