ป่าสัมปทานไม้สักคลองสวนหมาก-โป่งน้ำร้อน กำแพงเพชร ในอดีต
22-26 สิงหาคม 2445 ร.5 เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร ทรงมีพระราชหัตถ์เลขาว่า เลยคลองสวนหมากไป3วันจึงถึงป่าไม้...ป่าไม้นี้พะโป้ กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ....ประวัติสัมปทานไม้สัก คลองสวนหมาก นครชุม ราวพ.ศ 2429 พระยารามณรงค์ เจ้าเมืองกำแพงเพชร บันทึกว่า มองม่อ มองปีล ได้พาพวกพะโป้ พะเลวาซวยสะมะเย ซึ่งไม่มีที่ทำกินไปขอตัดฟันชักลากไม้คลองสวนหมาก ป่าไม้คลองสวนหมากนี้เป็นป่าไม้สักสำคัญของเมืองกำแพงเพชร แซภอหรือมองสุภอ หรือ พญาตะก่า ได้เข้ามาขอรับป่าทำจากพระยากำแพงเพชร (ออ่ง) ในปลายรัชกาลที่4 หรือ ต้นรัชการที่5 ต่อมา พ.ศ 2418 พญาตะก่าถึงแก่กรรม มองกะเย หรือ มองสุเจ ผู้บุตรทำต่อแต่ขาดทุน ปี 2429 พะโป้และพวกจึงมาขอแบ่งทำกิจการเจริญรุ่งเรือง สามารถระดมทุนปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุธาตุจนสำเร็จด้วยความอุตสาหะ มานะ อย่างเต็มกำลัง พะโป้ถึงแก่กรรมต้นรัชกาลที่6 พ.ศ 2460 และ ต่อมาครูมาลัย ชูพินิต เอามาสร้างอมตะนิยายเรื่องทุ่งมหาราช
หนังสือพะโป้ กราบบังคมทูลถวายพระราชกุศล ร.5 ...ข้าพระพุทธเจ้า นายร้อยพะโป้ผัวทองย้อยภรรยา ข้าพระพุทธเจ้าชาติเกลี่ยงคนในบังคับอังกฤษ แต่ทองน้อยภรรยาเป็นคนสยาม ตั้งบ้านเรือนอยู่ตำบลคลองสวนหมาก...ขอถวายรายงานทูลเกล้าฯถวายพระราชกุศลการปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุ....เมื่อ ร.5 เสด็จกำแพงเพชร ทรงมีบันทึกกล่าวถึงความงามพระบรมธาตุดังนี้...พระเจดีย์นี้ทาสีเหลือง มีลายปูนขาว แลดูในแม่น้ำงามดี...(กำแพงเพชรมาจากใหน ? โดย สุจิตต์ วงเทศ)
ตำนานแห่งขุนเขาและท้องทุ่งในทุ่งมหาราช อมตะนิยายของมาลัย ชูพินิต คือ ตำนานชีวิตชุมชนโบราณ คลองสวนหมากเมืองนครชุม ที่นี่เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตการต่อสู้ คุณธรรม น้ำมิตรและความรัก...บ้านห้างนายร้อยพะโป้ ริมคลองสวนหมาก พ่อค้าไม้สักผู้ทรงอิทธิพลในเวลานั้น ในบริเวณบ้านมีโรงช้าง บ่าวไพร่ มีผู้คนอาศัยอยู่มากมาย ทั้งไทย มอญ ลาว กะเหรี่ยง บริเวณรอบๆบ้านเปนที่ทำนาของบ่าวไพร่ ซึ่งยังมีชื่อเรียกว่า นาไทย และนามอญ อยู่จนกระทั่งปัจจุบัน ....ในทุ่งมหาราชได้กล่าวถึงพะโป้ไว้ดังนี้ ข้าต้องการเห็นทุกครอบครัวและทุกคนในคลองใต้ได้อยู่กันอย่างอย่างคน...ในเมืองกับปากคลองห่างกันชั่วแม่น้ำคั่นเท่านั้นแต่เราเหมือนอยู่กันคนละโลกและเกิดมาคนละยุค...ขอให้ข้ามีน้ำใจเข้มแข็ง
เหมือนพะโป้ ผู้สร้างพระธาตุเจดีย์อันมหึมานี้และยกฉัตรทองขึ้นบนยอด...