Group Blog
ธันวาคม 2562

1
2
3
5
6
7
8
9
10
12
13
14
15
16
17
18
19
21
22
23
24
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
ทนายอ้วนชวนเที่ยว ... เวลาเดินช้าที่ .. น่าน - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
สถานที่ท่องเที่ยว : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน, น่าน Thailand
พิกัด GPS : 18° 46' 34.49" N 100° 46' 14.98" E

 



สถานที่ท่องเที่ยวในตัวเมืองน่านแห่งถัดไปที่จะพาไปเที่ยวกันเป็นหนึ่งในสถานที่  “ห้ามพลาด”  เมื่อมาเยือนเมืองน่านครับ  สถานที่แห่งนี้อยู่กลางเมืองน่านเลย  ตรงข้ามวัดภูมินทร์เลยครับ
 
 
 



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  น่าน 



 
 

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน  ตั้งอยู่บนถนนผากองกับถนนสุริยพงษ์  ตรงข้ามกับวัดภูมินทร์และวัดพระธาตุช้างค้ำ  เรียกได้ว่าอยู่กลางใจเมืองน่านเลยครับ
 
 
อาคาร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน แห่งนี้เคยเป็น  “หอคำ”  (แปลว่าที่อยู่อาศัย)  ของเจ้า ..... เรียก  “เจ้า”  คงไม่ถูกนัก  เพราะเจ้าเมืองน่านได้รับพระราชทานยศเป็นพิเศษเทียบเท่า  “กษัตริย์ผู้ครองเมืองน่าน”
 
 
เขตที่ประทับของผู้ครองเมืองน่านนั้นเรียกรวมๆว่า 
“คุ้มหลวง”  โดยประกอบด้วยอาคารหลายๆหลังทำหน้าที่แตกต่างกันไป  แต่ที่สำคัญจะไม่ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาท  แต่จะตกทอดไปกับตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครน่าน  ดังนั้นเมือ่สิ้นเจ้าผู้ครองนครคนใด  “คุ้มหลวง”  จะไม่ตกทอดไปยังทายาทของเจ้าผู้ครองนครน่านคนเก่า   ครอบครัวทั้งหมดจะต้องย้ายออกไป  เจ้าผู้ครองนครน่านคนใหม่จะย้ายเข้ามาอยู่แทน 







 

 
การสร้าง 
“หอคำ”  เมืองน่านปรากฏอยู่ใน  “พงศาวดารเมืองน่าน”  ระบุไว้ว่าใน  พ.ศ. 2399  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ  สถาปนาพระยาอนันตยศเป็น  “เจ้าอนันตยศวรฤทธิเดช”  เจ้าผู้ครองเมืองนานให้มีเกียรติยศสูงยิ่งกว่าเจ้าผู้ครองเมืองน่านที่มีมาแต่ก่อน  ได้รับพระราชทานฉัตรห้าชั้น  ( “นิราศเมืองหลวงพระบาง”  แต่งขึ้นประมาณ  พ.ศ. 2428)  เจ้าอนันตยศวรฤทธิเดชได้สร้างคุ้มหลวงขึ้นเรียกว่า  “คุ้มแก้ว”  ประกอบไปด้วย  คุ้มหลวง  หอคำราชโรงหลวง  หอซ้าย  หอขวา  หอหลัง  หอธรรม  และหอครัว  ลักษณะของคุ้มแก้วในสมัยเจ้าอนันตยศวรฤทธิเดชเป็นอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐาน  ต่อมาเจ้าอนันตยศวรฤทธิเดชพิราลัย  เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชได้ครองเมืองน่านสืบต่อ  ได้เรียกพื้นที่   “คุ้มแก้ว”  ว่า  “คุ้มหลวง” 
 
 
ในปี  พ.ศ.  2446  พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  สถาปนาเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช  เป็น 
“พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช”  ผู้ครองนครน่าน  เจ้าราชดนัย  (ยอดฟ้า  ณ น่าน)  บุตรของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช  ที่ได้สมรสกับเจ้าสุพรรณวดี  ธิดาเจ้าหลวงเมืองแพร่  และได้รับตำแหน่งเจ้าราชบุตรเมืองแพร่  หลังจากเกิดเหตุการณ์กฎบเงี้ยวเมืองแพร่  เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชได้ขอย้ายเจ้าราชบุตรกลับมารับราชการที่เมืองน่าน  และได้ขอรับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้าราชดนัยในปี  พ.ศ.  2446 
 









พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชได้รื้อหอต่างๆในคุ้มเจ้าหลวงทั้ง  7  หลัง  ออกทั้งหมด 
 
