ไอเดียเจ๋ง! กทม.เล็งเพิ่มศักยภาพเทศกิจ"ทำคลอด-เข้าเฝือก" .....เพิ่มความเห็น นพ.อุสาห์ (พรบ.คุ้มครอง)






ไอเดียเจ๋ง! กทม.เล็งเพิ่มศักยภาพเทศกิจด้าน "ทำคลอด-เข้าเฝือก-ช่วยโรคหัวใจ"


เขียนโดย นพ.อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์

21 ส.ค. 2010 09:43น.



โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 สิงหาคม 2553 00:25 น

//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000115543&#Comment

กทม.เล็ง เพิ่มบทบาทเทศกิจ จับเป็น "หมอทำคลอด-ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจ-เข้าเฝือกอ่อน" พร้อมยกเครื่องรถพยาบาลฉุกเฉิน EMS ของกทม.ใหม่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เตรียมติด GPS หาพิกัดที่เกิดเหตุ คาดปีหน้าเห็นเป็นรูปธรรม

พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รอง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงแนวความคิดเทศกิจช่วยทำคลอด ซึ่งจะเป็นหนึ่งในโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2554 ที่ กทม.จะจัดทำเป็นโครงการขึ้น ว่า ในหลักการเบื้องต้นสำหรับโครงการเทศกิจจราจรช่วยทำคลอดเหมือนตำรวจจราจร โครงการพระราชดำรินั้น จะเป็นการอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่เทศกิจของ กทม.ที่สมัครใจจะมาเข้าร่วมโครงการนี้ เพื่อให้มีความรู้และเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินก็สามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่าง ทันที เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาหากผู้ที่กำลังจะคลอด บุตรปวดท้องมากจนไม่สามารถที่ไปคลอดลูกที่โรงพยาบาลได้

พญ.มาลินี กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีอีกหลากหลายโปรแกรมที่ กทม.จะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่เทศกิจ เช่น การให้การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการโรคหัวใจเบื้องต้นในเวลาเร่งด่วน การช่วยเหลือผู้ป่วยขาหัก การเข้าเฝือกอ่อนให้เบื้องต้น การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ขณะเดียวกัน กทม.จะมีการปรับปรุงรถบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน EMS ของกทม.ใหม่เพื่อให้รอบรับกับภารกิจที่จะเกิดขึ้นว่า จะต้องมีความพร้อมอะไรบ้าง อาทิ จะมีการติดตั้งระบบ GPS เพื่อให้ทราบว่าจุดหมายอยู่บริเวณใด การจราจรเส้นทางดังกล่าว และโดยรอบเป็นอย่างไร รวมถึงรถ EMS อยู่บริเวณใดแล้วซึ่งจะมีศูนย์บัญชาการ (Command Center) คอยสั่งการและติดตามอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ตนได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและวาง แผนว่าจะมีขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างไร จะรับเทศกิจจำนวนเท่าไหร่ ใช้งบประมาณมากน้อยอย่างไร ซึ่งคาดว่าปี 2554 จะมองเห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

ด้าน นายศราวุธ สนธิแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กทม.กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าเราจะศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน หรือศูนย์เอราวัณ และได้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะไม่เพียงพอ เพราะกว่าจะมาถึงสถานที่เกิดเหตุแม้ปกติจะสามารถใช้เวลาเร็วสุดที่ 10 นาที แต่ถ้าหากมีบุคคลที่มีความรู้ เช่น เจ้าหน้าที่เทศกิจ หรือตำรวจ อยู่ที่จุดเกิดเหตุหรือบริเวณใกล้เคียงเข้าถึงได้เร็วกว่าก็จะให้การช่วย เหลือปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ซึ่งจะช่วยผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยได้เยอะ ทั้งนี้ ทางสำนักการแพทย์จะหารือกับสำนักเทศกิจถึงความพร้อมในเรื่องดังกล่าวและจะ จัดทำหลักสูตรการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งคาดว่าในอีก 2-3 เดือนนี้จะเริ่มฝึกอบรมได้

-------------------------------------------------------------------




ความหมายท้ายข่าว

จากร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...


