โครงการ การประกวดคำขวัญCME ครั้งที่ 2 .. เรียนเชิญแพทย์ทุกท่านนะครับ


//ccme.or.th/2011/detail_news.php?news_id=103

โครงการ การประกวดคำขวัญCME ครั้งที่ 2

หลักการและเหตุผล

ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์เป็นองค์กรในกำกับของแพทยสภา  เกิดขึ้นจากข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการศึกษาต่อเนื่องสำหรับผู้ประกอบวิชาชี พเวชกรรม  พ.ศ. 2543และอาศัยอำนาจตามความในมาตรา21(3) (ญ)(ฎ) คณะกรรมการแพทยสภา และด้วยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายและมาตรฐานการศึกษาต่อเนื่องของ แพทย์  ส่งเสริมและสนับสนุนให้แพทย์มีการศึกษาหาความรู้ให้ทันต่อความก้าวหน้าทางวิ ชาการ และตระหนักถึงความสำคัญของการเพิ่มพูนความรู้อย่างต่อเนื่อง    

ด้วยเหตุดังกล่าวและเพื่อให้เพื่อนแพทย์ทุกท่านได้มีส่วนร่วมในการสร้างความ ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาต่อเนื่อง ซึ่งก็จะนำไปสู่การพัฒนาการบริการทางการแพทย์ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ จึงได้จัดโครงการ“ประกวดคำขวัญ CCME ครั้งที่ 2 ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นและประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกแพทย์  มาร่วมกันส่งเสริมการเก็บคะแนนการศึกษาอย่างต่อเนื่องซึ่งขณะนี้ ในต่างประเทศได้ให้ความสำคัญกับตัวคะแนนมาก เพราะเป็นรูปธรรมที่แสดงให้เห็นว่าแพทย์ท่านนั้นใฝ่ใจในการพัฒนาตนด้วยการศึ กษาทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาการทำเวชปฏิบัติด้วยเช่น กัน



วัตถุประสงค์

    เพื่อให้ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์มีคำขวัญที่สร้างกำลังใจ และสะท้อนภาพลักษณ์ของแพทย์ไทย เป็นคำขวัญที่สามารถนำไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศได้
    เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์
    เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกแพทย์ นิสิต/นักศึกษาแพทย์ ได้มีส่วนร่วมในการคิดคำขวัญให้ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์


กลุ่มเป้าหมาย

สมาชิกแพทย์ กว่า 40,000 ท่าน


ระยะเวลาในการจัดการประกวดคำขวัญ CCME

ระหว่าง 13 เมษายน 2555 – 30 มิถุนายน 2555

กติกา

    ผู้ส่งคำขวัญเป็น สมาชิกแพทยสภา (ทั้งนี้ให้รวมทั้ง นิสิต/นักศึกษาแพทย์ที่ยังอยู่ในการศึกษาฯ เพื่อการมีส่วนร่วมในการเห็นความสำคัญของวิชาชีพแพทย์)
    คณะกรรมการฯ จะดำเนินการคัดเลือกคำขวัญจากผู้เข้าประกวด ให้เหลือเพียง 3 คำขวัญ และพิจารณาคำขวัญที่ดีที่สุด เพื่อรับโล่เกียรติยศและของที่ระลึก 1,2,3 ตามลำดับต่อไป
    ประกาศผล สำนักงานศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ แพทยสภา ในเดือนถัดไป
    นับตราไปรษณีย์ของวันที่ 30 มิถุนายน เป็นวันสุดท้ายของการรับคำขวัญที่ส่งเข้าประกวด  
    ประกาศผล 1 เดือนหลังจากนั้น (จะประกาศให้ทราบอีกครั้ง)



สถานที่ส่งคำขวัญเข้าประกวด

    ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ชั้น 7 อาคาร 6 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 (หากส่งทางไปรษณีย์ ถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ)
    ส่งคำขวัญได้ทาง Web ของ ศ.น.พ.  :  www.ccme.or.th


