Group Blog
All Blog
|
ทนายอ้วนชวนเที่ยว ... เวลาเดินช้าที่ .. น่าน - วัดปรางค์ อ.ปัว จ.น่าน สถานที่ท่องเที่ยว : วัดปรางค์ อ.ปัว จ.น่าน, น่าน Thailand พิกัด GPS : 19° 11' 1.64" N 100° 54' 53.49" E วัดที่สองในอำเภอปัว จ.น่าน ที่ได้ไปเที่ยวมาเมื่อช่วงลอยกระทงปีที่ผ่านมาตั้งอยู่ระหว่างทางไปวัดบ้านต้นแหลง หรือ วัดต้นแหลง ครับ อยากทราบว่าวัดนี้มีสิ่ง unseen อะไรบ้างต้องมาติดตามกันครับ วัดปรางค์ อ.ปัว จ.น่าน วัดปรางค์ ตั้งอยู่เลขที่ 149 บ้านปรางค์ หมู่ที่ 3 อำเภอปัว จังหวัดน่าน สร้างเมื่อพ.ศ. 2230 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 การเดินทาง การเดินทาง จากจังหวัดน่านเดินทางด้วยตามหลวงหมายเลข 1080 และ 1256 สู่อำเภอปัว ก่อนถึงตัวอำเภอเล็กน้อยมีสามแยกตรงข้ามตลาดเทศบาล 1 ให้เลี้ยวซ้ายไปประมาณ 1 กิโลเมตร เข้าสู่วัดบ้านปรางค์ วัดปรางค์จะอยู่ตรงวงเวียน ให้เข้าวงเวียนไปทางขวาแล้วเข้าประตูวัดได้เลยครับ วัดปรางค์ เป็นวัดใน อ.ปัว จ.น่าน ไม่ปรากฎหลักฐานปีที่เริ่มสร้างแน่ชัด ปัจจุบันทางวัดได้มีการสร้างพระอุโบสถหลังใหญ่ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นพระอุโบสถยกสูงจากพื้นดิน ด้านหน้ามีบันไดนาคเป็นทางขึ้น ![]() ![]() หน้าบันประดับกระจกเลยลงมาถึงเสาหน้าพระอุโบสถ - การประดับกระจกของทางภาคเหนือจะแตกต่างจากทางภาคกลางนะครับ ภาคกลางจะทำปูนปั้นแล้วค่อยประดับกระจก หรือถ้าจะประดับกระจกเลยก็จะตัดเป็นแผ่นเล็กๆ แล้วประกอบกันเป็นลวดลาย .... แต่เท่าที่สังเกตวัดในจังหวัดน่าน ถ้าจะประดับกระจกส่วนมากจะไม่มีการประกอบลวดลายปูนปั้น แล้วประดับกระจกในพื้นที่ใหญ่ๆด้วยกระจกแผ่นใหญ่ๆเลย ----- อันนี้เป็นความสงสัยของเจ้าของบล็อกเองนะครับ กระจกที่ใช้ประดับตกแต่งอาคารเรียกว่า “กระจกเกรียบ” หรือ “กระจกจีน” อันนี้เมืองไทยทำเองไม่ได้ครับถึงทำได้ก็หาคนทำได้ยากมาก สมัยก่อนกระจกเกรียบต้องนำเข้าจากประเทศจีนเป็นส่วนมาก เคยได้ยินว่ามีช่างทำ (หุง) กระจกเกรียบอยู่ทางภาคเหนือ นี่ก็เป็นข้อสัณนิษฐานของเจ้าของบล็อกเองว่า หนึ่งเลยที่การประดับกระจกของทางภาคเหนือใช้กระจกแผ่นใหญ่ๆเป็นเพราะมีช่างหุงกระจก การขนส่งก็ส่งในระยะทางใกล้ๆ ต้นทุนค่าก่อสร้างจึงไม่แพง สอง คนภาคเหนือรวยกว่าภาคกลางมากๆ เพราะทำสัมปทานป่าไม้ เลยสามารถมีเงินทำบุญประดับโบสถ์ วิหาร ด้วยกระจกเกรียบแผ่นใหญ่ๆ และสาม ช่างฝีมือ (สล่า) ทางภาคเหนือฝีมือยังไม่เท่าช่างหลวงทางภาคกลาง จะเห็นได้ว่าการประดับกระจกแผ่นใหญ่ๆจะไม่มี “ความวิบๆวับๆ” ต่างจากการประดับกระจกของภาคกลางที่นิยมตัดเป็นชิ้นเล็กๆ จะ “วิบวับ” น่ามาอง อลังการ มากกว่า ซุ้มประตู หน้าต่าง ก็ประดับกระจกครับ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ทางเข้าพระอุโบสถมี 3 ทาง ประตูตรงกลางจะมีขนาดใหญ่กว่าประตูข้างทั้ง 2 ข้าง ![]() ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบปัจจุบัน แต่ผู้คนในภาพแต่งการแบบพื้นเมืองภาคเหนือ สวยงาม แปลกตาดีครับ เพดานพระอุโบสถเป็นไม้แผ่นเล็กๆ ตีเรียงกัน ขัดมัน ทาน้ำยา ประดับดาราเป็นระยะๆ ![]() ![]() ![]() ![]() ประประธานประจำพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะช่างพื้นบ้านภาคเหนือ ![]() ![]() ในวัดยังมีเจดีย์สีขาวองค์ใหญ่ เรียกกันทั่วไปว่า “พระธาตุบุญนาค” มีความเชื่อว่ามีพระธาตุบรรจุอยู่เจดีย์ สร้างเป็นลักษณะทรงระฆังแบบพิเศษ ส่วนฐานเป็นชั้นหน้ากระดานใหญ่รองรับชั้นหน้ากระดานเล็กๆ เรียงซ้อนลดหลั่นกัน 3 ชั้น ถัดไปเป็นฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จรับองค์ระฆัง ซึ่งมีลักษณะคล้ายรูปพุ่ม ตอนบนสุดทำเป็นปล้องไฉนและปลียอด (เข้าใจว่าคงซ่อมใหม่ในชั้นหลัง) สัดส่วนของฐานและรูปทรงอาจได้รับอิทธิพลมาจากเจดีย์ธาตุหมากโม วัดวิชุนราช เมืองหลวงพระบาง ของศิลปะลาว อายุราวกลางพุทธศตวรรษที่ 21 แต่ได้ดัดแปลงรูปแบบโดยเพิ่มชั้นหน้ากระดานสี่เหลี่ยมเตี้ยๆ ซ้อนกันสามชั้นแทนบัวถลา ย่อเก็จบนฐานลูกแก้วตามแบบเจดีย์ศิลปะล้านนา และเพิ่มปล้องไฉนกับปลียอดขึ้นมาอีกส่วนหนึ่ง แสดงถึงพัฒนาการทางรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปในระยะหลัง พระธาตุบุญนาคนี้ กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตเป็นโบราณสถานไว้แล้ว ![]() ![]() สิ่งที่ unseen ในวัดปรางค์แห่งนี้ ตั้งอยู่ด้านหน้าพระอุโบสถเลยครับ นั่นคือ “ต้นดิกเดียม” หรือ “ต้นจิเดียม” (ภาษาไทยลื้อ) ต้นไม้หายาก มีความพิเศษอยู่ 2 อย่าง อย่างแรกหันหลังให้แดด (ต้นไม้ปกติจะมีกิ่งยืดเข้าหาแดด) อย่างที่สองเมื่อมีคนลูบเบาๆ ที่ลำต้น ใบไม้จะไหวสั่นคล้ายกับมีลมพัดใบ การสั่งเกตุการสั้น ให้สังเกตุที่ปลายยอด ของต้น ลองมองไปทั่วๆ เพราะมันไม่ได้สั่นทั้งตนนะครับ แต่จะสั่นเป็นบ้างกิ่ง หลายครั้งจุดที่สั่นจะไม่ซ้ำกันให้สังเกตให้ดีครับแต่สั่นแน่นอน “ต้นดิกเดียม” นอกจากที่วัดปรางค์แล้ว ยังสามารถดูได้ที่อื่น เช่น วนอุทยานแพะเมืองผี จ.