บันทึกจารึกต่างๆจาก อินเดีย- ศรีลังกา- ชวา-จามปา-ขอม-ศรีเทพ-พระวิหาร 2013

รัฐโบราณหรือดินแดนในอดีตนั้นน่าจะเป็นพันธมิตรทางการค้าทีมีพัฒนาการความมั่งคั่งรุ่งเรืองเติบโตขึ้นมาด้วยตนเอง...หรืออาจจะเป็นรัฐอิสระที่นับถือศาสนาและความเชื่อเดียวกัน....ไม่ใด้ตกเป็นเมื่องขึ้นหรือถูกสร้างขึ้นจากผู้ปกครองคนใดคนหนึ่งแต่อย่างใด จากจารึกที่เห็นจะพบว่าเมืองใหญ่ต่างๆในยุคนั้นมีการแลกเปลี่ยนวัฒนะธรรมเชื่อมโยงกันอีกด้วย และอาจไม่ได้บ่งชี้ว่าตกเป็นเมืองขึ้นแต่อย่างใด  ดังมีข้อมูลจากจารึกต่างๆดังนี้

1.    จารึกมิเซิน ของจามปา พุทธศตวรรษที่ 12  กล่าวว่าพระเจ้าภัทรวรมันทรงประดิษฐานศิวลึงค์นามว่า ภัทเรศวร ที่เทวสถานมิเซิน ซึ่งเป็นเทวสถานแห่งแรกของจัมปา และเป็นประเพณีสืบต่อมาว่ากษัตริย์องค์ต่อมาต้องประดิษฐานศิวลึงค์ ซึ่งมีศิวลึงค์ที่ประดิษฐานโดยกษัตริย์จัมปาทั้งหมด 12 องค์

 

2.    จารึกขอมกล่าวถึง กษัตริย์ ภัทรวรมันสถาปนาศิวลึงค์ชื่อ ภัทเรศวร กษัตริย์ศัมภวรมันทรงปฏิสังขรพร้อมทั้งพระราชทานนามใหม่ประกอบนามของพระองค์และบรรพบุรุษเข้าด้วยกันเรียก ศัมภูภัทเรศวร และ กษัตริย์อินทรวรมัน ทรงสถาปนา อินทราภัทเรศวร  (ที่มาดร.ธิดา สาระยา ในชุดเมืองโบราณ เขาพระวิหาร )

 

3.    จารึกปราสาทเขาพระวิหาร กล่าวถึง พระเจ้าสุริยะวรมันที่ 2 และ พราหมณ์ทิวากรบัณฑิต ทำพิธีสักการะและประดิษฐานศิวะลึงค์ทองคำไว้เป็นรูปเคารพได้แก่ กัมรเตงชคตศรีภัทเรศวร( ปราสาทวัดภู) กัมรเตงชคตศรีศิขรีศวร (ปราสาทพระวิหาร)

 

  1.  จารึกศรีเทพ k.978 ราวพุทธศตวรรษที่ 12…ในปีแห่งกษัตริย์ศก….วันขึ้น ๘ ค่ำ….ในบูรพทิศของดินแดนซึ่งมิได้ถูกแบ่งแยกออกเป็นสอง…..............................ทรงได้รับการยกย่องในบูรพทิศ……(บรรดารูป)ของพระศิวะถูกสร้างขึ้นโดยพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ ผู้ทรงเป็นพระราชนัดดาแห่งพระเจ้าศรีจักรวาทิน, ผู้ทรงเป็นพระราชโอรสแห่งพระเจ้าศรีประถิวีนทรวรมัน, (ผู้ทรงมีพระนามว่า) ศรีภววรมัน, ผู้ทรงเทียบได้ประหนึ่งองค์อินทร์, ในวโรกาสที่พระองค์เสด็จเสวยราชสมบัติ
  2. ตำนานของอาณาจักรจามปานั้นเล่าว่า มีดินแดนศักดิ์สิทธิ์อยู่ 2 แห่ง ซึ่งเป็นของชน 2 เผ่า คือ 1.)ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ หมี่เซิ่น ของชนเผ่า ดัว ปกครองทางตอนเหนือของอาณาจักร มีเมือง อมราวดีเป็นเมืองหลวง นับถือเทวกษัตริย์ศรีษาณภัทรเรศวร 2.)ทางตอนใต้มีดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่ โป นคร ซึ่งเป็นของชนเผ่าเกา มีเมืองหลวงชื่อเกาธาระ นับถือพระนางผกาวดีแห่งโปนคร.....เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว หมี่เซิ่น เคยเป็นเมืองศูนย์กลางแห่งศาสนา ของอาณาจักรจามปามาก่อน หมี่เซิ่นตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของดานัง ไกลออกไปราว 70 กม. เดิมเคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรจามปามาก่อน หมี่เซิ่นตั้งอยู่ในหุบเขา มีที่ราบราว 2 กม. มีตาน้ำไหลผ่านดินแดน ตั้งแต่ ศตวรรษที่ 4 พระเจ้าภัทรวรมัน (ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ.349-369)ได้บันทึกไว้บนหลักศิลาจารึก โดยบรรยายถึงการก่อสร้างดินแดนศักดิ์สิทธิ์ หมี่ เซิ่นนี้ว่า “...พระเจ้าแผ่นดินขอถวายแด่องค์เทวะภัทเรศวร ด้วยดินแดนผืนหนึ่ง ทีทางทิศตะวันออกจรดภูเขาสุรหะ ทางทิศใต้จรดภูเขามหาบรรพต ทางทิศตะวันตกจรดภูเขากุสละ ทางทิศเหนือจรดภูเขาอื่น ตลอดรวมทั้งไร่นา และพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชนในดินแดนแห่งนี้ ทั้งหมดถวายแด่องค์เทวะภัทเรศวรตราบกาลนาน.....”  แล้วสร้างเทวสถานขึ้นเพื่อสักการะบูชาเทพเจ้าภัทเรศวร ต่อมาในสมัยพระเจ้ารุทรวรมัน(ครองราชย์ คศ.539-577) หมี่เซิ่นเกิดไฟไหม้ได้รับความเสียหายอย่างมาก ต่อมาพระเจ้าสัมภูวรมันที่ครองราชย์ต่อมาให้บูรณะขึ้นใหม่ “....พระเจ้าแผ่นดิน ขอถวายแด่องค์เทวะภัทรเรศวร ด้วยดินแดนศักดิสิทธิ์.... ประชาชนในดินแดนแห่งนี้.....ถวายแด่องค์ภัทเรศวรตราบกาลนาน........” ( ทีมา MY SON HOLY LAND โดย โคกคราม 2550 )
  3. หลักฐานอักษรนาครี ในจารึกอินโดนีเซีย