 หลักเกณฑ์การประกวดคำขวัญ

    เขียนคำขวัญ CCME ที่มีเนื้อหาแสดงให้เห็นความสำคัญ ในเรื่องการเก็บคะแนนกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์  
    ความยาวไม่เกิน 1 บรรทัด เน้นให้ จำง่าย ติดปาก สร้างสรรค์  (คำขวัญภาษาไทยเท่านั้น) พร้อมคำอธิบาย ความหมาย
    ส่งได้มากกว่า 1 คำขวัญ (แต่ขอสงวนของที่ระลึกให้ท่านละ 1 ชิ้น)
    ขอสงวนสิทธิ์ในการปรับแก้ให้เหมาะสมกับการใช้งานต่อไป รวมทั้งการแปลเป็นภาษาอังกฤษ
    ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด และขอสงวนสิทธิ์คำขวัญที่ส่งมาทั้งหมดให้เป็นของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแ พทย์ แพทยสภา


 คำขวัญที่ผ่านการคัดเลือก 3 อันดับแรก  
จะได้รับ โล่เกียรติยศและของที่ระลึก จาก ศ.น.พ.



         พ.อ.(พ.) ผศ.นพ. กิฎาพล  วัฒนกูล      
ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ แพทยสภา
ผู้เสนอโครงการ        



         ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงสมศรี  เผ่าสวัสดิ์
ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ แพทยสภา      
ผู้อนุมัติโครงการ    



ปล. ถ้าสนใจ ก็แวะไปส่งคำขวัญ กันได้เลยครับ  


//ccme.or.th/2011/slogan_form.php





Create Date : 27 พฤษภาคม 2555
Last Update : 27 พฤษภาคม 2555 14:05:31 น.
Counter : 4316 Pageviews.

3 comments
Day..12 โฮมสเตย์ริมน้ำ
(20 มิ.ย. 2568 09:58:53 น.)
โจทย์ถนนสายนี้มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 378 - "ฝันที่ไม่เคยเป็นจริง" ทนายอ้วน
(13 มิ.ย. 2568 07:57:06 น.)
โรคพาร์กินสันซ โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ newyorknurse
(17 มิ.ย. 2568 04:31:21 น.)
คาดิโอเยอะแต่น้ำหนักไม่ลด ยกเวทกี่ครั้งต่อสัปดาห์ดี ออกกำลังกายยังไงให้ได้ผล?I Doctor’s Talk EP.27 peaceplay
(9 มิ.ย. 2568 00:14:07 น.)
  
มีบทความที่ผมเขียนไว้ตั้งแต่ปี 2551 .. นำมาลงอีกรอบ .. จำไม่ได้ว่า ทำไมถึงเขียนไว้ ???




CME ในมุมมองของผม ...

ผมคิดว่า cme เป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ และ เชื่อว่า แพทย์ทุกคน คงเห็นเหมือนกันว่า เป็นสิ่งที่ดี และมีความสำคัญ ตอนที่มีการก่อตั้ง ศนพ. ผมก็คิดว่า น่าจะเป็นการดีที่มีหน่วยงาน เข้ามารับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง แต่สิ่งที่ผ่านมา มีหลายสิ่งที่ผิดจากที่คาดหวังไว้ เลยเกิดคำถามขึ้นในใจเหมือนกับหลายๆ คนว่า ..

๑. จะทำไปทำไม ในเมื่อ ทำหรือไม่ทำ ก็ไม่แตกต่างกัน ...
หมอที่มี หรือ ไม่มีคะแนน ก็ยังเป็นหมอเหมือนกัน หมอได้คะแนนมาก ก็ยังทำงานเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยน งาน รพ.ก็เหมือนเดิม ที่คลินิกก็เหมือนเดิม คนทำนอกจากได้ความรู้แล้วก็น่าจะมีอย่างอื่นจูงใจมั่ง คนไม่ทำ ก็น่าจะมีข้อด้อยกว่าบ้าง ให้มันแตกต่างกัน

