จารึกเมืองศรีเทพ k.499 และ k.978…จารึก มิเซิน จามปา พุทธศตวรรษที่12 (ตอนที่2)

หลักฐานอื่นที่อยู่ในยุคเดียวกัน...พงศาวดารจีนกล่าวว่า ในสมัยปลายราชวงศ์ฮั่น บ้านเมืองอ่อนแอ ผู้นำชาวจามปามีชื่อว่า “จูเหลียง” ได้รับการสนับสนุนจากองทัพ “อาณาจักรฟูนัน” ฉวยโอกาสในขณะที่บ้านเมืองกำลังยุ่งเหยิง ยกกองทัพบุกขึ้นมาโจมตีแย่งชิงดินแดนของจีนในมณฑลจีนัง ไปจัดตั้งขึ้นเป็นอาณาจักร จีนเรียกว่า “หลินยี่ก๊ก” หรือ “อาณาจักรจามปา” การสู้รบระหว่างอาณาจักรจามปากับแคว้นอำหนำของจีนยืดเยื้อมาจนถึงสมัยสงครามสามก๊ก “พระเจ้าซุนกวน” หรือ “พระเจ้าซุนเฉียน” ตั้งตัวเป็นใหญ่   อยู่ในบริเวณชายฝั่งทะเลทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่า “อาณาจักรอู๋” ข้าหลวงมณฑลตังเกี๋ยได้ทำหนังสือกราบทูลฟ้องร้องว่า พวกหลินยี่ กับพันธมิตรฟูนัน ยกกองทัพขึ้นไปโจมมีเผ่าผลาญบ้านเมืองแย่งเชิงเอาดินแดนของจีน ขอให้ทางเมืองหลวงส่งกองทัพไปช่วยเหลือ....อาณาจักรฟูนันมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศทั้งกับอินเดียและจีน หลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับอาณาจักรนี้ยังดูรางเลือนหาข้อสรุปไม่ได้แน่ชัดนัก ทราบแต่เพียงว่ากษัตริย์องค์สุดท้ายคือ รุทรวรมัน และนับถือศาสนาพราหมณ์ที่ได้รับมาจากอินเดียเป็นหลัก   พุทธศตวรรษที่ 12 อาณาจักรเจนฬา ซึ่งแต่เดิมเป็นรัฐหนึ่งของอาณาจักรฟูนัน มีอาณาบริเวณตั้งแต่เมืองจำปาศักดิ์-ภูเขาวัดภู และในปัจจุบันคือบริเวณทางตอนใต้ของประเทศลาวและทางภาคเหนือของประเทศเขมร และราชธานีของอาณาจักรเจนฬาคือ เมือง “เศรษฐปุระ”(น่าจะแถวปราสาทวัดภู ในลาว ) อาณาจักรเจนฬามีพื้นฐานอารยธรรมสืบต่อมาจากอาณาจักรฟูนันรวมทั้งการนับถือศาสนาพราหมณ์ด้วย   พระเจ้าภววรมัน ปฐมกษัตริย์ของเจนฬาได้ ยึดวยาธปุระ (เมืองศรีมโหสถ ปราจีนบุรี ? ) จากรุทรวรมัน ต่อมาพระอนุชาของภววรมันคือ พระเจ้ามเหนทรวรมันที่ 1 ได้เข้ายึดฟูนันและปราบปรามได้ ทำให้อาณาจักรเจนฬาได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าเดิม  จนล่วงพุทธศตวรรษที่ 13 อาณาจักรเจนฬาได้ถูกกษัตริย์ชวาจากราชวงศ์ไศเลนทร์แห่งอาณาจักรชวาภาคกลางรุกราน จึงทำให้เจนฬาแตกออกเป็น ๒ ส่วนคือ เจนฬาบก และ เจนฬาน้ำ ส่วนของเจนฬาน้ำนั้นถูกชวายึดครองได้ นอกจากนี้อาณาจักรชวายังได้นำตัวรัชทายาทคือ เจ้าชายชัยวรมันที่ 2 ไปเป็นตัวประกันที่อาณาจักรชวาอีกด้วย ซึ่งเป็นระบบที่เรียกว่าตัวจำนำเพื่อรับรองความจงรักภักดีของอาณาจักรขอม