เทศกิจทำคลอดถือเป็นการบริการสาธารณสุข ซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายนี้

ผู้ให้บริการจะต้อง จ่ายค่าคุ้มครองแก่กองทุนฯ ด้วยอัตรา ดังต่อไปนี้

การเรียกเก็บค่าคุ้มครอง

๑.การบริการทำคลอดแล้วกลับบ้าน จ่ายค่าคุ้มครองรายละ ๕ บาท

๒.ทำคลอดแล้วส่งโรงพยาบาล จ่ายค่าคุ้มครองรายละ ๘๐ บาท

บทลงโทษผู้ให้บริการ

๑.มีความเสียหายต่อทารก เช่น ทำคลอดไม่สำเร็จทารกตายในระหว่างคลอด ตัวเย็น เลือดเป็นกรด ติดเชื้อ ดูดน้ำคร่ำออกจากปากและในคอไม่หมดทำให้สำลักน้ำคร่ำ กระดูกหัก ขาดออกซิเจน ส่งโรงพยาบาลช้าทำให้เกิดอันตราย ตาย ฯลฯ สุดแท้แต่จะหาข้ออ้าง

-ทารกเกิดก่อนกำหนด เช่น กระดูกหัก คอหัก แขนหัก ขาหัก จากการทำคลอด ตาบอดจากการให้ออกซิเจน หัวใจวายจากการขาด ออกซิเจน เลือดเป็นกรดจากการขาดออกซิเจนแล้วเกิดภาวะเลือดไหลไม่หยุด ตัวเย็นแล้วปอดไม่ทำงาน ตัวเย็นแล้วทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำแล้วช็อค ตาย ฯลฯ สุดแท้แต่จะหาข้ออ้าง

๒.มีความเสียหายแก่มารดา เช่น ตกเลือด ติดเชื้อ น้ำคร่ำเข้ากระแสเลือด มดลูกแตก ช่องทางคลอดฉีกขาดถึงลำไส้/รูทวาร กระเพาะปัสสาวะบาดเจ็บจากการคลอด ตายระหว่างการคลอด โรคพื้นฐานที่เป็นอยู่กำเริบจนเกิดความเสียหาย หลังจากการคลอดแล้วผู้คลอดรู้สึกอับอายเทศกิจที่ทำคลอดให้เป็นความเสียหาย ทางจิตใจ ฯลฯ สุดแท้แต่จะหาข้ออ้าง

ผู้ให้บริการ มีโอกาสรับผลของการทำคลอด ด้วยโทษทางแพ่งและอาญา เพราะเทียบได้กับสินค้าอันตราย

เมื่อมีความเสียหายแล้ว ผู้ได้รับความเสียหาย กรณีความเสียหายจากการคลอดนี้ จะได้รับค่าชดเชยสองเด้ง

๑.ค่าช่วยเหลือเบื้องต้น ไปจ้างทนายฟ้อง หรือหากไม่อยากจ่ายตังค์ก็ติดต่อเลขาธิการสภาทนายความ หากต้องการเร็วได้ผลสูง ติดต่อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

๒.ค่าชดใช้ความเสียหาย การันตีอย่างน้อย๑ล้านบาทจากการฟ้องแพ่งหรือจากการกราบคารวะขอประนีประนอมยอมความจากผู้ให้บริการ

ที่ว่าสองเด้งนั้น เนื่องจากมีผู้เสียหายได้ทั้งสองคน อาจสี่เด้งเพราะความเสียหายมีทั้งกายและใจ

------พระเจ้าช่วยกล้วยทอด อามิตตาพุทธ ขอเอียะซือฮุกโจ้วช่วยคุ้มครองพี่เทศกิจด้วยเถิด------


แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( 21 ส.ค. 2010 12:16น. )










ปล. มันก็น่าคิดเหมือนกันนะครับ ถ้าเป็นแบบนั้นจริง หน่วยงาน เจ้าพนักงานเทศกิจ จะอยากทำ หรือเปล่า ??? พรบ. คุ้มครอง ฯ จะมีผลแบบที่ อ.อุสาห์ คิดหรือเปล่า ??? ก็คงต้องคิด ต้องตีความ ต้องติดตามกันต่อไป



Create Date : 22 สิงหาคม 2553
Last Update : 22 สิงหาคม 2553 11:31:08 น.
Counter : 2313 Pageviews.

0 comments
ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจที่โรงพยาบาล Mount Sinai ได้นำเสนอผลเบื้องต้นของ Sofiya ซึ่งเป็นผู้ช่วย..... newyorknurse
(25 มิ.ย. 2568 06:26:23 น.)
วิ่งข้างบ้าน 15,17,18,19,21 มิ.ย.2568 สองแผ่นดิน
(24 มิ.ย. 2568 22:37:50 น.)
WRB10 Fighting Stroke สนามเจริญสุขมงคลจิต แมวเซาผู้น่าสงสาร
(14 มิ.ย. 2568 14:50:56 น.)
ปวดหัวข้างขวา อันตรายไหม เกิดจากอะไรได้บ้าง? newyorknurse
(11 มิ.ย. 2568 02:01:20 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]

บทความทั้งหมด