๒. จะทำ ก็ยุ่งยากเสียจริง ๆ
แต่ละกิจกรรม เขียนไว้ก็ดูดี แต่ถ้าจะทำตาม ก็ยุ่งยากมากถ้าไม่ได้อยู่ในโรงเรียนแพทย์ ต้องเตรียมเอกสาร ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ ในรพ. ส่งเอกสารไปให้ ศนพ.ตรวจสอบ ยิ่งในต่างจังหวัด รพท. รพช. หมอก็น้อย เจ้าหน้าที่ก็ไม่ค่อยมี งานนี้ก็ไม่รู้ให้ใครทำดี ยิ่งเป็นหมอที่อยู่ในคลินิก หรือ รพ.เอกชน เล็ก ๆ ยิ่งยากใหญ่

ตอนนี้ ก็เลยเก็บคะแนนจาก การเข้าร่วมประชุมประจำปี แล้วก็ทำแบบทดสอบในวารสาร (ซึ่งส่วนใหญ่ ก็เกี่ยวกับ บริษัทยา เหมือนโฆษณาแฝง มากกว่าแบบทดสอบเพื่อให้ความรู้ ) จะเข้ามาทำในเวบ ก็เก่าซะ แถมมีไม่กี่เรื่องอีกต่างหาก

๓. เวบของ ศนพ. ก็ไม่มีอะไรน่าสนใจ ข้อมูล ข้อสอบ ก็เก่า ไม่มีการปรับปรุง
ถึงแม้จะมีหมอไม่มากที่สะดวกและเข้าถึงเนต เข้าเวบ ศนพ. แต่หมอที่เข้าถึงได้ ก็น่าจะมีข้อมูล ข่าวสาร แบบทดสอบ ที่ทันสมัย มากเพียงพอที่จะให้เลือกว่า สนใจจะทำเรื่องไหน ไหน ๆ จะทำทั้งที ก็น่าจะทำให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ ตอนนี้เหมือนไม่มีใครทำเวบนี้เลย ปล่อยทิ้งร้างไว้

๔. ทำแล้ว คะแนนก็ไม่เห็นเปลี่ยนซะที
ทำแบบทดสอบในวารสารฯ ผ่านไปหลายเดือนแล้ว คะแนนในเวบ ของ ศนพ. ก็ยังเหมือนเดิม หรือว่า ไม่มีการประสานงาน ไม่มีการส่งข้อมูล เวบเสีย ฯลฯ แถมวันดีคืนร้าย คะแนน ก็หายไปซะเฉย ๆ

๕. ศนพ. คืออะไร ใครทำอะไรกันบ้าง
นอกจากข่าวผู้อำนวยการ ศนพ. คนใหม่แล้ว ก็ไม่เห็นมีอะไร ที่บอกว่า วัน ๆ ศนพ.ทำอะไร ใครเป็นใคร มีหน้าที่อะไร มีเงินเดือนเท่าไหร่ มีงบเท่าไหร่ เอาเงินมาจากไหน เอาไปทำอะไรบ้าง ฯลฯ ?

๖. ทำไมต้องบังคับกันด้วย
เป็นหมออยู่ดี ๆ ก็มีใครไม่รู้บอกว่า ถ้าคะแนน cme ไม่ถึงที่กำหนดไว้ ก็จะไม่ได้เป็นหมอ ? อุตสาห์เรียนมา ทำงานงก ๆ มาตั้งหลายปี เล่นมาตั้งกติกา บีบคอ กันแบบนี้เลยหรือ ?