          ในแคว้นปาณฑะรังคะซึ่งเป็นของพวกจามทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม มีภูเขาลูกหนึ่งตรงปลายแหลมบนยอดภูเขาที่เด่นตรงออกมาคล้ายกับแท่งศิวลึงค์ เขาลูกนี้เห็นได้ทั้งจากที่ราบภายในและจากทะเล โดยเฉพาะจากทะเลนั้น เป็นสิ่งที่นักเดินเรืออาจใช้สังเกตเป็นสัญลักษณ์ของภูมิประเทศ (Land mark) ว่าได้เดินทางมาถึงชายฝั่งทะเลของเมืองใดแล้ว ดูเหมือนความโดดเด่นของภูเขาที่มีเดือยคล้ายศิวลึงค์อยู่บนยอดเขานี้ได้มีผู้จดบันทึกไว้ในจดหมายเหตุจีนโบราณ และเรียกภูเขาลูกนี้ว่าลิงคบรรพต ... มีเขาสูงอีกลูกหนึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ในเขตเมืองจัมปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีชื่อว่าภูเก้า สูงตระหง่านอยู่เหนือที่ราบลุ่มของเมืองจัมปาสัก บนยอดเขามีเดือยหรือแท่งหินที่ดูคล้ายลึงค์ธรรมชาติ ตรงไหล่เขาและเชิงเขาลูกนี้เป็นที่ตั้งปราสาทขอมที่มีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ.1545-1593) แห่งอาณาจักรกัมพูชา เรียกกันทั่วไปในปัจจุบันว่า ปราสาทวัดภู เป็นปราสาทขนาดใหญ่และสวยงามไม่แพ้เขาพระวิหาร รองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดมตีความว่าบริเวณที่เป็นเมืองจัมปาสักเดิมมีเมืองขอมรูปสี่เหลี่ยมเกือบเป็นจัตุรัสตั้งอยู่ เป็นร่องรอยของเมืองเศรษฐปุระ และมีความเกี่ยวข้องกับบ้านเมืองในสมัยเจนละที่หลายท่านตั้งข้อสังเกตว่าเป็นเมืองสำคัญของเจนละบก ร่องรอยของเมืองเศรษฐปุระที่มีมาก่อนเมืองพระนคร (Angkor) ปราสาทวัดภู และภูเก้า ที่มีศิวลึงค์ธรรมชาตินั้นก็คือสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความนึกคิดของคนเจนละและขอมโบราณที่เกี่ยวกับการสร้างบ้านแปงเมืองที่สัมพันธ์กับภูเขาศักดิ์สิทธิ์  ...........ดังนั้นแท่งหินที่โบราณสถานด้านทิศเหนือของเขาคาจึงเข้าข่าย “ลิงคบรรพต” เป็นการเลือกสรรชัยภูมิที่มีความเหมาะสมกับคติความเชื่อทางศาสนา จึงเกิดบูรณาการของการสร้างบ้านแปงเมืองที่ผูกพันกับภูเขาศักดิ์สิทธิ์ โดยที่ภูเขาลูกนี้มีลึงค์ที่พระศิวะทรงประทานมาให้ เป็นลึงค์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เรียกว่า “สวยัมภูลึงค์” หากสวยัมภูลึงค์เกิดการแตกหักไปต้องเอาทองหรือทองแดงไปซ่อม จึงสันนิษฐานว่าสวยัมภูลึงค์หรือลิงคบรรพตนี้อาจเป็นที่มาของคำว่า “ตามพรลิงค์” และเป็นศาสนสถานแห่งแรกที่สร้างขึ้นบนเขาคา (นครศรีธรรมราช )ในลักษณะเทวสถานกลางแจ้งที่ไม่มีตัวอาคารคลุม สร้างกลมกลืนอยู่กับธรรมชาติ หลังจากนั้นต่อมาจึงได้มีการสร้างเทวสถานก่ออิฐเพิ่มเติมขึ้นทางยอดเนินด้านทิศใต้...บนเกาะชวาภาคกลางมีจารึกกล่าวถึงการประดิษฐานศิวลึงค์ที่เขาวูกีร์ เมื่อ พ.ศ.1275 โดยพระเจ้าสัญชัย ตามคติความเชื่อที่ว่าการกระทำเช่นนั้นทำให้พระศิวะสามารถเข้ามาสู่องค์กษัตริย์และให้ความเป็นอมตะแก่พระองค์ ต่อมาที่เกาะชวาภาคตะวันออก พระเจ้าเกียรตินครได้ประดิษฐานศิวลึงค์ไว้ในห้องกลางของจันทิสิงหัดส่าหรี เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ...ในเขมรสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ได้ประดิษฐานลัทธิเทวราช หมายถึงลัทธิที่ถือว่าพระราชาได้รับอำนาจจากพระศิวะผ่านพราหมณ์ และพราหมณ์จะประดิษฐานอำนาจของพระราชาที่ศิวลึงค์ซึ่งสร้างขึ้นบนภูเขาโดยสมมติว่าศิวลึงค์นั้นประดิษฐานบนยอดเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของโลก โดยประกอบพิธีประดิษฐานศิวลึงค์ขึ้นบนเขาพนมกุเลน (มเหนทรบรรพต) ในพุทธศตวรรษที่ 14 ด้วยคติความเชื่อนี้ศิวลึงค์จึงแพร่หลายมากในกัมพูชา
... ในจัมปา(เวียดนาม)พบจารึกจำนวน 130 หลัก มีถึง 92 หลัก ที่กล่าวถึงพระศิวะ จารึกมิเซิน (พ.ศ. 1200) กล่าวว่าพระเจ้าภัทรวรมันทรงประดิษฐานศิวลึงค์นามว่า ภัทเรศวร ที่เทวสถานมิเซิน ซึ่งเป็นเทวสถานแห่งแรกของจัมปา และเป็นประเพณีสืบต่อมาว่ากษัตริย์องค์ต่อมาต้องประดิษฐานศิวลึงค์ ซึ่งมีศิวลึงค์ที่ประดิษฐานโดยกษัตริย์จัมปาทั้งหมด 12 องค์
... คติความเชื่อเรื่องการประดิษฐานศิวลึงค์บนยอดเขาแพร่กระจายไปทั่วอุษาคเนย์ เริ่มตั้งแต่รัฐเก่าแก่ที่สุดเช่นรัฐฟูนัน เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 8-11 ก็เป็นรัฐที่นับถือศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย พระราชาแห่งฟูนันมีสมญาว่า กษัตริย์แห่งภูเขา ( King of the mountain) ดังนั้นศิวลึงค์และภูเขาศักดิ์สิทธิ์จึงเป็นสัญลักษณ์ของการสร้างบ้านแปงเมืองและการสถาปนาอำนาจของกษัตริย์ที่อิงอยู่กับหลักความเชื่อทางศาสนา ที่เปรียบพระราชาเป็นดั่งพระจักรพรรดิราช พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่เหนือพระราชาอื่นๆทั้งปวงในจักรวาล จึงได้มีพิธีกรรมสถาปนาศิวลึงค์ขึ้นบนยอดเขาที่สมมติให้เป็นเขาพระสุเมรุอันเป็นแกนกลางของจักรวาล บ้านเมืองของพระจักรพรรดิราชพระองค์นั้นจึงเป็นดั่งศูนย์กลางของโลก มีอำนาจสูงสุดในจักรวาล ความเจริญรุ่งเรืองของรัฐ

