การส่งผ่านความรู้และอารยธรรมผ่านการทำสงครามในอดีต
การเจริญเติบโตของกลุ่มประเทศในยุโรปด้านความรู้ ศิลปวิทยาการสาขาต่างๆนั้นเป็นผลสืบเนื่องของสงครามครูเสด เกิดการขยายตัวทางการค้าระหว่างตะวันตกและตะวันออกและการเกิด เมืองทางการค้าในพื้นที่อิตาลี การถ่ายทอดอารยธรรมจากโลกตะวันออกและอิสลามสู่โลกตะวันตก ก่อเกิดชนชั้นใหม่ของสังคมยุคกลาง(Immediat Class) เกิดพ่อค้าและ นักการเงินในสมัย 1300 วัฒนธรรมของชนชั้นสูงและอัศวินผูกล้าและกองทหารม้า การเกิดประเทศอังกฤษ,ฝรั่งเศส:รัฐชาติสมัยใหม่ในระยะต่อมา เกิดพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของความรู้  การฟื้นฟูภูมิปัญญาเก่าให้เข้ากับยุคกลาง  การเติบโตของระบบการศึกษาแบบโรงเรียน  ราชวงศ์ Carolingin ก่อตั้งโรงเรียนในทุก ๆ สังฆมณฑล ในช่วง ค.ศ 800-1050 เพื่อปูพื้นฐานความรู้แก่สังคมใหม่ กำเนิดและการขยายตัวของมหาวิทยาลัย  การศึกษาความรู้ด้านกฎหมาย, การแพทย์ และเทววิทยา  การก่อตั้งมหาวิทยาลัยในอิตาลี ex. Bologna เพื่อสอนความรู้ดาน liberal arts และมีชื่อเสียงทางด้านกฎหมาย  การก่อตั้งมหาวิทยาลัย Paris จากโรงเรียนสอนศาสนา ให้เป็นสถานศึกษาของเชื้อพระวงศ์ การขยายตัวของมหาวิทยาลัยในยุโรป การก่อตั้ง Oxford, Cambridge, Montpellier, Salmanca, Naples ในอังกฤษและฝรั่งเศส ในขณะที่เยอรมันเริ่มจะมีมหาวิทยาลัยในHeidelberg
สนธิสัญญาคาเดซ มีการลงนามและให้สัตยาบันระหว่างศตวรรษที่ 13
 ก่อนคริสตกาล ระหว่างฟาโรห์รามเสสที่ 2 แห่งอียิปต์ และกษัตริย์ฮัททูซิลีที่ 2 แห่งฮิตไทต์ ในอดีตจักรวรรดิฮิตไทต์ ซึ่งปัจจุบันคือ ประเทศตุรกี ที่ซึ่งมันถูกเก็บรักษาไว้บนแผ่นจารึกดินเผา...ในปีที่1286 ก่อน ค.ศ. ฟาโรห์รามเสสที่2 ก็ทรงนำกองทัพซึ่งประกอบด้วยทหารราบ 20,000 คน และรถศึก 2,500 คัน เข้าโจมตีกองทัพของมุลวาตัลลิสซึ่งมีรี้พลใกล้เคียงกัน ในการรบอันดุเดือด ท้ายที่สุดไม่มีฝ่ายใดได้รับชัยชนะอันเด็ดขาดทั้งสองฝ่ายต่างสูญเสียรี้พลและอาวุธ เป็นจำนวนมาก และหลังจากที่มุลวาตัลลิสสวรรคตลง ทั้งสองฝ่ายจึงทำสัญญาสันติภาพระหว่างกัน โดยสนธิสัญญาฉบับนี้ถือว่า เป็นสนธิสัญญาสันติภาพฉบับแรกของโลก หลังจากนั้น กษัตริย์ฮิตไตท์ยังได้ส่งพระธิดามาอภิเษกกับฟาโรห์รามเสสที่2 เพื่อยืนยันในสันติภาพด้วย
218 ก่อน ค.ศ. ฮันนิบาลวางแผนการโจมตีอาณาจักรโรมัน โดยยกขบวนรี้พลเดินเท้าเป็นระยะทาง 1,500 ไมล์ สู่กรุงโรม กองทัพฮันนิบาลประกอบด้วยทหาร 90,000 นาย ม้าศึก 12,000 ตัว และช้างศึก 37 เชือกทั้งนี้ เพราะฮันนิบาลรู้ดีว่าทัพของเขา จะต้องฟันฝ่าข้ามขุนเขาแอลป์ที่เต็มไปด้วยก้อนหินระเกะระกะ จึงต้องการพาหนะที่แข็งแกร่งในการบรรทุกสัมภาระทั้งเสบียงและอาวุธ และเขาก็พบว่า ช้างแอฟริกาน่าจะเป็นคำตอบที่เหมาะสมที่สุด...เป็นการยกทัพข้ามแผ่นดินยาวไกลบ้างโดยฮันนิบาล จอมทัพแห่งนครคาร์เธจ หรือตูนิเซียในปัจจุบัน ชาวคาเทจสืบเชื้อสายมาจากชาวโพนีเชียนที่เคยรุ่งเรืองด้วยการค้าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมาแต่โบราณ เป็นอาณานิคมท่าเรือทางชายฝั่งของแอฟริกา เริ่มทำสงครามกับพวกโรมันที่เกาะซิซิลี (Sicily) ทางตอนใต้ของอิตาลีเป็นเวลายาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ สงครามพิวนิกมาสิ้นสุดลงในสมัยของจอมทัพ ฮันนิบาล (Hannibal)
สงครามขยายดินแดนและถ่ายทอดอารยธรรม กรีก เปอร์เซียและอียิปต์ สู่อินเดียและอุษาคเนย์