แต่เอ ..คิดอีกที ก็ดีเหมือนกัน ถ้าใครที่มีคะแนน cme ไม่ถึง ก็ห้ามประกอบวิชาชีพและยึดคำนำหน้า บรรดาคนที่ไม่ได้ทำอาชีพหมอ จะได้ไม่ต้องเรียกคำนำหน้าว่า นพ. พญ. อีก โดยเฉพาะพวกนักการเมือง ผู้บริหารทั้งหลาย ว่าแต่จะทำได้แบบนั้นหรือเปล่า ? ... ถ้าทำได้แบบนี้ ก็จะยินดีให้บังคับเลย ( แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็ปล่อยไว้อย่างเดิมนะดีแล้ว )

แล้ว หมอที่ อยู่ รพ.รัฐ ถ้าเก็บคะแนนไม่ถึงที่กำหนดไว้ ยังทำงานเป็นหมอได้หรือเปล่า ? ถ้าทำได้ แบบนี้ ก็แสดงว่า เอาหมอที่ต่ำกว่ามาตรฐานมารักษาผู้ป่วยใช่หรือไม่ ... ถ้าทำเป็นหมอไม่ได้ ก็อยู่เฉยๆ กินเงินเดือนไปเรื่อย ไม่ต้องทำงาน หรือถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานแล้วก็ต้องลดขั้นเงินเดือน หรือ ให้ออกจากราชการ ?

ที่เขียนมา ไม่ใช่อยากจะยกเลิกหรือทำลาย cme (ศนพ.) เพียงแต่เป็นการสะท้อนความรู้สึกจากหมอคนหนึ่งที่สงสัย และ อยากให้ cme (ศนพ.) เปลี่ยนแปลงดีขึ้น ติเพื่อก่อ แท้ ๆ ด้วยความรักและหวังดี เต็มเปี่ยม


โดย: หมอหมู วันที่: 27 พฤษภาคม 2555 เวลา:14:06:55 น.
  



ถ้าพูดถึง CME (continuous medical education) แพทย์ทุกคน คงเห็นเหมือนกันว่า เป็นสิ่งที่ดี และมีความสำคัญ แล้วคงไม่มีใครไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการเก็บคะแนน เป็นหลักฐาน ว่า แพทย์ท่านนั้น มีความสนใจใฝ่รู้ ติดตามความรู้ใหม่ ๆ (แต่ไม่ได้หมายความว่า แพทย์ที่ไม่มีคะแนน เป็นผู้ที่ล้าหลัง ไม่สนใจใฝ่รู้ เพียงแต่ไม่มีหลักฐานให้เห็นชัดเจนเท่านั้นเอง)

ที่ผ่านมา มีลักษณะของการบังคับให้เข้าร่วม โดยโยง cme เข้ากับการประกอบวิชาชีพ จึงทำให้เกิดการไม่เห็นด้วย แต่ที่ไม่เห็นด้วยนั้น ไม่ได้ต่อต้านการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง หรือ บอกว่า cme ไม่ดี

ปัญหา จึงอยู่ที่ว่า จะทำอย่างไรให้แพทย์สนใจเข้ามาร่วมทำ cme ?


ก่อนอื่น ก็ต้องมาดูก่อนว่า ใครบ้างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้

๑. แพทย์

๒. ศ.น.พ. และ สื่อมวลชน

๓. ประชาชน


จะเห็นได้ว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงมี 3 กลุ่ม ส่วนสำคัญก็คือผู้ประสานงานและทำให้ประชาชนรับรู้ ได้แก่ ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ ( ศ.น.พ. ) และ สื่อมวลชน ถ้าสามารถทำให้เกิดความเข้าใจ และความร่วมมือ จากทุกฝ่าย ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้

แนวทางที่จะทำให้แพทย์เข้าร่วมทำ CME มากขึ้น ก็คือ การกระตุ้นในทางบวก โดยแสดงให้เห็นความสำคัญและประโยชน์ ของ CME (คะแนนที่ได้รับ) ซึ่ง อาจทำได้หลากหลายวิธี