แพร่ และ วัดภูเก็ต อ.ปัว จ.น่าน “ต้นดิกเดียม” (ชื่อวิทยาศาสตร์คือต้น GARDENIE TURGIDA ROXB อยู่ในวงศ์ RUBIACEAE) มีชื่อเป็นภาษาไทยต่างกันไปตามแต่ละจังหวัด เช่น จังหวัดตากเรียกว่า "กระดานพน" จังหวัดกาญจนบุรีเรียกว่า "มะกอกพราน" จังหวัดเลยเรียกว่า "มุ่ยแดง" เป็นต้นไม้ใหญ่ มีดอกเป็นสีเหลืองอ่อน โคนดอกจะเป็นสีเหลืองแก่ ลักษณะคล้ายกับดอกลั่นทม ประโยชน์ของต้นดิกเดียม ลำต้น ใช้ทำเครื่องเรือนเครื่องใช้ ใบ ใช้ตำพอกรักษาแผลสด ดอก ฆ่าพยาธิ ขยี้ทาแก้กลากเกลื้อน น้ำมันในเมล็ด ทาแก้ผลมะเร็ง โรคเรื้อน เปลือก แก้ริดสีดวง ราก แก้เสมหะเป็นพิษ แก้อาหารไม่ย่อยในเด็ก อย่างไรก็ตาม ปัญหาของต้นไม้ชนิดนี้ก็คือ มีเหลือเพียงน้อยต้นในจังหวัดน่าน ซึ่งกำลังจะสูญพันธุ์ เพราะได้มีความพยายามที่จะตอนกิ่ง เพาะเมล็ด แม้แ่ต่เพาะเนื้อเยื่อ ก็ไม่มีประสบความสำเร็จในการขยายพันธุ์ต่อไปได้ ประวัติต้นดิ๊กเดียม จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในพื้นที่ เล่ากันว่า สมัยพระครูอดุลย์โชติวัฒน์ อดีตเจ้าคณะอำเภอปัว(ปัจจุบันมรณภาพไปแล้ว) ได้นำพันธ์ไม้นี้มาจากบนดอยภูคา มาปลูกไว้หน้าพระอุโบสถ เจ้าของบล็อกลองลูบๆต้นดูแล้วใบของต้นดิกเดียมจะสั่นน้อยๆนะครับ แต่จะเป็นเพราะลมหรือเปล่าก็สุดจะรู้นะครับ เพราะวันที่เจ้าของบล็อกไปมีลมเย็นๆพัดอ่อนๆตลอดเลย ฮ่าๆๆๆๆๆ ![]() อีกช่องทางหนึ่งในการติดตาม “ทนายอ้วนพาเที่ยว” Chubby Lawyer Tour - ทนายอ้วนพาเที่ยว https://www.facebook.com/ChubbyLawyerTour/ Chubby Lawyer Tour ………………….. เที่ยวไป ............. ตามใจฉัน ![]() ![]() ![]() โบสถ์สวย... เปิดเข้ามาได้ยินเสียง กีต้าร์โปร่งไพเราะมากยังคิดว่า
คุณจรัล พอคลิ๊กเข้าดู เป็นคุณเกิ้น..เล่น ... ต้นไม้ยืนต้น คงจะมีประสาทรับรู้ไวมากกว่า ต้นไม้อื่น ดูชื่อแล้วคง หมายความถึง ต้นไม้จักกะจี้ในภาคกลางนะครับ.. ผมฟังภาษาออก เพราะเป็นคนเหนือนะครับ 555 ตอนเด็กก็เล่น หญ้าจิย๊อบ... ต้นไมยราบ.. พวกเราตอนเด็กเริ่มจะ รู้ว่าต้นไม้มีชีวิต ก็ต้องหญ้าจิย๊อบนี่แหละ.. เพื่อน ๆ คนใจบุญมักจะไม่เหยียบย่ำต้นนี้ ส่วนผมไม่ได้ใจบุญขนาด นั้นนะเออ..เหยียบแล้วหนามมันตำเอา จ.น่านนี้มีแหล่งเที่ยวเยอะ แต่ยังไม่มีโอกาสเดินทางไปเที่่ยวเลย โดย: ไวน์กับสายน้ำ
