ประวัติความเป็นมาการส่งเสริมปลูกหญ้าเนเปียร์ทำพลังงงานทดแทนเมื่อปี2010
ข่าวด่วนจากเยอรมัน ปีนี้เขาให้เงินอุดหนุนbiogasที่ใช้หญ้าหมักกับมูลสัตว์ (แทนข้าวโพดหมัก)กำลังผลิตต่ำกว่า 5 เมกกะวัตต์ สูงกว่า solar farm 64% ดังนี้ 1.Tariff for grasses feedstock=19 ยูโรเซ็นต์/kwh 2.Tariff for offshore wind=13.60 ยูโรเซ็นต์/kwh 3.Tariff for solar=11.58 ยูโรเซ็นต์/kwh เฉพาะพลังงานbiogas จากพืชพลังงานเกษตรกร ตอนนี้เยอรมันมีแล้ว 10,000 เมกกะวัตต์...นับว่าเป็นการอุดหนุนภาคการเกษตรที่แยบยลผ่านนโยบายพลังงานทดแทน เมืองไทยรออะไรครับเปิดAEC เมื่อไหร่สินค้าเกษตรทุกตัวแข่งขันกับเพื่อนบ้านที่ดินอุดมและค่าแรงถูกกว่าไม่ได้อย่างแน่นอน
ผลผลิตข้าวโพดฝั่งซ้ายมือคิดเฉพาะเมล็ดแก่ 800กก.ต่อไร่ต่อรอบ ฝั่งขวามือคิดผลผลิตต้นข้าวโพดพร้อมฝักข้าวโพด 5000 กก.ต่อไร่ต่อรอบ และ หนึ่งครอบครัวปลูกสิบไร่...มะโนเรืองพืชพลังงานผลิต biogas และ รายได้เกษตรกร ปี2010 พอเลือกข้าวโพดเท่านั้นแหละตูมใหญ่เลยเพราะไปขัดแย้งกับเจ้าพ่ออาหารสัตว์ ต้องหลบมาใช้หญ้าเนเปียร์ปาก
ช่อง 1 แทน สบายดีไทแลนด์แดนยิ้ม
จากปี 2009 สังคมไทยใด้ก้าวย่างเข้าสู่วัยชราภาพ Aging Population จะทำอะไรหรือแข่งกับใครใน AEC นั้นให้นึกถึงตลาดคนแก่เอาไว้ก่อน ไม่ใช่ไปปาวประกาศว่าจะทุ่มงบประมาณขุดลอกคลองโดยจ้างชาวนา สุดท้ายชาวนาร้องออกมาว่าแก่ไปไหว
จากปี2551-2555 พื้นทีการเกษตรพุ่งพรวดเพิ่มอีก18ล้านไร่ แน่นอนว่าพื้นที่ป่าไม้ที่มีดินอุดมสมบูรณ์กว่าคือเป้าหมาย ... เกษตรเคมีที่ต้องซื้อปัจจัยการผลิตทุกรอบการผลิตได้แก่ค่าเมล็ดพันธ์ ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ฯ ต้นทุนเพิ่มทุกปี เกษตรกรติดเหมือนยาเสพติดคือหายนะของ ดิน น้ำ ป่าไม้และระบบนิเวศน์ ที่รอพระเอกขี่ม้าเขียวมาแก้ไขก่อนจะล่มสลายไปมากกว่านี้
                   I have a dream ! ผมอยากเห็นเมืองไทยมีโรงงานผลิตไบโอก๊าซและCBG (compressed bio gas)จากวัตถุดิบพืชพลังงานของเกษตรกร 10,000 เมกกะวัตต์ทั่วไทย(มีชุมชนและสหกรณ์ถือหุ้นในโรงงานด้วย)เท่าเยอรมันขณะนี้ เรื่องการยกเลิกโรงไฟฟ้าวิสาหกิจชุมชนพืชพลังงานสีเขียว 10 แห่งเป็นเรื่องจริง ตอนพวกผมผลักดันใหม่ๆเมื่อสามปีมาแล้ว เพื่อสร้างเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เป็นโรงงานแปรรูปผลิตผลการเกษตรและมีผลพลอยได้เป็นพลังงานไฟฟ้า ความร้อนอบพืชผลการเกษตร และปุ๋ยชีวภาพส่งกลับคืนสู่ไร่นาเกษตรกร ทุกองค์กรเห็นด้วยเพราะสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬา เปิดสัมนารับฟังความคิดเห็นหลายครั้ง ผู้ที่ค้านคือผู้แทนจากภาคเกษตรกลัวว่าจะไปกระทบกับการผลิตพืชอาหาร (ตอนนั้นจะเอาข้าวโพดพร้อมฝักระยะสะสมแป้งเป็นวัตถุดิบแบบเยอรมัน) จนสุดท้ายผมไปพบว่ามีหญ้าตัวหนึ่งมีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตละลายน้ำสูง มีงานวิจัยปลูกเปรี่ยบเที่ยบกับข้าวโพด