ที่ผมคิดว่าน่าสนใจ ทำได้ไม่ยากนัก ค่าใช้จ่ายน้อย ก็คือ “ใบรับรอง ว่าแพทย์ท่านนั้นได้ผ่านการศึกษาต่อเนื่อง” ถ้าจะเปรียบง่าย ๆ ก็เหมือนป้ายเชลล์ชวนชิม ใบรับรองของISO ใบปริญญา ตรา มอก. ฯลฯ เปรียบเหมือน ร้านที่มีป้ายเชลล์ชวนชิม ก็น่าจะอร่อยกว่า ร้านที่ไม่มีป้าย ตรวจรักษากับแพทย์ที่มีใบรับรอง ก็น่าจะดีกว่าแพทย์ที่ไม่มีใบรับรอง

ใบรับรองนี้ มอบให้แพทย์ เพื่อแสดงว่า เป็นแพทย์ที่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เป็นผู้ที่ติดตามข่าวสารความรู้ที่เปลี่ยนแปลง ความรู้ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ แต่ไม่ได้บอกว่า แพทย์ที่ไม่ได้ใบรับรองเป็นแพทย์ที่มีความรู้ล้าสมัย ถึงไม่ได้รับใบรับรอง ก็อาจ update ความรู้ อยู่ก็ได้ เพียงแต่ ไม่มีหลักฐานชัดเจน เท่านั้น ดังนั้น ไม่มีใบรับรอง ก็ทำงานในหน้าที่แพทย์ต่อไปได้เหมือนเดิม แล้วก็ไม่ได้บอกว่า แพทย์ที่ได้ใบรับรองนั้น เก่งกว่า ดีกว่า แพทย์ที่ไม่มีใบรับรอง เพียงแต่บอกว่า แพทย์ที่ได้รับใบรับรอง ได้ติดตามข่าวสารความรู้ที่ทันสมัยและต่อเนื่อง เท่านั้น

สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ ต้องให้ประชาชน รับรู้ และ เข้าใจถึงความสำคัญของใบรับรอง (คะแนน cme) ว่า เกี่ยวข้องอย่างไรกับการบริการ วิธีรักษาของแพทย์ สำคัญต่อชีวิตของเขาอย่างไร เพื่อที่ ประชาชนจะได้รักษาสิทธิประโยชน์ของตนเอง ที่จะได้รับการรักษาที่เป็นปัจจุบัน เชื่อว่าดีที่สุดในปัจจุบัน เพราะการรักษาบางอย่างอาจเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากเมื่อสิบปีที่แล้ว ถ้าไปรักษากับแพทย์ที่ไม่ได้ติดตามข้อมูลการรักษาที่เปลี่ยนแปลง ประชาชนเอง ก็อาจเสียโอกาสได้รับการรักษา หรือ ได้รับการรักษาที่อาจไม่เหมาะสม

เมื่อประชาชน ตระหนักถึงความสำคัญนี้ ก็จะเป็นผู้สอบถาม ตรวจสอบ แพทย์ รพ. (รัฐ เอกชน) เองว่า แพทย์ที่รักษาเขานั้น เป็นผู้ที่มีความรู้ทันสมัย เป็นปัจจุบัน เพียงพอหรือไม่ อันจะส่งผลทางอ้อม ต่อแพทย์ และโรงพยาบาล ทำให้ แพทย์ จะต้องเข้าร่วมทำกิจกรรม cme เพราะถ้าไม่ทำ ก็อาจส่งผลต่อการทำงาน ชื่อเสียง และ ความก้าวหน้า ของตัวแพทย์ โรงพยาบาลเองก็เสี่ยงต่อการฟ้องร้อง ร้องเรียน เพราะ แพทย์ที่ทำงานอยู่นั้น (อาจ) ไม่ได้ติดตามความรู้ใหม่ ๆ

ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด ที่จะต้องทำ ก็คือ ศ.น.พ จะต้องดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ผ่านสื่อมวลชน เพื่อให้ประชาชน ได้รับรู้ถึงความสำคัญ ของ ใบรับรองนี้