1. มอบให้แก่เจ้าจันทองดี  ธิดา  1  หลัง
2. มอบให้เจ้าทิพยเกสร  ธิดา  1 หลัง
3. มอบให้เจ้าเทพเกสร  ธิดา  1  หลัง
4. มอบให้เจ้าแม่ยอดหล้า  ภรรยา  1  หลัง
5. มอบให้วัดหัวเวียง  1  หลัง
6. มอบให้วัดสวนหอม  1  หลัง
7  มอบให้วัดเข้าน้อย  1  หลัง
 
แล้วสร้างหอคำหลังใหม่ขึ้นในปีเดียวกัน
 
เจ้าราชดนัยที่ได้เล่าให้ฟังเมื่อกี๊นี้เป็นผู้ที่มีอิทธิพลกับสถาปัยกรรมของคุ้มหลวงเมืองน่านมาก  เนื่องจากท่านได้ไปเห็นคุ้มหลวงเจ้าเมืองแพร่  (ตึกสีเขียวที่ใช้เป็น  location  ละครพีเรียดหลายเรื่อง  เช่น  รอยไหม  เดี๋ยวตอนท้ายๆจะพาไปเที่ยวด้วย)  ได้นำเอารูปแบบสถาปัตยกรรมของคุ้มหลวงเจ้าเมืองแพร่มาสร้างเป็นต้นแบบให้แก่คุ้มหลวงเมืองน่าน  โดยสร้างเป็นตึกก่ออิฐในรูปแบบของบ้านขนมปังขิง  (Gingerbread  House  Style)  ซึ่งได้รับความนิยมมากในชาติตะวันในช่วงปลายรัชกาลที่  4  -  รัชกาลที่ 5 

 
อาคารแบบบ้านขนมปังขิง  (Gingerbread  House  Style)  มีลักษณะเด่นคือมีการประดับตกแต่งส่วนต่างๆด้วยไม้ฉลุลวดลายอ่อนช้อย  เช่น  ชายคา  ปั้นลม  ช่องแสง  ฯ  ลวดลายฉลุไม้เกิดจากการฉลุด้วยเลื่อยมือ  ยิ่งมีลวดลายที่ซับซ้อนมากยิ่งต้องใช้ฝีมือในการฉลุมาก 





 






ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของคุ้มหลวงเมืองน่าน  เป็นอาคารตึกก่ออิฐ  2  ชั้น  มีตรีมุข  ชั้นล่างแบ่งออกเป็นห้องหลายห้อง  เดิมมีบันไดขึ้นชั้น  2  จากภายนอกตรงข้างๆตรีมุขทั้ง  2  ด้าน  (ขอบคุณรูปภาพจาก  https://www.museumthailand.com/th/museum/Nan-National-Museum) ที่กรอบหน้าต่าง  กรอบประตูจะมีลายปูนปั้นประดับ





 





ด้านหน้าของชั้น  2  เป็นเฉลี่ยง  ด้านหลังเป็นห้องท้องพระโรง  และแบ่งเป็นห้องเล็กๆอีกหลายห้อง  มีบันไดหลังลงไปยังชั้นล่าง  ปัจจุบันจัดแสดงสิ่งของหลายอย่างรวมถึงงานทอผ้า











 





หลังคาหอคำเดิมประดับช่อฟ้า  ใบระกา  หางหงส์  สันหลังคาประดับบราลี  ในพ.ศ.  2476  เครื่องประดับแสดงฐานานุศักดิ์พระเจ้าน่านได้ถูกถอดออกเพื่อปรับเปลี่ยนเป็นศาลากลางจังหวัดน่าน  มีหลักฐานเป็นลายพระหัตถ์ของนายพลตรีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ  กรมหลวงนครราชสีมา  เพื่อกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อคราวเสด็จตรวจราชการมณฑลพายับ  วันที่  12 – 16  ธันวาคม  พ.ศ.  2463  และได้ประทับแรมที่หอคำเมืองน่านว่า
 


“...ตึกทั้งหลังเป็นนี้เป็นตึกทาปูนขาว  น่าต่างไม้ทาสี ...
หลังคากระเบื้องไม้  มีช่อฟ้าใบระกาและบะราลี
เป็นศีร์ษะนาค ...”

