ตอนนี้ เริ่มรู้สึกว่า ได้ยินบ่อย รู้สึกแปลก ๆ เลยไปลองหาข้อมูล ในเนต มีเยอะเลย ส่วนใหญ่เป็น โฆษณาขายของ แล้วก็ข้อความคล้าย ๆ กัน อ่านแล้ว คิดว่าน่าจะมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน จึงขอแสดงความคิดเห็นไว้นิดหน่อย ถือว่าเป็น ข้อมูลอีกด้านละกัน เชื่อไม่เชื่อ ก็ไม่ว่ากันอยู่แล้ว ...
ในโฆษณา มักจะมีข้อความอ้างอิง เช่น
๑. ผลงานวิจัย ของ ม.เกษตร ม.ขอนแก่น สกว ฯลฯ ทำให้เข้าใจผิดว่า หน่วยงานเหล่านี้ พิสูจน์แล้วว่า ได้ผลตามที่โฆษณาพอไปค้น กลับกลายเป็น การวิจัยเรื่อง การบรรจุการเก็บรักษา .. ไม่ได้เกี่ยวกับ คุณประโยชน์ หรือ การรักษา เลยแม้แต่นิดเดียว
ส่วนการฆ่าเชื้อ ก็ยังเป็นแค่ ผลการทดลองในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ไม่ได้นำมาทดลองในสัตว์ หรือในคน
ส่วนการทดลองว่า ได้ผลเรื่องบำรุงเลือด หรือ มีอันตรายหรือไม่นั้น ก็เป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการ และ ทดลองในหนู แค่นั้นเอง
ไม่มีที่ไหนเลย ที่บอกว่า รักษาโรคโน่นนี่ได้ แม้กระทั่ง บริษัท ที่ทำขายเป็นจริงเป็นจัง ก็ยังบอกแค่ว่า เป็นอาหารเสริม บำรุงเลือด ในคนที่เป็นโลหิตจาง
๒. อ้างว่า ผ่าน อย. รับรอง แล้ว ทำให้คนเข้าใจผิดว่า ได้ผลตามที่โฆษณา แต่พอพอไปดู กลายเป็นว่า อย. รับรองว่า กระบวนการผลิตปลอดภัย เท่านั้น ไม่ได้รับรองว่า ได้ผลในการรักษาโรค
ก็น่าจะเป็นอีกตัวอย่าง ของการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่แอบอ้าง เอาโน่นนี่มาโยงกันไปเรื่อย เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ สำหรับคนที่ไม่รู้
เอาเป็นว่า ใครเชื่อ ก็ตามใจ แต่ผม ไม่เชื่อ ที่โฆษณาว่า รักษาโรคได้
สำหรับคนที่ อยากจะทดลองใช้ ผมก็ไม่ห้ามนะครับ เพราะดูแล้วไม่น่าจะมีอันตรายอะไรร้ายแรง ยกเว้น เสียเงิน และ เสียรู้ ...
แถม ..
ยา กับ อาหารเสริม (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) ต่างกันอย่างไร ???
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-08-2008&group=7&gblog=5อาหารเสริม ดีจริงหรือ ??? กินกูลต้าไธโอน ขาวจริงป่ะ ???