แพทย์ ก็ได้ประโยชน์ นอกจากได้รับความรู้ใหม่ ๆ แล้ว ก็ยังมีหลักฐานแสดงว่า เป็นผู้ที่ยังศึกษาหาความรู้สม่ำเสมอ ใบรับรองนี้ อาจนำไปติดที่คลินิก ห้องตรวจในรพ. ก็ยังได้ เมื่อผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย มาเห็น ก็จะมีความศรัทธา ความเชื่อมั่นต่อตัวแพทย์เพิ่มมากขึ้น

โรงพยาบาล (รัฐ เอกชน) โรงเรียนแพทย์ เอง ก็ได้ประโยชน์ เพราะจะได้มีวิธีการตรวจสอบเพิ่มขึ้นมาว่า แพทย์ท่านนั้นยังเป็นผู้ที่มีความสนใจใฝ่รู้ ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความรู้เป็นปัจจุบัน ไม่ใช่ความรู้เมื่อ ๕ ปีที่แล้ว ซึ่งอาจล้าสมัย ทำให้ รพ.เสี่ยงต่อปัญหาถูกฟ้องว่า รักษาไม่ได้มาตรฐาน
รพ.เอกชน รพ.รัฐ คณะแพทย์ ฯลฯ ที่จะรับแพทย์ใหม่ หรือ ปรับเงินเดือน พิจารณาความดีความชอบ ฯลฯ ก็นำใบรับรองนี้ มาร่วมในการพิจารณาด้วยโดยประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน


ในเมือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์ ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำ ?

นอกจากวิธีที่จะกระตุ้นให้แพทย์ มาเข้าร่วมทำ cme แล้ว อีกประการหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็คือ การสนับสนุน แหล่งข้อมูลความรู้ ให้กับแพทย์ที่สนใจ วิธีที่ทำในปัจจุบัน ถือว่า ครอบคลุมแล้ว เพียงแต่ น่าจะปรับให้สะดวก ง่ายขึ้น วิธีเก็บคะแนนที่ง่ายที่สุด สะดวกที่สุด ก็น่าจะเป็น การทำแบบทดสอบ แล้วแบบทดสอบเหล่านี้ ก็ไม่ใช่เป็น แบบทดสอบที่มีจุดมุ่งหมาย ที่จะคัดว่า มีคนผ่าน ไม่ผ่าน หรือ แบบทดสอบที่หาคนที่ทำแบบทดสอบได้คะแนนมากที่สุด แต่จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาความรู้ของแพทย์ที่สนใจ ให้มีความก้าวหน้าทันสมัย

แบบทดสอบ ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น ๒ แบบ

๑. เอกสาร วารสาร
- ในขณะนี้ ส่วนใหญ่ก็เป็นของบริษัทเอกชน มีเยอะพอสมควร แต่ก็มักจะเกี่ยวข้องกับตัวยาของบริษัทนั้น ๆ ทำให้แพทย์รู้สึกว่า ตกเป็นเครื่องมือของกิจกรรมส่งเสริมการขาย มากกว่าการทำเพื่อให้ได้รับความรู้มากขึ้น
-มีแบบทดสอบเก็บไว้ในแผ่นซีดี หรือ เป็นกระดาษ เมื่อทำแบบทดสอบเสร็จแล้ว ก็บันทึกในแผ่นซีดี หรือ กระดาษคำตอบ แล้วส่งกลับมา
- วิธีนี้ มีข้อเสียก็คือ ต้นทุนที่สูงมาก ทั้งค่าวัสดุ ค่าจัดส่ง(ไป-กลับ) และ ค่าแรง แถมยังยุ่งยากในการตรวจสอบ ตรวจคำตอบ การส่งคะแนน ฯลฯ