 http://www.learners.in.th/blogs/posts/487937

            อาณาจักรจามปา (Champa kingdom) เป็นรัฐที่ตั้งอยู่บริเวณดินแดนเวียดนามตอนใต้ในปัจจุบัน เป็นรัฐที่อยู่ติดทะเล แต่มีการจัดระบบชลประทานภายในแผ่นดิน ดำรงชีวิตด้วยการเกษตร และรับวัฒนธรรมอินเดีย บันทึกของชาวจีน เรียกว่า ลินยี่ แต่จารึกเป็นภาษาสันสกฤตที่พบในยุคหลัง เรียกว่า จามปา รัฐนี้ตั้งอยู่ทางตอนเหนือ และตะวันออกของรัฐฟูนาน สันนิษฐานว่า ตั้งขึ้นประมาณศตวรรษเดียวกับฟูนานถือโอกาสตอนที่ราชวงศ์ฮั่นของจีนอ่อนแอตั้งเป็นรัฐขึ้นถือโอกาสตอนที่ราชวงศ์ฮั่นของจีนอ่อนแอตั้งเป็นรัฐขึ้น ส่วนหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า ศูนย์กลางอำนาจของรัฐจามปาอยู่ที่ใต้เมืองเว้ไปเล็กน้อย และมีโบราณสถานที่สำคัญมาก ทำให้แน่ใจว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของรัฐจามปา รับวัฒนธรรมอินเดีย โดยปรากฎชื่อกษัตริย์เป็นภาษาสันสกฤตว่า พระเจ้าภัทรวรมัน ที่ทรงให้สลักศิลาจารึก และสร้างเทวสถานที่เมืองมีซอนเพื่อบูชาพระศิวะ นครหลวงของจามปาตอนนั้นอยู่ทางตะวันออกของเมืองมีซอน ศิลาจารึกได้แสดงให้เห็นถึงการปลูกฝังอารยธรรมอินเดียในจามปา มีลัทธิบูชาพระศิวะ และพระอุมา

 




Create Date : 12 มีนาคม 2556
Last Update : 12 มีนาคม 2556 15:34:20 น.
Counter : 3018 Pageviews.

3 comments
  
เดี๋ยวเข้ามาอ่านใหม่ค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 12 มีนาคม 2556 เวลา:20:49:09 น.
  
โดย: Kavanich96 วันที่: 13 มีนาคม 2556 เวลา:7:44:07 น.
  
แถวทางจากสระแก้ว ไป จันทบุรี ที่ ต. คลองไก่เถื่อน ชื่อเขาตาง็อก

โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 25 มีนาคม 2556 เวลา:15:51:26 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
4
7
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
24
26
27
28
29
31
 
 
All Blog