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-08-2008&group=7&gblog=4บทความอ้างอิง
//www.trf.or.th/research/project.asp?projectid=RMU4980014&projecttitle=%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2%E0%BB%BB%E4%B7%B4%EC%B7%D5%E8%C1%D5%C4%B7%B8%D4%EC%B5%E9%D2%B9%E0%AA%D7%E9%CD%E1%BA%A4%B7%D5%E0%C3%D5%C2%E3%B9%E0%C5%D7%CD%B4%A8%C3%D0%E0%A2%E9%CA%D2%C2%BE%D1%B9%B8%D8%EC%E4%B7%C2%20(Crocodylus%20siamensis)&issue_name=&code_issue=BRD&subj_name=%A1%C5%D8%E8%C1%C7%D4%B7%C2%D2%C8%D2%CA%B5%C3%EC%AA%D5%C7%C0%D2%BE&subj_code=BRD04ชื่อโครงการ : การศึกษาเปปไทด์
ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในเลือดจระเข้สายพันธุ์ไทย (Crocodylus siamensis) (Study of antibacterial peptide in crocodile (Crocodylus siamensis) blood) รหัสโครงการ: RMU4980014 หัวหน้าโครงการ: สมปอง ธรรมศิริรักษ์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วัตถุประสงค์ของโครงการ 1 เพื่อแยกบริสุทธิ์ antimicrobial peptides จากเลือด (ซีรั่ม และ พลาสมา) จระเข้
2 เพื่อสังเคราะห์และศึกษาโครงสร้างของ antibacterial peptides ที่แยกได้
3 เพื่อศึกษากลไกการทำลายเชื้อแบคทีเรีย antimicrobial peptides นั้น
4 เพื่อศึกษาความเป็นพิษ (toxicity)
//www.trf.or.th/News/Content.asp?Art_ID=681โครงการกระบวนการที่เหมาะสมในการเก็บรักษา ผลิตภัณฑ์เลือดจระเข้แห้ง โดยหนึ่งในทีมวิจัยได้แก่ นายชูศักดิ์ เศรษฐ์สัมพันธ์ ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)จึงได้ศึกษาโดย
ใช้การตรวจสอบทางจุลชีววิทยาเพื่อหากระบวนการที่เหมาะสมในการเก็บรักษา ผลิตภัณฑ์เลือดจระเข้แห้งในรูปของแคปซูล จากการศึกษาทางห้องปฎิบัติการพบว่า เลือดจระเข้มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด
หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวอีกว่า การศึกษาครั้งนี้ใช้เพียงการทดสอบทางจุลชีววิทยาในการหากระบวนการที่เหมาะสม สำหรับการเก็บรักษาเลือดจระเข้แห้ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณภาพที่ดีของผลิตภัณฑ์ในด้านความสะอาดและความปลอดภัย ของอาหารสำหรับผู้บริโภค
//www.trf.or.th/News/Content.asp?Art_ID=516คณะผู้วิจัยได้แก่ ผศ.วิน เชยชมศรี และ ผศ.ดร.จินดาวรรณ สิรันทวิเนติ ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะ ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนปี 45 จากศูนย์พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีรัฐร่วมเอกชน จึงได้เริ่มทำการศึกษาและพบว่า
เลือดจระเข้มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการ เจริญของเชื้อแบคทีเรียทั้งชนิดที่มีองค์ประกอบผนังเซลล์แบบแกรมบวกและแกรม ลบหลายชนิด
//www.pandintong.com/ViewContent.php?ContentID=4894การวิจัยครั้งนี้เป็นการต่อยอดภูมิปัญญาและความเชื่อทางการแพทย์แผนจีน โดยศรีราชาโมด้าได้รับความร่วมมือจากทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของ รัฐ 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล นำทีมโดยรศ.ดร.ปานเทพ รัตนากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำทีม โดยรศ.ดร.สมปอง ธรรมศิริรักษ์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย รศ.ดร.วิน เชยชมศรี รศ.ดร.จินดาวรรณ สิรันทวิเนติ และ ผศ.ดร.เกียรติทวี ชูวงศ์โกมล ทำการค้นคว้าวิจัย จนประสบความสำเร็จเป็นอาหารเสริมชนิดแคปซูล ภายใต้ชื่อ MODAPLAS
โดยเรามุ่งหวังให้เป็นอาหารเสริมสำหรับผู้ที่ต้องการบำรุงร่างกายให้แข็งแรง โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่อุดมด้วยโปรตีนช่วยซ่อมแซมส่วนสึกหรอ และยังอุดมด้วยธาตุเหล็กช่วยในการบำรุงเลือด รวมทั้งเสริมธาตุเหล็ก ในผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง
เลือดจระเข้รักษามะเร็งได้ อย่าเพิ่งเชื่อ เขียนโดย ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค Monday, 19 November 2007
//old.consumerthai.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=686&Itemid=59
อย.เตือน อย่าหลงเชื่อ แคปซูลเลือดจระเข้ฟรีซดรายรักษาโรคมะเร็งได้//health.deedeejang.com/index.php?news=183&vote=5&aid=183&Vote=Vote
อย.พบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปลอมเกลื่อน ขอผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อ เสี่ยงอันตราย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 ธันวาคม 2552 18:22 น.