 
 
 
เมื่อพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชพิราลัย  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งเจ้าพรหมสุรธาดาเป็นเจ้านครน่านในปี  พ.ศ.  2462  ได้เข้ามาอยู่ในพื้นที่คุ้มหลวงจนถึงแก่อสัญกรรมในปี  พ.ศ.  2474 
 
 
หลังจากนั้นก็ไม่มีการแต่งตั้งเจ้านครน่านอีกต่อไปทางราชการจึงได้ใช้พื้นที่คุ้มหลวงกับหอคำเป็นศาลากลางจังหวัดน่าน  และในพ.ศ.  2517  กระทรวงมหาดไทยได้ส่งมอบตึกหอคำนครน่านให้กรมศิลปากรจัดเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  น่าน  จนถึงปัจจุบัน
 
 
เมื่อวันที่  16  มีนาคม  พ.ศ.  2501  พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร  มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  บรมนาถบพิตร  และ  สมเด็จนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมพสกนิกรในจังหวัดน่านเป็นครั้งแรก  ได้ประทับเสวยพระกระยาหารกลางวันที่ศาลากลางจังหวัดน่าน 





 



และในวันที่ 14  สิงหาคม  พ.ศ.  2530  สมเด็จพระกณิษฐาธิราชเจ้า  กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  น่าน 





 
 
 
ห้องจัดแสดงห้องใหญ่ชั้นบน  (เดิมใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับออกว่าราชการ)  จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติของเจ้าผู้ครองนครน่าน  รวมถึงของใช้ประจำตำแหน่ง  ที่สำคัญมี  3  องค์  คือ  เจ้าอนันตวรฤทธิเดช  พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช  และเจ้ามหาพรหมสุรธาดา











 


ที่กลางห้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญของเมืองน่านจัดแสดงนั่นคือ 
“งาช้างดำ”
 

งาช้างกิ่งนี้เป็น 
“งาปลี”  หมายถึงงาที่มีความยาวไม่มากนักแต่ว่ามีเส้นรอบวงที่ใหญ่มาก  มีสีน้ำตาลเข้ม  เมื่อมองในระยะไกลจะเห็นเป็นสีดำ  ขนาดยาว  97  เซนติเมตร  ส่วนที่ใหญ่ที่สุดวัดเส้นรอบวงได้  47  เซนติเมตร  ด้านในเป็นโพรงลึก  14  เซนติเมตร  มีน้ำหนัก  18  กิโลกรัม  เป็นงาข้างซ้ายเพราะมีรอยเสียดสีกับงวงชัดเจนถูกถอดออกมาจากตัวช้างเมื่อมีอายุประมาณ  60  ปี  เดิมเป็นสมบัติของเจ้าผู้ครองนครน่านครองครองสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน 

 
มีเรื่องเล่ากันว่า  พญาการเมือง  เจ้าเมืองพลั่ว  (เมืองปัว)  องค์ที่ 6  แห่งราชวงศ์ภูคา  (พ.ศ. 1896 - 1906) ได้ทำพิธีสาปแช่งให้งาช้างกิ่งนี้เป็นของคู่บ้านคู่เมืองน่านตลอดไป  ห้ามผู้หนึ่งผู้ใดนำไปเป็นสมบัติส่วนตัวและต้องเก็บรักษาไว้ที่หอคำเมืองน่านเท่านั้น   เพื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา  เจ้าผู้นครเมืองน่านองค์สุดท้ายถึงแก่พิราลัย  ทายาทจึงมอบไว้ให้เป็นสมบัติของชาติ
 
 
เจ้าของบล็อกเคยได้ยินเรื่องงาช้างดำมาตั้งแต่เด็กๆ  ไม่นึกไม่ฝันว่าจะมาเห็นด้วยตาตัวเอง  ตอนที่วางแผนว่าจะมาเที่ยวน่านก็ลืมเรื่องนี้ไปสนิทเลย  เวลาเดินผ่านงาช้างดำรู้สึกขนลุกซู่ๆ เหมือนกันนะครับ








 

 
ห้องทางด้านข้างทั้ง  2  ห้อง  จัดแสดงพุทธศิลป์สกุลช่างเมืองน่าน  ที่สำคัญที่จะได้เห็นกันบ่อยๆเมื่อมาเที่ยววัดเก่าๆในเมืองน่านก็คือ 
“พระพุทธรูปไม้แกะ”  อันนี้เจ้าของบล็อกมีความเห็นว่าน่าจะเป็นความเชื่อจากลาว  (น่านมีชายแดนติดกับเมืองหลวงพระบาง  ประเทศลาว)  พุทธลักษณะของพระพุทธรูปไม้ก็จะแตกต่างหลากหลายมาก  มีทั้งปางสมาธิ  มารวิชัย  พระพุทธรูปยืน ทรงเครื่องก็มี  บางองค์ยังได้รับอิทธิพลมาจากพม่าด้วย












 