![]() ![]() ต้นดิ๊กเดียม น่าจะเพี้ยนมาจาก จั๊กกะจีจั๊กกะเดียม นะคะ
เดาเอาล้วน ๆ อิอิ โดย: ฟ้าใสวันใหม่
![]() ![]() สวัสดีมีสุขค่ะ
เคยไปตบมือ ข้างๆต้นดิ๊กเดียม ใบเขาสั่นไหวจริงๆค่ะ ลูบต้น ก็ไหวระริก สนุกกันเลย ขอบคุณกำลังใจที่ให้หน้ากากลายทะเลฟ้าใสค่ะ โดย: ตะลีกีปัส
![]() ![]() สวัสดี ยามดึก จ้ะ น้องบอล
มาเที่ยว วัดปรางค์ อ.ปัว จ.น่าน ด้วยคน จ้ะ จากรูปที่ถ่ายมา ให้ชม สวยมาก สีสัน สดใส มากเชียว เนาะ น่าน ครูตั้งใจอยากจะ ไปเที่ยว แต่ยังไม่มีโอกาสได้ไปสักครั้งเลย สักวันคงได้ไป เนาะ ต้นจิเดียม ครูก็เพิ่งได้ยิน และรู้จักบอล คุณสมบัติ สอง ข้อ หันหลังให้แดด และเมื่อลูบลำต้นเบา ๆ ใบมันจะสั่นไหว แปลกดี แต่ เธอทดลองแล้ว อิอิ จะเชื่อดีไหมเนี่ย ห้าห้า โหวดหมวด ท่องเที่ยว โดย: อาจารย์สุวิมล
![]() ![]() ตามามาเที่ยวน่าน ไหว้พระด้วยครับ
วัดเก่า แต่ อุโบสถสีสดใสมากครับ ต้นดิกเดียม ก็ได้ลองลูปที่วัดภูเก็ต ปัว ครับ ![]() ![]() โดย: สองแผ่นดิน
![]() ![]() สวัสดีครับ ขอบคุณที่แวะไปครับ
เรื่องนี้มีหลายเวอร์ชั่นครับ สนุกคนละแบบกันครับ ![]() โดย: Sleepless Sea
![]() วันนี้ที่บ้านทำยำแกงคั่วหมดเกลี้ยงแว้ววววว 55555+
![]() โดย: nonnoiGiwGiw
![]() ![]() เมื่อวานยากจนเลยมาไม่ถึงค่ะ
วัดนี้จำแม่นก็เพราะต้นดิกเดียม นี่แหละ ขอบคุณนะคะ ![]() ![]() ![]() โดย: ภาวิดา คนบ้านป่า
![]() ![]() วัดนี้รู้สึกจะยังไม่ได้ไปค่ะ
ภาพสวย เพลงโปรดค่ะ เฮาคนเกิดที่แม่ระมิงค์เนาะ โดย: tuk-tuk@korat
![]() ![]() จังหวัดน่าน ดูเงียบสงบดี
สักวัน คงมีโอกาสไปเที่ยวบ้าง วันนี้ตามมาเที่ยวด้วยคนค่ะ โดย: mcayenne94
![]() ![]() กราบพระค่ะคุณบอล
วัดปรางค์ชื่อไพเราะและงดงามน่าเที่ยวมาก ขอบคุณคุณบอลที่พาชมนะคะ เห็นด้วยกับคุณบอลค่ะ สมาชิกอยู่บ้านครบแม่ครัวทำอาหารแทบทั้งวันเลยค่ะ อิอิ ![]() โดย: Sweet_pills
![]() ![]() |
ทนายอ้วน
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() Friends Blog
|
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
สันตะวาใบข้าว Literature Blog ดู Blog
ไวน์กับสายน้ำ Diarist ดู Blog
กะว่าก๋า Dharma Blog ดู Blog
เริงฤดีนะ Sports Blog ดู Blog
ฟ้าใสวันใหม่ Home & Garden Blog ดู Blog
Sweet_pills Food Blog ดู Blog
nonnoiGiwGiw Food Blog ดู Blog
ทนายอ้วน Travel Blog ดู Blog
ตามน้องบอลมาเที่ยวจ๊ะ
เจิมบอก
หน้าบันวัดปรางค์สวยมากเลยจ๊ะ