๒. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน เกือบทุก รพ. มีคอมพิวเตอร์ และระบบอินเตอร์เนต ซึ่งเราสามารถนำมาปรับปรุงใช้ได้
-แบบทดสอบเก็บไว้ในระบบอินเตอร์เนต ทำผ่านระบบออน์ไลน์เลยซึ่งวิธีนี้ มีความสะดวกมากที่สุด และ ต้นทุนต่ำที่สุด เพราะตอนนี้ ก็มีระบบรองรับอยู่แล้วที //www.cmethai.org เพียงแต่ปรับปรุงให้มีแบบทดสอบเยอะขึ้นและทันสมัยมากขึ้น แบบทดสอบไหนที่นำมาเก็บไว้เกิน ๖ เดือน (หรือ ๑ ปี ) ก็จะถูกลบออกไป โดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นแบบทดสอบที่มีข้อมูลเก่าเกินไป
-หลังจากที่ทำเสร็จแล้ว ให้มีการประเมิน แบบทดสอบ โดยผู้อ่าน ว่า แบบทดสอบนั้นมีคุณภาพเป็นอย่างไร แล้วส่งกลับไปให้ผู้ที่ออกแบบทดสอบได้ทราบ อาจมีการจัดอันดับแบบทดสอบที่ได้คะแนนสูงที่สุด และ ชื่อผู้ที่ออกแบบทดสอบ ที่ได้คะแนนสูงสุดด้วยก็ได้

ส่วนปัญหาว่า แบบทดสอบได้จากไหน ?
ก็สามารถหาได้จาก
๑. แบบทดสอบ ที่วารสาร บริษัทต่างๆ ทำไว้ โดยขอความร่วมมือ นำแบบทดสอบและบทความ ที่อยู่ในรูปข้อมูลคอมพิวเตอร์ มาลงในเวบ
๒. แบบทดสอบ ที่ออกโดย อาจารย์ในโรงเรียนแพทย์ ( คณะแพทย์ รพ.สบทบ ) ที่ใช้ทดสอบ นักศึกษาแพทย์ โดยที่ อาจารย์เจ้าของแบบทดสอบ ก็จะได้รับคะแนน cme และ ชื่อเสียง ตอบแทน ถ้าได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนแพทย์ ก็จะมีแบบทดสอบมากมาย เหลือเฟือที่จะให้ทำกัน
๓. แบบทดสอบ ที่ออกโดย ราชวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งแต่ละราชวิทยาลัยฯ ก็มักจะมีการอบรมและออกแบบทดสอบกันอยู่เป็นประจำ

อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยในการส่งเสริม ให้มี ผู้ออกแบบทดสอบ มากขึ้น ก็คือ การสรุปว่า ใคร มีแบบทดสอบจำนวนเท่าไหร่ อาจแยกเป็น บริษัท ชื่อบุคคล คณะแพทย์ หรือ ราชวิทยาลัย ฯลฯ ซึ่งสรุปนี้ อาจนำไปใบประกาศไว้ที่หน้าเวบ หรือ สื่อต่าง ๆ

แน่นอนว่า เรื่องแบบนี้คงไม่ง่ายและไม่สามารถเปลี่ยนได้ในเร็ววัน แต่ถ้าเริ่มทำตอนนี้ ความสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้ก็คงได้เห็นในอีกไม่นาน ขอเพียงแต่ ต้องกล้าที่จะเริ่มและมุ่งมั่นที่จะทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง

โดย: หมอหมู วันที่: 27 พฤษภาคม 2555 เวลา:14:09:24 น.
  
ทักทายจ้าวิธีลดพุง สลายไขมันต้นขา ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt สลายไขมันด้วยความเย็น CoolSculpting romrawin รมย์รวินท์
ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z Morpheus Morpheus8 Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu Ultherapy Prime อัลเทอร่า Ulthera Thermage FLX Oligio ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน กำจัดขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ เลเซอร์ขนรักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขนถาวร เลเซอร์ขน กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Pico Pico NCTF 135 HA Rejuran Belotero Revive Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra Radiesse UltraClear Aviclear Laser AviClear Laser Aviclear AviClear Accure Laser Accure Coolsculpting Coolsculpting Elite Apex ให้ใจ สุขภาพ
โดย: น้องเมย์น่ารัก วันที่: 13 มกราคม 2568 เวลา:15:31:53 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]

บทความทั้งหมด