 
ห้องเล็กด้านหลังจัดแสดง
  “โกศ”  ใช้บรรจุพระศพพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช  และเจ้ามหาพรหมสุรธาดา  ก่อนที่พระโกศพระราชทานจะถูกจัดส่งมาจากกรุงเทพฯ
 









ที่ระเบียงทางด้านหลังจัดแสดงป้ายชื่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  น่าน  กับตราพระครุฑพ่าห์  ซึ่งได้ถูกนำไปติดไว้ที่หน้าบันของหอคำเมื่อมีการมอบให้ทางราชการใช้งาน  ในครั้งนั้น  ช่อฟ้า  ใบระกา  บราลี  ซึ่งเป็นสิ่งประดับตกแต่งแสดงฐานานุศักดิ์ก็ได้ถูกนำลงมาหมด  เมื่อกรมศิลปากรพื้นฟูรูปแบบเก่าของหอคำจึงได้ประดับลวดลายตามเดิมเหมือนเมื่อครั้งแรกสร้างคือ  คือรูปพญานาค  2  ตน  กับรูปโคอุศุภราช  (โคตัวผู้ที่มีลักษณะเป็นศุภลักษณ์หรือมีลักษณะดี)  ในกรอบวงกลม  ล้อมรอบด้วยลายกนกและพื้นช่องไฟ
 
 
ตราโคอุศุภราชนี้พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชใช้ประทับในหนังสือสำหรับกราบบังคมทูลถวายรายงานแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว  มีตำนานเล่ากันว่า  พญาผากอง  เจ้านครน่าน  มีดำริที่จะสร้างเมืองน่านขึ้นใหม่  ได้ฝันเห็นโคอุศุภราชวิ่งข้ามแม่น้ำน่านแล้วไปหยุดถ่ายมูลเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วก็หายไป  เมื่อตื่นบรรทมทรงให้ออกตามหามูลโคมาพบมูลโคที่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำน่านเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเหมือนดังฝันจึงทำการสร้างเมืองน่านใหม่ที่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน 
 


อีกตำราหนึ่งก็ว่าเจ้านครน่านกับเจ้านครแพร่ตกลงจะปักปันเขตแดนกัน  เจ้านครน่านขี่โคไปยังสถานที่นัดหมาย  ส่วนเจ้านครแพ่ขี่ม้า  เมืองน่านเลยใช้ตราเป็นรูปโค  ส่วนเมืองแพร่ใช้ตราเป็นรูปม้า









 
ก่อนจะจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  น่าน  ก็ต้องไม่ลืมที่จะมาถ่ายรูปที่ซุ้มลีลาวดีเป็นที่ระลึกซะหน่อยครับ

























 

139138137



Create Date : 20 ธันวาคม 2562
Last Update : 20 ธันวาคม 2562 14:34:40 น.
Counter : 1817 Pageviews.

19 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณเริงฤดีนะ, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณสองแผ่นดิน, คุณSai Eeuu, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณKavanich96, คุณJinnyTent, คุณtuk-tuk@korat, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณSweet_pills, คุณALDI, คุณkae+aoe, คุณkatoy, คุณปลาแห้งนอกกรอบ, คุณสาวไกด์ใจซื่อ, คุณชีริว, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน

  
โชคดีจังเปิดเข้าบล๊อก ผมเปิดผ่านเครื่องเสียงใหญ่ เลยได้ยิน
ดนตรีบรรเลงไพเราะ

ดูภาพไปทำให้นึกอยากไปเที่ยวบ้าง ดูภาพฟังดนตรีสบาย ๆ ครับ
โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 20 ธันวาคม 2562 เวลา:17:51:01 น.
  
น่าน..
เคยไปตอนแฟนไปช่วยราชการเมื่อ 30 ปีก่อน
เห็นตรงนี้แล้ว
อยากไปๆอีกค่ะ
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 20 ธันวาคม 2562 เวลา:18:43:40 น.
  
รักและคิดถึงน่าน
โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 20 ธันวาคม 2562 เวลา:20:59:49 น.
  
มาชมพิพิธภัณฑ์น่าน และ ซุ้มลีลาวดีครับ
จากรูปคุณบอล เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำกำลังบูรณะ

โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 20 ธันวาคม 2562 เวลา:23:41:56 น.
  
เขียนได้ละเอียดดีมาก เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ได้เลย

ทำการบ้านดีมากค่ะ
โดย: Sai Eeuu วันที่: 21 ธันวาคม 2562 เวลา:0:38:50 น.
  
