เศรษฐีเรือนใน ต้นไม้ฟอกอากาศ

เศรษฐีเรือนใน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chlorophytum Comosum ชื่อสามัญ : Spider Plant วงศ์ : Liliaceae (Lily)
เศรษฐีเรือนใน ใบสีเขียว มีแถบขาวกลางใบ มีเหง้าใต้ดิน รากสีขาว อวบน้ำ เมื่อแก่เต็มที่จะมีลำต้นอ่อน แตกออกมาเป็นกิ่งอ่อน ๆ มีต้นอ่อนเล็ก ๆ เป็นกระจุกอยู่ตรงปลายกิ่ง ลักษณะคล้ายแมงมุม ดูน่ารักดี ฝรั่งจึง เรียกว่า ต้นแมงมุม (Spider Plant) หรือ ต้นเครื่องบิน (Airplane Plant) เนื่องจากเวลาลมพัดต้นอ่อน จะแกว่งไปมาเหมือนเครื่องบิน ต้นอ่อนที่แตกออกมานี้จะมีรากด้วย สามารถตัดไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้

เศรษฐีเรือนใน เป็นไม้ดูดสารพิษในอาคาร ที่ทางองค์กรนาซาได้ทำการวิจัยแล้วว่า มีคุณสมบัติช่วยกำจัดสารฟอร์มาลดีไฮด์ สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในอากาศได้ถึง 90% ซึ่งเป็นสารที่มาจากวัสดุก่อสร้างภายในบ้าน หากนำเศรษฐีเรือนในมาตั้งไว้ในห้องนอน ก็จะช่วยกำจัดสารพิษพวกนี้ให้หมดไป พร้อมกับผลิตออกซิเจนให้เราได้นอนหลับสบาย


● แสงแดด : กึ่งแดด กึ่งร่ม ● ความชื้น : ต้องการความชื้นต่ำ ● น้ำ : ต้องการน้ำน้อย ● อัตราการดูดสารพิษ : ปานกลางถึงมาก 
ช่วยกำจัดอนุภาคมลพิษทางอากาศได้เป็นอย่างดี มีการปลูกไว้ในแคปซูลอวกาศเพื่อช่วยฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ด้วย
รากของต้นเศรษฐีเรือนในจะเป็นกระเปาะสีขาว เอาไว้กักเก็บน้ำและสารอาหาร
รดน้ำให้ถูกวิธี ให้ดินในกระถางแห้งก่อนถึงค่อยรดน้ำ รดจนน้ำไหลออกมาที่ก้นกระถาง แต่ก็อย่าปล่อยให้น้ำขังอยู่ในถาดรองกระถาง

มีคุณสมบัติในการกรองสารพิษในอากาศโดยเฉพาะคาร์บอนมอนอกไซด์และไซลีน ซึ่งเป็นสารสำคัญในอุตสาหกรรมพลาสติกและใยสังเคราะห์ และพวกทินเนอร์ แลคเกอร์ กาว สีทาบ้าน ยาทาเล็บ ยาล้างเล็บ ที่สำคัญคือไม่เป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงด้วย https://is.gd/RAtwYu 
เศรษฐีเรือนใน เป็นได้ทั้งต้นไม้ฟอกอากาศและว่านมงคลมีคุณทางเมตตามหานิยม ถึงรูปลักษณ์จะดูคล้ายกับใบหญ้าที่ขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้น ไม่ต้องการแสงแดดจ้า แค่มีแสงนิด ๆ หน่อย ๆ ก็อยู่ได้ น้ำก็ไม่ได้ต้องการมากนัก

จากผลการทดลองการดูดซึมสาร ยืนยันแล้วว่าต้นเศรษฐีเรือนใน สามารถดูดคาร์บอน- มอนอกไซด์ได้ถึง 96% และฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) 86% https://is.gd/bcIJ0X

การขยายพันธุ์ โดยการแยกหน่อ หรือใช้ต้นอ่อนที่เกิดจากไหลไปปลูกใหม่



(คลิก) เศรษฐีเรือนใน (Spider Plant)
-----------------------------------

Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2562 |
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2562 10:12:34 น. |
|
23 comments
|
Counter : 5380 Pageviews. |
 |
|
บันทึกน้อง (ไร้) หนาม โลโฟโฟรา (Lophophora) คลิกที่นี่ค่ะ