                 อักษรนาครีที่เก่าที่สุดที่พบในอินโดนีเซีย มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอักษรปาละ (Pala) ที่อินเดียเหนือ มีการใช้อักษรชนิดนี้ที่ชวาในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 โดยมากจะใช้จารหลักธรรมบนป้ายดินเหนียวใส่ไว้ในสถูป มีข้อความว่า “เย เหตุ ปฺรภวา ธรฺม ...” ในบาหลี เขตเปชัง (Pejang) มีสถูปที่มีข้อความอย่างเดียวกันนี้ นับร้อยแห่ง มีจารึกหลักหนึ่งอายุสมัยเกรตะเนคะระ (Kretanegara, ค.ศ. 1267 – 1292) จารลงด้านหลังของ ประติมากรรมรูปอโมคปาศะ (Amogapasha) แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอักษรของจาลุกยะ (Chalukya) ในรัฐคุชราต (Gujarat) ประเทศอินเดีย ที่มีอายุราวคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซึ่งรูปแบบดังกล่าวไม่สามารถเทียบกับอักษรจารึกที่เคยพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใดๆ ได้เลย จึงเชื่อกันว่านี่คงเป็นพัฒนาการเฉพาะถิ่น ไม่ขึ้นกับใคร

    อักษรปัลลวะ

                 อักษรปัลลวะในอินโดนีเซียแบ่งเป็น 2 รุ่น คือรุ่นแรก และรุ่นหลัง ตัวอย่างจารึกอักษรปัลลวะรุ่นแรกนี้ พบที่ยูปา (Yupa) ในเขตกุไต (Kutai) อักษรจารึกมีรูปร่างสวยงาม เส้นอักษรยาว ตรง และตั้งฉากทำมุมพอดีโดยรวมของอักษรจะค่อนข้างกลม และโค้งสวย ตัว ม (ma) จะเขียนเป็นตัวเล็กอยู่ในระดับต่ำกว่าอักษรตัวอื่นๆและตัว ต (ta) มีรูปร่างเป็นขดคล้ายก้นหอย ซึ่งเป็นรูปแบบที่เก่า และใกล้เคียงมากกับอักษรที่ใช้ในอาณาจักรอิกษวากุ (Iksavakus) แห่งอันธะระ ประเทศ (Andhara Pradesh), อักษรที่สถูปเจดีย์นาคารชุนโกณฑะ(Nagarjunakonda), จารึกของพระเจ้าภัทรวรมัน(Badravarman) ใน โช ดินห์ (Cho Dinh) ที่มีอายุอยู่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 จารึกแห่งโช ดินห์ นี้มีความคล้ายคลึงอย่างมากกับจารึกของรุวันวะลิสะยะ(Ruvanvalisaya) แห่งอเมระธะปุระ (Ameradhapura) ประเทศศรีลังกา (Srilangka) ที่สร้างโดยพระเจ้าพุทธะสาสะ (Buddhasasa) ในปี ค.ศ. 337 – 365

    //www.sac.or.th/main/content_print.php?content_id=109

 




Create Date : 25 มีนาคม 2556
Last Update : 25 มีนาคม 2556 17:15:23 น.
Counter : 4894 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
4
7
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
24
26
27
28
29
31
 
 
All Blog