Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
22 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 

วางตัวอย่างไร ให้อยู่ได้ในองค์กร



1. สร้างอัตตมโนทัศน์ ที่ตรงตามความเป็นจริง

อัตตมโนทัศน์ หรือ ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตนเอง
เป็นความคิดความรู้สึกที่เป็นข้อสรุปต่อตนเอง ของบุคคลความคิดความรู้สึกดังกล่าว
เป็นผลิตผลจากประสบการณ์ในชีวิต ที่ได้มีการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง
อัตตมโนทัศน์เป็นภาพทั้งหมดของบุคคลในความคิดคำนึง ซึ่งมิได้เจาะจงที่จุดใดจุดหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น
ไม่เจาะจงว่าเป็นคนสูงมาก อ้วนมาก โกรธง่าย หงุดหงิด หรือเป็นคนอารมณ์ขัน ฯลฯ
หากแต่เป็นความคิดความรู้สึกเกี่ยวกับตนเองในภาพรวมทั้งหมด เช่น
ความรู้สึกเกี่ยวกับสภาพอารมณ์และร่างกายทั้งหมด กิจกรรมทุกอย่างที่ปฏิบัตทุกสิ่งที่ปฏิบัติ และล้มเหลว
รวมทั้งความรู้สึกของบุคคลที่ว่าบุคคลอื่นมองเขาอย่างไร ฯลฯ

ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้เกิดจากการที่บุคคลติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น
ได้จากการสังเกตกิริยาอาการของผู้อื่น ที่แสดงต่อตนจากการได้รับการยอมรับ หรือไม่ได้รับการยอมรับ
จากตำแหน่ง หน้าที่ในสังคม ฯลฯ ซึ่งอัตตมโนทัศน์เหล่านี้จะมีทั้งบวกและลบ

แต่อย่างไรก็ตามมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งก็คือ บุคคลแต่ละคนมิได้มีอัตตมโนทัศน์ที่ถูกต้องเที่ยงแท้เสมอไป
บางครั้งมีการเข้าใจตนเองผิดจากประสบการณ์บางประการ
โดยอาจจะมองบวกมากไปเกี่ยวกับตนเอง เช่น มีเสน่ห์แรง ทำงานเก่งสติปัญญาเป็นเลิศ
หรืออาจจะมองลบเป็นส่วนใหญ่ เช่น อาจคิดว่าตนเองพูดไม่เป็น อ่อนแองุ่มง่าม บุคลิกภาพไม่ ดี ฯลฯ

คนบางคนมองแต่แง่ดีในตัวเองไม่ยอมรับข้อเสีย บางคนมองแต่ข้อเสียไม่ยอมรับ
ข้อดีแท้ที่จริงแล้วบุคคลมักจะมี ทั้งข้อดีและข้อจำกัดในตัวเอง

ซึ่งบุคคลควรที่จะพยายามสร้างอัตตมโนทัศน์ให้ ตรงตามความเป็นจริง โดยหมั่นสำรวจตรวจสอบตนเองอยู่เสมอ
โดยอาจจะพูดหรือเขียนประโยคต่างๆ ที่เป็นการบรรยายตนเองแล้วพูดคุยกับผู้ใกล้ชิดว่า
บุคคลเหล่านั้นเห็นด้วยกับสิ่งที่ พูดหรือเขียนอย่างไร

หรืออีกวิธีหนึ่ง ที่อาจจะช่วยให้การสำรวจตรวจสอบตนเองเป็นไปได้ด้วยดี คือการใช้แบบสำรวจตนเอง
ซึ่งบุคคลจะต้องควบคุมตนให้ตอบอย่างซื่อตรงและจริงใจต่อตนเอง เพื่อให้ค้นพบตัวเองที่แท้จริง

ปัจจุบันมีผู้สร้างแบบสำรวจตนเองเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ไว้มาก ตัวอย่างแบบสำรวจตนเองชุดหนึ่งที่น่าสนใจ
เช่น แบบสำรวจชื่อ “มองตนเพื่อสร้างสัมพันธ์”ของวัชรี ธุวรรม อันเป็นแบบสำรวจที่สร้างและปรับปรุงขึ้น
เพื่อใช้สำหรับให้บุคคลสำรวจ ตรวจสอบตนเอง ในลักษณะของตนบางด้านที่ เกี่ยวกับพัฒนาการทางสังคม
เพื่อให้รู้จักตนเองเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับลักษณะทางสังคมของตน เพื่อให้เกิดการพัฒนาตนด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น
ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนางานในหน้าที่ได้ด้วย มองตนเพื่อสร้างสัมพันธ์


2. การมองตนเองและผู้อื่นในทางที่ดี
นักจิตวิทยาส่วนใหญ่ซึ่งโดยมากมักเป็นนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มีความเห็นว่า
เรื่องของมนุษยสัมพันธ์นั้นควรเริ่มที่ตัวเองเป็นจุดแรก ทั้งนี้เพราะข้อเท็จจริงที่ว่าการที่บุคคลรู้สึกต่อผู้อื่นเช่นไร
ส่วนใหญ่มักขึ้นอยู่กับความรู้สึกของตนเอง ถ้ามีความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเองและมองตนเองในทางที่ดี
ก็มีแนวโน้มที่จะรู้สึกต่อผู้อื่นในทางที่ดี และมองผู้อื่นดีด้วย

คำว่า “มองตนเองในทางที่ดี” ในความหมายของนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยมนั้นมิได้หมายความว่า
จะให้บุคคลหลอกตนเองไม่ว่าดีหรือไม่ดีก็ให้มองดีไปหมด แต่หมายถึงการมุ่งให้ความสนใจกับจุดดีของตนเอง
การคิดถึงตนเองในจุดที่ดีงาม เช่น มีน้ำใจ รับผิดชอบ ตรงเวลา รักความยุติธรรม ฯลฯ
จะส่งผลให้ยึด ปฏิบัติในสิ่งดีดังกล่าวจนอาจไม่มีเวลาคิดไม่ดี ทำไม่ดี

ด้วยกระบวนการดังกล่าวนี้นักจิตวิทยาเชื่อว่า จะยิ่งทำให้ตนเองมีความดีเพิ่มขึ้น
ส่วนความไม่ดี ก็มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ซึ่งเมื่อเป็นดังนี้ จะทำให้เกิดความคิดความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเองเพิ่มขึ้น


ที่มา : //www.hrtothai.com





 

Create Date : 22 ธันวาคม 2552
2 comments
Last Update : 22 ธันวาคม 2552 21:11:31 น.
Counter : 882 Pageviews.

 

แวะมาทักทายค่ะ

 

โดย: CrackyDong 25 ธันวาคม 2552 1:26:15 น.  

 

ชอบข้อสองครับ
เมื่อเคารพตัวเอง คนอื่นก็จะเคารพเรา

 

โดย: กลับมาแล้วเหรอ เก่งมาก ๆ เลย 28 ธันวาคม 2552 5:21:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.