ขอบคุณที่แบ่งปัน
โดย: Kavanich96 วันที่: 21 ธันวาคม 2562 เวลา:12:25:07 น.
  
ตามมาเที่ยวด้วยค่า
เคยไปที่นี่อยู่ครั้งหนึ่ง ก็ประทับใจ
ถ้ามีโอกาสอยากจะไปเทียวที่นี่อีกสักครั้ง
ชอบซุ้มลีลาวดีค่ะ เป็นอีกไฮไลท์ที่นี่เลยนะคะ
โดย: JinnyTent วันที่: 21 ธันวาคม 2562 เวลา:17:51:20 น.
  
เมืองน่านสวยเรียบ เมื่อก่อนเงียบมากค่ะ เดี๋ยวนี้ใคร ๆ ก็อยากไปเที่ยว
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 21 ธันวาคม 2562 เวลา:21:12:38 น.
  
สังเกตพระพักตร์ของพระพุทธรูปมีลักษณะแตกต่างกัน
บอกอารมณ์คนปั้นหรือแกะสลักเลยนะคะ
โดย: ฟ้าใสวันใหม่ วันที่: 21 ธันวาคม 2562 เวลา:21:41:35 น.
  
เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอีกแห่งที่เก่าแก่นะคะ
ชมและได้ความรู้อีกด้วย
ขอบคุณคุณบอลที่พาเที่ยว ภาพสวยมากค่ะ

โดย: Sweet_pills วันที่: 22 ธันวาคม 2562 เวลา:0:19:45 น.
  
สวยงาม น่าไปเที่ยวชมมากค่ะ
โดย: ALDI วันที่: 22 ธันวาคม 2562 เวลา:23:37:06 น.
  
ไม่มีโอกาสได้ไป ขอติดตามด้วยคนนะคะ น่าสนใจมากๆ
โดย: kae+aoe วันที่: 23 ธันวาคม 2562 เวลา:8:32:31 น.
  
ไปน่านในเมืองจะต้องไปถ่ายรูปกับซุ้มลีลาวดีนี้ เห็นภาพไม่มีผู้คนแล้วย้อนกลับมาดูของตัวเอง คนเพียบ ยกกล้องมุมไหน ก็คนเพียบ 5555
โดย: ปลาแห้งนอกกรอบ วันที่: 23 ธันวาคม 2562 เวลา:14:10:34 น.
  
คิดถึงน่านนนนนนนนนนนนนนนนน

ไม่ได้ไปนานแล้วค่ะ คิดถึงจริงๆ จังๆ เลยอ้ะ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กะว่าก๋า Dharma Blog ดู Blog
เริงฤดีนะ Sports Blog ดู Blog
ชีริว Travel Blog ดู Blog
Sai Eeuu Food Blog ดู Blog
Rinsa Yoyolive Review Travel Blog ดู Blog
ทนายอ้วน Travel Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 23 ธันวาคม 2562 เวลา:16:39:39 น.
  
ชอบครับที่นี่ แนวต้นลั่นทมมันสวยเป็นเอกลักษณ์ ที่พิพิธภัณฑ์เมืองลับแลก็ทำแนวลั่นทมแบบเดียวกันเลย
เสียดายตอนผมไปกำลังปรับปรุงอาคารอยู่ เปิดแค่บางห้อง แต่อย่างน้อยก็ได้ดูงาช้างดำไฮไลต์ของที่นี่นะ
โดย: ชีริว วันที่: 23 ธันวาคม 2562 เวลา:20:47:49 น.
  
ขาหมูสูตรเดิมของป้าอิ๋วก็ใส่โกโก้ค่ะ ทำบ่อย วันนี้เลยลองเปลี่ยนมาใช้ชอคโกแลต รสชาดไม่ต่างกันเท่าไรค่ะ
โดย: Sai Eeuu วันที่: 23 ธันวาคม 2562 เวลา:21:27:28 น.
  
คาเฟ่เยอะมาก บ้านน้องซี
โดย: kae+aoe วันที่: 24 ธันวาคม 2562 เวลา:8:40:20 น.
  
สวัสดีอีกรอบเน้อออออ

เชฟหล่อ ตัวเล็กๆ ด้วย น่าร้ากกกก เป็นหนุ่มสเปน 555

แต่จะใช่สเป็คบอลเร้ออออ
โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 24 ธันวาคม 2562 เวลา:8:53:44 น.
  
เห็นแล้วอยากไปเที่ยวน่านเลยค่า ขอบคุณที่เก็บภาพและความรู้มาฝากค่า
โดย: บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน วันที่: 24 ธันวาคม 2562 เวลา:15:36:19 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทนายอ้วน
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 156 คน [?]