อย.เผยพบ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปลอมขายเกลื่อนในต่างจังหวัด วอนประชาชนอย่าได้หลงเชื่อและซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ยังไม่ได้รับอนุญาต จาก อย. ไม่แสดงชื่อที่อยู่ผู้ผลิตที่ชัดเจน และแสดงเลขสารบบอาหารปลอม มารับประทานโดยเด็ดขาด เพราะอาจได้รับอันตรายร้ายแรงจากผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งขณะนี้ อย.ร่วมกับ ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ดำเนินการตรวจสอบและปราบปรามอย่างเร่งด่วนแล้ว วอนผู้บริโภคช่วยแจ้งเบาะแส
นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับการร้องเรียนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ว่า ขณะนี้ในหลายจังหวัดพบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างแพร่หลาย โดยสงสัยว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปลอม
ดังนั้น อย. จึงไม่นิ่งนอนใจและดำเนินการตรวจสอบอย่างเร่งด่วน ผลปรากฏว่า พบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ยังไม่ได้ผ่านการขึ้นทะเบียนจาก อย. ไม่แสดงชื่อที่อยู่ - ผู้ผลิตที่ชัดเจน และแสดงเลขสารบบอาหารปลอม ทั้งหมด 7 รายการ ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์หมอจุฬา เลขสารบบอาหาร 10-2-16152-2-0048 ถึง 0051 และ 10-2-16152-2-0054
2. ผลิตภัณฑ์ Glutathione เลขสารบบอาหาร 10-2-16152-2-0042
3. ผลิตภัณฑ์ L-Carnitine เลขสารบบอาหาร 10-2-16152-2-0043
4. ผลิตภัณฑ์ Lady White เลขสารบบอาหาร 11-0-00449-1-4008
5. ผลิตภัณฑ์ Lady Slen เลขสารบบอาหาร 11-0-00449-1-4000
6. ผลิตภัณฑ์ Sexy coffee เลขสารบบอาหาร 10-2-16152-3-0008
7.ผลิตภัณฑ์ Glutathione และ L-Carnitine Plus ไม่มีเลขสารบบอาหาร
จึง ถือว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าวจัดเป็นอาหารปลอมและเป็นอาหารที่แสดง ฉลากไม่ถูกต้อง ซึ่งมีความผิดตามกฎหมาย โดยกรณีผลิตนำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือจำหน่ายอาหารปลอม จะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5 พันถึง 1 แสนบาท
ซึ่งขณะนี้ อย. ร่วมกับ ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครอง ผู้บริโภค (บก.ปคบ.) อยู่ในระหว่างการดำเนินการตรวจสอบและปราบปรามอย่างเร่งด่วนแล้ว
นอก จากนี้ ได้ขอความร่วมมือไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศให้ตรวจสอบการ จำหน่าย พร้อมเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ดังกล่าวนำส่งตรวจวิเคราะห์ เพื่อหาสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต่อไป
รองเลขาธิการ ฯ อย.กล่าวต่อไปว่า ขอให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และอย่าซื้อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้ง 7 รายการดังกล่าวมาบริโภคอย่างเด็ดขาด เพราะนอกจากทำให้ผู้บริโภคสิ้นเปลืองเงินทองแล้ว ยังไม่ได้ผลตามที่โฆษณาอวดอ้าง มิหนำซ้ำอาจได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์นั้นๆ อีกด้วย
ทั้ง นี้ หากผู้บริโภคพบเห็นแหล่งผลิตหรือพบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าวขอ ให้แจ้งมายังสายด่วน อย. โทร 1556, โทร 0 2590 1556, อีเมล์ 1556@fda.moph.go.th
ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสามารถมาร้องเรียนได้ด้วยตัวเองที่ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียน ผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย. อาคาร 1 ชั้น 1 ทุกวันเวลาราชการ เพื่อ อย. จะได้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ปล. ในเนต มีขายเกลื่อนเลย ... ไม่ต้องรอให้คนแจ้งก็ได้มั๊ง ???