ทีประจวบคีรีขันธ์โดยกรมปศุสัตว์พบว่าสร้างรายได้ให้เกษตรกรสูงกว่าการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าหญ้าเลี้ยงสัตว์ทุกชนิด ปลูกง่าย ทนแล้ง ใช้ปุ๋ยและสารเคมีน้อย ใช้น้ำเสียจากโรงงานแป้งมันรดได้ ไม่เลือกดินอุดมสมบูรณ์มากนัก ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวใด้ 7 ปี (ออ้ยได้3ปี) ขยายพันธ์จากลำต้นเหมือนออ้ย ออกดอกติดเมล็ดไม่มาก
 ไม่ขยายพันธ์ได้เองเหมือนหญ้าขจรจบและไมยราพหรือไม่แพร่ขยายเองเป็นวัชพืช คำนวนเป็นโมเดลธุรกิจว่าถ้าเกษตรกรรวมตัวกันปลูกในรูปวิสาหกิจชุมชนตัดหญ้าทุก45วันด้วยเครื่องจักรนำไป เลี้ยงวัว แพะ หมู ไก่ ปลากินพืช ผลผลิตหญ้าส่วนเกินส่งขายโรงไฟฟ้าชุมชนผลิตก๊าซชีวภาพ คำนวนออกมาเป็นรายได้สุทธิ (กำไร) คนละ 6,000บาทต่อคนต่อเดือน (1เมกกะวัตต์ใช้หญ้าสด40,000ตันต่อปี ซื้อหน้าโรงงานตันละ600บาทจะมีเงินตกถึงเกษตรกร24ล้านบาทต่อชุมชนต่อปี)ในขณะที่ค่าเฉลี่ยรายได้เกษตรกรข้อมูลของ ธปท.คือ 4,500 บาทต่อเดือนต่อครอบครัว กระทรวงพลังงานยุคน้องปู เฮียเพ้ง รีบวิ่งไปดูหญ้าตัวนี้ที่ปากช่องทันที ท่านก้ใจดีเหลือหลายชงเรื่องเข้าคณะกรรมการพลังงานชุดใหญ่ (กพช.) นายกปูนั่งประธาน กระทรวงพลังงานเสนอให้เงินอุดหนุนจากกองทุนพลังงาน3,000ล้านบาท อุดหนุนเกษตรกรปลูกหญ้าไร่ละ3,000บาท 1เมกกะวัตต์ปลูกหญ้า1,000ไร่ กำหนดแผนไว้100 แห่ง วันประชุมใหญ่มีผู้แทนกระทรวงเกษตรฯยกมือบอกว่าอยากให้ศึกษาให้ดีว่าหญ้าตัวนี้เปนวัชชพืชหรือเปล่า แค่นี้ก็วงแตกกะเจิง เพื่อไม่ให้เสียหน้าเฮียเพ้งเลยโอ้โลม ประติโลม ให้ทำโรงงานต้นแบบ12แห่งๆละ1เมกกะวัตต์ มีค่ารับซื้อไฟฟ้าแบบคงที FiT4.50 บาทต่อหน่วย (ค่าไฟฟ้าอีก3ปีก็ราคานี้แล้วเจ้งแน่นอน) โรงงานแปรรูปพืชเกษตรเป็นพลังงานทดแทนและผลิตปุ๋ยชีวภาพบำรุงดินสำหรับเกษตรกร จึงพิกลพิการมาแต่บัดนั้น...ทราบว่ารัฐบาลใหม่กำลังปัดฝุ่น รอฟังผลการเคาะในวันที่22 ตค 57 นี้...GOING GREEN AND GREEN ECONOMY ครับ






Create Date : 20 ตุลาคม 2557
Last Update : 21 ตุลาคม 2557 11:53:21 น.
Counter : 1500 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
ตุลาคม 2557

 
 
 
1
2
3
5
6
7
8
9
11
13
14
18
24
27
29
30
 
 
All Blog