รัฐโบราณและเมืองท่าค้าขายจากลมสินค้า-ลมเทพเจ้า (ตอนที่2)

//www.baanjomyut.com/library_2/as_lane_lyrics/19.html

โบราณวัตถุที่ถือว่าสำคัญแสดงให้เห็นการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างชัดเจนก็คือ พบจี้คริสตัลแกะสลักเป็นรูปสิงโต (Rock Crystal) มีสัดส่วนสวยงาม คล้ายกับเคยพบที่บ้านตอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมืองตักสิลา ในประเทศปากีสถาน เมืองสัมภร เมืองนาสิก ท่าเรือโบราณในลุ่มแม่น้ำกฤษณา ทางฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย ในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์สาตวาหนะเรืองอำนาจ เมืองฮาลิน ประเทศพม่า รูปสิงโตถือว่าเป็นเครื่องรางที่พุทธศาสนิกชนนิยมนำติดตัวเพื่อคุ้มครองอันตราย เพราะเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจและความยิ่งใหญ่ แสดงนัยความหมายว่า พระพุทธเจ้า ทรงเป็นสิงห์แห่งศากยะวงศ์ โบราณวัตถี่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ของพุทธศาสนา สมัยก่อนที่จะมีการสร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปเคารพ ถือว่าเป็นเครื่องรางศักดิ์สิทธิ์ สำหรับห้อยคอติดตัวก็คือ “รูปไตรรัตนะ” (Triratana) ตลอดจนวัตถุที่แสดงถึงสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ เช่น หอยสังข์ ศรีวัตสะ รูปสวัสดิกะ เป็นหลักฐานยืนยันว่า ในสมัยนั้นศาสนาพุทธได้แผ่อิทธิพลเข้ามายังคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย สอดคล้องกับคัมภีร์พุทธศาสนาที่กล่าวถึง พระเจ้าอโศก ทรงโปรดให้ พระโสณะเถระ กับพระอุตตระเถระ เดินทางไปยัง สุวรรณภูมิ ...
                  ยุคต่อมา เจ้าชายสุมิตร” แห่งราชวงศ์โมริยะ เสด็จลงเรือไปยัง “กรุงสุวรรณปุระ”  ถึงกระนั้นก็ตามเรื่องราวของแผ่นดินลึกลับซึ่งเคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ดึกดำบรรพ์ในคาบสมุทรอินโดจีนที่ในคัมภีร์โบราณของชาวอินเดีย และคัมภีร์ของพุทธศาสนา ที่เรียกกันว่า “สุวรรณภูมิ” หรือ “สุวรรณทวีป” และ “กรุงสุวรรณปุระ” ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน จนกระทั่งในสมัยปลายพุทธศตวรรษที่ 7
เจ้าชายสุมิตร ได้อภิเษกสมรสกับราชธิดาผู้เลอโฉมของ พระเจ้ากรุงสุวรรณปุระ เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติสืบต่อมา ตำนานดังกล่าวระบุว่า ทรงเป็นผู้สถาปนา “ราชวงศ์สุวรรณปุระ” ขึ้นใน “สุวรรภูมิ” และสืบราชวงศ์ลงมากระทั่งถึงสมัยจักรวรรดิศรีวิชัยเรืองอำนาจและล่มสลายไปในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ด้วยเหตุนี้ ราชวงศ์กษัตริย์ที่ปกครองบ้านเมืองในคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย จึงอ้างว่า พระองค์เป็นราชวงศ์เดียวกับพระพุทธเจ้า ดังปรากฏหลักฐานในบันทึกของราชทูตจีนในสมัยราชวงศ์สุยมีชื่อว่า “ราชทูตเสียงจุ่น” ซึ่งเดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักเชี๊ยะโท้ว เมื่อ .. 1150 ระบุว่าพระเจ้าแผ่นดินของประเทศเชี๊ยะโท้ว แซ่เดียวกับพระพุทธเจ้า



Create Date : 08 มีนาคม 2556
Last Update : 8 มีนาคม 2556 16:01:38 น.
Counter : 3272 Pageviews.

2 comments
  
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 8 มีนาคม 2556 เวลา:16:03:47 น.
  
ฝาก blog ด้วยนะครับ
เพิ่งสร้าง แนะนำ ติชมกานได้
อยากให้ช่วยเข้าไปแสดงความเหงทางประวัติศาสร์ วัฒนธรรม และคติชนโบราณ
โดย: siamart วันที่: 16 เมษายน 2556 เวลา:19:28:14 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
4
7
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
24
26
27
28
29
31
 
 
All Blog