ครูมาลัย ชูพินิต บรรยายถึงพะโป้ว่า บ้านไม้สักสามชั้นนั้นสูงตระหง่านและมหึมาเหมือนปราสาทในเทพนิยาย แต่ไม่ใช่เพราะความโอ่อ่าตระการตาของคฤหาสน์ที่ทำให้ใครจดจำบ้านหลังนั้น แต่หากเป็นเจ้าของ... ชายผู้หนึ่งนั่งขัดสมาธิอยู่บนพรมสีทับทิมเหนื่อระเบียงชั้นบน มิใช่รูปร่างหรือการแต่งกายตามประเพณี มากไปกว่าความเป็นสง่าราศรีบนใบหน้าของนัยน์ตาและผิวพรรรณ พะโป้ขณะนั้นล่วงวัยกลางคนแล้วแต่สีหน้ายังดูอิ่มเอิบเหมือนคนหนุ่ม น้ำเสียงที่พูดก็แจ่มใสเหมือนเสียงเด็ก แต่เหนือสิ่งอื่นใด ความเมตตากรุณา ความเป็นสุภาพบุรุษใจนักเลงและความศรํทธาต่อบวรพุทธศาสนานั่นเอง (พระป่าสายอาจารย์มั่นฯบอกว่าพระอรหันต์ทั้งหลายที่บำเพ็ญภาวนาในป่าเขารอดชีวิตบรรลุธรรมมาสั่งสอนคนเมืองได้นั้นต้องนึกถึงบุญคุณชาวกะเหรี่ยงทีทำบุญถวายอาหาร) ที่ทำให้ชาวคลองหมากทั้งเหนือและใต้ ตลอดจนบ่าวไพร่บริวารจารึกชายกะเหรี่ยงผู้นั้น...บ้านไม้สักหลังใหญ่ของพะโป้นั้นพลุกพล่านไปด้วยผู้คนทั้งกะเหรียง มอญ ลาวและไทย ดูจะเป็นครัวเดียวที่แตกต่างไปจากครัวอื่นๆ...คนเฒ่าคนแก่นครชุมเล่าให้ฟังว่า เมือพะโป้ถึงแก่กรรมก็ตั้งศพไว้ที่ห้องโถงชั้นล่างของบ้านห้างนี้เป็นปีๆ มีทั้งพระสงฆ์มาสวดศพและทุกๆ 7-8 วัน ก็จะมีพวกกะเหรี่ยงลงมาจากป่าที่ละมากๆมาเดินวนรอบๆโลงศพ พร้อมกับสวดมนต์ตามพิธีของกะเหรี่ยง หลังจากนั้นจึงนำไปทำพิธีฌาปนากิจวัดสว่างอารมณ์
              ระหว่างปี  พ.ศ. 2420 - 2430 เมื่อประมาณ 120 ปีเศษ ได้ปรากฏหลักฐานว่าสองฝั่งของลำคลองสวนหมาก  ซึ่งไหลผ่านหมู่บ้านโป่งน้ำร้อนในปัจจุบัน  ตั้งแต่เหนือหมู่บ้านโป่งน้ำร้อนขึ้นไปจนสุดเขตของป่าไม้สัก  ได้มีการทำไม้สักออกไปก่อนหน้านี้แล้ว  โดยมีหลักฐานตอไม้สักที่ถูกโค่นลง  เหลือปรากฏให้เห็นการทำไม้สักในบริเวณนี้ นอกจาก  “พะโป้”  แล้วไม่ปรากฏว่าใครเข้ามาทำไม้เลย บ้านโป่งน้ำร้อนอยู่ในเขตการปกครองของตำบลนาบ่อคำ  อำเภอเมือง  จังหวัดกำแพงเพชร  ระยะแรกมีคนมาอยู่ไม่มากนัก  เมื่อหมดสัมปทานทำไม้ของพะโป้ในราว  พ.ศ.2470    บริษัทป่าไม้ล่ำซำ   ซึ่งเป็นของคนเชื้อชาติจีน  ได้สัมปทานมาทำไม้สัก  ได้มาตั้งที่พักคนงานและพักเสบียงอาหาร  ซึ่งเป็นที่ตั้งวัดโป่งน้ำร้อนใต้ในปัจจุบันนี้  ขณะนั้นมีคนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ไม่เกิน   10  หลังคาเรือน  บริเวณที่ตั้งพักคนงาน  ยังเป็นที่ปล่อยให้ช้างหากินตามธรรมชาติ  เมื่อบริษัทล่ำซำมาทำไม้สัก  ได้มีเอกชนเข้าไปทำไม้กระยาเลย  เช่น ไม้ตะแบก  กะพง กระท้อน  ทางฝั่งขวาของคลองสวนหมาก  (ปัจจุบันคือบ้านเพชรนิยม – บ้านสุขสำราญ)  ก็ไปรับจ้างชาวบ้านตากนำเกวียนมาชักลากไม้  พวกนี้ก็พาครอบครัวมาจับจองที่ทำกิน  (กลุ่มผู้ใหญ่ตัน  ม่านมูล  จากบ้านฉลอมท้องฟ้า  จังหวัดตาก)  พร้อมกับกลุ่มพ่อหนานเทพ  มูลทรัพย์  ได้พาครอบครัวมาจากจังหวัดลำปาง  มาฝึกสอนลูกช้างให้บริษัทล่ำซำ  คนจากจังหวัดตาก  แพร่  ลำปาง  ลำพูน  ก็อพยพลงมาอยู่หลายครอบครัว  ชาวนครชุมเคยมีอาชีพตักน้ำมันยาง  ทำไต้  หาหวายโป่ง  ก็พาญาติพี่น้อง  เพื่อนฝูงมาทำอาชีพที่ถนัด  ตั้งแต่บ้านหนองปิ้งไก่  ท่าเสากระโดง  ท่ากะบาก  จนถึงบ้านโป่งน้ำร้อน.

อ่านเพิ่มเติม https://www.gotoknow.org/posts/359398








Create Date : 12 ตุลาคม 2557
Last Update : 12 ตุลาคม 2557 14:05:09 น.
Counter : 2928 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
ตุลาคม 2557

 
 
 
1
2
3
5
6
7
8
9
11
13
14
18
24
27
29
30
 
 
All Blog