พ.ศ. 1659 พระเจ้าสูรยวรมันได้ทรงรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน ซึ่งความสัมพันธ์ร้าวฉานลงในสมัยนั้น โดยได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักจีน นับแต่ พ.ศ. 1666 ถึง พ.ศ. 1679 พระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 ได้ทรงยกทัพไปโจมตีไดเวียต แต่ไม่ประสบความสำเร็จ (อาณาจักรเวียดนามในเวลานั้นได้ประกาศเอกราชจากจีน เมื่อ พ.ศ. 1482 )และในปี พ.ศ. 1671 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ได้ส่งกองกำลังราว 20,000 คนไปรบไดเวียด ที่เมืองเญอัน แต่ก็ถูกต่อต้านพ่ายแพ้กลับมา ไม่กี่เดือนต่อมา กองทัพเรือกว่า 700 ลำก็เริ่มเดินทางไปตลอดชายฝั่งเลียบอ่าวตังเกี๋ย พระเจ้าสูรยวรมันทรงบังคับให้อาณาจักรจามปาสนับสนุน ครั้นเมื่อ พ.ศ. 1675 ทรงรวบกำลังของกัมพูชาและจามปาเข้าด้วยกัน เพื่อบุกเมืองเญอัน แต่ก็พ่ายแพ้ ครั้นใน พ.ศ. 1679 กษัตริย์จามปา ทรงพระนามว่า ชัยอินทรวรมันที่ 3 ได้ผูกความสัมพันธ์กับอาณาจักรไดเวียต และไม่ยอมสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าสุริยวรมันอีกต่อไป เมื่อปี พ.ศ. 1687 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ได้โจมตีและครอบครองอาณาจักรจามปาสำเร็จ เพราะเห็นว่าจามปาทรยศหักหลัง ในปีต่อมาจึงได้ผนวกจามปาเข้ากับอาณาจักรกัมพูชา และให้พระเจ้าหริเทว ซึ่งเป็นพระชามาดา (ลูกเขย) ขึ้นครองบัลลังก์จาม ที่เมืองวิชัย (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)...ภาพจำหลัก ที่ระเบียงปราสาทนครวัด  ประเทศกัมพูชา  ซึ่งได้จำหลักไว้ในรัชสมัย พระเจ้าชัยวรมัน ที่ 7 (พ.ศ. 1724-1761) เป็นภาพขบวนพยุหยาตราของกองทัพ  พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1656-1695) ในภาพดังกล่าวมีกองทหารซึ่งอยู่ทางตอนหน้าของขบวนทัพ มีอักษรจารึกไว้ว่า เป็นหน่วยทหารเสียมกุก คือ กองทัพของชาวเสียม (สยาม) ตอนหนึ่ง และชาวละโว้ตอนหนึ่ง   รูปชาวละโว้แต่งกายเหมือนกับพวกขอม แต่รูปชาวสยามนั้น แต่งกายแปลก ออกไปอีกอย่างหนึ่ง  นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศษคณะหนึ่งกล่าวว่า  หน่วยทหารของสยาม ในฐานะที่เป็นพันธมิตร ได้เป็นกองระวังหน้า ในกองทัพ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ที่ยกไปตีอาณาจักรจามปา เมื่อปี พ.ศ. 1688  และสามารถยึดเมืองวิชัยราชธานีของจามไว้ได้  นักโบราณคดีไทยบางท่านกล่าวว่า  กองทัพชาวเสียมนั้น มาจากลุ่มแม่น้ำกก ซึ่งมี ขุนเจื๋อง (ท้าวฮุง) กษัตริย์แห่งอาณาจักรเงินยาง   ซึ่งครองเมืองพะเยาอยู่ เป็นผู้รวบรวมกำลังชาวไทย (ลาว) และอาจมีชาวข่าร่วมด้วย  ส่งกำลังดังกล่าวไปช่วยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 รบกับพวกจาม (ข้อมูล โดย ส.อ.เอกนิษฐ์  )
ภาพแกะสลักสงครามรามเกียรติ์และสงครามมหาภารตะ ระเบียงภาพนครวัด The Ramayana & Mahabharata bas relief at Angkor Wat in Siem Reap, Cambodia. ภาพประวัติศาสตร์การเล่าเรื่องชัยชนะของสงครามจากอียิปต์ถึงระเบียงภาพนครวัดคือการถ่ายทอศิลปวัฒนะธรรมของมนุษย์ชาติผ่านการค้าขายและสงครามขยายดินแดนสะสมความมั่งคั่งนั่นเอง







Create Date : 21 ตุลาคม 2557
Last Update : 21 ตุลาคม 2557 11:46:00 น.
Counter : 1889 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
ตุลาคม 2557

 
 
 
1
2
3
5
6
7
8
9
11
13
14
18
24
27
29
30
 
 
All Blog