Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2552
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
16 พฤษภาคม 2552
 
All Blogs
 
คิดให้ดีใช้ให้เป็น



เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะก้าวเท้าไปซื้อของที่ไหน จะมีคนมาแจกเอกสารใบปลิวเต็มไปหมด
แปดในสิบอันคงหนีไม่พ้นสินเชื่อส่วนบุคคล ซื้อสินค้าเงินผ่อน หรือสมัครบัตรเครดิต
เสมือนกับเอาเงินหรือเอาของมาใส่มือเราง่ายๆ ทำให้หลายคนคิดว่าได้มาง่ายก็อยากใช้ไปง่ายๆ
โดยไม่คิดให้ดีก่อน จริงๆ แล้ว สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักถึงคือ จำเป็นหรือเปล่าที่ต้องซื้อสินค้านั้น
ต้องกู้เงินหรือต้องมีบัตรเครดิต และถ้าจำเป็นจะสามารถผ่อนหรือชำระคืนได้หรือไม่

มารู้จักบัญญัติ 10 ประการ คิดให้ดี ใช้ให้เป็น จากจีอี มันนี่ กันดีกว่า

1.ทำบัญชีรายรับรายจ่าย : รายจ่าย = รายได้ – เงินออม
โดยปกติเมื่อได้รับรายได้จากการทำงานหรือเงินเดือน คนส่วนใหญ่มักจะใช้จ่ายเงินตามความต้องการของ
ตนเองก่อน แล้วมีเงินเหลือ (ปกติมักจะไม่เหลือ) จึงจะนำไปเก็บออม แต่ถ้าเปลี่ยนมุมมองกันสักนิด
โดยหักเงินออมไว้ก่อนแล้วจึงนำเงินที่เหลือไปใช้จ่าย ย่อมทำให้มีเงินออมทุกเดือนตามที่ตั้งเป้าไว้

2.วางแผนการเงินเพื่ออนาคต
การวางแผนการเงินควรจะต้องตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและมองไปในวันข้างหน้า เช่น ในวัยเริ่มต้นทำงาน
บางคนวางแผนที่จะซื้อรถ ซื้อบ้าน วัยกลางคนเริ่มคิดถึงชีวิตของตนเมื่อเกษียณ
=บางคนถ้ามีลูกหลานก็เริ่มคิดถึงการประกันชีวิตเพื่อให้ลูกหลานมีหลักประกันหากเกิดอะไรขึ้นกับตนเอง
ดังนั้นทุกคนควรเริ่มวางแผนการเงินที่เหมาะกับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นแผนการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
การวางแผนเพื่อการเกษียณอายุ เป็นต้น

3.ให้เงินทำงาน
สำหรับคนที่มีเงินออม ควรนำเงินออมนั้นไปลงทุนเพื่อเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น เช่น การนำไปฝากธนาคาร
การลงทุนในกองทุนรวม และการลงทุนในหุ้น เป็นต้น

4.ไม่ใช้จ่ายเกินกำลัง: ซื้อของเท่าที่จำเป็น และไม่ใช้จ่ายเกินตัว
เมื่อรู้จักทำบัญชีรายรับ รายจ่ายแล้ว ย่อมทำให้รู้สภาวะการเงิน และกำลังการซื้อของตนเอง
ทำให้สามารถวางแผนและระวังไม่ให้ใช้จ่ายเกินกำลังของตนเอง
เพื่อป้องกันไม่ให้ไปก่อหนี้จนเกิดขีดความสามารถการหารายได้ของตนเอง

5.คิดให้ดีก่อนกู้
รู้จักเปรียบเทียบแหล่งเงินกู้ ศึกษาข้อดีข้อเสียของแหล่งเงินกู้แต่ละประเภท
โดยอ่านและทำความเข้าใจในรายละเอียดและเงื่อนไขในการกู้ที่แต่ละสถาบันเสนอให้
เช่น อัตราดอกเบี้ย รูปแบบการคำนวณแผนผ่อนชำระ

6.กู้เมื่อจำเป็น
ก่อนจะกู้เงินควรคิดก่อนว่าเงินกู้ที่ได้มานั้นจะนำไปทำอะไร
หากกู้เพื่อบริโภคก็ควรคิดก่อนว่าสิ่งที่จะใช้เงินกู้ซื้อนั้นจำเป็นต่อตนเองหรือไม่
เพราะถ้าไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนก็ควรเก็บเงินจนครบจำนวนแล้วจึงนำเงินนั้นไปซื้อ

7.บัตรเครดิต คือ เงินสด
การใช้บัตรเครดิต เปรียบเสมือนการจ่ายเงินสดเพื่อชำระสินค้า ดังนั้นควรใช้อย่างระมัดระวัง
และเก็บรักษาให้ดีเหมือนเงินสด เพราะถ้าใช้จนเพลินจนเกินกำลังอาจทำให้หนี้สินล้นพ้นตัวได้
หรือถ้าทำหล่นหายและตกไปอยู่ในมือของผู้ไม่หวังดี
อาจจะนำบัตรของเราไปใช้จ่ายจนสร้างภาระหนี้ให้เราทั้งๆ ที่เราไม่ได้เป็นคนซื้อ

8.เงินทำงานตลอดเวลา
ไม่ว่าจะเป็นเงินออมหรือเงินกู้ ดอกเบี้ยจะถูกคิดคำนวณตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุดและวันพักผ่อน
ยิ่งดอกเบี้ยของเงินกู้ นอกจากจะคิดในอัตราที่สูงกว่าเงินฝากแล้ว
ยังมีค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่ติดตามมาด้วยเมื่อชำระเงินล่าช้า

9.อย่าให้หนี้ท่วมตัว
เมื่อเป็นหนี้หรือคิดว่าจะต้องเป็นหนี้ ควรรู้จักคำนวณรายจ่ายของตนในแต่ละเดือน
เงินเก็บที่ต้องมีไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เพื่อให้ทราบยอดเงินที่ตนสามารถผ่อนชำระได้

10.จ่ายหนี้ที่ดอกเบี้ยแพงที่สุดก่อน
เมื่อเป็นหนี้แล้วควรพิจารณาว่าหนี้ก้อนใดที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุด
เพราะเงินที่จ่ายคืนหนี้ในแต่ละงวดนั้นแบ่งการจ่ายคืนเป็นสองส่วน คือส่วนของเงินต้นกับส่วนของดอกเบี้ย
ดังนั้นในหนี้ที่ดอกเบี้ยสูงกว่า สัดส่วนของเงินที่ชำระเป็นส่วนของดอกเบี้ยก็สูงกว่าเช่นกัน

ที่มา : First Choice (GE Money) และ //www.sanook.com


Create Date : 16 พฤษภาคม 2552
Last Update : 16 พฤษภาคม 2552 11:41:36 น. 1 comments
Counter : 1021 Pageviews.

 
Great amazing issues here. I??m very happy to see your post. Thanks a lot and i am taking a look forward to contact you. Will you please drop me a e-mail?
Cheap Michael Kors handbags //www.mini-systemsinc.com/customer8.asp


โดย: Cheap Michael Kors handbags IP: 94.23.252.21 วันที่: 3 สิงหาคม 2557 เวลา:18:26:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.